เวียดนามเผยยอดค้าปลีกดิ่งลง ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่ายอดค้าปลีกและบริการของเวียดนามโดยรวมลดลงร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แตะระดับ 82.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ในขณะเดียวกัน ในเดือนพ.ค. ยอดค้าปลีกและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องมาจากการผ่อนคลายมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้กำลังซื้อเริ่มกลับมาฟื้นตัวในท้องถิ่น ทั้งนี้ หากจำแนกแหล่งที่มาของยอดค้าปลีก พบว่าการซื้ออาหารขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน รองลงมาเครื่องใช้ในบ้าน (2%) ขณะที่ผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.2 และเครื่องนุ่งห่ม (3%) ด้านเมืองที่มีการเติบโตของการค้าปลีก ได้แก่ เมืองไฮฟอง รองลงมากรุงฮานอยและโฮจิมินห์ นอกจากนี้ ธุรกิจที่พักและการท่องเที่ยวลดลงอย่างมาก ถึงแม้ว่าธุรกิจกลับมาดำเนินงานต่อและผู้คนในท้องถิ่นกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าวน้อยลงกว่าแต่ก่อน แต่ในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 54 แตะระดับ 8.3 ล้านล้านด่ง จากการที่เวียดนามหยุดการออกวีซ่าแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศยังไม่ฟื้นตัว

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/8729302-vietnam%E2%80%99s-retail-sales-down-in-five-months.html

เวียดนามตั้งเป้าส่งออกข้าว 7 ล้านตันในปีนี้

เวียดนามเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก ตั้งเป้าส่งออกข้าวไว้ที่ 7 ล้านตันในปี 2563 ปริมาณส่งออกมากกว่าปีที่แล้ว ตามแถลงการณ์ของรัฐบาลในวันอังคารที่ผ่านมา โดยกลับมาส่งออกข้าวในเดือนพ.ค. หลังระงับการส่งออกในเดือนมี.ค. และจำกัดการส่งออกข้าวในเดือนเม.ย. ไว้ที่ 500,000 ตัน ซึ่งมาตรการดังกล่าว เพื่อรับรองว่าอาหารจะมีเพียงพอในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในขณะที่ ปริมาณส่งออกข้าวปีนี้ 400,000-500,000 ตัน มากกว่าปีที่แล้ว ทั้งนี้ จากข้อมูลของศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณส่งออกข้าวอยู่ที่ 2.86 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20200603/vietnam-aims-to-export-7-million-tonnes-of-rice-this-year-govt/54897.html

JICA ปรับโครงสร้างสินเชื่อเพิ่มช่องทางระดมทุนให้ธุรกิจ SMEs

กระทรวงการวางแผนการเงินและอุตสาหกรรม (MOPFI) และสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) ร่วมตั้งกองทุน 64 พันล้านจัตให้กับธุรกิจขนาดเล็กขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) ของเมียนมาซึ่งได้รับผลกระทบเชิงจาก COVID – 19 ภายใต้โครงการฉุกเฉิน JICA โดยดำเนินการผ่าน Myanma Economic Bank และธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวนเงินกู้สูงสุดเท่ากับ 300 ล้านจัต อัตราดอกเบี้ยรายปี 5.5% ถึง 10 % ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้กู้ในการจัดหาหลักประกัน ระยะเวลาเงินกู้จะแตกต่างจากสามปีถึงห้าปี สินเชื่อในระยะ 3 ปี จะมีระยะเวลาผ่อนผัน 6 เดือนและสินเชื่อตั้งแต่สามปีถึงห้าปีจะได้ระยะเวลาผ่อนผันสูงสุดถึงหนึ่งปี

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/jica-restructures-loan-program-channel-more-funds-needy-smes.html

ภาคเอกชนทำข้อตกลงรัฐบาลสปป.ลาวเพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน

บริษัท Evolution Power Investment Corporation (EPIC) และ Khounmixay Bridge และ บริษัท ก่อสร้างและซ่อมแซมถนน (KMX) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับรัฐบาลสปป.ลาว เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่สะอาดในจังหวัดเซกอง ทางตอนใต้ของสปป.ลาวภายใต้ MOU นั้น EPIC และ KMX จะได้รับอนุญาตให้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมของโครงการโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีความร้อนสะอาดในเขตดากจึง จังหวัดเซกองโดยโครงการคาดว่าจะมีค่าใช้จ่าย 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐและคาดว่าจะเริ่มดำเนินการในปี 2570 เพื่อผลิตไฟฟ้าและส่งออกไปยังประเทศไทย เวียดนามและกัมพูชา รวมถึงการบริโภคในประเทศโดยโครงการมุ่งมั่นที่จะใช้แหล่งเชื้อเพลิงที่สกัดในประเทศเพื่อผลิตพลังงานเพื่อการส่งออกและเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น พลังงานความร้อนจะเป็นส่วนสำคัญในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับภูมิภาคอาเซียนและได้จะรับกระแสความนิยมจากทั่วโลกซึ่งในอนาคตพลังงานสะอาดจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของสปป.ลาวต่อไป  

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt106.php

กระทรวงแรงงานออกข้อบังคับธุรกิจยังคงต้องจ่ายเงินให้คนงานตามปกติ

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้สั่งให้ธุรกิจในภาคการผลิตและบริการเคารพกฎหมายแรงงานกฎหมายที่เกี่ยวข้องและระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินของคนงานที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ Covid-19 กระทรวงแรงงานได้ออกคำสั่งพิเศษเพื่อช่วยเหลือแรงงานและบังคับใช้กับภาคธุรกิจโดยมาตรการที่กระทรวงดำเนินการนั้นเกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงานกฎหมายประกันสังคมและคำสั่งที่ 6 ของนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการป้องกันควบคุมและเตรียมความพร้อมในการตอบสนองต่อ Covid-19 ซึ่งกระทรวงได้สั่งให้ธุรกิจที่หยุดดำเนินการในเดือนเมษายนจ่ายค่าจ้างตามปกติแก่แรงงานในส่วนธุรกิจที่ประสบปัญหาทางการเงินร้ายแรงควรจ่ายค่าแรงอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างปกติ มาตราการดังกล่าวมีขึ้นช่วยเหลือแรงงานที่อาจตกงานในสถาการณ์ COVID-19 ซึ่งคาดการณ์จะมีแรงงานว่างงานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 ซึ่งหากให้มีการว่างงานสูงมากๆอาจนำมาซึ่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่รุนแรงในระยะยาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Labour106.php

ภาคการก่อสร้างในกัมพูชาเริ่มซบเซา

การไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของกัมพูชา (FDI) ลดลงอย่างมากในช่วง 2 เดือนแรกของปี ซึ่งได้รับผลกระทบจากการลดลงของการลงทุนสำหรับภาคการก่อสร้างและการท่องเที่ยวตามรายงานของธนาคารโลก โดยรายงานระบุว่ามูลค่า FDI ที่ได้รับอนุมัติทั้งหมดของกัมพูชาลดลงร้อยละ 52.2 ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2020 อันเป็นผลมาจากการระบาดของ COVID-19 ทั่วโลก ซึ่งการระบาดในครั้งนี้ได้ทำลายเศรษฐกิจระหว่างประเทศส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติลดการลงทุนลงอย่างมาก โดยกัมพูชาได้รับเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 40% จากจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่ถูกส่งไปยังภาคการก่อสร้าง อย่างไรก็ตามตามสมาคมก่อสร้างกัมพูชา (CCA) กล่าวว่ามูลค่าของโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับอนุมัติจริงเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2020 เนื่องจากการลงทุนจากแหล่งในท้องถิ่น ตามรายงานของธนาคารโลก ซึ่งโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของกัมพูชาที่อนุมัติแล้วมีมูลค่าประมาณ 3.5 พันล้านดอลลาร์ โดยธนาคารแห่งชาติของกัมพูชาคาดการณ์ว่า FDI ในกัมพูชาจะเพิ่มขึ้น 10% ในปีนี้ อยู่ที่ 3.95 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50729648/sluggish-construction-sector-causes-sharp-fdi-contraction/

“Thailand Plus One” กลยุทธ์การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษปอยเปต

เขตเศรษฐกิจพิเศษปอยเปต เป็นบริษัทย่อยของ บมจ.เขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ มีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องกลและยานยนต์ ซึ่งโซนนี้จะใช้ประโยชน์จากบริเวณใกล้เคียงกับชายแดนไทยและการเข้าถึงทางหลวงสายเอเชียที่กำลังพัฒนา โดยจะเชื่อมโยงศูนย์กลางอุตสาหกรรมในอนาคตกับจุดแจกจ่ายหลัก ซึ่งเขตเศรษฐกิจพิเศษปอยเปตกำลังพัฒนาพื้นที่ราว 65.7 เฮกตาร์ และติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานมาตรฐานสากล เช่นสายไฟฟ้าของตัวเอง (ร่วมทุนกับ B. Grimm Power ในประเทศไทย), โรงบำบัดน้ำเสีย, บริการรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมงและบริการอื่น ๆ เพื่อตอบสนอง ความต้องการของผู้ผลิตที่สนใจเข้ามาร่วมลงทุน จากรายงานของธนาคารโลกระบุว่ายอดส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ไปยังญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 77.8 ล้านดอลลาร์ในปี 2562 เพิ่มขึ้นจาก 39.4 ล้านดอลลาร์ในปี 2561 จากรายงานของธนาคารโลก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50729641/thailand-plus-one-poipet-sez-investment-strategy/

กรมเจรจาการค้าฯ ดันไทยฮับผลิต-ส่งออกนมในอาเซียน โควิดันส่งออก 4 เดือนโตได้ 13%

อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมเตรียมเปิดตัวโครงการ “โคนมไทยก้าวไกล ขยายตลาดส่งออกได้ด้วย FTA” ซึ่งร่วมกับกรมปศุสัตว์ ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยเป้าหมายผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งขยายตลาดส่งออกโดยใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ซึ่งที่ผ่านมากรมได้จัดอบรมเทคนิคการทำธุรกิจ การตลาด การเตรียมความพร้อมมาตรฐานส่งออกให้กับเกษตรกร สหกรณ์ และผู้ประกอบการโคนมของไทย รวมทั้งพาไปสำรวจตลาดและจับคู่ธุรกิจในจีน และสิงคโปร์ โดยประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โดยอธิบดีกรมเจรจาฯกล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมโคนมไทยได้รับการพัฒนา และมีกระบวนการผลิตนมที่มีคุณภาพ รวมถึงยังใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีต่อยอดการผลิต นอกจากนี้ ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ยังมีส่วนช่วยขยายการส่งออกสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมได้มากขึ้น ส่งผลให้ในปี 2562 มียอดส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ถึง 12.4% คิดเป็นมูลค่าการส่งออกรวม 536.1 ล้านดอลลาร์ โดยเฉพาะอาเซียนเป็นตลาดส่งออกสำคัญ ซึ่งมีมูลค่า 443.2 ล้านดอลลาร์ และจีน มูลค่า 28.7 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_311473

รัฐบาลสปป.ลาวได้ชี้แจงการใช้จ่ายฉุกเฉินสำหรับการฟื้นฟูการศึกษาและสาธารณสุข

ตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมถึงสปป.ลาว เพื่อมุ่งเน้นมาตรการเชิงปฏิบัติเพื่อป้องกันการควบคุมและแก้ไขการระบาดของ COVID-19  เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 รัฐบาลอัดฉีดงบประมาณ 10 พันล้านกีบ เพื่อใช้สำหรับการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์รวมถึงงบประมาณอีก 6.64 พันล้านกีบเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ด้านอื่นๆ และยังมีวงเงินฉุกเฉินอีก 100 ล้านกีบที่เป็นเงินสำรองในกรณีที่ COVID-19 กลับมาระบาดอย่างรุนแรงในด้านการศึกษารัฐบาลอนุมัติวงเงิน6.9 พันล้านกีบเพื่อสนับสนุนด้านการศึกษา จำนวนเงินดังกล่าวจะเป็นส่วนช่วยในการฟื้นฟูในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของสปป.ลาว และจะเป็นฐานสำคัญในการทำให้เศรษฐกิจสปป.ลาวกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/06/01/78655/

สหภาพยุโรปจะให้ความช่วยเหลือภาคการท่องเที่ยวกัมพูชาหลังการระบาด Covid-19

กัมพูชาได้ขอให้สหภาพยุโรปให้ความช่วยเหลือในภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 โดยคำร้องขอดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวทองคอนและเอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำกัมพูชา ได้หารือทวิภาคีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อหารือเกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสี่เสาหลักเศรษฐกิจของประเทศ โดยทางกัมพูชาได้ขอคำแนะนำจากสหภาพแรงงานในการฟื้นฟูภาค ในขณะเดียวกันก็พยายามส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยวของกัมพูชาในตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งเอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปกล่าวว่าสหภาพยุโรปจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวของกัมพูชา โดยหวังว่าการร่วมมือกันจะช่วยปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกัมพูชาและสหภาพยุโรปต่อไป ซึ่งกัมพูชามีนักท่องเที่ยวจากสหภาพยุโรปจำนวน 793,937 คน ลดลง 3% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยในไตรมาสแรกของปี 2563 จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงถึง 24% โดยมีผู้เข้าชมเพียง 221,066 คน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50728834/eu-to-assist-tourism-sector-post-covid-19/