ดึงโมเดล EEC ปั้นเขตเศรษฐกิจใหม่ ดูดลงทุนหลังโควิด 4 แสนล้าน

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ. หรือเลขาฯอีอีซี) เผย ในช่วงที่ทั้งโลกต้องเผชิญกับกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เป็นจังหวะดีที่ไทยจะใช้เวลานี้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและเตรียมพื้นที่เพื่อรอการลงทุนที่จะกลับมาหลังสถานการณ์ปกติ โดยการเพิ่มเขตเศรษฐกิจพิเศษ 21 เขต 9 กลุ่มทั่วไทยและใช้เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นต้นแบบ พร้อมเสริมสิทธิประโยชน์อุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ศักยภาพสูงในแต่ละพื้นที่ โดยแผนนี้จะถูกผลักดันเข้าไปเป็นหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ 13 (ปี 2566-2570) หวังดึงเงินลงทุนโดยตรง (FDI) กว่า 4 แสนล้านบาท ดัน GDP โตได้ถึง 4-5%

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-679526

พิษปฏิวัติฉุดจีดีพีเมียนมาปี 64 ดิ่ง 10% หวั่นกระทบส่งออกไทยสูญ 9.6 หมื่นล้าน

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเผย 100 วันหลัง “มิน อ่อง ลาย” ปฏิวัติ ทุบจีดีพีเมียนมาปี 64 ติดลบ 10% ขณะนี้มูลค่าการส่งออกของไทยไปเมียนมา คาดว่าจะ -51.6% ถึง – 82.2% หรือมีมูลค่าลดลง 60,670 ถึง 96,590 ล้านบาท ทำให้มูลค่าการส่งออกรวมของไทย -0.8% ถึง -1.3% สำหรับ 10 กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมเสี่ยงที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมาก เช่น น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกล เหล็ก ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เภสัชภันฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเซรามิก ทั้งนี้คาดว่า FDI ในเมียนมาปี 2564 จะ -76.1% ถึง -85.4% หรือมีมูลค่าหายไป 202,902 ล้านบาท ถึง 227,698 ล้านบาท

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-677777

สินค้าเกษตรของเวียดนาม เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคชาวจีน

สินค้าทางการเกษตรของเวียดนาม เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคชาวจีนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากสินค้ามีคุณภาพที่ดี ตลอดจนการพัฒนาธุรกิจ รองหัวหน้าหน่วยงานส่งเสริมการค้า กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวในที่ปะชุมออนไลน์ เมื่อวันที่ 26 พ.ค. ว่าจีนกลายมาเป็นตลาดส่งออกชั้นนำอันดับที่ 2 ของเวียดนาม ด้วยมูลค่าการส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 16.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 32.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งนำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม เพิ่มขึ้น 47.8% ท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัส ทั้งนี้ ผัก กาแฟ ข้าว มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากมันสำปะหลัง รวมถึงอาหารทะเล สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของเวียดนามไปยังตลาดจีน

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnamese-agricultural-products-favoured-in-china-861199.vov

เวียดนามเผยช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ สิงคโปร์เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุด

ตามข้อมูลของกระทรวงวางแผนและการลงทุน เผยว่าตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงวันที่ 20 พ.ค. ยอดการเบิกจ่ายโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เพิ่มขึ้น 6.7% เป็นมูลค่า 7.15 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป มีมูลค่าถึง 6.14 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และค้าปลีกค้าส่ง โดยสิงคโปร์เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยเม็ดเงิน 5.26 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 37.6% ของเงินลงทุนทั้งหมด ตามมาด้วยญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ นอกจากนี้ จังหวัดลองอาน (Long An) ถือเป็นแหล่งดึงดูดเม็ดเงินทุนจากต่างประเทศมากที่สุด ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 3.35 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 23.9% ของทุนทั้งหมด ตามมาด้วยเมืองโฮจิมินห์ เก่นเทอ บินห์เดือง ไฮฟองและบั๊กเกียง

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/singapore-tops-list-of-foreign-investors-over-five-month-period-861182.vov

เกษตรกรเมือง Kyaukse ปลื้ม ขายมะนาวได้ราคาดี

เกษตรกรผู้ปลูกมะนาวเมือง Kyaukse เขตมัณฑะเลย์เผยค่อนข้างพอใจกับการขายผลมะนาว เนื่องจากปลูกและดูแลได้ง่าย ให้ผลผลิตสูง และเก็บจำหน่ายได้เกือบตลอดทั้งปี ทั้งนี้พบว่าราคาหน้าสวนขายได้ 100-150 จัตต่อ 1 ลูกขึ้นอยู่กับขนาด สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับเกษตรกรผู้ปลูกเป็นอย่างดี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/lemon-growers-in-kyaukse-happy-with-good-sale-of-lemon-fruits/#article-title

ผู้คนมากกว่า 84,000 คนต้องตกอยู่ในความยากจนเนื่องจากการแพร่ระบาด

สถิติระบุว่ามีผู้ว่างงาน 84,418 คนและประสบความยากลำบากทางการเงินอย่างรุนแรงทั่วประเทศอันเป็นผลมาจากการระบาดของโรคโควิด -19 รวมถึงหลายคนที่ถูกปลดออกจากงานในประเทศอื่นๆ รัฐบาลจะนำผลการสำรวจไปใช้ในการร่างมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ความช่วยเหลือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อบรรเทาความยากลำบากของผู้คนท่ามกลางข้อ จำกัด ในการเดินทางการจ้างงานและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ปัญหาดังกล่าวเป็นความท้าทายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาดังกล่าวเพื่อนำพาเศรษฐกิจสปป.ลาวสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงการแก้ปัญหาความยากจนที่เป็นปัญหาที่ภาครัฐให้ความสำคัญ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Funds101.php

กัมพูชาวางแผนเพิ่มการเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจภายในประเทศลดพึ่งพาการนำเข้า

ภาคการเกษตรของกัมพูชาโดยเฉพาะกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ไก่ และเป็ด กำลังอยู่ในช่วงของการเติบโตและขยายตัวรายงานโดยประธานสมาคมผู้ปรับปรุงพันธุ์สัตว์แห่งกัมพูชา ซึ่งจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ไม่พึงประสงค์ต่อภาคการเกษตร รัฐบาลจึงสนับสนุนโครงการให้กู้ยืมพิเศษผ่านธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรแห่งกัมพูชา ตลอดจนสถาบันให้กู้ยืมอื่น ๆ แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยคาดว่าสิ่งนี้จะทำให้ภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเป็นการลดการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าประเภทสัตว์จากต่างประเทศลง รวมถึงเป็นการลดความผันผวนของราคาภายในประเทศจากความไม่แน่นอนในหลายๆ ด้าน ซึ่งยังส่งผลดีในการควบคุมโรคจากสัตว์ ยกตัวอย่างในกรณีที่เกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ในภูมิภาค ที่เวียดนามกำลังประสบปัญหาการระบาดของโรค ASF อยู่หลายครั้งโดยล่าสุดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม มีการบังคับให้คัดแยกสุกรกว่า 43,150 ตัว ระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2020 ส่งผลทำให้ราคาสุกรในประเทศกัมพูชาเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50863218/domestic-husbandry-reduces-reliance-on-imports/

การพัฒนาของจีนสู่การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจกัมพูชา

ด้วยการคาดการณ์การพัฒนาของจีนที่อาจจะส่งผลผลักดันการเติบโตภายในภูมิภาคอาเซียนในปีนี้ โดยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของกัมพูชาจากการแพร่ระบาดยังคงขึ้นอยู่กับความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่างจีนที่มีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ซึ่งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ทั่วโลกที่ลงทุนมายังกัมพูชาลดลงกว่าร้อยละ 48 สู่ระดับ 846 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2015 ตามข้อมูลขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา โดย FDI คิดเป็นร้อยละ 13.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของกัมพูชา ซึ่งหากคิดจากปี 2020 กัมพูชาได้รับการลงทุนโดยตรงจากจีนมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 860 ล้านดอลลาร์ ลดลงจาก 3.6 พันล้านดอลลาร์ในปี 2019 โดยการเติบโตของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจขึ้นอยู่กับว่าจีนฟื้นตัวได้ดีเพียงใดในปีนี้ เนื่องจากจีนถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ ทั้งทางด้านมูลค่าการลงทุน ไปจนถึงปริมาณการลงทุนภายในภูมิภาค เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50863169/economic-recovery-linked-to-chinese-development/

เวียดนามเผย 4 เดือนแรก ยอดส่งออกไม้ พุ่ง 50.5%

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เผยว่ายอดการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ แตะ 4.99 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 50.5 เมื่อเทียบเป็นรายปี สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เป็นผู้นำเข้าไม้รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดรวมกันเป็นสัดส่วน 87.1% ของยอดการส่งออกรวม นอกจากนี้ ในปัจจุบัน เวียดนามมีจำนวนผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจด้านการผลิตและแปรรูปไม้ประมาณ 12,000 แห่ง ด้วยจำนวนพนักงานราว 500,000 คน และจำนวนเงินทุนทางด้านการผลิต 320 ล้านล้านดอง (14 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรมากกว่า 120 ล้านล้านดอง และรายได้สุทธิเกือบ 360 ล้านล้านดอง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/wood-exports-post-505percent-surge-in-four-months/202061.vnp

“เวียดนาม-ญี่ปุ่น” จับมือร่วมส่งเสริมการดำเนินงาน ภายใต้ข้อตกลง CPTPP

เวียดนามและญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะส่งเสริมความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินการตามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ซึ่งได้บรรลุฉันทานมติมาจากการเจราทางโทรศัพท์ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการฟื้นฟูเศรษฐกิจของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมา อีกทั้ง เวียดนามยอมรับที่จะสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่ต้องการลงทุนในเวียดนาม และการเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้น ช่วยให้เวียดนามกลายเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจญี่ปุ่น โดยเฉพาะสาขาผลิตยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เสื้อผ้าและสิ่งทอ สิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อความสัมพันธ์แบบทวิภาคีทั้งทางเศรษฐกิจและการค้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-japan-to-work-closely-for-effective-implementation-of-cptpp/202091.vnp