คาดการณ์ภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชาจะใช้เวลาในการฟื้นตัวมากกว่าภาคอื่นๆ

ภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการแพร่กระจายของ Covid-19 จะฟื้นตัวช้ากว่าภาคอื่นๆ หลังจากการระบาดสิ้นสุดลง โดยประธานสมาคมตัวแทนการท่องเที่ยวกัมพูชากล่าวว่าการท่องเที่ยวแตกต่างจากภาคอื่นๆ ซึ่งกิจกรรมการท่องเที่ยวจะไม่กลับสู่ภาวะปกติในเร็วๆนี้เนื่องจากเป็นวิกฤตระดับโลกและเกี่ยวข้องกับความรู้สึกของผู้คน โดยอาจจะใช้เวลาอย่างน้อยครึ่งปีถึงหนึ่งปีสำหรับผู้ผู้คนในประเทศที่จะเริ่มท่องเที่ยวในวันหยุด ในขณะที่นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศอาจใช้เวลานานกว่า แต่อย่างไรก็ตามกัมพูชาจะต้องพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มากขึ้นหลังจากสถานการณ์กลับสู่ปกติ ซึ่ง Covid-19 ได้ส่งผลกระทบต่อคนงานทั้งหมด 630,000 คนในภาคการท่องเที่ยว และมีคนว่างงานอีกกว่า 30,000 คนในขณะนี้ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6,610,592 คน เพิ่มขึ้น 6.61% จากปี 2561 โดยนักท่องเที่ยวจีนมีจำนวน 2.36 ล้านคน เพิ่มขึ้น 16.7% เวียดนามอันดับสองอยู่ที่ 908,803 คน เพิ่มขึ้น 13.6% จากข้อมูลของกระทรวงแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 931,826 คน ในช่วงสองเดือนสุดท้ายของปี 2562 ลดลง 50% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50711043/tourism-to-take-longer-to-recover-from-pandemic-than-other-sectors/

รัฐบาลกัมพูชาตัดงบ 918 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อรับมือต่อการระบาดของ Covid-19

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้ประกาศว่าจะตัดงบประมาณภาครัฐฯออก 918 ล้านเหรียญสหรัฐ จากรายจ่ายฝ่ายทุนในปีนี้เพื่ออัดฉีดเข้าสู่ภาคสุขภาพ เพื่อต่อสู้กับการระบาดของ COVID-19 ที่ยังคงระบาดอยู่ในปัจจุบัน โดยได้ก่อตั้งกองทุนสำรองไว้ก่อนหน้านี้สำหรับการใช้จ่ายของหน่วยงานระหว่างรัฐบาล รวมถึงการระดมทุนในท้องถิ่น ซึ่งเงินส่วนสนับสนุนนอกจากการจัดซื้อเวชภัณฑ์ที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรกๆแล้ว นายกฮุนเซนยังกล่าวว่าส่วนหนึ่งของงบประมาณจะถูกนำมาใช้เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารจะมีเพียงพอต่อความต้องการในประเทศและจะถูกเก็บรักษาอย่างปลอดภัย โดยทางฝั่งของคนงานการ์เม้นท์ที่ได้รับผลกระทบโดยการถูกพักงานชั่วคราวหลังจากปิดโรงงานก็จะได้รับการเยียวยาในด้านต่าง ๆ เช่นเดียวกัน โดยเงินจะถูกจัดสรรมาจากเงินจำนวน 8.23 ​​พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่รัฐบาลอนุมัติสำหรับค่าใช้จ่ายโดยรวมในปี 2563 หรือเพิ่มขึ้น 22.7% ในปี 2562 ซึ่งผลกระทบของ COVID-19 เริ่มปรากฏในทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50711042/918-million-cut-from-govt-budget-to-use-for-pandemic/

ธุรกิจเลิกกิจการเกือบ 35,000 ราย ในไตรมาสแรก

จากรายงานของกระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าธุรกิจเลิกกิจการเกือบ 35,000 รายที่ตั้งฐานอยู่ในเวียดนาม ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ศิลปะ, บันเทิง, ท่องเที่ยว, บริการที่พัก, การขนส่งและคลังสินค้า โดยกลุ่มธุรกิจข้างต้นประสบปัญหาอย่างมากและในที่สุดก็ล้มเลิกกิจการ ยิ่งกว่านี้ จำนวนธุรกิจที่ก่อตั้งใหม่ทั้งหมดมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยภาพรวมนั้น เวียดนามมีธุรกิจก่อตั้งใหม่อยู่ที่ 29,700 ราย ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ด้วยมูลค่าจดทะเบียนรวม 350,000 พันล้านด่ง ชี้ให้เห็นว่าจำนวนธุรกิจยังคงเพิ่มขึ้น แต่มูลค่าจดทะเบียนดิ่งลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/q1-sees-nearly-35000-businesses-withdraw-from-market-412291.vov

นครโฮจิมินห์ : ภาคท่องเที่ยวสูญเสียรายได้กว่า 426 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาสแรก

กระทรวงการท่องเที่ยวของนครโฮจิมินห์ คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของเมือง จะสูญเสียรายได้ราว 10 ล้านล้านด่ง (426.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ จากผลกระทบของการระบาดโควิด-19 โดยข้อมูลของสำนักงาน ชี้ให้เห็นว่าเมืองหลวงทางตอนใต้มีจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 1.3 ล้านคน ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 42.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทางสำนักงานได้เตรียมมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค เพื่อความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในช่วงไตรมาสที่ 2 และยังร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อหาแนวทางพัฒนาท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเยือนในนครโฮจิมินห์มากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีนและสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งช่วยให้เมืองได้มีรายได้อยู่ที่ 39.8 ล้านล้านด่ง  ในช่ว และยังร่วมมือกับสำนักงานวิทยาวกันของปีก่อนในช่วงเวลาดังกล่าว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hcm-city-tourism-sector-endures-losses-of-over-426-mln-usd-in-q1/171376.vnp

การส่งออกประมงเมียนมาชะลอตัว

การส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงขอเมียนมาเกือบจะหยุดชะงักตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของ COVID-19 และโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงแช่แข็งกำลังประสบปัญหาในการดำเนินงาน ปัจจุบันมีการระงับการสั่งซื้อในหลายประเทศ ส่วนข้อตกลงการสั่งซื้อได้หยุดการเจรจาลงและข้อตกลงที่มีอยู่ปัจจุบันถูกระงับ ผลิตภัณฑ์ประมงจากทะเลส่วนใหญ่ส่งออกไปยังยุโรปและประเทศในเอเชีย ขณะที่ ผลิตภัณฑ์น้ำจืดถูกส่งออกไปยังประเทศอาหรับ ปัจจุบันโรงงานแปรรูปที่มีแรงงานจำนวนมากอาจไม่สามารถจ่ายค่าแรงได้หากสถานการณ์ยังคงเป็นแบบนี้ ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด COVID-19 จึงมีการแนะนำให้เมียนมาพิจารณาในแนวทางดังกล่าว ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ของปีงบประมาณปัจจุบันเมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลเกือบ 340,000 ตันมูลค่ามากกว่า 412 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (572 พันล้านจัต)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/exports-fisheries-products-slow-crawl.html

แรงงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าออกมาประท้วง

เกิดการประท้วงที่โรงงานทั้งหมดภายใต้สหพันธ์แรงงานเสื้อผ้าเมียนมา (FGWM) ซึ่งการประท้วงเกิดขึ้นที่โรงงานหกแห่งซึ่งอยู่ภายใต้สมาพันธ์ฯ  แต่ต่อมาก็แยกย้ายกันไป เหตุเพราะได้ทำการปิดชั่วคราวเพื่อปฏิบัติตามและการให้ความร่วมมือตามคำสั่งของรัฐบาล ในหกโรงงานนี้มีการระงับข้อพิพาทที่โรงงาน K World และ Charis Garment โรงงานแอมเบอร์สโตนที่ไม่ได้จ่ายค่าแรงให้คนงานในเดือนมีนาคม

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/protests-garment-factories-myanmar-called.html

จีนได้ส่งผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อร่วมต่อสู้ Covid-19 ในสปป.ลาว

ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ชาวจีนเดินทางมาถึงเมืองหลวงพระบางและเมืองจำปาสักเพื่อร่วมต่อสู้กับการระบาดของโรค Covid-19 หลังจากก่อนหน้านี้ได้ไปช่วยในนครหลวงเวียงจันทน์ งานหลักของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จีนจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการตรวจสอบและประเมินผลในพื้นที่เสี่ยงของทั้งสองเมืองและจะมีการฝึกอบรมระยะสั้นหลักสูตรที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย Covid-19 ที่เหมาะสมแก่แพทย์และพยาบาลสปป.ลาวทั้งนี้การได้รับความช่วยเหลือจากทางการจีนจะทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ของสปป.ลาวดีขึ้นจากประสบการณ์ของทีมแพทย์และเครื่องมือที่ทันสมัยที่จะทำให้ระบบสาธารณสุขของสปป.ลาวดีขึ้น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Chinese_8Arp.php

เจ้าหน้าที่ของนครหลวงเวียงจันทน์คุมเข้มราคาสินค้าในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19

การแพ่ระบาดของไวรัส covid-19 ในสปป.ลาวทำให้รัฐบาลต้องมีมาตราการต่างๆออกมาเพื่อควบคุมอย่างล่าสุดได้ออกมาตราการ lockdown ในจังหวัดต่างๆ และให้ประชาชนกักตัวตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน -19 เมษายน ทำให้ประชาชนบ้างส่วนมีการกักตุนสินค้าซึ่งทำให้มีผู้ประกอบการบางรายมีการขึ้นราคาสินค้าเกินความเหมาะสม โดยเฉพาะสินค้าที่นิยมอย่างเนื้อหมูที่ประชาชนสปป.ลาวนิยมบริโภคกัน ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดราคาขายปลีกที่ 40,000 kip / kg สำหรับ type 1 (filet และ ribs) และ 38,000 kip / kg สำหรับ type 2 (เบคอนและชิ้นส่วนไขมัน) หากมีร้านค้าใดฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีทั้งปรับและจำคุก ซึ่งมีการตรวจตราจากเจ้าหน้าที่ของภาครัฐอย่างเข้มงวด และประชาชนสามารถแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบถึงการละเมิดราคาได้อีกช่องทางหนึ่งด้วย

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/04/08/vientiane-economic-officials-patrol-wet-markets-enforces-price-controls/

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวถึงกัมพูชาต้องเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนเรียกร้องให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในภาคเกษตรในประเทศ ส่งเสริมภาคเกษตรที่สำคัญ ให้มีอาหารเพียงพอต่อคนในประเทศเพื่อการบริโภครวมถึงการส่งออก โดยนายกฮุนเซนได้สั่งให้กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ให้ความสนใจมากขึ้นในด้านการเกษตร ปศุสัตว์ การประมงและผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อส่งเสริมการเติบโตของประเทศ ในขณะที่เสาหลักเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมอื่นๆ อยู่ในความซบเซาเนื่องจากการระบาดของโรคโคโรนาไวรัสในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อภาคส่วนอื่นๆ รวมถึงด้านบริการการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมและการก่อสร้าง แต่ถือเป็นโอกาสสำหรับภาคการเกษตรในการมองหามาตรการ เพื่อกระตุ้นการผลิตทำให้กัมพูชาพึ่งพาตนเองแทนการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ ซึ่งการบริการการท่องเที่ยวและภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตที่สูงเป็นเวลาหลายปี ในขณะที่ภาคเกษตรมีการเติบโตเพียงเล็กน้อย แต่ในปีนี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนต้องพยายามอย่างเต็มที่เพื่อส่งเสริมการเกษตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/710823/cambodia-must-boost-agricultural-output-says-prime-minister-hun-sen/

แรงงานกัมพูชากว่า 5 แสนคนคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการยกเลิกคำสั่งซื้อ

สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชา (GMAC) ระบุว่าประมาณ 60% ของโรงงานได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากคำสั่งซื้อที่ถูกยกเลิก เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 โดยเลขาธิการ GMAC กล่าวว่าผู้ซื้อส่วนใหญ่ได้ยกเลิกคำสั่งซื้อจากโรงงานในกัมพูชาไปบ้างแล้ว ซึ่งคำสั่งยกเลิกส่วนใหญ่มาจากทั้งตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปคิดเป็น 28% และ 46% ของตลาดส่งออกของกัมพูชาตามลำดับ หากทำคำนวณตัวเลขดังข้อมูลข้างต้นจะได้ 74% จากจำนวนพนักงานประมาณ 750,000 คนในภาคการ์เม้นท์ซึ่งเท่ากับพนักงานประมาณ 500,000 คนที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกคำสั่งซื้อสินค้าเหล่านี้ ในปี 2019 การส่งออกเสื้อผ้ารองเท้าและสินค้าการท่องเที่ยวของกัมพูชามีมูลค่าถึง 9.35 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบเป็นรายปีจากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50710646/half-a-million-workers-already-affected-by-cancelled-orders/