ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในกัมพูชาพุ่งแตะ 1,162 คัน

กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง (MPWT) รายงานว่า ณ เดือนกันยายนปีนี้ จำนวนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งจดทะเบียนในกัมพูชาเพิ่มขึ้นเป็น 1,162 คัน ในจำนวนนี้คิดเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 573 คัน รถจักรยานยนต์สามล้อไฟฟ้า 387 คัน และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 202 คัน โดยสาเหตุหลักมาจากการตระหนักรู้เกี่ยวกับการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ด้าน Pov Maly ปลัดกระทรวงฯ กล่าวเสริมว่า รัฐบาลกัมพูชาพร้อมที่จะผลักดันการใช้รถไฟฟ้าด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างการสร้างสถานีชาร์จเพิ่มเติมในกรุงพนมเปญและจังหวัดสำคัญต่างๆ ปัจจุบันมีสถานีชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า 18 แห่งในประเทศ ขณะที่รัฐบาลได้พัฒนาแผนยุทธศาสตร์เพื่อเปลี่ยนกัมพูชาให้เป็นศูนย์กลางการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ในระดับภูมิภาคและระดับโลก ด้วยการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศผ่านการให้สิทธิพิเศษต่างๆ เพื่อหวังดันการพัฒนาทางเทคโนโลยีและการเพิ่มปริมาณการส่งออกของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501401710/ev-registrations-jump-to-1162-this-year/

ธนาคาร-ผู้นำทางธุรกิจ จัดประชุมอัพเดทสถานการณ์เศรษฐกิจ สปป.ลาว ในปัจจุบัน

ธนาคาร ANZ Laos ร่วมกับ AustCham Lao จัดงานประชุมอัพเดทสถานการณ์เศรษฐกิจ สปป.ลาว ซึ่งเป็นการนำเสนอข้อมูลสถานะปัจจุบันในเชิงลึกเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจของ สปป.ลาว โดยมีเจ้าหน้าที่ธนาคาร สมาชิกหอการค้าต่างประเทศ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคเอกชนเข้าร่วม บางส่วนของกิจกรรมในงานเริ่มจากการนำเสนอของ Mr.Khoon Goh หัวหน้าฝ่ายวิจัยเอเชียของธนาคาร ANZ ที่นำเสนอข้อมูลการเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจระดับโลกและระดับภูมิภาคในปัจจุบัน และการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อประเทศลาวในปีหน้าอย่างไร โดยเริ่มจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่กำลังเข้าใกล้จุดสิ้นสุดของวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่เศรษฐกิจจะเริ่มรู้สึกถึงผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งก่อน ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาชะลอตัวในปีหน้า ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศจีน เริ่มมีการฟื้นตัวจากแรงผลักดันของการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ และคาดการณ์ว่าเมื่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจีนกลับมา ผู้บริโภคจีนก็จะมีเม็ดเงินส่วนเกินประมาณ 6.2 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์ ที่จะผลักดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศจีน และแผ่กระจายการบริโภคมายังประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงประเทศลาว นอกจากนี้ นายเพชรสถาพร แก้ววงวิจิตร อธิบดีกรมบริหารการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารแห่ง สปป. ลาว ได้นำเสนอภาพรวมที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบที่ประกาศใช้ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 10 ว่าด้วยการดำเนินการจัดการเงินตราต่างประเทศ โดยมุ่งเป้าไปที่การรักษาเสถียรภาพของสกุลเงินกีบ การเสริมสร้างทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ และรักษามูลค่าของเงินกีบ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_236_Bankers_y23.php

สปป.ลาว-รัสเซีย ลงนามความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสนับสนุนด้านเทคนิควิทยาการ

อิเร็ก ไฟซุลลิน รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย และนายคำเจน วงโพสี รัฐมนตรีกระทรวงการวางแผนและการลงทุน สปป.ลาว ร่วมประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า วิทยาศาสตร์ และด้านเทคนิควิทยาการ ระหว่าง สปป.ลาว และรัสเซีย ครั้งที่ 17 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ โดยมีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านการค้า เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และทางเทคนิควิทยาการ ภายใต้ขอบเขตของความร่วมมือทวิภาคีในด้านการค้า การธนาคาร การเงิน อุตสาหกรรม การขนส่ง พลังงาน การดูแลสุขภาพ และอื่นๆ ทั้งนี้ จากการให้ความช่วยเหลือของรัสเซียที่ผ่านมา ได้แก่ การให้โควตานักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาของ สปป.ลาว เข้ารับการฝึกอบรมในมหาวิทยาลัยของรัสเซีย และในอนาคตมีความพยายามที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าของทั้งสองประเทศ โดยเริ่มจากการเชื่อมต่อการค้าผ่านเส้นทางรถไฟ เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจใหม่ๆ และการสร้างเครือข่ายโลจิสติกส์ขึ้นมาใหม่ รวมถึงการวางแผนที่จะเพิ่มจำนวนโครงการร่วมลงทุนในด้านการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ และการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_236_Lao_Russian_y23.php

ส่งออกข้าวไทยพุ่งอินโดนีเซียเจอภัยแล้ง ชี้เป็นโอกาสพร้อมเร่งพัฒนาสายพันธุ์

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ติดตามข้อมูลสถานการณ์การค้าสินค้าข้าว พบว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 (มกราคม – ตุลาคม) อินโดนีเซียกลายเป็นตลาดส่งออกข้าวอันดับ 1 ของไทย สาเหตุหลักมาจากอินโดนีเซียกำลังประสบปัญหาขาดแคลนข้าว เนื่องจากภัยแล้งที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ รวมถึงฤดูมรสุมที่ล่าช้า ทำให้อินโดนีเซียปลูกข้าวได้น้อยลง

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2023/356781

การส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมาร์มีรายได้ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 8 เดือน

ตามการรายงานของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ ระบุว่า การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาร์สร้างรายได้มากกว่า 1.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตามสถิติตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึง 24 พฤศจิกายน ระบุว่าการส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่าอยู่ที่ 1.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงประมาณ 286 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มีรายได้ 2.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยผู้ส่งออกเชื่อว่าการลดลงนี้เป็นผลมาจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นภายในประเทศ อย่างไรก็ดี การส่งออกของประเทศครอบคลุมผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปแบบตัดบรรจุ (CMP) และสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ในขณะที่ เมียนมาร์นำเข้าสินค้าทุน วัตถุดิบ สินค้าอุปโภคบริโภค และวัสดุสำหรับผลิตสินค้า CMP เป็นหลัก นอกจากนี้ ผลิตผลทางการเกษตรส่วนใหญ่ประกอบด้วยข้าว ข้าวหัก ถั่วและถั่ว ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล และสินค้าเกษตรอื่นๆ โดยประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/agri-exports-earn-us1-9-bln-in-eight-months/#article-title

‘ปราโมทย์’ เผยข้าวไทยขายดี รับอานิสงค์เวียดนาม

นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่าข้าวไทยหลายพันธ์มีราคาสูงขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว โดยก่อนหน้านี้ราคาข้าวเฉลี่ยอยู่ที่ 8,000–9,500 บาทต่อตัน แต่ราคาข้าวในปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 12,000 บาทต่อตัน (344 ดอลลาร์สหรัฐ) ส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศพุ่งสูงสุดในรอบ 17 ปี

ในขณะที่นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ระบุว่าความต้องการข้าวไทยจากบราซิลและฟิลิปปินส์ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ จากการสอบถามไปยังโรงสีข้าวไทย พบว่าจากราคาข้าวของเวียดนามในขณะนี้ที่สูงกว่าราคาข้าวของไทย ประมาณ 70-90 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เนื่องจากผลผลิตในประเทศมีไม่เพียงพอ

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20231205/thai-rice-sells-well-thanks-to-vietnam-association-president/77099.html

‘เวียดนาม-กัมพูชา’ เปิดให้บริการชำระเงินข้ามพรมแดนผ่าน QR Code

นางเหงียน ทิ ห่ง (Nguyen Thi Hong) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศเวียดนาม และนางเจีย สะเร็ย (Chea Serey) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศกัมพูชา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการการชำระเงินข้ามพรมแดนผ่าน QR Code เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. โดยเป้าหมายในครั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการชำระเงิน มีความปลอดภัยและมั่งคง รวมถึงส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อประชาชนชาวกัมพูชาและเวียดนาม โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวและพ่อค้าแม่ค้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-cambodia-launch-crossborder-qr-payment-link/272312.vnp

โครงการลงทุน 3 โครงการ ได้รับการอนุมัติ สร้างงาน 744 ตำแหน่งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

ในการประชุมที่จัดขึ้นที่สำนักงานของรัฐบาลสหภาพในกรุงเนปิดอว์ คณะกรรมการการลงทุนเมียนมาร์ได้อนุมัติโครงการลงทุนใหม่ 3 โครงการ ที่จะมาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา คิดเป็นมูลค่า 0.180 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมากกว่า 300 พันล้านจ๊าด ซึ่งจะสร้างโอกาสในการทำงานในท้องถิ่น 744 ตำแหน่งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในวันที่ 1 ธันวาคม อย่างไรก็ดี จากต้นปีที่ผ่านมาจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม 2566 ใน 52 ประเทศและภูมิภาคที่ลงทุนในเมียนมาร์ ประเทศนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด ได้แก่ สิงคโปร์ จีน และไทย ตามลำดับ ทั้งนี้ ในบรรดาธุรกิจ 12 ประเภทในเมียนมาร์ ร้อยละ 28.49 ของการลงทุนทั้งหมดไหลเข้าสู่ภาคพลังงาน ร้อยละ 24.44 ลงทุนในภาคน้ำมันและก๊าซธรรมชาติคิดเป็น และร้อยละ 14.39 เป็นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/three-invested-businesses-approved-to-generate-744-jobs-in-industrial-agricultural-sectors/

กัมพูชาเริ่มดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำแห่งใหม่

โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำตาไตทางตอนบนของจังหวัดเกาะกง ขนาดกำลังการผลิต 150 เมกะวัตต์ คืบหน้าไปแล้วร้อยละ 31.5 โดยคาดว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 4 ปี และจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ราว 527 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปีเมื่อดำเนินการเต็มรูปแบบ ขณะที่นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต และ Wang Wentian เอกอัครราชทูตจีนประจำกัมพูชา ได้เป็นประธานในพิธีปิดแม่น้ำเพื่อการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าพลังน้ำในเฟสถัดไป ซึ่งใกล้กับเขื่อนในเขต Thmar Baing สำหรับโครงการดังกล่าวจัดขึ้นเป็นสัญญาสิทธิ์ในการก่อสร้าง บริหาร และโอนกรรมสิทธิ์ (BOT) เป็นเวลา 39 ปี โดยได้รับการลงทุนจากบริษัท China National Heavy Machinery Corporation (CHMC) และจะขายกระแสไฟฟ้าให้กับองค์การไฟฟ้ากัมพูชาตลอดอายุสัญญา ซึ่งคาดว่าโครงการดังกล่าวจะมีผลกระทบเชิงบวกอย่างมากต่อเศรษฐกิจกัมพูชา และจะช่วยลดการพึ่งพิงการนำเข้ากระแสไฟฟ้า รวมถึงเป็นการเพิ่มเสถียรภาพทางด้านพลังงานให้กับกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501400180/work-on-new-hydropower-plant-in-cambodia-goes-smoothly/

สนามบินแห่งใหม่ในกรุงพนมเปญก่อสร้างแล้วเสร็จ 55%

โครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ในกรุงพนมเปญเสร็จสมบูรณ์แล้วร้อยละ 55 และคาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2023 ตามกำหนดการที่สำนักงานเลขาธิการการบินพลเรือนกัมพูชา (SSCA) ได้กำหนดไว้ กล่าวโดย Sinn Chansereyvutha รองเลขาธิการ ซึ่งในเฟสแรกของการก่อสร้างสนามบินดังกล่าวใช้เงินลงทุนประมาณ 800 ล้านดอลลาร์ โดยหากสนามบินแห่งใหม่เริ่มดำเนินการ จะทดแทนสนามบินนานาชาติพนมเปญแห่งเก่าที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน สำหรับสนามบินนานาชาติของกัมพูชารองรับผู้โดยสารทางอากาศรวม 4.11 ล้านคน ในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคมของปี 2023 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 144 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งนับเป็นจำนวนเที่ยวบินระหว่างประเทศทั้งหมด 41,596 เที่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 93 ในช่วงเวลาเดียวกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501399940/new-phnom-penh-airport-55-completed/