ส่งออกตลาดของขวัญปี 62 มูลค่า 2.4 หมื่นล้านบาท ติดลบ 3%

มูลค่าตลาดสินค้าของขวัญ ของชำร่วย ตลาดส่งออกมูลค่ากว่า 2.4 หมื่นล้านบาท ปี 62 คาดว่าจะเติบโตติดลบ 3% จากเดิมวางเป้าหมายการเติบโตไว้ที่ 2% จาก 4 ปัจจัยสำคัญ คือ 1.อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เงินบาทไทยแข็งค่าขึ้นกว่า 23% โดยตลาดส่งออกสำคัญ สินค้าของขวัญฯ คือ ญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา 2. การถดถอยของ เศรษฐกิจโลก และตลาดหลัก อันได้แก่ สหรัฐ อเมริกา ญี่ปุ่น จีน และสหภาพยุโรป 3.ต้นทุนการผลิตที่แพงขึ้น และ 4. ขีดความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง ในหลายประเภท สินค้าที่ต้องพึงพาแรงงานฝีมือ และแรงงานฝีมือหายไปจากตลาด อย่างไรก็ตามในปีหน้า ผู้ประกอบการธุรกิจในอุตสาหกรรมฯ จะต้องปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลของโลกการซื้อในยุคใหม่ รวมถึงภาครัฐต้องส่งเสริมสนับสนุน อย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมนี้ .ช่วยเหลือให้ผู้ประกอบเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อเพื่อใช้ในการ Tranformation องค์กร สำหรับตลาดของขวัญในประเทศ มีมูลค่าประมาณ 4 หมื่นล้านบาท โดยในปี 62 คาดเติบโตลดลง ขณะที่ ภาครัฐควรมีมาตรการกระตุ้นออกอย่างต่อเนื่องและเข้าถึงง่าย เช่น โครงการชิ้มช้อปใช้กระเป๋า 2 ซึ่งหากมีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจในประชาชนให้ใช้มากขึ้น คาดจะสามารถกระตุ้นให้ใช้จ่ายมากขึ้นได้ สำหรับเทรนด์สินค้าของขวัญที่คาดว่าจะได้รับความนิยม คือ 1.ตะกร้าของขวัญ กิฟต์เซ็ท 2. สินค้าเพื่อสุขภาพ ทุกหมวดหมู่ 3.ของเครื่องใช้ กระเป๋า เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ และ 4. ไอที และอุปกรณ์อื่นๆ นอกจากนี้ ในปีหน้าสินค้าที่คาดว่าจะได้รับความนิยมหรือมาแรง คือ ถุงผ้า จากความต้องการของตลาดและผู้บริโภค ภายใต้นโยบายเลิกใช้ถุงพลาสติก ปัจจุบัน สมาคมของขวัญฯ มีผู้ประกอบการธุรกิจในอุตสาหกรรมฯนี้ กว่า 3,000 ราย และเป็นสมาชิกกับสมาคมของขวัญของชำร่วยไทยและของตบแต่งบ้าน ประมาณ 350 ราย โดยในช่วง 3 เดือนสุดท้ายปีนี้ มีผู้ประกอบการเพิ่มเข้ามาอีกเกือบเท่าตัว โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอี

ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/sme/609127

สปป.ลาว ตั้งเป้าปรับปรุงความปลอดภัยของคนงานภาคการตัดเย็บเสื้อผ้า

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้มีการประชุมในหัวข้อสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสวัสดิภาพของคนงาน ในปัจจุบันขณะที่เศรษฐกิจสปป.ลาวกำลังเติบโตสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยเป็นความเสี่ยงของแรงงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลให้ความสำคัญ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและสวัสดิการกล่าวว่าความปลอดภัยในห่วงโซ่อุปทานสปป.ลาว เป็นก้าวสำคัญในการสนับสนุนการคุ้มครองสิทธิแรงงานในสปป.ลาว (OHS: อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน) โดยปัจจุบันมีการดำเนินโครงการ Vision Zero Fund ในภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าเพื่อช่วยเหลือแรงงานในด้านสวัสดิการและความปลอดภัยในการทำงาน การดำเนินโครงการดังกล่าว เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศและส่งเสริมแนวทางการดำเนินการเพื่อยกระดับมาตรฐาน OSH ผ่านแผนปฏิบัติการของ Asean-OSHNET(เครือข่ายความปลอดภัยอาชีวอนามัยของอาเซียน) การพัฒนาดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมสร้างแรงงานของสปป.ลาวและช่วยยกระดับชีวิตการเป็นอยู่ของแรงงานในประเทศให้ดีขึ้น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Labour_270.php

การประชุมจะเน้นย้ำถึงนโยบายการพัฒนาประชากรสปป.ลาว

สปป.ลาวร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อการพัฒนาโครงการวางแผนครอบครัวระดับชาติรวมถึงได้รับการสนับสนุนโดย UNFPA (กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ) เพื่อสร้างความก้าวหน้าของนโยบายการพัฒนาประชากร (2562-2573) นอกเหนือจากการสนับสนุน UNFPA ยังมีการปรับปรุงยุทธศาสตร์ด้านอนามัย การเจริญพันธุ์และการดูแลมารดารวมถึงการบูรณาการการสอนเรื่องเพศศึกษาที่ครอบคลุมในระบบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในที่ประชุมยังมีการได้กล่าวถึงความสำเร็จในปีที่ผ่านมาด้านการพัฒนาประชากรและได้มีการคาดการณ์ของผลของการดำเนินการ ที่จะเกิดในอีก 10 ปีว่าจะทำให้โครงการดังกล่าวพัฒนาไปอีก หากมีการสนับสนุนที่ดีจาก UNFPA ที่เป็นแหล่งเงืนทุนในการดำเนินการต่างๆและกระทรวงแผนการและการลงทุน ที่จะผลักดันนโยบายต่างๆออกมาเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ปลายทางของการมุ่งพัฒนาจะเสริมสร้างสถาบันครอบครัวให้แข็งแกร่ง ประชากรวัยหนุ่มสาวที่มีประสิทธิภาพและความเสมอภาคทางเพศจะได้รับการจัดการเสริมสร้างสังคมที่ดีในประเทศ  

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Conference_270.php

แกรนด์ไชน่าประกันชีวิตรวมพัฒนาภาคประกันภัยในกัมพูชา

บริษัท Grand China Life Insurance และ Chief (Cambodia) Commercial Bank Plc. ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อพัฒนาภาคประกันภัยในประเทศกัมพูชา โดยบันทึกความเข้าใจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างบริษัทที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Chief Bank กล่าวว่าอุตสาหกรรมประกันภัยในประเทศกัมพูชามีการพัฒนาอย่างรวดเร็วโดยการร่วมมือกับ Grand China Life Insurance จะช่วยกระตุ้นการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยรายได้ประชาชาติของกัมพูชาอยู่เพียง 288 เหรียญสหรัฐ ในปี 2000 แต่เพิ่มขึ้นเป็น 830 เหรียญสหรัฐ ในปี 2010 และสูงถึง 1,548 เหรียญสหรัฐ ในปี 2018 โดย Morarith กล่าวว่าด้วยกฎหมายที่มีการปรับปรุงและหน่วยงานกำกับดูแลที่รับผิดชอบตอนนี้กัมพูชามีความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับความสำคัญของการภาคประกันภัย ซึ่ง Yu Li Qun ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Grand China Life จะคอยช่วยแนะนำลูกค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เหมาะสมให้กับผู้ต้องการทำประกัน ทั้งนี้ Grand China Life Insurance ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลังในปี 2560 และเริ่มดำเนินการในเดือนมีนาคม 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50670383/grand-china-life-insurance-chief-bank-team-up-to-develop-insurance-sector/

โรงงานผลิตและแปรรูปมะม่วงในกัมพูชา 3 แห่งจะเริ่มเปิดทำการในปีหน้า

กระทรวงเกษตรระบุว่าจะมีการเปิดโรงงานแปรรูปมะม่วงอย่างน้อยสามแห่งในปี 2563 โดยโรงงานแห่งใหม่จะส่งเสริมการผลิตมะม่วงในกัมพูชาและช่วยให้เกษตรกรค้นหาตลาดใหม่สำหรับผลผลิตของพวกเขาซึ่งขณะนี้กัมพูชามีโรงงาน 8 แห่ง ที่ดำเนินการแปรรูปมะม่วง โดยสินค้าส่วนใหญ่ของการผลิตถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์จากมะม่วงยังคงส่งออกในระดับที่ต่ำ ซึ่งโรงงานแห่งใหม่นี้สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลในการส่งเสริมการลงทุนในภาคการผลิตมะม่วงภายในประเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่าเขาขอให้เจ้าของโรงงานทำข้อตกลงการทำสัญญากับเกษตรกรเพื่อช่วยลดความเสี่ยงระหว่างกัน นอกจากนี้กระทรวงยังได้ขอให้หน่วยงานพาณิชย์จังหวัดอำนวยความสะดวกในกระบวนการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับบริษัทที่ต้องการส่งออกผลิตภัณฑ์จากโรงงานเหล่านี้ ซึ่งกัมพูชากำลังดำเนินการเพื่อเริ่มส่งมะม่วงไปยังเกาหลีใต้และจีน โดยถือว่าเป็นตลาดใหญ่สำหรับตลาดผลไม้ และจากข้อมูลของกระทรวงเกษตรระบุว่าพื้นที่เพาะปลูกมะม่วงมีมากกว่า 100,000 เฮกตาร์ทั่วประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50670405/three-mango-factories-to-open-next-year-ministry/

GDP เวียดนามขยายตัว 25.4% ต่อปี ในช่วงปี 2010-2017 หลังจากปรับปรุงวิธีนับใหม่

จากคำแถลงการณ์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ว่าหลังจากการปรับปรุงวิธีการวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศใหม่ ส่งผลให้ GDP เวียดนามขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 25.4 ต่อปี ในช่วงปี 2010-2017 ซึ่งวัตถุประสงค์ในการปรับขนาด GDP เพื่อให้สะท้อนถึงภาพรวมของเศรษฐกิจและประสิทธิภาพของการใช้นโยบายเศรษฐกิจ รวมไปถึงส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเศรษฐกิจ ทั้งด้านภาคการเกษตรปรับขนาดลดลง ส่วนภาคอุตสาหกรรมและการบริการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ จากตัวเลข GDP ที่ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นนั้น เป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่างประกอบรวมกัน รวมไปถึงการปรับปรุงของโครงสร้างเศรษฐกิจ และวิธีการการวัดที่ทันสมัย (Methodology)

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/8223202-vietnam%E2%80%99s-gdp-up-by-25-4-per-year-during-2010-2017-after-revision.html

เวียดนามอยู่อันดับ 2 ของการลงทุนธุรกิจ FinTech ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากรายงาน ‘FinTech in ASEAN’ ที่เผยแพร่โดยธนาคารยูโอบี (UOB) เปิดเผยว่าเวียดนามดึงดูดเงินทุนในธุรกิจฟินเทค คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36 ของการลงทุนรวมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงดึงดูดเงินทุนเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 0.4 ในปีที่แล้ว โดยสิงคโปร์ยังคงเป็นประเทศที่ดึงดูดเงินทุนจากทั่วโลกมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51 ส่วนประเทศอินโดนีเซีย (12%) ไทย และมาเลเซีย มีสัดส่วนน้อยกว่า 2 ของการลงทุนรวมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ เวียดนามเป็นผู้นำการร่วมลงทุน (VC) ในธุรกิจ FinTech นอกจากนี้ บริษัทฟินเทคได้ตั้งตลาดเป้าหมายกว่า 300 ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ไม่มีบัญชีธนาคาร หรือคนที่กำลังมองหาการลงทุนและการให้บริการประกันชีวิต ซึ่งตลาดการชำระเงินผ่านโมบายของเวียดนาม คาดว่าจะเติบโตสูงถึง 70.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2568

จำนวนคนที่ไม่มีบัญชีธนาคารหรือ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-ranks-second-in-fintech-investment-in-southeast-asia-407593.vov

รถไฟวงแหวนย่างกุ้งแล้วเสร็จพฤษภาคม 63

การยกระดับของเส้นทางรถไฟรอบย่างกุ้งจะเสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคม 63 ทางรถไฟเวียนย่างกุ้งซึ่งแบ่งออกเป็นส่วนตะวันออกและตะวันตกใกล้จะแล้วเสร็จ ส่วน Danyinkone- Insein และ Insein-Kyinmyindine และส่วน Kyinmyindine-Bayarlan จะเสร็จสิ้นในปลายเดือนธันวาคม สี่ในห้าส่วนของทางรถไฟจะแล้วเสร็จปลายเดือนธันวาคม ส่วนทางทิศตะวันออกจะสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม 63 แต่ละขบวนจะวิ่ง 10-12 นาทีในชั่วโมงเร่งด่วนสามารถลดระยะเวลาในการเดินทาง 1 ชั่วโมง 50 นาทีในการวิ่งแต่ละครั้ง สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ 240,000 คน การพัฒนาระบบต่างๆ ของรถไฟใช้เงินกู้ 107 ล้านเหรียญสหรัฐจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ปัจจุบันมีผู้โดยสารประมาณ 90,000 คนใช้บริการในแต่ละวันวันและจะเพิ่มขึ้นประมาณ 300,000 คน หลังการปรับปรุงเสร็จสิ้น

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/yangon-circular-railway-upgrades-to-finish-in-may-2020

เมียนมาส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปตุรกี

จากการหารือส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป การจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับแรงงาน การลงทุน งานแสดงสินค้าระหว่างสองประเทศและการส่งเสริมภาคการค้า ระหว่างรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และเอกอัครราชทูตตุรกีประจำเมียนมาเมื่อต้นเดือนธันวาคม การส่งออกเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ ข้าว ถั่ว และข้าวโพดเพิ่มเป็น 4 เท่าภายใน 5 ปี มูลค่าของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป CMP (Cutting, Making, Packing) อยู่ที่ 325 ล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 25 ตุลาคมของปี 62-63 อย่างไรก็ตามการส่งออกปีที่ผ่านมามีมูลค่ามากกว่า 287 ล้านเหรียญสหรัฐ รายได้ต่อปีจากระบบ CMP ประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกหลักคือญี่ปุ่นและยุโรป นอกจากนี้ยังมีตลาดในเกาหลีใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีโรงงานเสื้อผ้ามากกว่า 400 แห่ง ด้วยค่าแรงที่ต่ำสามารถดึงดูดการลงทุนจากผู้ผลิตต่างประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmars-apparel-exports-to-surge-to-turkey

หนุนพลิกโฉม FTA เจาะประเทศเป้าหมาย-รายมณฑล

ภาพรวมการค้าโลกอ่อนแรงลงมากจากสงครามการค้าระหว่างมหาอำนาจจีน-สหรัฐ ความไม่แน่นอนของการเมืองระหว่างประเทศ องค์การการค้าโลก (WTO) ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการค้าโลกปีนี้ว่าจะขยายตัว 1.2% จากเดิม 2.6% และประมาณการปี 2563 ว่าจะขยายตัวเพียง 2.7% จากเดิมที่เคยคาดไว้ 3% แรงกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลให้การส่งออก 10 เดือนแรกหดตัว 2.4% ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 3% ซึ่งแนวทางที่จะฟื้นการส่งออก จำเป็นต้องหาตัวช่วยด้วยการเจรจาความตกลงการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศศึกษาแนวทางการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) หรือข้อตกลงกับประเทศจีนและอินเดีย โดยเจาะลงลึกเจรจาเป็นรายมณฑล หรือรายรัฐ เพื่อส่งเสริมการส่งออกพร้อมกันนี้ ให้เร่งผลักดันการเจรจาที่ค้างอยู่ ทั้งเอฟทีเอไทย-ตุรกี, ไทย-ศรีลังกา และไทย-ปากีสถาน ให้แล้วเสร็จภายในปี 2563 และหาข้อสรุปที่จะเริ่มเปิดเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู, ไทย-สหราชอาณาจักร และไทย-ฮ่องกง ส่วนนายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการ การประชุม สหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) และอดีตผู้อำนวยการใหญ่ องค์การการค้าโลก (WTO) กล่าวว่า เห็นด้วยที่จะเร่งผลักดันเอฟทีเอ เนื่องจากเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน และมองว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ยังมีโอกาสขยายตัวเป็นบวก โดยเฉพาะนโยบายสำคัญ เช่น การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซีที่ต้องทำให้ชัดเจนและต่อเนื่อง ส่วนภาคเอกชน นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ต้องเร่งเดินหน้าเจรจาเอฟทีเอต่าง ๆ โดยเร็ว โดยเฉพาะเอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรป และไทย-สหราชอาณาจักร เพราะการเจรจารายประเทศต้องใช้เวลา ไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จได้เร็ว หากสำเร็จจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ ซึ่งทางคณะกรรมการร่วมเอกชน 3 ฝ่าย จะพิจารณากำหนดประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจปี 2563 อีกครั้ง ในช่วงกลางเดือนมกราคม 2563

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-401634