ผู้เชี่ยวชาญไทยชี้ BRI หนุนความร่วมมือ ‘อาเซียน-จีน’หลากหลาย

ผู้เชี่ยวชาญชาวไทยแสดงทัศนะว่าแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ของจีนเสริมสร้างความร่วมมือด้านกำลังการผลิตในกลุ่มประเทศอาเซียน รวมถึงไทย และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนและจีนในด้านต่างๆ เช่น การค้าและการผลิตให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวเมื่อไม่นานนี้ว่ากลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา มีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่มากมาย และมีโอกาสสำคัญที่จะร่วมมือกับจีนทั้งด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและความร่วมมือด้านกำลังการผลิต

ทั้งนี้ จีนเป็นหนึ่งในคู่ค้าสำคัญที่สุดของกลุ่มประเทศอาเซียน ขณะการยกระดับทางอุตสาหกรรมและการพัฒนาที่มีคุณภาพสูงของจีนส่งอิทธิพลต่อกลุ่มประเทศอาเซียนในวงกว้าง ด้านความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และข้อตกลงการค้าเสรีจีน-อาเซียน ได้ส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนและจีนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.naewna.com/inter/763294

‘ก.คลังเวียดนาม’ เผยการบริหารหนี้สาธารณะอยู่ในการควบคุมได้

กระทรวงการคลัง (MoF) เปิดเผยว่าในปี 2565 หนี้สาธารณะของเวียดนาม คิดเป็น 37.4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในขณะที่หนี้ต่างประเทศ มีสัดส่วนราว 36.1% ของ GDP ซึ่งจากคำประกาศของกระทรวงฯ ฉบับที่ 16 ว่าด้วยหนี้สาธารณะของเวียดนามในปี 2561-2565 จากเป้าหมายที่รัฐสภากำหนดไว้ในการชำระหนี้สาธารณะในปี 2564-2568 ได้เสร็จสิ้นแล้ว

ที่มา : https://en.nhandan.vn/vietnams-public-debt-management-on-right-track-ministry-post130392.html

‘เวียดนาม’ อาจพลาดเป้าจีดีพีในปี 2566

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เปิดเผยว่าเวียดนามอาจจะพลาดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ โดยภาคอุตสาหกรรมที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจเวียดนามในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เริ่มมีทิศทางที่ขะลอตัวลง ทั้งนี้ สมัชชาแห่งชาติ รายงานว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าจะเติบโตมากกว่า 5% ต่อปี ซึ่งก่อนหน้านี้ เวียดนามตั้งเป้าหมายการเติบโตของ GDP ไว้ที่ 6.5% ในปี 2566 ลดลงจาก 8.02% ในปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามอุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนแอ ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของเวียดนามในปีนี้

ที่มา : https://www.reuters.com/markets/asia/vietnam-lawmakers-expect-country-miss-2023-gdp-growth-target-2023-10-16/

ราคาอ้างอิงน้ำมันปาล์มลดลงตามการนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้น

ปริมาณน้ำมันปาล์มไหลเข้าจากประเทศผู้นำเข้าในปัจจุบันของเมียนมาร์เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันต่างประเทศอยู่ที่ 800 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ส่งผลให้ราคาอ้างอิงขายส่งน้ำมันปาล์มลดลง โดย มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มประมาณ 15,000 ตันในช่วงต้นเดือนตุลาคม และ 14,000 ตันในวันที่ 11 และ 12 ตุลาคม ตามลำดับ ทำให้ราคาอ้างอิงขางส่งน้ำมันปาล์มถูกกำหนดให้ต่ำกว่า 4,340 จ๊าดต่อ Viss* ในสัปดาห์ที่สองของเดือนตุลาคม จากเดิม 4,390 จ๊าดต่อ Viss*  ในสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม ในขณะที่ราคาน้ำมันปาล์มต่างประเทศลดลงเหลือ 825 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ในวันที่ 4 ตุลาคม 812.5 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ในวันที่ 9 ตุลาคม และ 832.5 ดอลลาร์ต่อตันในวันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม บริษัทนำเข้าบางบริษัทได้มีการขายน้ำมันปรุงอาหารให้กับร้านค้าขนาดใหญ่บางแห่งที่จำหน่ายน้ำมันให้กับร้านค้าเล็กๆ ในราคา 4,600 จ๊าดต่อViss*  ในย่างกุ้ง, ราคา 4,700 จ๊าดต่อViss*  ในเนปิดอว์, ราคา 4,950 จ๊าดต่อViss*  ในมัณฑะเลย์, 4,800 จ๊าดต่อViss*  ในป่าเต็ง/มะกเวย์ และ 5,000 จ๊าดต่อViss*  ในโมนยวา ขณะที่ราคาน้ำมันถั่วลิสง อยู่ระหว่าง 12,500 ถึง 16,000 จ๊าดต่อViss*  (Viss หน่วยใช้ชั่งน้ำหนักพืชผักผลไม้ แบบค้าส่งในพม่า 1 viss = 3.6 ปอนด์ หรือราว 1.65 กิโลกรัม)

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-reference-price-declines-following-high-import/#article-title

ราคายางพาราดีดตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 1,750 จ๊าดต่อปอนด์ หลังลดลงต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ก่อนหน้า

ราคายางพาราของเมียนมาดีดตัวกลับมาอยู่ที่ประมาณ 1,750 จ๊าดต่อปอนด์ในตลาดยางของรัฐมอญ หลังจากราคาลดลงอย่างต่อเนื่องมาสองสัปดาห์ เนื่องจากธุรกิจยางหยุดชะงักไประยะหนึ่งในช่วงฤดูมรสุมและกลับมาดำเนินการอีกครั้งในช่วงประมาณกลางเดือนกันยายน ซึ่งทำให้ช่วงกลางเดือนกันยายน ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 แตะระดับต่ำสุดที่ 1,590 จ๊าดต่อปอนด์ของ และราคายางตากแห้งอยู่ที่ 1,610 จ๊าดต่อปอนด์  ณ สิ้นเดือนกันยายน ราคายางตากแห้ง ขยับขึ้นเป็น 1,730 จ๊าดต่อปอนด์ และราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ที่ 1,750 จ๊าดต่อปอนด์

ด้านสมาคมผู้ผลิตยางพาราในรัฐมอญ กล่าวว่า รัฐมอญซึ่งเป็นรัฐที่มีการผลิตยางรายใหญ่ในเมียนมาร์ มีการผลิตยางพาราของเมียนมาร์ต่อปีอยู่ที่ประมาณ 300,000 ตัน ซึ่งยางพาราร้อยละ 70 ที่ผลิตในเมียนมาร์ถูกส่งออกไปยังประเทศจีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ อีกด้วย โดยในปี 2563-2564 ที่ผ่านมา เมียนมาร์มีรายได้จากการส่งออกยางพารามากกว่า 449 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 รายงานการผลิตยางในปี 2565-2566 ที่ผ่านมามีจำนวนมากกว่า 360,000 ตัน โดยกว่า 200,000 ตันถูกส่งออกไปยังคู่ค้าต่างประเทศ ด้านสมาคมผู้ผลิตยางพาราในรัฐมอญกล่าวว่ามีเป้าหมายที่จะส่งออกยางพารา 300,000 ตันในปี 2566-2567

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rubber-price-rebounds-to-k1750-per-pound-after-two-week-fall/

‘ลาว-สิงคโปร์’ ร่วมประชุมหารือทวิภาคี ตอกย้ำความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน

กระทรวงการต่างประเทศลาวและสิงคโปร์ จัดการประชุมทวิภาคีความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน ณ เวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยทั้งสองฝ่ายได้ทบทวนความคืบหน้าในความพยายามร่วมกันในการปกป้องสิ่งแวดล้อม การจัดการแหล่งน้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้ ฝ่ายลาวได้ขอให้รัฐบาลสิงคโปร์สนับสนุนให้นักธุรกิจสิงคโปร์เข้าลงทุนในลาวมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในด้านการเกษตร พลังงานสะอาด การท่องเที่ยวและโรงแรม

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_Laosomga201_23.php

รถไฟบรรทุกตู้แช่เย็น ‘จีน-ลาว’ เชื่อมขนส่งสู่เวียดนามสำเร็จแล้ว

บริษัท ไชน่าเรียลเวย์ คุนหมิง บิวโร กรุ๊ป จำกัด เปิดให้บริการรถไฟบรรทุกตู้สินค้าแช่เย็นเที่ยวปฐมฤกษ์บนเส้นทางรถไฟจีน-ลาวที่มีจุดหมายปลายทางใหม่อยู่ที่เมืองหล่าวกาย ประเทศเวียดนาม โดยเป็นการบรรทุกผักและผลไม้แช่เย็นจากมณฑลอวิ๋นหนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนไปยังลาวและเวียดนาม ทั้งนี้ ในปัจจุบันได้กำหนดให้มีขบวนรถไฟตู้แช่เย็นเพื่อขนส่งสินค้าระหว่างเมืองคุนหมิง-เมืองหล่าวกาย ความถี่ 1 เที่ยวต่อสัปดาห์ และอาจเพิ่มขึ้นในอนาคตหากมีความต้องการขนส่งมากขึ้น ทั้งนี้ รองผู้อำนวยการแผนกขนส่งสินค้าของบริษัทฯ กล่าวว่า คาดว่าระบบบริการโลจิสติกส์รูปแบบตู้แช่ความเย็นเส้นทางใหม่นี้จะช่วยผลักดันให้เกิดความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจร่วมกันระหว่างจีน ลาว และเวียดนาม

ที่มา: http://en.people.cn/n3/2023/1016/c90000-20084097.html

กัมพูชา-จีน พร้อมกระชับความสัมพันธ์ผ่านโครงการ BRI

Wang Wentian เอกอัครราชทูตจีนประจำกัมพูชา กล่าวว่า โครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ได้เปิดฉากทัศน์ใหม่ สำหรับการสารสัมพันธ์ความเป็นมิตรภาพระหว่าง จีน-กัมพูชา ซึ่งก่อให้เกิดผลประโยชน์มหาศาลแก่ทั้งสองฝ่าย ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเน้นไปที่การก้าวข้ามอุปสรรคทางภูมิศาสตร์ ด้วยการเชื่อมโครงสร้างพื้นฐานด้านการเดินทางและการขนส่งระหว่างประเทศสมาชิค โดยคาดว่าจะดำเนินการภายใต้กรอบระยะเวลา 10 ปี ซึ่งกัมพูชาถือเป็นหนึ่งในผู้ได้รับการสนับสนุนกลุ่มแรกๆ สำหรับในช่วงเริ่มของโครงการ

ด้านเอกอัครราชทูตจีนยังได้กล่าวเสริมว่าความคิดริเริ่มดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้คน และเพิ่มความร่วมมือที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในด้านกำลังการผลิต การค้า การลงทุน การเกษตร และโครงสร้างพื้นฐาน สะท้อนจากความสำเร็จของโครงการสำคัญต่างๆ อาทิเช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ ทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์ เสียมราฐ สนามบินนานาชาติอังกอร์ สนามกีฬาแห่งชาติโมโรดอกเตโช และสถานีไฟฟ้าพลังน้ำเซซัน 2 ในตอนล่าง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501376482/bri-strengthens-china-cambodia-ties/

กัมพูชา พร้อมเปิดท่าอากาศยานนานาชาติ เสียมเรียบ-อังกอร์

สนามบินนานาชาติ เสียมเรียบ-อังกอร์ (SAI) พร้อมเปิดดำเนินการเที่ยวบินเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการในวันนี้ (16 ต.ค.) หลังผ่านการทดสอบในขั้นตอนที่จำเป็นต่างๆ โดยสนามบินนานาชาติ SAI มีสะพานเทียบเครื่องบิน 38 แห่ง และสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 7 ล้านคนต่อปี หรือคิดเป็น 65,800 เที่ยวบินต่อปี ซึ่งคาดว่าในปี 2040 เป็นต้นไปจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 12 ล้านคนต่อปี หรือเพิ่มขึ้นเป็น 112,700 เที่ยวบินต่อปี

นอกจากนี้ สนามบินสามารถรองรับการขนส่งสินค้าทางอากาศได้ถึง 10,000 ตันต่อปี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 26,000 ตันต่อปีหลังปี 2040 สำหรับการก่อสร้างสนามบินดังกล่าวเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 2020 ด้วยเม็ดเงินลงทุนประมาณ 1.1 พันล้านดอลลาร์ โดย Angkor International Airport Investment (Cambodia) Co., Ltd.

ขณะที่สำนักเลขาธิการการบินพลเรือนแห่งรัฐบาลกัมพูชา ได้รายงานถึงปริมาณผู้โดยสารทางอากาศในช่วง 8 เดือนแรกของปีที่มีกว่า 3.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 180 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับภาคการท่องเที่ยวถือเป็นหนึ่งในสี่เสาหลักที่สำคัญ ในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา โดยกระทรวงการท่องเที่ยวได้ระบุว่าในช่วงปี 2019 ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด กัมพูชาให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากถึง 6.61 ล้าน สร้างรายได้เข้าประเทศถึง 4.92 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501376475/siem-reap-angkor-intl-airport-to-start-official-commercial-operation-today/

IMF คาดเศรษฐกิจเอเชียกระทบหนัก เหตุวิกฤตอสังหาจีนฉุดดีมานด์

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุในบล็อกวันนี้ ว่า เศรษฐกิจจีนที่กลับมาคึกคักหลังพ้นช่วงล็อกดาวน์สมัยโควิดนั้นเสียแรงผลักดันเร็วกว่าคาด ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐก็ไม่ได้ช่วยเอเชียได้มากนัก เพราะสหรัฐโฟกัสกับภาคบริการมากกว่า

นอกจากนี้ การที่สภาวะทางการเงินในหลายประเทศทั่วโลกเข้มงวดขึ้นอาจทำให้เงินทุนไหลออกจากเอเชีย และทำให้ค่าเงินในเอเชียอ่อนค่าลงด้วย ทั้งนี้ ในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) IMF คงคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2566 ที่ระดับ 3% ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม แต่ปรับลดการคาดการณ์ปี 2567 ลงจากเดิม 3.0% เหลือ 2.9%

ที่มา : https://www.thansettakij.com/world/578513