เมียนมาขาดดุลการค้ากว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์ระบุเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปีงบประมาณ 62-63 เมียนมาขาดดุลการค้า 1.012 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น 40. 795 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีการส่งออกมีจำนวน 6,661 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 1,053 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 7.774 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 1,094 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เวลานี้ของปีที่แล้วการขาดดุลการค้าพุ่งแตะระดับ 971.805 ล้านดอลลาร์สหรัฐ.เมียนมากำลังใช้ยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติเพื่อส่งเสริมภาคการส่งออก เพื่อลดการขาดดุลการค้า ซึ่งประเทศไม่สามารถลดการนำเข้าสินค้าจำเป็น ในทางปฏิบัติความพยายามลดการขาดดุลการค้าประสบปัญหาบางอย่าง การบริโภคในท้องถิ่นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/trade-deficit-hits-over-one-billion-usd

ลดภาษี-แจกเงิน ยาแรงพยุงศก.

กูรูแนะรัฐออกมาตรการกระตุ้นขนาดใหญ่ ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กระตุ้นกำลังซื้อคนชั้นกลาง ฉีดเงินผ่านชิม ช้อป ใช้-บัตรผู้มีรายได้น้อย สัญญาณเศรษฐกิจเดือนมกราคม 2563 อยู่ในภาวะชะลอตัวต่อเนื่อง การลงทุนภาคเอกชนหดตัวโดยอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศชะลอตัว ด้านการใช้จ่ายภาครัฐทั้งรายจ่ายประจำและลงทุนหดตัว ส่วนการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวชะลอลงตาม และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาคธุรกิจและนักเศรษฐศาสตร์เห็นพ้องเสนอรัฐบาลออกมาตรการชุดใหญ่เพื่อประคองเศรษฐกิจภายใน ท่ามกลางปัจจัยลบและการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ตีวงกว้างฉุดกำลังซื้อ นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เสนอให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการคงภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT ไว้ที่ 7% นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เห็นด้วยหากจะลดภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะจะช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน และเพื่อให้ภาคธุรกิจเฉพาะอย่างยิ่งเอสเอ็มอี และลูกจ้างได้มีเงินเหลือใช้จ่ายมากขึ้น กระทรวงแรงงานควรยกเว้นให้นายจ้างและลูกจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นเวลา 6 เดือน นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า การลดภาษีมูลค่าเพิ่มลง 2% จาก 7% เหลือ 5% นั้น อาจจะเป็นหนึ่งในทางเลือกซึ่งทางการต้องพิจารณาในหลายมิติ ลงนั้น หากเป็นมาตรการชั่วคราวเมื่อถึงตอนครบกำหนดจะปรับขึ้นจะทำให้ภาวะเศรษฐกิจแย่ลง เพราะประชาชนจะกักตุนสินค้า แนวทางแจกเงินผ่านกลไกกองทุนหมู่บ้านฯ นั้น ส่วนตัวก็เห็นด้วย เพราะประชาชนในชนบทและเกษตรกรได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ประเด็นทุกวันนี้มาจากธุรกิจท่องเที่ยวได้รับผลกระทบและเริ่มขยายวงธุรกิจอื่นในวงกว้างขึ้น เรื่อยๆ ทั้งค้าปลีก ขนส่ง โรงแรม โดยเฉพาะแรงงานที่อยู่ในกลุ่มนี้จึงต้องหาทางช่วยให้ตรงจุดและคิดหาวิธีเยียวยาชั่วคราวเพื่อประคองกันไปด้วย นายจิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักวิเคราะห์ตลาดการเงินและการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ฯ กล่าวว่า ตอนนี้นโยบายต้องหาเงินเข้ากระเป๋าประชาชนไม่ใช่หาเงินเข้ากระเป๋านายทุน โดยเฉพาะต้องหาทางว่าทำอย่างไรให้คนมีรายได้เข้ามา เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากพิจารณาปรับลดลงจะเอื้อให้คนระดับกลาง-บนสามารถจับจ่ายใช้สอย ช่วยให้คนมั่นใจสามารถใช้จ่ายซึ่งเป็นการหมุนรอบเศรษฐกิจ นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เสนอให้ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นมาตรการระยะสั้นในปีนี้ เพราะเวลานี้คนขาดความเชื่อมั่นและไม่กล้าจ่าย แต่เมื่อสถานการณ์ไวรัสคลี่คลายชัดเจนคนจะเริ่มออกมาใช้จ่าย ซึ่งเห็นได้จากหลายประเทศใช้วิธีออกมาตรการกระตุ้น เช่น ฮ่องกงและสิงคโปร์ใช้วิธีแจกเงินเช่นกัน แต่วงเงินอาจจะไม่เหมาะกับเมืองไทยแต่ก็มีหลายมาตรการที่จะนำมาใช้ได้ ส่วนกรณีแจกเงินผ่านกองทุนหมู่บ้านฯ หากจะเพิ่มให้มีการสร้างงานในพื้นที่ควบคู่ไปด้วยก็จะดี

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/money_market/423159?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral

ภาคเกษตร ป่าไม้และประมง เกินดุลการค้า ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้

ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ภาคเกษตร ประมงและประมงเวียดนาม มียอดเกินดุลการค้ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมงอยู่ที่ 5.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.8 ขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมงอยู่ที่ 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตลาดส่งออกสินค้าเกษตร ป่าและประมงรายใหญ่ของเวียดนาม คือ จีน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและอาเซียน ทั้งนี้ ทางกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) ระบุว่าได้ทำการประสานงานกับหนวยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการค้าในตลาดใหม่และกระตุ้นยอดขายในประเทศ ขณะเดียวกัน คาดว่ายอดส่งออกสินค้าดังกล่าวในปี 2563 อยู่ที่ 41.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ระบุว่าภาคการเกษตร ป่าไม้และประมง ขยายตัวร้อยละ 2.01 ในปี 2562

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/agro-forestry-fishery-sector-runs-trade-surplus-in-two-months/169295.vnp

การลงทุนจากต่างชาติลดลง 23.6% ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม เปิดเผยว่ายอดการลงทุนจากต่างชาติลดลงร้อยละ 23.6 ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ คิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 6.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับโครงการลงทุนจากต่างชาติมีการเบิกจ่ายเงินทุน 2.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 5 โดยโครงการใหม่มีจำนวน 500 โครงการที่จดทะเบียน ด้วยมูลค่าจดทะเบียนรวม 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปีที่แล้ว ทั้งนี้ โครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุนมีจำนวนอยู่ 151 โครงการ ด้วยเงินทุน 638.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นในธุรกิจเวียดนามอยู่ที่ 827.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญร้อยละ 84 ซึ่งภาคการผลิตพลังงานมีการลงทุนจากต่างชาติมากที่สุด รองลงมาภาคการแปรรูปและการผลิต ค้าส่งค้าปลีก และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ เป็นต้น ในขณะเดียวกัน สิงคโปร์เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุด รองลงมาจีน และเกาหลีใต้ เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/foreign-investment-falls-23-6-percent-in-first-two-months/169297.vnp

เมียนมาส่งออกปลาแห้งไปยังบังคลาเทศอย่างต่อเนื่อง

เมียนมายังคงส่งออกปลาแห้งหลายชนิดไปยังบังคลาเทศผ่านชายแดนมงดอว์ ในช่วงเดือนมกราคมมีการส่งออกปลาแห้ง 210 ตันมูลค่ากว่า 131,000 ดอลลาร์สหรัฐและเป็นการส่งออกที่มากเป็นอันดับสามผ่านศูนย์การค้าชายแดนเมืองมงดอว์ ในเดือนธันวาคมส่งออกปลาแห้งจำนวน 268 ตันมูลค่าประมาณ 192,000 ดอลลาร์สหรัฐ เมียนมามีรายรับมากกว่า 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกรวมถึงการส่งออกปลาแห้งในเดือนธันวาคมและมีรายรับมากกว่า 1.538 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนมกราคม สินค้าส่งออก เช่น หัวหอม ปลาคาร์พ ปลาแห้ง ถั่วพู ถั่วลูกไก่ ขิงและลูกพลัม และการส่งออกหลักคือหัวหอม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 14 กุมภาพันธ์ มูลค่าซื้อขายสินค้ามูลค่า 6.707 ล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านการค้าชายแดนมงดอว์ เพิ่มขึ้น 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-continues-dried-fish-exports-to-bangladesh

รัฐบาลเมียนมาเผยโครงการพัฒนาระดับชาติ 58 โครงการในธนาคาร

รัฐบาลเปิดเผยโครงการพัฒนาระดับชาติ 58 โครงการระหว่างการเปิดตัวเว็บไซต์ของธนาคารโครงการ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบนเว็บเชิงโต้ตอบที่ออกแบบมาเพื่อเน้นโครงการการลงทุนให้สอดคล้องกับการดำเนินการตามแผนพัฒนาอย่างยั่งยืนเมียนมา (MSDP) สำหรับปี 2561-2573 โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 58 โครงการประกอบด้วย ถนน รถไฟ ท่าเรือ สนามบิน ไฟฟ้า การพัฒนาเมือ งการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม รวมถึงโครงการพัฒนาการเกษตร โครงการที่มีการลงทุนสูงสุดคือสถานีกลางย่างกุ้งซึ่งมีการลงทุนกว่า 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ธนาคารโครงการแสดงให้เห็นถึงร้านค้าครบวงจรออนไลน์ซึ่งข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโครงการที่ออกแบบมาสามารถเข้าถึงได้ง่ายเพียงคลิกเดียว อีกทั้งยังสร้างระบบที่น่าเชื่อถือและโปร่งใสซึ่งเชื่อมโยงโครงการการลงทุนที่สำคัญกับแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมและเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมากขึ้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-govt-reveals-58-national-development-projects-project-bank.html

รัฐบาลกำหนดค่าธรรมเนียมและภาษีใหม่สำหรับสินค้าที่ส่งออก

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้มีราชกิจจานุเบกษาสาธารณรัฐประชาชนลาวในเรื่องของการเก็บค่าธรรมเนียมและภาษีใหม่สำหรับการขนส่งทางบกและการส่งออกชายแดนรวมถึงสินค้าที่นำเข้าเพื่อการส่งออกจะไม่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายในสปป.ลาว โดยคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ตัดสินใจปรับใหม่ด้วยสาเหตุที่ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป.ลาวและในอนาคตรัฐบาลได้ลงทุนเป็นจำนวนมากในการสร้างทางรถไฟ ถนนและสะพานเพื่อเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านนิกจากนี้ยังมี โครงการลงทุนขนาดใหญ่รถไฟลาว – ​​จีนและรถไฟคุนหมิง – สิงคโปร์ รัฐบาลจึงมีความจำเป็นในการขยายฐานรายได้ของรัฐบาลเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินโยบายเพื่อการลงทุนพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministry_42.php

แม้มีข้อจำกัดการเพาะปลูก กล้วยยังคงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของสปป.ลาว

มูลค่าการส่งออกของกล้วยไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะจีนและไทยในปี 62 เพิ่มขึ้น 198 ล้านเหรียญสหรัฐเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 76 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ถึงแม้รัฐบาลจะมีมาตราการสั่งห้ามไม่ให้มีการเพาะปลูกเพิ่มเละยังมีการปิดโรงงานกว่า 90 บริษัทที่ลงทุนในสวนกล้วยครอบคลุม 26,177 เฮคเตอร์ทั่วประเทศลาวเนื่องจากการเพาะปลูกกล้วยของบริษัทบางส่วนมีการละเมิดกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและไม่เป็นมิตต่อระบบนิเวศโดยมีการใช้สารเคมี Paraquat และ DDTที่อาจส่งผลต่อร่างกายมนุษย์ได้ ทำให้พืชดังกล่าวถูกควบคุมอย่างเคร่งครัดและหากต้องการจะปลูกต้องมีการขออนุญาตจากภาครัฐก่อน อย่างไรก็ตามกล้วยก็ยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของสปป.ลาวเพราะมีมูลค่าเป็นอันดับ 4 ในกลุ่มสินค้าเกษตรที่สร้างรายได้แก่สปป.ลาวนอกจากนี้ยังสร้างงานและรายได้ที่มั่นคงแก่เกษตรกรอีกด้วย จึงเป็นสิ่งที่ทำให้รัฐบาลต้องกลับมาทบทวนถึงข้อจำกัดต่างๆ ที่ทำให้ผลผลิตลดลงและไม่มีนักลงทุนกล้าที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ ทั้งทีมีมูลค่าสูง ในท้ายที่สุดหากมีข้อสรุปที่เหมาะสม กล้วยจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของสปป.ลาวต่อไป

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/bananas-remain-large-slice-laos%E2%80%99-export-pie-114628

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาร่างนโยบายการผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์ภายในประเทศ

กระทรวงพาณิชย์ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อร่างนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาเม็ดมะม่วงหิมพานต์ในประเทศกัมพูชา โดยจะดำเนินการศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่การผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งประธานของ Chan Rasy ที่เป็นรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงข้อมูลที่รวบรวมได้จะถูกนำไปใช้ในการร่างนโยบายเชิงกลยุทธ์สำหรับพืชผลในกัมพูชาตามแถลงการณ์ที่ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งหลังจากรวบรวมข้อมูลแล้วร่างนโยบายจะถูกส่งไปยังรัฐบาลเพื่อตรวจสอบและอนุมัติก่อนนำไปใช้เป็นนโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาเม็ดมะม่วงหิมพานต์ในประเทศกัมพูชา โดยกัมพูชาส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์จำนวน 202,318 ตัน ในปีที่แล้วสู่ตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นเกือบ 100% จาก 101,973 ตัน ในปี 2561 จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง ราคาปัจจุบันของเม็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบอยู่ที่ 1.25 – 1.5 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัมขึ้นอยู่กับคุณภาพของถั่วด้วยการผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์ยังคงคาดว่าจะเติบโตได้ดีในปี 2020 จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรระบุว่ามีการวางแผนที่จะปลูกต้นมะม่วงหิมพานต์มากกว่า 500,000 เฮกตาร์จากปัจจุบัน 150,000 เฮกเตอร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50695612/ministry-moves-to-implement-draft-policy-for-cashew-nut-production

ภาคการท่องเที่ยวระหว่างประเทศยังเติบโต แต่ยังคงต้องติดตามต่อในอนาคต

กัมพูชามีรายรับราว 4.91 พันล้านเหรียญสหรัฐจากภาคการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 12.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน  โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.61 ล้านคน ตามรายงานล่าสุดจากกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา ซึ่งเมื่อปีที่แล้วจำนวนนักท่องเที่ยวรวมภายในประเทศที่มาเยือนกัมพูชาเพิ่มขึ้น 11.3 ล้านคน จากนักท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น 2.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยจากรายงานแสดงให้เห็นถึงภาคการท่องเที่ยวมีสัดส่วนถึง 12.1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งการท่องเที่ยวมีลูกจ้างถึง 630,000 คน ในการให้บริการภายในประเทศ โดยประเทศจีนอยู่ในอันดับต้นๆของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในกัมพูชาเมื่อปีที่แล้วสูงถึง 2.361 ล้านคน รองลงมาคือเวียดนาม 908,803 คน ไทย 363,951 สปป.ลาว 363,951 เกาหลีใต้ 254,874 คน สหรัฐ 248,863 คน ญี่ปุ่น 207,636 คน มาเลเซีย 203,008 และญี่ปุ่น 207,636 คน เป็นต้น ซึ่งกระทรวงฯคาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะสูงถึง 7 ล้านคนในปี 2563 อย่างไรก็ตามเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 การคาดการณ์อาจเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก ในปัจจุบันในเสียมราฐเพียงอย่างเดียวจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงประมาณร้อยละ 60 จนถึงปีนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50695677/international-tourism-up-but-fears-for-the-future