ผลสำรวจของเวิลแบงค์ COVID-19 รอบสองในเมียนมาส่งผลกระทบรุนแรงกว่าครั้งแรก

การสำรวจล่าสุดของธนาคารโลกซึ่งเป็นครั้งที่ 4 จาก 8 ชุดที่ได้วางแผนไว้ โดยสำรวจในเดือนกันยายนและครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของธุรกิจในประเทศ 500 ตัวอย่าง ร้อยละ 66 พบว่าไม่มีความพร้อมในการรับมือและธุรกิจการเกษตรขนาดเล็กและขนาดเล็กมีความพร้อมน้อยที่สุด ร้อยละ 83 ได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 75 ของเดือนสิงหาคม บริษัททุกขนาดประสบปัญหาปิดตัวชั่วคราวเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายนหลังจากที่รัฐบาลออกคำสั่งห้ามออกจากที่พักสำหรับธุรกิจในย่างกุ้ง ส่วนภาคเกษตรกรรมมีการปิดกิจการเพิ่มขึ้น ยอดขายที่ลดลงยังเป็นที่น่ากังวลสำหรับธุรกิจขนาดเล็กจากการสำรวจจพบว่า ยอดขายลดลงร้อยละ 93 ในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากเดือนสิงหาคม อีกทั้งปัญหาด้านเงินทุนจะส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัทมากขึ้นในเดือนกันยายน มีบริษัทจำนวนมากขึ้นที่ยื่นฟ้องล้มละลายและปลดคนงานออกรวมถึงมีปัญหาด้านการชำระสินเชื่อตามมา จากรายงานยังพบว่าธุรกิจการเกษตรเกือบครึ่งหนึ่งและหนึ่งในสามของบริษัทค้าปลีกและค้าส่งมีแนวโน้มว่าในอีกสามเดือนข้างหน้าจะเริ่มมีการค้างการชำระสินเชื่อ การระบาดของ COVID-19 รอบสองในเมียนมา มีผลให้บริษัทต่างๆ มีความมั่นใจน้อยลงในการเปิดกิจการต่อเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/covid-19-second-wave-more-severe-local-firms-first.html

ทางด่วนเลียบชายฝั่งอิระวดีเริ่มก่อสร้างในปีนี้

จากรายงานของกระทรวงการก่อสร้าง โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งอิระวดีภายใต้ธนาคารโครงการของเมียนมา (Project Bank)  ซึ่งเป็นทางด่วนที่เชื่อมระหว่างเขตอิรวดีและรัฐยะไข่ จะเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปีงบประมาณนี้ คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 94 ล้านดอลลาร์สหรัฐและแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 66-67 โครงการนี้จะเป็นการก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งความยาว 274 กม. จากเขตอิรวดีไปยังรัฐยะไข่ เมื่อสร้างเสร็จจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจและความปลอดภัยบนทางด่วน การก่อสร้างถนนเลียบชายฝั่งจะอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าเกษตรและประมงจากเขตอิระวดีและภูมิภาคอื่น ๆ ใกล้เคียงไปยังท่าเรือสำคัญเพื่อการส่งออก ช่วยลดเวลาในการเดินทางและช่วยให้เข้าถึงชายหาดที่มีชื่อเสียงได้ง่ายขึ้น ทั้งยังกระตุ้นการพัฒนาโครงการโรงแรมและรีสอร์ทตามแนวชายฝั่งในภูมิภาค นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงการให้บริการอย่างเช่น สุขภาพ การศึกษา และโอกาสเติบโตของธุรกิจ เป็นต้น Myanmar Project Bank เป็นแพลตฟอร์มบนเว็บที่ออกแบบมาเพื่อเน้นโครงการลงทุนที่สอดคล้องกับการปฏิบัติตามแผนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเมียนมา (Myanmar Sustainable Development Plan 2014 – 2030: MSDP) โดยสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลได้ที่ www.projectbank.gov.mm ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับโครงการทั้งหมดที่สอดคล้องกับการดำเนินการตามแผน MSDP โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดายด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว นอกจากนี้ยังสร้างระบบที่มีความน่าเชื่อถือ โปร่งใส ซึ่งเชื่อมโยงโครงการลงทุนที่สำคัญกับแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม ธนาคารโครงการเปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ มีโครงการทั้งหมด 58 โครงการ ส่วนในเดือนสิงหาคมมีการเพิ่มโครงการอีก 71 โครงการ มูลค่ารวมทั้งสิ้น 7.9 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/construction-ayeyarwady-coastal-expressway-start-year.html

เวียดนาม-สปป.ลาวจะเปิดประตูพรมแดนอีกครั้ง

นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวและเวียดนามหารือผ่านโทรศัพท์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทวิภาคีและความร่วมมือระดับภูมิภาคก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 37 สปป.ลาวแสดงความยินดีกับเวียดนามที่ประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่นในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด -19 อย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศและกล่าวถึงการที่เวียดนามก้าวขึ้นไปดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนปี 2020 ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งในภูมิภาค ผู้นำทั้งสองยืนยันว่าพวกเขาจะให้ความสำคัญสูงสุดกับความสัมพันธ์มิตรภาพที่พิเศษนี้และความร่วมมือที่ครอบคลุมระหว่างสองชาติพวกเขายังได้พูดถึงการประสานงานทวิภาคีในประเด็นสำคัญ ๆ เช่นการเมืองความมั่นคงประเทศเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนและการพัฒนาด้านการศึกษา ท้ายที่สุดของหารหารือยังได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการอำนวยความสะดวกให้กับการไหลเวียนของสินค้าและผู้โดยสารระหว่างสองประเทศ ดังนั้นในไม่ช้าจึงบรรลุฉันทามติในแผนการเปิดประตูพรมแดนแผ่นดินใหญ่อีกครั้งและเปิดเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ต่อไปพร้อมกับดำเนินความร่วมมือที่สำคัญอย่างมีประสิทธิผลเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-laos-hope-to-reopen-mainland-border-gates-and-resume-commercial-flights-soon-25777.html

รัฐบาลกัมพูชาตั้งกองทุนพิเศษสำหรับรองรับฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวในปีนี้

ธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทเพื่อการเกษตร (ARDB) ได้เริ่มสนับสนุนกองทุนพิเศษมูลค่า 30 ล้านดอลลาร์ให้กับโรงสีและผู้ส่งออกข้าวเพื่อทำการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในกัมพูชาในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวปีนี้ โดยผู้อำนวยการธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทเพื่อการเกษตร (ARDB) กล่าวว่าเงินสนับสนุนจะถูกปล่อยออกมาทีละช่วง ซึ่งในช่วงแรกปล่อยออกมาประมาณ 3 ล้านดอลลาร์ แล้วจะค่อยๆกระจายยอดไปในระหว่างการเก็บเกี่ยว โดยเกษตรกรขายข้าวเปลือกให้กับ Amru ในราคาที่ 1,620 เรียลต่อกิโลสำหรับข้าวคุณภาพดีที่สุดและ 1,580 เรียลต่อกิโลสำหรับเกรดรองลงมา ซึ่งรายได้รวมจากการส่งออกข้าวของกัมพูชาแตะ 366.44 ล้านดอลลาร์ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2020 ตามรายงานของ CRF อยู่ที่ 536,035 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกัมพูชาทำการส่งออกข้าวส่วนใหญ่ไปยังตลาดเวียดนามอย่างไม่เป็นทางการมากกว่า 2 ล้านตันต่อปี ตามตัวเลขจากกระทรวงเกษตรกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50781705/special-fund-keeps-rice-harvests-on-firm-track-despite-heavy-floods/

กัมพูชากังวลการแพร่ระบาดระลอกที่ 2 ของโควิด-19

ภาคธุรกิจในกัมพูชาโดยเฉพาะฝากฝั่งธุรกิจด้านการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเริ่มเห็นถึงผลกระทบจากความกังวลที่อาจจะเกิดการระบาดระลอกที่ 2 ของ COVID-19 ซึ่งรัฐบาลจึงจำเป็นต้องใช้มาตรการที่รัดกุมในการควบคุมโรค เพราะหากเกิดการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่อาจจะส่งผลทำให้มีธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยวเผชิญกับความเสี่ยงที่จะต้องปิดกิจการลงรวมถึงกิจการที่เกี่ยวข้อง โดยรัฐบาลได้สั่งปิดสถานบริการความบันเทิงบางส่วน และโรงภาพยนตร์ทำให้คนงานในสถานประกอบการเหล่านั้นตกงานอีกครั้ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50781586/possibility-of-second-c-19-wave-causes-deep-concern/

ยันไทยชาติแรกในอาเซียนมี 5G เชิงพาณิชย์ ครอบคลุม EEC เกือบทั้งหมดแล้ว

รองนายกฯ พล.อ.ประวิตร ย้ำประเทศไทยก้าวสู่ยุค 4.0 ปลื้มเป็นประเทศแรกในอาเซียนใช้ 5G เชิงพาณิชย์ ยันรัฐบาลจริงจังลุยแผนพัฒนาดิจิทัลฯ หนุนพัฒนาประเทศในทุกมิติ โดยเมื่อวันที่ 11 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เปิดงานสัมมนา “Powering Digital Thailand 2021” จัดโดยความร่วมมือระหว่าง บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท บางกอกโพสต์ จำกัด (มหาชน) ในระหว่างวันที่ 11-14 พ.ย. 2563 ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศอาเซียนพัฒนาเทคโนโลยี 5G มาใช้ในเชิงพาณิชย์ ขณะนี้ครอบคลุมพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก หรือ EEC เกือบทั้งหมดแล้ว ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลโดยเฉพาะระบบ 5G ระบบคลาวด์และเอไอจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลภูมิภาค จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคต นำไปสู่การต่อยอดนวัตกรรมแบบไม่มีที่สิ้นสุด

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/1974383

พาณิชย์ นำร่องตั้งกองทุนหนุนการค้าไทย-ลาว สกัดชาติมหาอำนาจรุกหนัก

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สั่งการให้สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD เร่งศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง “กองทุนช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) ไทย-สปป. ลาว” เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าและอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) ระหว่างไทยกับ สปป. ลาว โดยการยกระดับประสิทธิภาพด้านการขนส่งสินค้าข้ามแดน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าการลงทุนให้แก่นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ ไทย และ สปป.ลาว ทั้งนี้ แนวคิดการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกทางการค้าไทย-ลาว เกิดจากการได้ลงพื้นที่พบปะกับนักธุรกิจไทยที่ได้เข้าไปทำการค้าและลงทุนใน สปป.ลาว ซึ่งมักพบปัญหาหลายอย่าง เช่น ต้นทุนในการติดต่อประสานงานในการค้าขายและต้นทุนการขนส่งสินค้าข้ามแดนสูง การขนส่งสินค้าทางเรือ และการจัดการเอกสารการค้าผ่านแดน รวมถึงการขออนุญาตนำเข้าส่งออกใช้เวลานาน การจัดเก็บค่าธรรมเนียม การตรวจคนเข้าเมือง การศุลกากร และการกักกัน มีขั้นตอนที่ยุ่งยากและมีต้นทุนแฝงที่ค่อนข้างสูง ปัญหาเหล่านี้ถือเป็นข้อจำกัดที่ส่งผลกระทบต่อการค้าขายระหว่างกันของไทยและสปป.ลาว

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2434800

หอการค้าฯ เผยเวียดนามควรมีกฎหมายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสนับสนุน

ประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) กล่าวว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ระลอกใหม่ จะมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมสนับสนุน ดังนั้น หากอุตสาหกรรมสนับสนุนในประเทศไม่ได้รับการพัฒนาให้ไปอยู่ในระดับสูงขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน ก็ไม่สามารถหลุดพ้นจากการแปรรูปสินค้า และถึงแม้ว่าเวียดนามจะสามารถดึงดูดเม็ดเงิน FDI ได้หลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐก็ตาม ทั้งนี้ ธุรกิจญี่ปุ่นหลายรายได้ตัดสินใจเลือกย้ายฐานการผลิตและการทำธุรกิจมายังเวียดนาม ในขณะเดียวกัน ทางตัวแทนของซัมซุงเวียดนาม ระบุว่ามีการสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในกรุงฮานอย อีกทั้ง ธุรกิจเวียดนามและสหรัฐฯ ได้มีการลงนามข้อตกลงด้านการลงทุน คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและพลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้ สำนักกฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งศึกษาและสร้างกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป จึงส่งให้รัฐบาลเพื่อขออนุมัติ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/804469/viet-nam-should-have-law-on-supporting-industry-vcci-chairman.html

นักเศรษฐศาสตร์ คาดเศรษฐกิจเวียดนามโต 6% ในปี 2564

นาย Duong Manh Hung นักวิเคราะห์อาวุโสของสำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม กล่าวว่าเศรษฐกิจเวียดนามกลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ขยายตัวร้อยละ 2.62 ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ หลังจากไตรมาสที่ 2 อยู่ในระดับต่ำที่สุด ร้อยละ 0.39 ด้วยความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เป็นแรงผลักดันต่อเศรษฐกิจทุกภาคส่วนกลับมาดำเนินธุรกิจใหม่ ตัวอย่างเช่น ภาคอุตสาหกรรมเติบโตร้อยละ 3.6 ในเดือนต.ค. และจำนวนธุรกิจกว่า 5,000 รายกลับมาดำเนินกิจการในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว ประกอบกับจำนวนการจดทะเบียนธุรกิจใหม่มากกว่า 12,000 แห่ง ด้วยเหตุนี้ จึงคาดว่าการขยายตัวของ GDP จะแตะอยู่ในระดับร้อยละ 2 ในปีนี้ และร้อยละ 6 หรือมากกว่านั้นในปี 2564 อย่างไรก็ตาม การเติบโตของเศรษฐกิจก็ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโลกด้วย โดยเฉพาะประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับเวียดนามอย่างมาก ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/gdp-growth-6-percent-in-2021-feasible-economists/190112.vnp

การค้าทวิภาคีระหว่างญี่ปุ่นกับกัมพูชาลดลงกว่าร้อยละ 25

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชากับญี่ปุ่นมีมูลค่าอยู่ที่ 1,548 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสที่ 3 ของปี ซึ่งลดลงกว่าร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามรายงานขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายนกัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังญี่ปุ่น 1,208 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 5.6 ในขณะที่กัมพูชานำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นทั้งสิ้น 339 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 14.8 ซึ่งปัจจุบันการส่งออกของกัมพูชาไปยังญี่ปุ่นคิดเป็นร้อยละ 0.3 ของการส่งออกทั้งหมด ในขณะที่การนำเข้าสินค้าของกัมพูชาจากญี่ปุ่นคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.1 ของการนำเข้าทั้งหมดของกัมพูชา โดยกัมพูชาได้ส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เสื้อผ้า รองเท้า และจักรยาน ส่วนสินค้านำเข้าหลักคือเครื่องจักรและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50781435/japan-and-cambodia-bilateral-trade-dropped-25/