โรงงาน 11 แห่งผลิตปูนซีเมนต์ได้ 8 ล้านตันต่อปี

U Than Zaw Htay กรรมการผู้จัดการบริษัท No 1 Heavy Industries Enterprise และ No 2 Heavy Industries Enterprise ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า โรงงานปูนซีเมนต์ 11 แห่งผลิตปูนซีเมนต์ได้มากกว่า 8 ล้านตันต่อปี โดยภาคเอกชนมีโรงงานปูนซีเมนต์ 16 แห่ง ขณะที่รัฐฯดูแล 3 แห่ง หากโรงงานทั้งหมดเปิดดำเนินการ จะสามารถผลิตปูนซีเมนต์รวมกันได้มากกว่า 16 ล้านตัน อย่างไรก็ดี การบริโภคในท้องถิ่นต่อปีอยู่ที่ประมาณ 10-11 ล้านตัน U Than Zaw Htay กล่าวว่า “เราสามารถตอบสนอง 2 ใน 3 ของความต้องการในท้องถิ่นได้ โดยในปัจจุบัน No 33 Heavy Industry (Kyaukse) ผลิต 5,000 ตันต่อวัน รวม 1.8 ล้านตันในปีงบประมาณ 2566-2567 นอกจากนี้ ในแต่ละปี บริษัทจัดหาปูนซีเมนต์จำนวน 70,000 ตันสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดการอุตสาหกรรมหนัก 31 (Thayet) และอุตสาหกรรมหนัก 32 (Kyangin)”

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/11-factories-produce-8-million-tonnes-of-cement-annually/

ราคาทุเรียนไทยสูงครองตลาด

ทุเรียนจากประเทศไทย ปัจจุบันครองตลาดทุเรียนในประเทศเมียนมา เนื่องจากมีราคาสูง ซึ่งมีราคาโดยทั่วไปอยู่ที่ 40,000-50,000 จ๊าดต่อลูก ทั้งนี้ ในตลาดย่างกุ้ง ราคาทุเรียนไทยตอนนี้มีตั้งแต่ขั้นต่ำ 20,000 จ๊าดต่อลูกไปจนถึงมากกว่า 100,000 จ๊าดต่อลูก ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาด อย่างไรก็ดี พ่อค้าในตลาดย่างกุ้งยังระบุว่า แม้ทุเรียนไทยมีจะได้รับความนิยมมากในตลาดทุเรียนในประเทศ แต่เนื่องจากมีราคาแพงเมื่อเทียบกับทุเรียนเมียนมา จึงทำให้ยอดขายทุเรียนไทยยังอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ ทุเรียนของเมียนมามีราคาถูกกว่าและจะเริ่มมีผลิตมากขึ้นในเดือนมิถุนายน ซึ่งคาดว่ายอดขายทุเรียนพันธุ์เมียนมาจะสูงขึ้น เนื่องจากในตลาดเมียนมาผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมทานทุเรียน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/expensive-grafted-durians-dominate-the-market/#article-title

เศรษฐกิจของรัฐมีแนวโน้มเติบโต มูลค่าสกุลเงินจะพุ่งสูงขึ้นหลังการคว่ำบาตรและความท้าทายทางการค้า

เช้าวานนี้ ได้มีการประชุมรัฐบาลสหภาพครั้งที่ 4/2567 จัดขึ้นที่สำนักงานประธาน SAC ในเมืองเนปิดอว์ โดยมีประธานสภาบริหารแห่งรัฐ นายกรัฐมนตรี พลเอกอาวุโส มิน ออง หล่าย เป็นประธาน ซึ่งนายกรัฐมนตรี มิน ออง หล่ายได้เปิดเผยว่ารัฐบาลมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพด้วยหลักนิติธรรม จัดการราคาสินค้าอุปโภคบริโภคให้มีความยุติธรรม และรับประกันมูลค่าสกุลเงินที่แข็งแกร่งของประเทศ โดยเขากล่าวต่อว่า เมียนมากำลังเผชิญกับการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการปิดกั้นเส้นทางการค้าเพื่อชะลอการไหลของสินค้าโภคภัณฑ์เนื่องจากขาดความสงบสุขและเสถียรภาพที่กระทำโดยบุคคลที่ไร้ศีลธรรมบางคน อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวเพิ่มเติมในภาคส่วนอื่นๆ อีกว่า หากเกษตรกรสามารถพัฒนารูปแบบการปลูกพืชอย่างเป็นระบบ ผลผลิตทางการเกษตรจะดีขึ้นในประเทศ เพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหาร และสนับสนุนการจัดหาอาหารให้กับประชาคมระหว่างประเทศ สำหรับในภาคส่วนน้ำมันเพื่อการบริโภค นายกรัฐมนตรียังสั่งเจ้าหน้าที่ว่า ผลผลิตพืชน้ำมันต่อเอเคอร์ที่สูงจะช่วยตอบสนองความต้องการน้ำมันสำหรับบริโภค และลดการใช้จ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ ในส่วนของภาคการเพาะปลูกฝ้าย นายกรัฐมนตรีชี้ว่าการผลิตเส้นด้ายคุณภาพจากสำลีที่บ้านสามารถลดปริมาณการนำเข้าเส้นด้ายและสิ่งทอได้ นอกจากนี้ เขาเน้นย้ำถึง การเพิ่มพื้นที่ป่าในพื้นที่หมู่บ้านที่เกี่ยวข้องเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันก็ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า และในภาคการศึกษา พลเอกอาวุโสกล่าวว่าโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานในบางภูมิภาคกำลังเผชิญกับความล่าช้าในการเรียนรู้ด้วยเหตุผลหลายประการ และจำเป็นต้องเตรียมการสำหรับการเปิดโรงเรียนอีกครั้งและการกลับมาเรียนอีกครั้ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/prospects-brighten-state-economy-set-to-thrive-currency-value-to-surge-in-post-sanctions-and-trade-challenges/

รัฐมนตรีสหภาพอุตสาหกรรมหารือเรื่องการยกระดับพืชน้ำมันเพื่อการบริโภค การผลิตฝ้าย และผลผลิตของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า

วานนี้ ดร. ชาร์ลี ธาน รัฐมนตรีสหภาพอุตสาหกรรมกล่าวว่า สภาบริหารแห่งรัฐได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจจัดการสินเชื่อเพื่อการพัฒนาโรงงานน้ำมันขึ้น ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 โดยมีหน้าที่จัดหาเงินกู้เพื่อยกระดับและขยายโรงงานน้ำมันเพื่อเพิ่มการผลิตน้ำมันบริโภคและลดการพึ่งพาการนำเข้า ทั้งนี้ การรีไซเคิลน้ำมันบริโภคบางชนิด ยกเว้นน้ำมันสกัดเย็นบริสุทธิ์และน้ำมันสกัดเย็น ผู้ประกอบการอาจสามารถเพิ่มการผลิตน้ำมันได้ และยังเน้นย้ำว่ากระบวนการผลิตจะต้องเป็นไปตาม GMP และได้รับการอนุมัติจาก อย. นอกจากนี้ ตามสถิติ สวนฝ้ายที่ตอบโจทย์การบริโภคในท้องถิ่น มีกระทรวงดำเนินการโรงงานฝ้าย 16 แห่ง และภาคเอกชนมี 191 แห่ง สำหรับโรงงานฝ้ายและตัดเย็บเสื้อผ้าโดยกระทรวงมี 14 แห่ง ซึ่ง 2 แห่งในนั้นให้เช่าโดยนักธุรกิจ ในขณะที่ภาคเอกชนดำเนินการโรงงาน 9 แห่ง รวมถึง รัฐมนตรีสหภาพฯ ยังได้สั่งการซ่อมแซมโรงปั่นฝ้ายเพื่อเพิ่มการผลิต การจำหน่ายสินค้าสำเร็จรูปเพื่อเพิ่มรายได้ การสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้ประกอบการ MSME เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของโรงงาน การจัดการการเพิ่มการผลิต การซ่อมแซมเครื่องจักรอัตโนมัติ การจัดการให้เต็มกำลังการผลิต เครื่องจักร โกดังวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป และการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับกระบวนการผลิตฝ้าย และสนับสนุนให้เปิดหลักสูตรฝึกอบรมการซ่อมเครื่องจักรในโรงงานอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/industry-union-minister-talks-to-elevate-edible-oil-crops-cotton-production-productivity-of-garment-factories/

สปป.ลาว – เมียนมา ประชุมร่วมทบทวนแนวทางความร่วมมือด้านชายแดน

สปป.ลาว และเมียนมา ร่วมประชุมเพื่อทบทวนแนวทางการตรวจสอบ การซ่อมแซม และการสร้างเครื่องหมายชายแดนระหว่าง สปป.ลาว และเมียนมา โดยจัดขึ้นที่แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนร่วมกัน ทั้งสองฝ่ายประเมินความคืบหน้าของงานและรับทราบความสำเร็จของการตรวจสอบแนวเขตแดนระยะทาง 236 กม. ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ได้ตรวจสอบและบำรุงรักษาบริเวณชายแดน นอกจากนี้ คณะทำงานของทั้งสองประเทศได้ใช้อุปกรณ์ GPSรวบรวมข้อมูล 172 จุดตามแนวชายแดนแม่น้ำโขง ให้บริการวิจัยและปรับปรุงระบบแผนที่ชายแดนของทั้งสองประเทศจากระบบเก่าตามข้อตกลงเมื่อปี 2537 ทำให้ระบบใหม่และทันสมัยยิ่งขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/laos-myanmar-review-border-cooperation/284818.vnp

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เร่งการส่งออก

ในขณะที่รัฐบาลส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศด้วยการเพิ่มการส่งออก กระทรวงพาณิชย์และสมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมาจึงร่วมมือกันเพื่อปรับปรุงภาคการส่งออก โดยเมื่อวันที่ 20 เมษายน มีการส่งออกข้าวโพดจำนวน 12,700 ตันผ่านทาง The Myanmar Terminal – TMT (เดิมชื่อ Bo Aung Kyaw Jetty) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ ในวันที่ 21 เมษายน ข้าวโพดจำนวน 6,600 ตันจะถูกส่งออกจากท่าเรือ Ahlon International Port Terminal 3 ในวันที่ 22 เมษายน ข้าวโพด 2,700 ตันจากท่าเรือ Min Htet Min และอีก 7,150 ตันจากท่าเรือเมียนมา ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/commerce-ministry-boosts-export/#article-title

การค้าชายแดนเมียนมา-จีนพุ่งขึ้นเป็น 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผยว่า มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและจีนมีมูลค่าทะลุ 3.279 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567 ที่ผ่านมา ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐที่บันทึกไว้ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่งที่ 178.25 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2565-2566 อย่างไรก็ดี เมียนมาดำเนินการค้าขายข้ามพรมแดนกับจีนเพื่อนบ้านผ่านทาง มูเซ, แลวแจ, ชีงชเวห่อ, กัมปติ และ เชียงตุง โดยด่านมูเซบันทึกตัวเลขการค้าสูงสุดที่ 2.055 พันล้านดอลลาร์ รองลงมาคือด่านชีงชเวห่อมูลค่าการค้าอยู่ที่กว่า 703 ล้านดอลลาร์, ด่านกัมปติ มูลค่าการค้ากว่า 208 ล้านดอลลาร์, ด่านแลวแจมูลค่าการค้าอยู่ที่ 158.568 ล้านดอลลาร์ และด่านเชียงตุง 154.239 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-border-trade-surges-to-us3-2b-in-fy2023-2024/#article-title

กรมประมงเมียนมาบังคับใช้ข้อจำกัดในการทำประมงในช่วงที่ไม่ใช่ฤดูตกปลา

ตามที่กรมประมงเมียนมาระบุ การออกใบอนุญาตทำการประมงในทะเลเมียนมานั้นขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ตกปลาที่ใช้ในช่วงนอกฤดูตกปลา แม้ว่าฤดูกาลที่ไม่ใช่ฤดูประมงของปีนี้ถูกกำหนดไว้เป็นเวลา 3 เดือนตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน แต่ก็มีการออกใบอนุญาตทำการประมงในบางภูมิภาคและรัฐ เนื่องจากประสบปัญหาของสมาคมผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดี ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีรายงานว่าอนุญาตให้ทำการประมงได้เฉพาะในเขตย่างกุ้งในเดือนเมษายน ในเขตตะนาวศรีเดือนเมษายนและพฤษภาคม และในเขตอิระวดีและรัฐมอญในเดือนเมษายน แต่เฉพาะกับเรือประมงบางประเภทเท่านั้น นอกจากนี้ เรือประมงนอกชายฝั่งอื่นๆ ทั้งหมดจะต้องหยุดดำเนินการเป็นเวลาสามเดือน ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน ซึ่งกรมประมงระบุเฉพาะเรือประมงในฝั่งเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประมงได้

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fd-implements-fishing-restrictions-during-non-fishing-season/#article-title

การค้าชายแดนเมียนมา-ไทยมีมูลค่ารวม 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เผยว่า การค้าชายแดนของเมียนมากับประเทศไทยมีมูลค่า 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567 ที่ผ่านมา (เมษายน 2566 -มีนาคม 2567) โดยตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการลดลงอย่างมีนัยสำคัญกว่า 927 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าที่บันทึกไว้ในปีงบประมาณ 2565-2566 ที่มีมูลค่า 5.35 พันล้านดอลลาร์โดยเมียนมาดำเนินการค้าขายข้ามพรมแดนกับไทยผ่านชายแดนท่าขี้เหล็ก เมียวดี เกาะสอง มะริด บ้านพุน้ำร้อน และมอตอง อย่างไรก็ดี ด่านชายแดนบ้านพุน้ำร้อนมีการค้าขายที่ครอบคลุมมากที่สุดซึ่งมีมูลค่า 2.69 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณที่ผ่านมา นอกจากนี้ ที่ด่านชายแดนเมียวดี มูลค่าการค้าอยู่ที่ 1.147 พันล้านดอลลาร์, ที่เกาะสอง 234.38 ล้านดอลลาร์, ที่ท่าขี้เหล็ก 171.66 ล้านดอลลาร์, ที่มะริด 154.3 ล้านดอลลาร์ และที่มอตอง 26.779 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-thailand-border-trade-totals-us4-4-bln-in-2023-2024fy/#article-title

เมียนมาจัดส่งข้าวโพดประมาณ 80,000 ตันไปยัง 3 ประเทศ

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาส่งออกข้าวโพดประมาณ 80,000 ตันไปยังต่างประเทศ 3 ประเทศเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 จากการที่เมียนมาเร่งความพยายามในการสนับสนุนการส่งออกเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของรัฐ เมียนมาจึงส่งข้าวโพด 25,000 ตันไปยังฟิลิปปินส์ทางเรือ (MV Manta Hatice) ผ่านท่าเรือ No 6 Sule Wharf ส่งออก 12,700 ตันถึงไทยทางเรือ (MV Tay Son 4) ผ่านทางท่าเรือ TMT และ 2,700 ตัน ทางเรือ (MV MCL 20) ผ่านทางท่าเทียบเรือ MHM และส่งออกไปยังอินเดียทางเรือ 27,500 ตัน (MV Seiyo Harmony) ผ่านท่าเรืออุตสาหกรรมเมียนมา 2 และ เมื่อวันที่ 8 เมษายน ตามลำดับ  อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปยังประเทศไทยครั้งละ 5,400 ตันโดยเรือ 2 ลำ (MV MCL 8 และ MV MCL 7) ผ่านทางท่าเทียบเรือ MHM เมื่อวันที่ 9 เมษายน และมีกำหนดส่งออกข้าวโพด 6,600 ตันไปยังฟิลิปปินส์โดยเรือ (MV. RAINBOW SYMPHONY) ผ่าน AIPT-3 วันที่ 10 เมษายน นอกจากนี้ เมียนมายังจัดส่งข้าวโพดมากกว่า 2 ล้านตันให้กับคู่ค้าต่างประเทศในฤดูข้าวโพดปี 2565 ซึ่งส่วนใหญ่ถูกส่งมายังประเทศไทย และส่วนที่เหลือไปยังจีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ข้าวโพดปลูกในรัฐฉาน กระฉิ่น คะยา และคะยิน รวมถึงภูมิภาคมัณฑะเลย์ สะกาย และมะเกว ซึ่งเมียนมามีฤดูข้าวโพด 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และมรสุม ผลผลิตข้าวโพดของเมียนมาต่อปีอยู่ที่ประมาณ 2.5-3 ล้านตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-around-80000-tonne-corn-to-3-countries/#article-title