จำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ของโรงแรมในรัฐกะเหรี่ยงขยายตัวขึ้นกว่า 100% ในช่วง 9 เดือน

ตามการระบุของคณะกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวแห่งรัฐกะเหรี่ยง ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ โรงแรมและเกสต์เฮ้าส์ในรัฐกะเหรี่ยงมีรายได้กว่า 2,500 ล้านจ๊าด และมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงรัฐกะเหรี่ยงมากขึ้นถึง 100% โดยนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาในรัฐกะเหรี่ยงรวม 134,359 คนในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งสร้างรายได้ให้โรงแรมและเกสท์เฮาส์จำนวน 2,557.751 ล้านจ๊าด ทั้งนี้ในรัฐกะเหรี่ยงมีจำนวนโรงแรมและเกสท์เฮาส์เพิ่มขึ้นเป็น 60 แห่ง โดยมีห้องพักรวม 2,159 ห้องในปีนี้ เทียบกับเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ในปี 2564 ที่มีสถานประกอบการเพียง 49 แห่งและมีห้องพักรวม 1,673 ห้อง มีอัตราการออกใบอนุญาตยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.45 นอกจากนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 32,260 คนในช่วง 9 เดือนแรกในปี 2564 เป็น 134,359 คนในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/kayin-state-witnesses-100-surge-in-visitor-arrivals-hotel-revenue-in-9-months/#article-title

ราคาน้ำมันออกเทนในเมียนมาร์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในวันที่ 22 พฤศจิกายน

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ราคาน้ำมันออกเทน 92 อยู่ที่ 2,150 จ๊าดต่อลิตร น้ำมันออกเทน 95 มีราคาอยู่ที่ 2,240 จ๊าดต่อลิตร หลังจากนั้นในวันที่ 22 พฤศจิกายน ราคาน้ำมันออกเทน 92 และออกเทน 95 ได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2,210 จ๊าดต่อลิตร และ 2,350 จ๊าดต่อลิตร ตามลำดับ ในขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลยังคงทรงตัวที่ 2,125 จ๊าดต่อลิตร และดีเซลพรีเมี่ยมอยู่ที่ 2,215 จ๊าดต่อลิตร ทั้งนี้ตามที่คณะกรรมการกำกับดูแลด้านการนำเข้า การจัดเก็บ และการจัดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงระบุ ดัชนีราคาน้ำมันของเมียนมาร์ถูกกำหนดโดย Mean of Platts Singapore (MOPS) ซึ่งเป็นพื้นฐานการกำหนดราคาสำหรับผลิตภัณฑ์กลั่นจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับราคาเชื้อเพลิงในประเทศ เพื่อขับเคลื่อนภาคการจัดเก็บและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ให้เกิดการขาดแคลนน้ำมันในตลาดภายในประเทศ และเพื่อให้เกิดเสถียรภาพด้านราคาสำหรับผู้ใช้พลังงาน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/octane-prices-see-slight-increase-on-22-nov/#article-title

PBOC-NBC ลงนามบันทึกความเข้าใจ ดันความร่วมมือทางด้านการเงินระหว่าง จีน-กัมพูชา

ธนาคารประชาชนจีน (PBOC) และธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) สองฉบับเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (21 พ.ย.) เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงิน หลัง Pan Gongsheng ผู้ว่าการ PBOC และหัวหน้าฝ่ายบริหารการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของรัฐ พบกับ Chea Serey ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติกัมพูชา ณ กรุงปักกิ่ง ตามคำแถลงของ PBOC โดยทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือทางการเงินในระดับทวิภาคีและร่วมกันลงนามในบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือในการจัดทำข้อตกลงการหักบัญชีเงินหยวนในกัมพูชา และเกี่ยวกับความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางการเงินและระบบการชำระเงินในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501396098/pboc-national-bank-of-cambodia-sign-mous-on-cooperation/

RCEP ดันการเข้าถึงตลาดต่างประเทศของกัมพูชา

Sok Siphana รัฐมนตรีอาวุโสฝ่ายความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กล่าวว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เป็นแรงผลักดันสำคัญต่อการส่งออกของกัมพูชา ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยรัฐมนตรีได้กล่าวไว้ในระหว่างการบรรยายเรื่อง ‘การวิเคราะห์แง่มุมทางกฎหมายของข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค’ ณ กระทรวงสารสนเทศ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (21 พ.ย.) ซึ่งสิทธิพิเศษทางการค้าของ RCEP นอกจากจะกระตุ้นทางด้านการค้าแล้ว ยังส่งผลต่อภาคการลงทุน และการไหลเวียนของภาคประชาชนข้ามพรมแดนมากขึ้น จากการเร่งบูรณาการทางเศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปี กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศ RCEP มูลค่ารวม 5.8 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มูลค่า 4.7 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นกว่าสัดส่วนร้อยละ 33 ของการส่งออกรวมกัมพูชาที่มีมูลค่ารวม 17.59 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วง 3 ไตรมาสของปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501395909/rcep-helps-international-market-access-to-cambodia/

‘เวียดนาม’ ส่งออกปลาทูน่าในช่วง 10 เดือนของปีนี้ แตะ 693 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกปลาทูน่าในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 693 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เวียดนามเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่อันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ดี อาหารทะเลของเวียดนามปรับตัวลดลง 21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หากคิดเป็นมูลค่าจะอยู่ที่เพียง 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ กุ้งของเวียดนามนับเป็นสินค้าทะเลที่ขายดีที่สุด ทำรายได้มากกว่า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาปลาดุก 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หากประเมินยอดขายของสินค้าดังกล่าวจะพบว่าลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว 29% และ 24% ตามลำดับ

นอกจากนี้ ผู้นำเข้าปลาทูน่าเวียดนามรายใหญ่ที่สุด ได้แก่ สหรัฐฯ อิสราเอล ไทย ญี่ปุ่น แคนาดา และเยอรมนี ถึงแม้ว่าการส่งออกไปยังอิสราเอล ไทยและเยอรมนีจะมีการเติบโต  แต่การส่งออกไปยังสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และแคนาดากลับลดลง โดยตัวเลขดังกล่าวลดลงมากที่สุดในสหรัฐฯ ถึง 41% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1636885/vietnamese-tuna-fetches-693-million-in-the-first-ten-months-of-2023.html

สปป.ลาว ตั้งเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2567 ที่ 4.5%

ในการประชุมสามัญครั้งที่ 6 ของสภานิติบัญญติ สปป.ลาว สมาชิกสภาได้อนุมัติเป้าหมายมหภาคที่นำเสนอโดยรัฐบาล สปป.ลาว โดยตั้งเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 4.5 ​​ในปี 2567 เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ร้อยละ 4.2 ในปี 2566 นายไชยสมพอน พรหมวิหาร ประธานรัฐสภาลาวกล่าวปิดการประชุมเมื่อวันอังคารว่าการประชุมรัฐสภาประสบความสำเร็จในระหว่างการประชุม รัฐบาลลาวกล่าวว่าตระหนักดีว่าเป้าหมายระดับมหภาคนั้นมีความทะเยอทะยานอย่างมากท่ามกลางความท้าทายที่กำลังเผชิญอยู่ลาวเกิดจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ความซับซ้อนนี้ควบคู่ไปกับปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินที่สะสมลาวทนทุกข์ทรมานมานานหลายปี จะทำให้ยากต่อการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้สำหรับปี 2567 นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว กล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลากอัตราเงินเฟ้อลงมาสู่เป้าหมายร้อยละ 9 ในปี 2567 จากอัตราปัจจุบันเกือบร้อยละ 30 จะเป็นความท้าทายอย่างมาก การรักษาอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินให้อยู่ในระดับที่ดีก็เป็นเป้าหมายที่สำคัญเช่นกัน

ที่มา : https://english.news.cn/20231122/553c4e91e3e04d54a56f09dda3d291a6/c.html

‘เศรษฐกิจดิจิทัลเวียดนาม’ พุ่ง 45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2568

คุณ Nguyễn Sinh Nhết Tân รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม กล่าวในที่การประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมและการค้าดิจิทัลเวียดนาม ปี 2566 ที่กรุงฮานอย ว่าอีคอมเมิร์ซและเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเวียดนาม โดยรัฐมนตรีช่วยฯ ได้อ้างถึงรายงานของ Google, Temasek และ Bain & Company ที่แสดงให้เห็นว่าเวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัลเร็วที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลา 2 ปี ติดต่อกัน (2565-2566) และคาดว่าจะเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ มูลค่าสินค้ารวม (GMV) ของการซื้อขายผ่านดิจิทัล คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 20% มูลค่า 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ และพุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ราว 45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-s-digital-economy-to-reach-45-billion-by-2025-2217609.html

คณะกรรมการจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวก์ได้รับการจัดตั้งใหม่

ตามคำสั่งที่ 3/2023 ของคณะกรรมการกลางเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียนมาร์ ที่ออกเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวก์ขึ้นใหม่ ภายใต้บทที่ 5 มาตรา 9 (D) ของกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียนมาร์ พ.ศ. 2557 ทั้งนี้คณะกรรมการกลางได้ปฏิรูปคณะกรรมการจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวก์ และแต่งตั้ง U Kyaw Shwe Tun จากกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานคณะกรรมการ พร้อมทั้งมีนาย U Win Myint รองอธิบดีกรมพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยซึ่งเกษียณอายุแล้วทำหน้าที่เป็นรองประธาน และสมาชิกประกอบด้วย U San Shwe Maung จากรัฐบาลรัฐยะไข่ หัวหน้าแผนกการวางแผนภายใต้กระทรวงการวางแผนและการเงิน ผู้บริหารเขต ของกรมบริหารทั่วไปเขตเจ้าผิวก์ ภายใต้กระทรวงมหาดไทย เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือเมียนมา (รัฐยะไข่) ภายใต้กระทรวงคมนาคมและการสื่อสาร และผู้อำนวยการกรมพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัย (รัฐยะไข่) ภายใต้กระทรวงการก่อสร้าง นอกจากนี้ คณะกรรมการยังได้แต่งตั้ง ดร. จ่อ ซาน อู เป็นเลขานุการและรองผู้อำนวยการใหญ่องค์การส่งเสริมการค้าเมียนมาร์ สังกัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นเลขานุการร่วม โดนคณะกรรมการมีหน้าที่ปฏิบัติตามภารกิจของคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวก์และเขตเศรษฐกิจพิเศษที่กำหนดไว้ในกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียนมาร์อย่างเคร่งครัด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/kyaukpyu-sez-management-committee-reestablished/#article-title