ผลผลิตน้ำตาลเมียนมาต่ำสุดในรอบ 7 ปี

รองประธานสมาคมผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์น้ำตาลและอ้อยเมียนมากล่าวว่าการผลิตอ้อยในเมียนมาคาดว่าจะลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี ในปีงบประมาณ 2563-2564 จากความต้องการของตลาดโลกที่ลดลง เมียนมาส่งออกน้ำตาลดิบที่ไม่ผ่านการกลั่นไปยังจีน อย่างไรก็ตามจีนได้เพิ่มภาษีนำเข้าเป็นร้อยละ 85 และปราบปรามผู้ค้าที่ผิดกฎหมายตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งนำไปสู่อุปทานส่วนเกินในปัจจุบัน เป็นผลให้การส่งออกน้ำตาลได้ลดลงในช่วงสองปีที่ผ่านมา ในอนาคตคาดว่าเกษตรกรจะลดการปลูกอ้อยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในปีงบประมาณ 2553-2564 ที่ลดลงเหลือเพียง 350,000 เอเคอร์ หรือลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับเจ็ดปีที่ผ่านมาและเป็นสถิติต่ำที่สุด นอกเหนือจากประเทศจีนแล้วมีเพียงไม่กี่ประเทศที่นำเข้าน้ำตาล ส่วนใหญ่ที่ผลิตได้ในตอนนี้จึงถูกนำไปใช้ในการบริโภคภายในประเทศ เมื่อพื้นที่เพาะปลูกลดลงโรงงานจะปิดตัวลงอย่างช้า ๆ และอาจต้องนำเข้าน้ำตาลเพื่อบริโภคแทนเนื่องจากชาวไร่อ้อยจะไม่ปลูกถ้าไม่ทำกำไร

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-sugar-production-hit-lowest-level-seven-years.html

พาณิชย์ปรับแผนเจรจาขายข้าวไทยผ่านออนไลน์

กรมการค้าต่างประเทศเผยข้าวไทยยังเป็นที่ต้องการตลาดโลกพร้อมทั้งปรับแผนการเจรจาขายข้าวผ่านระบบออนไลน์ จี้จีนเร่งซื้อข้าวจีทูจีตามสัญญาที่เหลืออีก 3 แสนตัน เพราะหลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การเดินทางไปพบปะกันทำได้ยากขึ้น จึงต้องหันไปใช้ช่องทางออนไลน์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ทั้งนี้ ในส่วนของฟิลิปปินส์ กำลังจะเปิดประมูลข้าวจำนวน 3 แสนตัน ซึ่งไทยจะมีการยื่นประมูลด้วยในวันที่ 8 มิ.ย.63 คาดว่าไทยน่าจะแข่งขันประมูลได้ ส่วนมาเลเซีย ยังรอดูสถานการณ์ ขณะที่อินโดนีเซีย ก็เช่นเดียวกัน ยังรอดูสถานการณ์อยู่ แต่มั่นใจว่า หากมีความต้องการซื้อข้าว ไทยจะสามารถขายให้ได้ และกำลังเจรจาผลักดันให้จีนปิดการซื้อขายข้าวจีทูจีในส่วนที่เหลือ 3 แสนตันของสัญญา 1 ล้านตันแรกให้จบ เพราะขณะนี้ รถไฟไทย-จีน สัญญา 2.3 มีความคืบหน้า จะมีการลงนามกันในเร็วๆ นี้ ซึ่งในส่วนของการซื้อข้าวและยางพาราจากไทย ก็ควรจะมีข้อยุติด้วย ความต้องการข้าวจะยังคงมีเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องระวังเรื่องการแข่งขันจากคู่แข่ง โดยเวียดนามได้ยกเลิกการห้ามส่งออกข้าวแล้ว และปีนี้ยังตั้งเป้าส่งออกประมาณ 7 ล้านตัน ใกล้เคียงกับไทยที่ตั้งเป้า 7.5 ล้านตัน ส่วนอินเดีย เพิ่มปลดล็อกให้มีการส่งออกได้ ก็จะเป็นคู่แข่งที่สำคัญในตลาดข้าวของไทย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/778630

ธปท.ยืนยันเงินเฟ้อ พ.ค.ติดลบ ต่ำสุดรอบ 10 ปี

ธปท.ยืนยันเงินเฟ้อ พ.ค. ติดลบต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปี ยังไม่เข้าข่ายเงินฝืดตามนิยามของการดำเนินนโยบายการเงิน วันนี้ (4 มิ.ย. 63) นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในการดำเนินนโยบายการเงิน ธปท. อิงนิยามภาวะเงินฝืดของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไข 4 ข้อ ดังนี้ อัตราเงินเฟ้อติดลบเป็นเวลานานพอสมควร (prolonged period) อัตราเงินเฟ้อติดลบกระจายในหลายๆหมวดสินค้าและบริกา การคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะยาว (ปรกติดูที่ระยะ 5 ปี) ต่ำกว่าเป้าหมายระยะปานกลางอย่างมีนัย อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบ และอัตราว่างงานมีแนวโน้มสูงขึ้น หากพิจารณาตามเงื่อนไขดังกล่าว พบว่าอัตราเงินเฟ้อไทยติดลบมาเพียง 3 เดือน แม้ประมาณการล่าสุดของ ธปท.จะให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปีนี้ติดลบ แต่ยังมองว่าปีหน้าจะกลับเป็นบวกได้ อีกทั้งเป็นการติดลบจากราคาพลังงานเป็นสำคัญ ขณะที่การคาดการณ์เงินเฟ้อระยะ 5 ปี อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี ถือว่าใกล้เคียงกับกึ่งกลางของช่วงเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท. ที่ร้อยละ 1-3 ต่อปี จึงยังไม่เข้าข่ายเงินฝืดตามนิยามของการดำเนินนโยบายการเงิน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเงินฝืดได้ หากเศรษฐกิจไทยหดตัวลึกหรือฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินมาก โดย ธปท.จะติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจและเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด

ที่มา : https://news.thaipbs.or.th/content/293286

เวียดนามเผยคนตกงานกว่า 5 ล้านคน เหตุโควิด-19 ระบาด

เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. รองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สำนักงานส่งเสริมชีวิตคนพิการและสำนักงานกิจการทางสังคม มีการเข้าร่วมประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล เปิดเผยว่าธุรกิจหลายแห่งในเวียดนามระงับกิจการชั่วคราวหรือลดกำลังการผลิต ส่งผลให้ลูกจ้างตกงานกว่า 5 ล้านคนทั่วประเทศ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เหตุจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งจากการสำรวจ แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนม.ค.-เม.ย. สัดส่วนของคนตกงานอยู่ที่ร้อยละ 75.4 ของกลุ่มคนวัยทำงาน ถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี และธุรกิจส่วนใหญ่ในตลาดท้องถิ่นร้อยละ 86 ได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะตัวลูกจ้างที่อยู่ในธุรกิจการค้าปลีก โลจิสติกส์ บริการอาหารและท่องเที่ยว ที่ต้องถูกปลดออกหรือพักงาน ทั้งนี้ ในเดือนพ.ค. จำนวนพนักงานที่กลับมาทำงานต่อเพิ่มขึ้นราว 70,000-80,000 คน แต่ก็ยังคงเผชิญกับการท้าทายหลายด้าน เนื่องจากตลาดส่งออกยังคงซบเซา นอกจากนี้ เมื่อพิจาณาถึงสถานการณ์ต่างๆ ทางสำนักงานแรงงานดำเนินหาแนวทางแก้ไขปัญหาหลายด้านด้วยกัน เพื่อช่วยเหลือทั้งนายจ้างและลูกจ้าง รวมถึงหลีกเลี่ยงในการปลดคนออก

ที่มา : https://english.vov.vn/society/over-five-million-employees-lose-jobs-due-to-covid19-414512.vov

เวียดนามส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า

กรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในวันที่ 15 พ.ค. ปริมาณส่งออกข้าวของเวียดนามกว่า 2.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับปีก่อน ฟิลลิปปินส์มีปริมาณข้าวสูงสุด 902,100 ตัน รองลงมาจีน (237,500 ตัน) มาเลเซีย (220,700 ตัน) และกานา (124,200 ตัน) ส่วนมูลค่าส่งออกธัญพืชของเวียดนามอยู่ที่ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีการเติบโตทั้งปริมาณและมูลค่า ตั้งแต่เดือนม.ค.-พ.ค. แต่ยอดส่งออกข้าวในปีนี้คาดว่าจะยากลำบาก โดยเฉพาะเรื่องภัยแล้งและภาวะน้ำเค็มในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวใหญ่ที่สุดในประเทศ นอกจากนี้ ในปี 2562 เวียดนามส่งออกข้าว 6.37 ล้านตัน มูลค่าอยู่ที่ 2.81 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ในแง่ปริมาณ แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rice-exports-grow-in-both-volume-and-value/174357.vnp

เมียนมาจับมือสิงคโปร์พัฒนาโครงการสาธารณูปโภคขั้นสูง

กระทรวงการวางแผนการเงินและอุตสาหกรรม (MOPFI) เลื่อนการดำเนินการตามโครงสร้างพื้นฐานภายใต้ธนาคารโครงการเมียนมาโดยร่วมมือกับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Infra Asia) ของสิงคโปร์ โดยอินฟราเอเชียกำลังทำงานร่วมกับ บริษัท นิวย่างกุ้งดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (NYDC) เพื่อแบ่งปันความรู้เชิงวิชาการและแนวการปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างประเทศในการพัฒนาเมืองย่างกุ้งใหม่ การประเมินขอบเขตสำหรับการพัฒนาแหล่งจ่ายไฟและการจัดจำหน่าย การจัดหาและจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ และโครงสร้างพื้นฐานการเพื่อเชื่อมต่อไซเบอร์ ธนาคารโครงการเมียนมาเป็นแพลตฟอร์มของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการด้านการเงินที่มีประสิทธิภาพ การประสานงาน และความโปร่งใสของโครงการลงทุนที่สำคัญในเมียนมา จนถึงขณะนี้รัฐบาลได้จัดทำโครงการพัฒนาระดับชาติ 58 โครงการในธนาคารโครงการเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-collaborate-singapore-advance-infrastructure-projects.html

สามประเทศอาเซียนเสนอซื้อข้าวจากเมียนมา

มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์เสนอที่จะซื้อข้าวของเมียนมา ในจำนวน 300,000 ตันและ 50,000 ตันตามลำดับ ขณะที่อินโดนีเซียยังไม่ได้ยืนยันปริมาณที่ต้องการ เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ประเทศในกลุ่มอาเซียนกำลังเพิ่มปริมาณสำรองข้าวซึ่งเป็นโอกาสสำหรับเมียนมาในการส่งออกระยะยาว แต่เมียนมาต้องชั่งน้ำหนักอุปสงค์ระหว่างประเทศสำหรับข้าวต่อความต้องการภายในประเทศ กระทรวงพาณิชย์ระงับการส่งออกในเดือนเมษายน แต่อนุญาตให้ส่งออก 150,000 ตัน จนถึงขณะนี้ได้มีการสร้างปริมาณสำรองส่งออกคิดเป็นร้อยละ 10 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดและซื้อสำรองภายในประเทศ 50,000 ตัน คาดว่าจะส่งออกข้าว 2.5 ล้านตันในปีงบประมาณ 62-63 และมีรายรับมากกว่า 542 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกข้าว 1.8 ล้านตันจนถึง 15 พ. ค. 63 ประมาณ 14 % เป็นการส่งออกผ่านชายแดน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/three-asean-countries-offer-buy-myanmar-rice.html

นายจ้างยังคงต้องจ่ายค่าจ้างให้แรงงานตามปกติ

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมของลาวได้สั่งให้นายจ้างตรวจสอบให้แน่ใจว่าแรงงานได้รับการชดเชยอย่างเป็นธรรมในช่วง COVID-19 ระบาด อธิบดีกรมจัดการแรงงานนาย Phongxaysack Intharath พูดในงานแถลงข่าวเมื่อวันอังคารที่มาถึงขั้นตอนที่กระทรวงแรงงานใช้ในการประกันการจ่ายเงินของพนักงานและการจ่ายเงินประกันสังคมแก่แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากกCOVID-19 เพื่อบรรเทาอัตราการว่างงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเลื่อยๆ และจะทำให้เศรษฐกิจตกต่ำลง กระทรวงได้ออกคำสั่งเฉพาะสำหรับนายจ้างธุรกิจที่หยุดดำเนินการในเดือนเมษายน จะต้องจ่ายค่าจ้างพนักงานตามปกติและธุรกิจที่ประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรงต้องจ่ายพนักงานอย่างน้อยร้อยละ 50 ของค่าจ้างปกติทั้งนี้กระทรวงได้ขอให้นายจ้างเคารพกฎหมายแรงงานและปฏิบัติตามกฎระเบียบและสัญญาจ้างที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ปัจจุบันอัตราการว่างงานในประเทศลาวเพิ่มขึ้นจากระดับเฉลี่ย 2% เป็น 25% และคาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นไปอีกหากรัฐบาลไม่มีมาตราการที่ช่วยเหลือแรงงาน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/06/04/ministry-of-labor-orders-employers-to-pay-wages-despite-pandemic/

กัมพูชาส่งออกสินค้าทางการเกษตรกว่า 1.4 ล้านตัน ในช่วง 5 เดือนแรก

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตร(ไม่รวมข้าว) จำนวน 1.4 ล้านตัน ไปยังตลาดต่างประเทศในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้แม้จะเกิดวิกฤตการณ์ COVID-19 ทั่วโลก โดยรายงานจากกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงแสดงให้เห็นว่าสินค้าเกษตรที่ไม่ใช่ข้าว ได้แก่ มันสำปะหลัง, เม็ดมะม่วงหิมพานต์, ข้าวโพด, กล้วย, มะม่วงและอื่นๆ คิดเป็นมันสำปะหลัง 996,290 ตัน ซึ่งส่งออกจากเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 9.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นการส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์เพิ่มขึ้นกว่า 25% คิดเป็น 190,141 ตัน ในขณะที่กล้วยมีปริมาณการส่งออก 121,415 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 172% โดยรายงานยังระบุด้วยว่าการส่งออกมะม่วงสดและพริกไทยเพิ่มขึ้น 50% และ 22.6% คิดเป็น 44,099 ตัน และ 2,527 ตัน ตามลำดับส่วนการส่งออกแป้งมันสำปะหลังและข้าวโพดลดลงอย่างมากโดยลดลง 97% และ 29% คิดเป็น 10,272 ตัน และ 35,636 ตัน ตามลำดับ ในขณะเดียวกันข้าวถูกส่งออกไปกว่า 356,097 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น 42% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี

ที่มา :https://www.khmertimeskh.com/50730202/cambodia-exports-1-4-million-tonnes-of-agricultural-products-in-first-five-months/

รัฐบาลกัมพูชาเร่งพัฒนาเขตการท่องเที่ยวใหม่

รัฐบาลกำลังเร่งจัดทำแผนการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวสำหรับประเทศ ทางด้านตะวันตก, ตะวันตกเฉียงเหนือ และรอบๆ แม่น้ำโตนเลสาบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวระบุ โดยกระทรวงกล่าวว่าการอภิปรายเกี่ยวกับหนังสือแผนที่ด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาค จะช่วยเสริมสร้างขยายความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างจังหวัดทางตะวันตก, ตะวันตกเฉียงเหนือและบริเวณโตนเลสาบเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวตามที่กระทรวงระบุ ซึ่งประธานสมาคมตัวแทนการท่องเที่ยวกัมพูชาให้การต้อนรับแผนดังกล่าวโดยกล่าวว่าภูมิภาคนี้จะมีศักยภาพที่ดีสำหรับการลงทุนด้านการท่องเที่ยว โดยสิ่งสำคัญคือการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมธรรมชาติทางประวัติศาสตร์และป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.61 ล้านคน ในปี 2562 ข้อมูลแสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวท้องถิ่นมีจำนวน 11.3 ล้านคน ขณะที่ชาวกัมพูชาเดินทางออกนอกประเทศจำนวน 2.04 ล้านคน ตามตัวเลขของกระทรวงการท่องเที่ยว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50730097/government-to-boost-new-tourism-development-zones/