เวียดนามเผยยอดส่งออกผักผลไม้ครึ่งปีแรก สูงถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยตัวเลขการส่งออกผักและผลไม้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 มีมูลค่ามากกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน จีนยังคงเป็นผู้นำเข้าผักและผลไม้รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีสัดส่วนร้อยละ 60.8 ของยอดนำเข้ารวม อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านทางตอนเหนือ ลดลงร้อยละ 29.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ หลายตลาดขยายตัวได้ดี เช่น ไทย (57.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ, เพิ่มขึ้น 244.1%) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และเนเธอแลนด์ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรส่งออกผักและผลไม้แปรรูปในช่วงเวลานี้ ยอดส่งออกจะกลับมาฟื้นตัวในช่วงปลายปี เนื่องจากคาดว่าควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/veggie-fruit-exports-exceed-15-billion-usd-in-first-half/174897.vnp

YBS ใช้ระบบการชำระเงินด้วยบัตรเริ่มมิถุนายนนี้

ย่างกุ้งเปิดตัวระบบชำระเงินย่างกุ้ง (YPS) สำหรับรถประจำทางในปลายเดือนมิถุนายนจากรายงานของ Asia Starmar Transport Intelligent ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้ชนะการประกวดราคา เทคโนโลยีระบบบัตร YPS ได้ติดตั้งบนรถบัสเกือบ 2,000 คัน โดยจะมีจะขายในร้านสะดวกซื้อ รถบัส 2,000 คันได้รับการติดตั้งพร้อมกับอีก 500 เครื่องที่รอส่ง ภายใต้แผนที่จะติดตั้งเครื่องบนรถบัส 4,000 คัน  จะมีการออกบัตรจำนวน 100,000 ใบ โดยแต่ละใบมีราคาเริ่มต้นที่ 1,000 จัต รถโดยสาร YBS มีผู้โดยสารประมาณ 1.8 – 2.5 ล้านคนก่อนเกิดการระบาดใหญ่ แต่ผู้โดยสารลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วเมื่อปลายเดือนมีนาคมเหลือเพียง 100,000 คน ส่วนในเดือนมิถุนายนจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 500,000 คน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/ybs-adopt-card-payment-system-june.html

ฮ่องกงลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงสุดในเมียนมาในปีงบประมาณนี้

ฮ่องกงกลายเป็นแหล่งที่มาของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่สำคัญ จากช่วงเจ็ดเดือนแรกของปีงบประมาณ 2562-2562 ซมีสัดส่วนประมาณ 32 % ของภาระผูกพันโดยรวม จากเดือนตุลาคม 2562 ถึงเมษายน 2563 มีการลงทุนโดยตรงจากหน่วยงานต่าง ๆ ในฮ่องกงจำนวน 39 แห่งมีมูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากข้อมูลจากคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) คิดเป็น 23% ของเป้าหมายการลงทุน 5.8 พันล้านดอลลาร์ตามเป้าหมายของรัฐบาล ส่วนใหญ่จะลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าและพลังงาน การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ตั้งแต่ปี 2531 มีบริษัทจากฮ่องกงกว่า 200 แห่งได้ทำสัญญา FDI มากกว่า 9.5 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากความต้องการ พลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน และภาคการผลิตของประเทศขยายตัวตามความต้องการที่สูงขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/hong-kong-top-fdi-source-myanmar-fiscal-year.html

สมคิด สั่งบีโอไอเร่งสร้างปมเด่นประเทศไทย

รองนายกฯ สมคิด มอบนโยบายบีโอไอ ชี้ใช้โอกาสภาพลักษณ์จัดการโควิดดี เป็นโอกาส หันทิศใหม่สร้างฐานธุรกิจในประเทศให้ใช้ฐานการผลิตเกษตร อาหารที่ดีให้เป็นประโยชน์ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายการทำงานให้กับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า ได้สั่งให้บีโอไอปรับรูปแบบการทำงานใหม่ โดยใช้โอกาสที่ทั่วโลกเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ครั้งนี้ เร่งสร้างปมเด่นให้กับประเทศไทย เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้นในช่วง 1-2 ปีนี้ โดยต้องสร้างฐานธุรกิจภายในประเทศให้มากขึ้น เพราะไทยเรามีจุดเด่นทั้งด้านเกษตร อาหาร และการบริการที่สามารถผลักดันจนเป็นศูนย์กลางซีแอลเอ็มวี        นายสมคิด กล่าวว่า ยังสั่งให้บีโอไอตั้งเป้าหมายการทำงานในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยต้องสร้างธุรกิจของไทยก้าวไปสู่ชั้นของธุรกิจยูนิคอร์น หรือ ธุรกิจที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้ได้ เพราะปัจจุบันมีธุรกิจไทยหลายประเภทที่สามารถผลักดันขึ้นมาเป็นยูนิคอร์นได้หากบีโอไอเข้าไปช่วยส่งเสริมถูกจุด…

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/780008

ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่น หารือความร่วมมือทางเศรษฐกิจและหลักประกันสุขภาพ

รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจสังกัดกระทรวงการต่างประเทศนาย King Phokeo Phommahaxay นำคณะผู้แทนสปป.ลาวเข้าร่วมประชุมผ่านวิดีโอลิงค์ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศแม่น้ำโขง – ญี่ปุ่นครั้งที่ 13 ในวันที่ 10 มิถุนายนผ่านมาในที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับร่างแถลงการณ์ความร่วมมือแม่น้ำโขง – ญี่ปุ่น เพื่อให้เกิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งขึ้น ความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนระดับภูมิภาคระหว่างญี่ปุ่น – กลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแม่น้ำโขงรวมถึงการปรับปรุงวิถีชีวิตของผู้คนในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงให้มีชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การจะบรรลุเป้าหมายได้นั้นทุกภาคส่วนต้องมีการร่วมมือซึ่งกันและกัน ผลของการร่วมมือจะนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจรวมถึงวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Mekong_113.php

การเรียนการสอนออกอากาศทางโทรทัศน์เพื่อกระตุ้นการศึกษาทางไกลใน สปป.ลาว

ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับการผลิตรายการโทรทัศน์ตามหลักสูตรอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการศึกษาทางไกลในพื้นที่ชนบทหลังจากประสบความสำเร็จในการออกอากาศในช่วงปิดโรงเรียน  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและกีฬาและบริษัท  Lao Asia-Pacific Satellite จำกัด ได้ร่วมมือกันทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาที่ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและกีฬาได้เดินทางไปเยี่ยมชมบริษัท ฯ เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของโครงการ ซึ่งการออกอากาศรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและกีฬาที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นประโยชน์ต่อภาคส่วน โครงการนี้สามารถถ่ายทอดความรู้จากครูไปสู่นักเรียนได้ และจะยังคงพัฒนาโปรแกรมภายใต้กรอบการศึกษาสำหรับการออกอากาศทางโทรทัศน์วิทยุและโซเชียลมีเดีย สถาบันวิจัยเพื่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ได้ผลิตโปรแกรมการศึกษาออนไลน์สำหรับวิชาสำคัญหลังจากรัฐบาลสั่งให้โรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งปิดทำการชั่วคราวเพื่อป้องกัน COVID-19 ในชุมชน แต่ความท้าทายการออกอากาศทางไกลคือนักเรียนในบางพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงการส่งสัญญาณโทรทัศน์ได้เนื่องจากไม่มีสัญญาณออกอากาศหรือครอบครัวไม่มีโทรทัศน์โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท นอกจากนี้กระทรวงได้เสนอให้จัดหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการนำเสนอวิดีโอของครูเพื่อการศึกษาออนไลน์

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_TV_113.php

กัมพูชาเร่งสนับสนุนการลงทุนรูปแบบ e-trade ภายในประเทศ

กัมพูชาขอให้ Huawei ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่จากจีนช่วยสนับสนุนการลงทุนเพิ่มเติม ในการพัฒนาระบบ e-trade หรือเรียกกันว่าระบบทำการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ร้องขอระหว่างการพบปะกับ Mr. Yao Yuya ซีอีโอของ Huawei กัมพูชา ณ กรุงพนมเปญ ซึ่งนายสรศักดิ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่าการลงทุนทางด้านการค้าอิเล็กทรอนิกส์จะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของตลาดการค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในกัมพูชามากขึ้น โดยเน้นย้ำถึงให้เห็นสภาพแวดล้อมการลงทุนในกัมพูชาที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน รวมไปถึงจะส่งผลทำให้การค้าขายผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมทั่วประเทศกัมพูชาในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50733601/more-e-trade-investments-encouraged/

สมาคมปศุสัตว์กัมพูชากำลังเร่งทำงานเพื่อลดราคาเนื้อหมูภายในประเทศ

สมาคมผู้เลี้ยงปศุสัตว์กัมพูชาแถลงว่าจะทำงานเพื่อลดราคาเนื้อหมูภายในสัปดาห์หน้าเพื่อรองรับต่อผู้บริโภคในท้องถิ่น โดยการปรับราคาขึ้นหลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรแสดงความกังวลเกี่ยวกับราคาเนื้อหมูที่สูงในตลาดภายในประเทศ ณ ปัจจุบัน ซึ่งสมาคมจะทำงานร่วมกับเกษตรกรในท้องถิ่นเพื่อหาวิธีที่จะสามารถลดราคาเนื้อหมูในท้องถิ่นให้เหลือเพียง 12,000 เรียล (ประมาณ 3 ดอลลาร์) ต่อกิโลกรัม โดยมีรายงานว่าเกษตรกรผู้เพาะปลูกในท้องถิ่นหลายคนแสดงความตั้งใจที่จะขยายการทำฟาร์มปศุสัตว์หลังจากที่นายกรัฐมนตรีฮุนเซนเรียกร้องให้ลดการนำเข้าพืชผักและปศุสัตว์ลงเพื่อกระตุ้นการผลิตในท้องถิ่น ซึ่งในบรรดาการทำฟาร์มทุกประเภทการเลี้ยงหมูกำลังเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากหลังจากราคาเนื้อหมูในท้องถิ่นเพิ่มขึ้นในปัจจุบันราคาเนื้อหมูในตลาดอยู่ในช่วง 13,200 เรียล (ประมาณ 3.25 ดอลลาร์) ถึง 14,200 เรียล (ประมาณ 3.50 ดอลลาร์) ต่อกิโลกรัม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50733576/livestock-association-to-lower-price-of-pork/

มัณฑะเลย์ยกเลิกสัญญาโครงการบำบัดน้ำเสีย

เมืองมัณฑะเลย์กำลังยกเลิกโครงการบำบัดน้ำเสียที่ล่าช้ามากเนื่องจากบริษัทจากประเทศไทยที่ไม่สามารถดำเนินการห้เสร็จสิ้นได้ ปัจจุบันค่ากำจัดน้ำเสียตกอยู่ที่เดือนละ 56,000 จัต (40 ดอลลาร์สหรัฐ) สำหรับ 24 โรงงานในเขตอุตสาหกรรม แต่โรงงานขนาดเล็กไม่สามารถจ่ายได้ ท่อน้ำเสียจะปล่อยน้ำเสียลงในแม่น้ำดอกทาวดี (Dokhtawady) ซึ่งถูกสร้างโดยเขตอุตสาหกรรม

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-city-moves-cancel-wastewater-treatment-contract.html

ต่างชาติยังสนใจลงทุนในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเมียนมาเชื่อยังแข็งแกร่งแม้ส่งออกลดลง

ความสนใจของนักลงทุนต่างชาติในภาคการผลิตเสื้อผ้ายังคงแข็งแกร่งแม้จะมีปริมาณการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลงในปีงบประมาณ 2562-2563 จากข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) มีบริษัทต่างชาติ 178 แห่งที่ได้รับอนุญาตให้ลงทุนในเมียนมาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 31 พฤษภาคม 2563 แม้การส่งออกจะลดลงเหลือเพียง 2.7 พันล้านดอลลาร์ โดยลดลงมากกว่า 24 ล้านดอลลาร์จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการยกเลิกคำสั่งซื้อของสหภาพยุโรปจากปัญหา COVID-19 ทั้งโรงงานยังเลิกจ้างหรือปิดกิจการซึ่งส่งผลกระทบถึงแรงงานกว่า 700,000 คนโดยเฉพาะแรงงานหญิงในโรงงาน 600 แห่ง และการหยุดชะงักของการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศจีนนื่องจากการล็อกดาวน์ประเทศ โดยร้อยละ 70 ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป เช่นเดียวกับญี่ปุ่น เกาหลี แคนาดา และสหรัฐอเมริกา จากการช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลและสหภาพยุโรปทำให้อุตสาหกรรมกำลังฟื้นตัว นอกจากนี้ยังมีรายได้จากการส่งออกจากชายแดนเมียนมา – ไทย ในเมียวดีโดยมีการส่งออกมูลค่า 71 ล้านดอลลาร์ไปยังประเทศไทย ทั้งนี้รัฐบาลมีแผนรับมือทางเศรษฐกิจโดยได้จัดสรรเงินกู้ยืมให้กับอุตสาหกรรมที่มีปัญหารวมถึงอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าด้วย ภาคการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเมียนมามีรายรับจากการส่งออก 5 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2561-2562

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/investor-interest-myanmar-garment-sector-still-strong-despite-lower-exports.html