นักเศรษฐศาสตร์ลาวแนะ ‘ต้องดึงเม็ดเงินต่างชาติ’ เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินกีบ

ศ.ภูเพชร เคียวภิลาวงศ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสและคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว เสนอแนะวิธีรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินกีบและจัดการกับความท้าทายทางเศรษฐกิจของลาวที่ตกต่ำจากปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น โดยลาวจำเป็นต้องดึงดูดเงินตราต่างประเทศเข้ามามากขึ้นด้วยการเพิ่มมูลค่าของการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศจะช่วยรักษาเสถียรภาพของค่าเงินกีบไม่ให้อ่อนค่าลงไปกว่าปัจจุบัน นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญที่ต้องแก้ไข คือ แก้ไขกฎระเบียบการซื้ออสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติในลาว โดยปัจจุบันยังไม่มีการออกกฎระเบียบดังกล่าวมารองรับว่าชาวต่างชาติสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ในลาวได้ หากแก้ไขได้จะช่วยดึงดูดเม็ดเงินต่างชาติเข้ามาได้อีกทางหนึ่ง

ที่มา : https://www.nationthailand.com/world/asean/40031972

กัมพูชา-บราซิล พร้อมร่วมมือพัฒนาการแปรรูปพืชผลการเกษตร

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (12 ต.ค.) กระทรวงการต่างประเทศบราซิล ประกาศพร้อมให้ความร่วมมือระหว่างกัมพูชาในการส่งเสริมการลงทุนภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแปรรูปพืชผลทางกาเกษตรของกัมพูชา สำหรับความร่วมมือดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการเจรจาระหว่าง Dith Tina รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของกัมพูชา ร่วมกับ Mauro Vieira รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศบราซิล ด้าน Tina ได้นำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับศักยภาพของภาคเกษตรกรรมกัมพูชาด้วยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มันสำปะหลัง และยางพารา ซึ่งล้วนมีศักยภาพทั้งด้านการผลิต และยังมีความต้องการด้านการส่งออกอีกด้วย สำหรับการแปรรูปพืชผลทางการเกษตรถือเป็นภาคส่วนที่น่าลงทุนภายในประเทศกัมพูชา เนื่องจากปัจจุบันกัมพูชาได้มีการลงนามในข้อตกลงทางการค้ากับจีนเอื้อต่อการส่งออกสินค้ากลุ่มดังกล่าวเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ กัมพูชายังมีกฎหมายเพื่อสนับสนุนการลงทุนโดยตรงจากนักลงทุนจากต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบและถือเป็นโอกาสอย่างมากสำหรับนักลงทุนผู้สนใจ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501376837/crop-processing-brings-cambodia-and-brazil-together/

กัมพูชาเตรียมขยายระบบการชำระเงินข้ามพรมแดนไปยัง อินโดนีเซีย-โมร็อกโก

กัมพูชาเตรียมขยายระบบการชำระเงินข้ามพรมแดนไปยังอินโดนีเซียและโมร็อกโก หลังธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) พัฒนาระบบสำเร็จ สำหรับอินโดนีเซียกัมพูชาพร้อมที่จะลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อนำระบบการชำระเงินดังกล่าวมาใช้ระหว่างกัน ในขณะที่โมร็อกโกทางการกัมพูชากำลังเร่งหารือเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกัน โดยการหารือและลงนามในข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างผู้ว่าการ Chea Serey ของ NBC และ Perry Warjiyo ผู้ว่าการธนาคารแห่งอินโดนีเซีย (GBI) ซึ่งมีจุดประสงค์ในการส่งเสริมความร่วมมือในระดับทวิภาคี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเชื่อมต่อการชำระเงินดิจิทัลข้ามพรมแดน ซึ่งคาดว่าจะอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ ขณะที่ทางฝั่งโมร็อกโก Abdellatif Jouahri ผู้ว่าการธนาคารกลางโมร็อกโก (GCBM) ได้วางเริ่มวางแผนที่จะประชุมหารือร่วมกับ Chea Serey เพื่อปรับปรุงเทคโนโลยีทางการเงินหรือ Fintech ให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน ซึ่งส่วนหนึ่งประกอบด้วยระบบการชำระเงินและสกุลเงินดิจิทัล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501376848/cambodia-to-launch-cross-border-payment-with-indonesia-morocco/

ก.ล.ต. ร่วมประชุมหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนอาเซียน (ACMF) ระดับเลขาธิการ ครั้งที่ 39

ก.ล.ต. ร่วมการประชุม ASEAN Capital Market Forum (ACMF) ครั้งที่ 39 ซึ่งมีผู้บริหารระดับสูงสุดของหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนในอาเซียน ผู้แทนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) สำนักเลขาธิการอาเซียน และผู้แทนจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมเพื่อหารือทิศทางเชิงนโยบายและการดำเนินงานของ ACMF ภายใต้ ACMF Action Plan 2564-2568 เพื่อผลักดันการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนของตลาดทุนในภูมิภาค นางวรัชญา ศรีมาจันทร์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พร้อมผู้แทน เข้าร่วมการประชุมหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนอาเซียน (ACMF) ครั้งที่ 39 ซึ่งจัดขึ้น ณ จังหวัดบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ซึ่งมีหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพ โดยที่ประชุมได้เห็นชอบต่อการดำเนินการด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนที่สำคัญ ได้แก่ การจัดทำแนวทางในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเงินเพื่อความยั่งยืน แผนการศึกษาเพื่อพัฒนาตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจที่เหมาะสมกับบริบทของอาเซียน และเห็นชอบคู่มือสำหรับการเสนอขายกองทุนรวมที่มุ่งเน้นลงทุนอย่างยั่งยืน ภายใต้กรอบการทำงาน ASEAN CIS* (Handbook for ASEAN CIS-SRF) ภายใต้ ASEAN Green Lane และการเผยแพร่บนเว็บไซต์ของ ACMF ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเสนอขายกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน ภายใต้โครงการ ASEAN CIS รวมทั้งเห็นชอบแนวทางปรับปรุงวิธีการประเมิน ASEAN Corporate Governance Scorecard (ACGS) ให้สอดคล้องกับแนวทางสากล และกำหนดการประเมิน ACGS ในปี 2567

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3462408

‘รถไฟจีน-ลาว’ มียอดผู้ใช้บริการทะลุ 81,000 คน

เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองประจำด่านโม่ฮาน มณฑลยูนนานของจีน เผย 6 เดือนแรก มีผู้ใช้บริการรถไฟจีน-ลาวแล้วกว่า 81,000 คน ในที่นี้เป็นผู้โดยสารต่างชาติกว่า 15,000 คน จากกว่า 60 ประเทศ สะท้อนความสำคัญของเส้นทางรถไฟสายนี้ที่เป็นตัวเลือกยอดนิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เนื่องจากมีราคาค่าโดยสารไม่แพงและมีความสะดวกสบาย อีกทั้งตั้งแต่กรกฎาคม 2566 เป็นต้นมา ระยะเวลาเดินทางจากต้นทางที่ด่านโม่ฮานถึงสถานีปลายทางนครหลวงเวียงจันทน์มีการปรับลดเวลาการเดินทางเหลือเพียง 9 ชั่วโมง จากผลของการลดขั้นตอนพิธีการทางศุลกากร

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_202_China_y23.php

‘เวียดนาม’ จ่อขยายเวลาหั่น VAT จนถึง มิ.ย. สูญเสียรายได้กว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

รัฐบาลเวียดนาม ประกาศเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่ามีแผนที่จะขยายเวลาการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จนถึงสิ้นเดือน มิ.ย. เพื่อกระตุ้นการบริโภคและการผลิตภายในประเทศ ในขณะที่เศรษฐกิจโลกยังคงซบเซา ซึ่งการขยายเวลาการลดภาษีดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา ภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงจาก 10% เป็น 8% มีผลตั้งแต่เดือน ก.ค.-ธ.ค. 2566

ทั้งนี้ การปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่มในครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และยังส่งผลกระทบต่องบประมาณรายรับของรัฐบาลที่ลดลง 25 ล้านล้านดอง หรือประมาณ 1.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://asia.nikkei.com/Economy/Vietnam-to-extend-VAT-cut-until-June-despite-1bn-revenue-loss?fbclid=IwAR2dq0G_GS-qP1B38OS5ak2BUxtFDb7UwtX2504m-uyMciiFRuwtsHkNbzg

วิกฤตขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในเวียดนาม ทรุดตัวต่อเนื่องจนถึงปี 2050

คณะกรรมการกำกับดูแลของสมัชชาแห่งชาติ รายงานว่าแหล่งทรัพยากรพลังงานปฐมภูมิที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติกำลังจะหมดไป เนื่องจากไฟฟ้าพลังน้ำถูกใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว รวมไปถึงปริมาณน้ำมันและก๊าซจากแหล่งพลังงานหลักลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่จากรายงานของธนาคารโลก ประจำเดือน ส.ค. มีการประเมินความสูญเสียของเวียดนาม พบว่าเวียดนามสูญเสียรายได้จากวิกฤตพลังงานไฟฟ้าขาดแคลนประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 0.3% ของ GDP

โดยผู้เชี่ยวชาญได้เตือนถึงการขาดแคลนไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในภาคเหนือของประเทศ ทำให้จะไม่มีการจัดตั้งโรงงานใหม่เกิดขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจำเป็นที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และอาจทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าได้จนถึงปี 2050

ที่มา : https://www.retailnews.asia/power-shortage-in-vietnam-looms-until-2050/

นักเศรษฐศาสตร์ลาวแนะ ‘ต้องดึงเม็ดเงินต่างชาติ’ เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินกีบ

ศ.ภูเพชร เคียวภิลาวงศ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสและคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว เสนอแนะวิธีรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินกีบและจัดการกับความท้าทายทางเศรษฐกิจของลาวที่ตกต่ำจากปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น โดยลาวจำเป็นต้องดึงดูดเงินตราต่างประเทศเข้ามามากขึ้นด้วยการเพิ่มมูลค่าของการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศจะช่วยรักษาเสถียรภาพของค่าเงินกีบไม่ให้อ่อนค่าลงไปกว่าปัจจุบัน นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญที่ต้องแก้ไข คือ แก้ไขกฎระเบียบการซื้ออสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติในลาว โดยปัจจุบันยังไม่มีการออกกฎระเบียบดังกล่าวมารองรับว่าชาวต่างชาติสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ในลาวได้ หากแก้ไขได้จะช่วยดึงดูดเม็ดเงินต่างชาติเข้ามาได้อีกทางหนึ่ง

ที่มา : https://www.nationthailand.com/world/asean/40031972