ส่งออกข้าวโพดไปไทยพุ่ง แต่นำเข้าลดลงกว่าครึ่ง

การส่งออกข้าวโพดไปยังไทยที่ด่านเมียวดีกำลังเติบโต แต่การนำเข้าจากเพื่อนบ้านในอาเซียนลดลง เมียนมาส่งออกข้าวโพดกว่า 200 คัน ไปยังไทยทุกวันผลเกิดจากการยกวันภาษีการส่งออกสินค้าตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 เป็นต้นไป การนำเข้าสินค้าของไทยจึงลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง ความไม่สงบทางการเมืองและการปิดทำการของธนาคารสร้างความเสียหายอย่างมากต่อการค้าของเมียนมา ก่อนหน้านี้ด่านการค้าชายแดนมีรถบรรทุกประมาณ 50 คันขนส่งสินค้าเกษตร เช่น ถั่วดิน พริก หัวหอม ปลาและกุ้ง ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นโดยมีรถบรรทุกประมาณ 200 ถึง 300 คันที่ขนส่งข้าวโพดมายังไทยทุกวัน มีการประท้วงอย่างต่อเนื่องและการปิดธนาคาร ทำให้ไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงิน การสั่งซื้อสินค้า อีกทั้งไม่สามารถเสียภาษีได้และปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก่อนหน้ามีรถบรรทุกจากไทยประมาณ 400 คันเข้าเมียนมาทุกวัน ตอนนี้มีเหลือเพียง 150 คันเท่านั้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmars-corn-exports-rise-thai-imports-more-halved.html

International Finance Corporation เสนอแผนปฏิรูปด้านการลงทุนดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ

International Finance Corporation เผยแพร่รายงานที่เกี่ยวข้งกับการลงทุนในสปป.ลาว โดยมีรายละเอียดในเรื่องการพัฒนากลยุทธ์การลงทุนแบบองค์รวมควบคู่ไปกับการปฏิรูปกฎระเบียบอย่างต่อเนื่องของสปป.ลาว จะช่วยให้สปป.ลาวดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่หลากหลายและมีคุณภาพสูงขึ้น แนวทางดังกล่าวจะช่วยให้สปป.ลาวสามารถขยายเศรษฐกิจและสร้างงานเพิ่มขึ้น การปฏิรูปด้านการลงทุนมีเป้าหมายเพื่อให้ตระหนักถึงผลกระทบเชิงบวกของการลงทุนโดยตรงต่อเศรษฐกิจในท้องถิ่น ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา FDI เป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสปป.ลาว อย่างไรก็ตามรายงานเผยว่าการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในทรัพยากรธรรมชาติทำให้เกิดโอกาสในการทำงานที่ จำกัด และไม่สามารถปลดล็อกศักยภาพของ FDI ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นความท้าทายที่สปป.ลาวจะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อโอกาสในการดึงดูดการลงทุนเพิ่มเติมวึ่งจะเป็นกลไกที่สำคัญตัวหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_New35.php

ญี่ปุ่นตอกย้ำการร่วมพัฒนาเมืองของกัมพูชา

ฟอรัมครั้งที่สองระหว่างกัมพูชากับญี่ปุ่น ตอกย้ำการพัฒนาเขตเมืองกัมพูชาให้เป็นเมือง “อัจฉริยะ” ซึ่งทำการประชุมผ่านทางออนไลน์ระหว่างกระทรวงการจัดการที่ดินการวางผังเมืองและการก่อสร้าง (MLMUPC) ของกัมพูชา และกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง MLMUPC กล่าวถึงการประชุมที่จัดขึ้นเพื่อผลักดันโอกาสทางธุรกิจให้เกิดความต่อเนื่องระหว่างสองประเทศ และส่งเสริมการลงทุนจากญี่ปุ่นมายังกัมพูชาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในการพูดคุยกันรัฐมนตรีกระทรวงฯ ของญี่ปุ่นกล่าวว่าญี่ปุ่นจะสนับสนุน แบ่งปันแนวทางในการปฏิบัติ และประสบการณ์ที่ดีกับกัมพูชา เกี่ยวกับการขยายตัวของเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้รัฐบาลกัมพูชาถือว่าภาคเอกชนเป็นกลไกในการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ การพัฒนาการจ้างงาน การส่งเสริม SMEs ไปจนถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (IR4.0) ของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50815380/japan-cambodia-forum-reinforces-urban-development-in-kingdom/

รัฐบาลกัมพูชาร่วมกับบริษัทเอกชน ส่งเสริมสินค้าเกษตรปลอดภัย

กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง ร่วมกับตัวแทนของบริษัทเอกชน ทำการลงนามบนสัญญากว่า 16 ฉบับ รวมถึงบันทึกความเข้าใจ (MoU) อีก 2 ฉบับ เพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรปลอดภัยของกัมพูชา เช่น ผัก มันสำปะหลัง แตงโม มะม่วง และสัตว์เศรษฐกิจอื่น ๆ โดยเจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงเกษตร กระทรวงป่าไม้และประมง รวมถึงกระทรวงเศรษฐกิจการเงิน ตลอดจนผู้ได้รับมอบหมายจาก IFAD พันธมิตรเพื่อการพัฒนาภาคเอกชน ผู้สนับสนุน และกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามอย่างเป็นทางการ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ASPIRE ที่เป็นโครงการด้านความร่วมมือในการพัฒนาด้านการเกษตรเพื่อนวัตกรรม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงกล่าวเน้นย้ำว่าโครงการนี้มีส่วนสำคัญในการจัดหาและพัฒนาทรัพยากรด้านอาหารที่ปลอดภัย รวมถึงทำการตลาดสำหรับพืชผักในประเทศ ลดการนำเข้าสินค้าเกษตรลง นอกจากนี้ยังรักษาปริมาณอาหารในกัมพูชาและพัฒนาภาคเกษตรกรรมต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50815361/ministry-private-firms-cooperate-to-boost-cambodias-safe-agricultural-products/

หอการค้า จี้แก้ค่าเงินบาทแข็ง โลจิสติกส์ เจรจาการค้าให้คืบหน้า ก่อนไทยเสียหายแข่งขันไม่ได้

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าอาหารไทยขยายตัวไม่เต็มศักยภาพ เนื่องจากมีปัจจัยหลายด้านยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งทางหอการค้าไทยเห็นว่าวิกฤตระยะสั้นที่ต้องเร่งแก้ไขคือ ค่าเงินบาทของไทยที่ยังคงแข็งค่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียนประเทศไทยแข็งค่ากว่าประเทศคู่แข่งมาก ส่งผลทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลง โดยมองว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่สามารถแข่งขันได้ควรอยู่ที่ 32 บาท นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในเรื่องของโลจิสติกส์การขนส่งทางเรือและการขาดแคลนคอนเทนเนอร์ในการขนส่ง การปรับค่าระวางเรือที่สูงขึ้นแบบไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และอีกปัญหาสำคัญคือการเจรจาข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่ประเทศไทยไม่มีความคืบหน้าในขณะที่ประเทศคู่แข่งหลายประเทศได้แต้มต่อเรื่องของภาษีและมีการเข้าร่วมการเจรจาต่าง ๆ แล้ว ทั้งการทำ FTA ไทย-อียู,อังกฤษ และ CPTPP รวมถึงการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต

ที่มา : https://www.innnews.co.th/news/economy/news_45591/

ไทย-จีน จับมือพัฒนามาตรฐานคุณภาพผลไม้ไทย ดันส่งออกปี 64 เพิ่ม ตั้งเป้าทะลุ 7 หมื่นล้าน

เมื่อวันที่ 17 ก.พ.64 นายอลงกรณ์ พลบุตร  ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ภายใต้นโยบายทำงานเชิงรุกยุคโควิดเพื่อขยายการส่งออกผลไม้ไทยสู่ตลาดโลกของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ จะจัดการประชุมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาคุณภาพผลไม้เพื่อสร้างโอกาสเพิ่มขึ้นในการส่งออกผลไม้ไทยไปจีน โดยจะมีการประชุมร่วมกันกับผู้แทนกระทรวงเกษตรฯ และอัครราชฑูตที่ปรึกษาด้านพาณิชย์ของจีนรวมทั้งหอการค้าไทย-จีนและผู้แทนภาคเอกชนของ 2 ฝ่าย ในเดือนมีนาคมที่จะถึง สำหรับประเด็นการหารือจะครอบคลุมตั้งแต่ การพัฒนามาตรฐานและคุณภาพผลไม้ไทย ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ จากฟาร์มถึงผู้บริโภค การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การขนส่งโลจิสติกส์ การส่งเสริมการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ การพัฒนาการอำนวยความสะดวก บริเวณด่านส่งออก 4 ด่านได้แก่ ด่านโมฮ่าน ด่านโหยวอี้กวน ด่านตงชิงและด่านผิงเสียง รวมทั้งความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรและผู้ประกอบการ ทั้งนี้ประเทศไทยและประเทศจีนมีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนานผูกพันเสมือนพี่น้องกันและได้พัฒนาความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้มีพิธีลงนามความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าไทยให้มีคุณภาพและมาตรฐานสอดคล้องกับกฎระเบียบและข้อบังคับการนำเข้าของสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างหอการค้าไทย-จีน และ บริษัท ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย) จำกัด

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/923074

แนวโน้มธุรกิจค้าปลีกของเวียดนามอยู่ในทิศทางสดใส

ตามผลการสำรวจ ชี้ให้เห็นว่าบริษัทค้าปลีกเวียดนาม 47% ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างรุนแรง ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าไรนัก และธุรกิจ 8% ได้รับผลกระทบเล็กน้อย ผู้คนส่วนใหญ่ปรับลดค่าใช้จ่ายหลังจากถูกเลิกจ้างหรือปรับลดเงินเดือน เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ในขณะเดียวกัน ธุรกิจค้าปลีกเผชิญกับปัญหาขาดแคลนเงินทุนและภาวะหยุดชะงักด้านซัพพลายเชน อย่างไรก็ตาม นาย Vu Dang Vinh ผู้อำนวยการของ Vietnam Report กล่าวว่านักเศรษฐศาสตร์และคนวงในยังคงเชื่อมั่นต่อภาคค้าปลีกอยู่ในทิศทางที่ดี ตลอดจนความสะดวกในการซื้อของออนไลน์ ทั้งนี้ ‘ล็อตเต้มาร์ท’ ซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ เผยยอดขายออนไลน์เติบโต 100-200% โดยเฉพาะเมืองฮานอยและโฮจิมินห์

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/outlook-positive-for-vietnams-retail-market/196355.vnp

เวียดนามเผยยอดผู้โดยสารเดินทางช่วงเทศกาลเต็ด ลดลง 64.8%

ตามรายงานของคณะกรรมการความปลอดภัยการจราจรแห่งชาติ (NTSC) แสดงให้เห็นว่าความต้องการในการเดินทางลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงเทศกาลเต็ด ผู้โดยสารชาวเวียดนามมีจำนวน 408,000 คน และปริมาณการขนส่งสินค้า 2,000 ตัน ลดลง 64.8% และ 54.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ทั้งนี้ จำนวนผู้โดยสารและสินค้าที่ทำการขนส่งทางรถไฟต่างก็ลดลงเช่นเดียวกัน โดยเมื่อวันที่ 9 – 13 ก.พ. มีผู้โดยสารจำนวน 12,792 คน และปริมาณการขนส่งสินค้า 6,035 ตัน คิดเป็นสัดส่วนเพียง 33.56% ของจำนวนผู้โดยสารรวม และ 65.56% ของปริมาณการขนส่งเมื่อเทียบกับเทศกาลเต็ดปีก่อน อย่างไรก็ตาม การขนส่งทางน้ำยังคงราบรื่น ตลอดจนดำเนินการขนถ่ายสินค้า

  ที่มา : http://dtinews.vn/en/news/018/72532/tet-flight-passenger-numbers-plunge-by-64-8-.html

เมียนมา ตัดสัญญาณเน็ต กระทบธุรกิจออนไลน์ยอดขายลดฮวบ

ธุรกิจออนไลน์ของเมียนมากำลังเจอปัญหาจากการประกาศเคอร์ฟิว การปิดสัญญาณอินเทอร์เน็ตของรัฐบาลทหาร ตั้งแต่เวลา 01.00 น. ถึง 9.00 น. ร้านค้าออนไลน์กล่าวว่ายอดขายลดลงครึ่งหนึ่งในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมจากการเชื่อมต่อที่หยุดชะงักและความเร็วที่ช้าลง จากสถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมาทำให้ธุรกิจหันเหปรับเปลี่ยนเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้น เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งสถานการณ์ทางการเมืองทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอาหารออนไลน์อย่าง Food Panda  หรือธุรกิจอาหารและร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ล้วนได้รับผลกระทบต่อยอดขายที่ลดลงจากการตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ต

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/internet-cut-spells-trouble-online-businesses-myanmar.html

อสังหาฯ มัณฑะเลย์ ปรับตัวเน้นให้เช่ามากขึ้น

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของมัณฑะเลย์เริ่มเปลี่ยนเป็นให้เช่าแทน ตัวแทนภาคอสังหาริมทรัพย์กล่าวว่าการระบาดของ COVID-19 และความวุ่นวายทางการเมืองเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้กระทบตลาดอย่างรุนแรง ซึ่งต้องใช้เวลาสักพักกว่าที่ตลาดจะฟื้นตัวและต้องอาศัยการให้เช่าเพื่อพยุงในช่วงนี้ไปก่อน เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคเน้นเก็บเงินสดงดการบริโภค จากความวุ่นวายทางการเมืองในปัจจุบัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-real-estate-market-clinging-rentals.html