BIMA และ Smart Axiata ประกาศเพิ่มความคุ้มครองสำหรับ Smart Life Insurance

ผู้ให้บริการด้านประกันฯ BIMA และผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมสมาร์ท Axiata ประกาศเปิดตัวประกันภัยที่ครอบคลุมสำหรับลูกค้า Smart Life Insurance ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนเป็นต้นไป โดยตอนนี้ผู้ถือประกันจะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้สูงถึง 5,000 เหรียญสหรัฐ ด้วยแผนอัพเกรดนี้ ซึ่งลูกค้าภายใต้ประกันชีวิต Smart  Life Insurance จะต้องชำระค่าเบี้ยระหว่าง 1.60 – 2.40 เหรียญสหรัฐต่อเดือนสำหรับการคุ้มครองข้างต้น โดยก่อนหน้านี้ครอบครัวที่มีรายได้ต่ำในกัมพูชาไม่สามารถเข้าถึงโครงการประกันสังคมและการพาณิชย์ที่สำคัญได้ ซึ่งตั้งแต่ปี 2014 การเป็นหุ้นส่วนกับ Smart Axiata และ BIMA ได้ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงประกันฯมากกว่า 1 ล้านคน ทั้งประกันชีวิตและประกันสุขภาพด้วยนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดหวังว่าจะสามารถขยายขอบเขตและให้บริการการบริหารความเสี่ยงที่มีคุณค่าแก่ประชาชนได้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50694703/bima-and-smart-axiata-announces-enhanced-insurance-coverage-for-smart

กัมพูชาลดหย่อนภาษีเงินได้ 4 เดือนสำหรับโรงแรมและเกสต์เฮ้าส์ในเสียมเรียบ

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนประกาศเมื่อวานนี้ว่าโรงแรมและเกสต์เฮาส์ที่จดทะเบียนทั้งหมดในเสียมเรียบจะได้รับการยกเว้นภาษีทั้งหมดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนพฤษภาคมปีนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ธุรกิจที่กำลังประสบกับปัญหาผู้เข้าพักลดลงเนื่องจากการแพร่ของเชื้อไวรัสโคโรนาที่รู้จักกันในชื่อ Covid-19 ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงต่อภาคการท่องเที่ยวในเสียมเรียบ โดย Covid-19 ได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคการท่องเที่ยวในกัมพูชาโดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมากัมพูชาในเดือนนี้ลดลงประมาณ 60% และโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนลดลงไปกว่า 90% ซึ่งในปัจจุบันรัฐบาลจะมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือธุรกิจการท่องเที่ยวในเสียมเรียบ ซึ่งมาตรการดังกล่าวตั้งขึ้นเพื่อช่วยให้โรงแรมและเกสต์เฮาส์ดำเนินงานต่อไปได้ โดยรักษาตำแหน่งงานและความสามารถในการแข่งขันไว้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50694704/four-month-tax-break-for-hotels-and-guesthouses-in-siem-reap

ผู้ค้าออนไลน์เร่งปรับราคาหน้ากากและเจลล้างมือ

จากข้อมูลของสำนักงานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และเศรษฐกิจดิจิทัล ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่ามีการละเมิดในเว็บไซค์อีคอมเมิร์ซ ได้แก่ Sendo, Shopee, Lazada, Tiki, chotot, vatgia และ fado เป็นต้น ผู้ขายออนไลน์ถูกกล่าวหาว่าใช้ผลประโยชน์จากการแพร่ระบาดชองไวรัสโคโรนา ในการปรับขึ้นราคาสินค้าอนามัย ซึ่งทางสำนักงานระบุว่าได้ดำเนินการ เพื่อป้องกันไม่ให้ร้านค้าขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่ตั้งราคาสูงมากเกินไป เมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการตรวจสอบผู้ขายออนไลน์ทั้งหมด 463,865 ราย พบว่ามีผู้ละเมิด 5,200 รายที่เพิ่มราคาสินค้า 21,000 ชิ้น ทั้งนี้ ในช่วงปลายเดือนม.ค. สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้คร่าชีวิตผู้คนมากกว่า 2,600 ราย และจำนวนผู้ติดเชื้อราว 79,000 ราย ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในท้องถิ่นและความต้องการของสินค้าสุขอนามัยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ข้อมูลของกันตาร์ เวิล์ดพาแนล (Kantar Worldpanel) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์และบริการจัดส่ง มองว่าการเติบโตฐานลูกค้าและการมใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนั้น ได้แรงหนุนจากความสนใจของผู้ซื้อรายใหม่ที่ยังไม่เคยซื้อของออนไลน์หรือการใช้จ่ายออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/online-sellers-fined-for-hiking-prices-of-face-masks-hand-sanitiser/169152.vnp

ธุรกิจสิงคโปร์ค้นหาซัพพลายเออร์สินค้าเกษตรจากเวียดนาม

คณะผู้แทนจากสิงคโปร์เข้าเยี่ยมชมเวียดนาม ในช่วงปลายเดือนนี้ เพื่อค้นหาซัพพลายเออร์ผักและผลไม้และเน้นในการร่วมมือธุรกิจ ตลอดจนการถ่ายทอดโอนเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตสินค้าเกษตร เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ยอดการนำเข้าจากจีนลดลง ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MOIT) ระบุว่าปัจจัยข้างต้นอาจจะเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาด้านการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมของเวียดนามจากการแพร่ระบาดชองไวรัส ทำให้ภาคธุรกิจของสิงคโปร์ต้องหาตลาดใหม่ โดยเฉพาะตลาดกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทยและเวียดนาม เพื่อรองรับทางการค้าหยุดชะงักกับจีน ประกอบกับสิงคโปร์เป็นประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตร ด้วยโอกาสนี้ เวียดนามขยายการส่งออกผักผลไม้ไปยังสิงคโปร์และลดการค้ากับจีน นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติศุลกากร แสดงให้เห็นว่าในเดือนม.ค. มีมูลค่าการส่งออกรวมอยู่ที่ 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเดือนก่อนหน้า สำหรับตลาดนำเข้าผักผลไม้รายใหญ๋ที่สุดของเวียดนาม ได้แก่ จีน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 64.8 ของมูลค่าส่งออกผักผลไม้ทั้งหมด แต่ในเดือน ม.ค. มูลค่าการส่งออกไปยังจีนลดลงร้อยละ 32.4 ด้วยมูลค่า 173.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/622670/singapore-firms-seek-suppliers-of-agricultural-products-in-viet-nam.html

EXIM BANK สนับสนุนทางการเงินแก่ธนาคารชเว ส่งเสริมผู้ประกอบการเมียนมานำเข้าสินค้าไทย

นางสาวดรัสวันต์ ชูวงษ์ (ที่ 3 จากขวา) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และ ดร.ลา ตาว (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้จัดการทั่วไป ธนาคารชเว (Shwe Bank) ร่วมลงนามในสัญญาสนับสนุนทางการเงินของ EXIM BANK สำหรับให้ธนาคารชเวนำไปใช้สนับสนุนธุรกิจของผู้ประกอบการเมียนมาที่ต้องการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้การค้าไทย-เมียนมามีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น โดยมี ดร.เตง ซอ (กลาง) รองประธานบริหาร ธนาคารชเว เป็นสักขีพยาน ณ ธนาคารชเว สำนักงานใหญ่ ย่างกุ้ง เมียนมา เมื่อเร็ว ๆ นี้

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3098728

เมียนมากำหนดเป้าหมายผลิตไฟฟ้ารองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น

การกระทรวงไฟฟ้าและพลังงานลงทุนประมาณ 1.2 ล้านล้านจัต เพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติม 700 เมกะวัตต์สำหรับความต้องการพลังงานในประเทศ ปัจจุบันผลิตกระแสไฟฟ้าอยู่ที่ 700 เมกะวัตต์เพิ่มเติมและมีแผนผลิตเพิ่มอีก 1,000 เมกะวัตต์ภายในกลางปีนี้ ได้การอนุมัติให้กับบริษัทต่างประเทศ 6 แห่งเพื่อผลิตพลังงานเพิ่มเติม โดยลงทุน 6.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อผลิตเกือบ 4,000 เมกะวัตต์จากโครงการก๊าซธรรมชาติและพลังงานน้ำ นอกเหนือจากพลังงานจากก๊าซธรรมชาติและพลังงานน้ำแล้วยังมีการเตรียมการเพื่อพัฒนา 40 เมกะวัตต์จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใน Minbu และอีก 50 เมกะวัตต์ จากสองพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะพัฒนาสายไฟฟ้าข้ามพรมแดนเพื่อให้ได้ 1,000 เมกะวัตต์อีกด้วย ปัจจุบันโครงข่ายไฟฟ้าแห่งชาติของเมียนมาได้จัดหาพลังงานให้กับ 368 เมืองและ 16,000 หมู่บ้าน ปี 62 ร้อยละ 50 ของประเทศสามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้และมีแผนเพิ่มการเข้าถึงไฟฟ้า 55%  ในปี 64, 75% ในปี 68 และ และ 100% ในปี 73 ซึ่งมีการจัดสรรงบประมาณ 2.3 พันล้านจัต และ 1.3 พันล้านดอลลาร์จากธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย เพื่อนำมาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เมื่อรัฐบาลนี้เข้ารับตำแหน่งมีเพียง 34% ของประเทศเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงกริดแห่งชาติ แต่ตอนนี้ได้เพิ่มเป็น 50%

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/govt-sets-goal-generating-more-electricity-meet-demand.html

ตลาดหลักทรัพย์เมียนมาอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้าซื้อหุ้นในประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งเมียนมา (SECM) จะอนุญาตให้ชาวต่างชาติทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง (YSX) เริ่มมีนาคมนี้ โดยชาวต่างชาติและนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศจะได้รับอนุญาตให้ลงทุน 35% ของหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนใน YSX เชื่อว่าการมีส่วนร่วมของชาวต่างชาติในตลาดหุ้นจะเติบโตมากขึ้น ปัจจุบันมีบริษัท 5 แห่งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ประกอบด้วย  First Myanmar Investment, Myanmar Thilawa SEZ Holdings, Myanmar Citizens Bank, First Private Bank และ TMH Telecom. ปัจจุบัน SECM กำลังเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ YSX มีมูลค่าตลาดมากกว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐ เปิดตัวในเดือนธันวาคม 58 และเริ่มซื้อขายตั้งแต่เดือนมีนาคม 59

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/foreigners-cleared-trade-stock-market-next-month.html

กัมพูชางดเก็บภาษีรายเดือนโรงแรมและเกสต์เฮาส์ในเสียมราฐจากความกังวลของไวรัส

          นายกรัฐมนตรีฮุนเซนประกาศจะไม่เรียกเก็บภาษีรายเดือน 4 เดือนสำหรับโรงแรมและเกสต์เฮาส์ในเสียมเรียบเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ธุรกิจ โดยมาตรการดังกล่าวจะช่วยบรรเทาผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อการระบาดของไวรัสโคโรนา ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อ Covid-19 โรงแรมและเกสต์เฮาส์จะได้รับการยกเว้นภาษีเป็นเวลา 4 เดือน สำหรับธุรกิจที่ลงทะเบียนกับกรมสรรพากรกัมพูชา โดยประธานสมาคมการท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิกแห่งกัมพูชา (PATACC) กล่าวว่าภาคเอกชนได้สนับสนุนมาตรการใหม่ของรัฐบาลสำหรับการยกเว้นภาษีให้กับโรงแรมและเกสต์เฮาส์ในเสียมเรียบ ซึ่งยังเรียกร้องให้รัฐบาลยกเว้นภาษีสำหรับบริษัททัวร์และ บริษัทท่องเที่ยวเนื่องจากบริษัททัวร์เหล่านั้นกำลังเผชิญกับปัญหาด้านการท่องเที่ยว โดยรัฐบาลมุ่งมั่นที่จะช่วยสนับสนุน ซึ่งพยายามเพิ่มแพ็คเกจการเดินทางไปยังตลาดท้องถิ่นเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50694633/tax-discount-on-siem-reap-hospitality-over-virus-fears

ธุรกิจญี่ปุ่นลงทุนภาคการค้าปลีกและบริการในเวียดนาม

ภาคการค้าปลีกและบริการเวียดนาม คาดว่าจะดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นจำนวนมากในปีนี้ จากข้อมูลขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JETRO) เปิดเผยว่ากำลังซื้อของชาวเวียดนามที่เพิ่มขึ้นทั่วประเทศนั้น ทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกและบริการชาวญี่ปุ่น มองหาโอกาสธุรกิจในตลาดที่กำลังเติบโต ถึงแม้ว่าการลงทุนของญี่ปุ่นจะลดลงในปีที่แล้ว แต่จำนวนโครงการใหม่ของนักลงทุนญี่ปุ่นกลับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งจำนวนโครงการที่จดทะเบียนแตะระดับสูงสุดอยู่ที่ 435 โครงการในปีที่แล้ว ทั้งนี้ จากผลการสำรวจของเจโทร ระบุว่าผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจในเวียดนามส่วนใหญ่ร้อยละ 63.9 ตั้งใจที่จะขยายธุรกิจในประเทศ นับว่าเวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราการลงทุนสูงสุดในอาเซียน ในขณะเดียวกัน องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ได้กล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่าเมื่อ 3 ปีก่อน ว่าประเทศไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับนักลงทุนและผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่น แต่ด้วยแนวโน้มในปัจจุบัน ผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่หันมาลงทุนในเวียดนามแทน เนื่องจากจำนวนประชากรมากกว่า 96 ล้านคน ดังนั้น ภาคบริการจีงมีศักยภาพสูงและเป็นสาเหตุที่ผู้ค้าปลีกญี่ปุ่นหลายรายเข้ามาทำตลาดในเวียดนาม นอกจากนี้ กระทรวงการวางแผนและการลงทุน ระบุว่าธุรกิจญี่ปุ่นหลายรายมักจะระมัดระวังในการลงทุน ซึ่งจากข้อมูลสถิติการลงทุน ระบุว่าในปีที่แล้ว เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นอยู่ที่ 1.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/japanese-businesses-to-invest-in-vietnam-s-services-and-retail/169100.vnp

ACV คาดผลกำไรลดลง 6 ล้านล้านดองในปี 63 จากโควิด-19

จากข้อมูลขององค์กรท่าอากาศยานเวียดนาม (ACV) คาดว่ากำไรในปีนี้จะสูงถึง 1.7 ล้านล้านดอง (73.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลงมากกว่า 6 ล้านล้านดองเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องมาจากผลกระทบของสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 โดยในปีที่แล้ว บริษัทมีรายได้สุทธิอยู่ที่ 18.3 ล้านล้านดองและกำไรหลังหักภาษีอยู่ที่ 8.3 ล้านล้านดอง เป็นผลมาจากการเติบโตของปริมาณผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าทางอากาศ ซึ่งในระหว่างการประชุมกับคณะรัฐมนตรี ระบุว่าทาง ACV ได้เสนอให้รัฐบาลและนายกรัฐมนตรีทำการพิจารณาความคืบหน้าของโครงการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการพัฒนาระบบดาดฟ้าเรือบรรทุกเครื่องบินในท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ตและท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย ทั้งนี้ เอกสารทางกฎหมายนั้น เป็นแนวทางในการกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศเวียดนามปัจจุบัน ไม่ได้กำหนดบทบาทของผู้ประกอบการท่าอากาศยานอย่างชัดเจนในด้านการลงทุน พัฒนาและขยายธุรกิจท่าอากาศยาน ซึ่งมอบหมายให้ธุรกิจได้บริหารและการใช้หาประโยชน์ ซึ่งจากข้อมูลข้างต้นส่งผลต่อการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของท่าอากาศยานเวียดนาม (ACV) นอกจากนี้ ในวันที่ 31 ธ.ค. 62 บริษัทมีเงินฝากระยะสั้นราว 31.2 ล้านล้านดอง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น ด้วยปัญหาข้างต้น จึงดำเนินการร่างแก้ไขพระราชกฤษฎีกา 102/2015 เกี่ยวกับการดำเนินงานของท่าอากาศยาน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ha-tinhs-cage-fish-farmers-restore-production/169071.vnp