รองประธานาธิบดี สปป.ลาว ตรวจความคืบหน้าการยกระดับจุดผ่านแดนลาว-ไทย ที่เวียงจันทน์

ด่านชายแดนในหมู่บ้านวัง นครหลวงเวียงจันทน์ กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงเป็นการผ่านแดนระหว่างประเทศกับประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ดร.บุญทอง จิตมณี รองประธานาธิบดี สปป.ลาว และคณะ เยี่ยมชมและติดตามความคืบหน้าการปรับปรุงดังกล่าวนี้ โดยรองเจ้าแขวงเวียงจันทน์ กล่าวว่า การยกระดับสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณชายแดนเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 จนถึงขณะนี้ มีความคืบหน้าใน 10 องค์ประกอบของโครงการก่อสร้าง คิดเป็น 75% ขององค์ประกอบทั้งหมด 15 องค์ประกอบ ซึ่งรวมถึงการเคลียร์พื้นที่ 10.8 เฮกตาร์ บริเวณจุดผ่านแดน การปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสาร สำนักงานศุลกากร สำนักงานก่อสร้าง และการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ทั้งนี้ รองประธานาธิบดี สปป.ลาว สั่งการให้หน่วยงานท้องถิ่นดำเนินงานที่จำเป็นทั้งหมด เพื่อยกระดับการผ่านแดนและจัดหาบุคลากรและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานของสำนักงานศุลกากรและตรวจคนเข้าเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังแนะนำให้จัดกองกำลังรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ชายแดน เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาสันติภาพ และเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลที่มีเจตนาร้ายเข้ามาที่ประเทศลาวเพื่อก่อให้เกิดความไม่สงบ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_72_VP_y24.php

ธนาคารโลกเผย อัตราเงินเฟ้อ สปป.ลาว กระทบรูปแบบการจ้างงานและผู้มีรายได้น้อย

ธนาคารโลกเผยสถิติจากการสำรวจ Rapid Monitoring Phone Surveys แสดงให้เห็นถึงขนาดการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของผู้ประกอบอาชีพอิสระที่เพิ่มขึ้นเป็น 45% ในเดือนมกราคม 2567 เพิ่มขึ้นจาก 29% ในปีก่อนหน้า ยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่าค่าจ้างจะมีการเติบโตในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 แต่ก็ไม่สามารถตอบสนองอัตราเงินเฟ้อได้ ส่งผลให้ประชาชนหันมาทำธุรกิจส่วนตัวและธุรกิจครอบครัวมากขึ้น เพื่อป้องกันกำลังซื้อที่ลดลง แม้ว่ารายได้ครัวเรือนโดยรวมจะมีอัตราการเติบโต 25% ภายในเดือนธันวาคม 2566 ซึ่งแทบจะเกินอัตราเงินเฟ้อที่ 24% เพียงเล็กน้อย แต่แนวโน้มนี้ไม่ได้ป้องกันส่วนสำคัญของครัวเรือนจากกำลังซื้อที่ลดลง กว่า 40% ของครัวเรือนประสบปัญหาระดับรายได้ตามหลังอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลให้ความตึงเครียดทางการเงินรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีรายได้น้อย

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/04/10/sustained-inflation-in-laos-forces-shift-in-employment-patterns-hits-low-income-families-hardest-world-bank-reveals/

การส่งออกภาคการผลิตทะลุ 8.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผยว่า มูลค่าการส่งออกจากภาคการผลิตทะลุ 8.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567 ซึ่งลดลง 2.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2565-2566 ซึ่งมีการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปมูลค่า 10.9 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นมูลค่ารวมจากการขนส่งสองรูปแบบ (ทางทะเลและชายแดนทางบก)  อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ การประมง แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และสินค้าอื่นๆ ในขณะที่นำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบจากโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า CMP และสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลัก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/manufacturing-sector-exports-surpass-us8-8-bln-in-fy2023-2024/#article-title

รัฐบาลกัมพูชาตั้งเป้าดันสีหนุวิลล์เป็นเซินเจิ้นแห่งใหม่

รัฐบาลกัมพูชา (RGC) ต้องการเปลี่ยนจังหวัดพระสีหนุให้เป็นเมืองเซินเจิ้นแห่งใหม่ โดยการลดต้นทุนด้านลอจิสติกส์ จัดให้มีแพ็คเกจจูงใจส่งเสริมการลงทุน และยกระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อดึงดูดนักลงทุน กล่าวโดย Sun Chanthol รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเมืองเซินเจิ้นของจีนถือเป็นเมืองที่มีความทันสมัย ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน โดยเป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามรองจากเซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในศูนย์กลางเทคโนโลยีระดับโลกที่ทันสมัยที่สุด และถูกเรียกว่า Silicon Valley ของจีน ด้านทางการกัมพูชาเริ่มพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายเพื่อการลงทุนหวังดึงการลงทุนโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ทันสมัยเข้ามายังกัมพูชามากขึ้น ควบคู่ไปกับการที่กัมพูชามีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และสหภาพยุโรป (EU) ผ่านโครงการทุกอย่างยกเว้นอาวุธ (EBA) ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาให้มีการเติบโตต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501469715/govt-wants-sihanoukville-to-be-next-shenzhen/#google_vignette

กัมพูชาครองอันดับ 1 เอเซีย สำหรับประเทศเศรษฐกิจโตเร็วที่สุดในปี 2024

กัมพูชาครองอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 3 ในบรรดา 20 ประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในเอเชีย ด้วยอัตราการเติบโตที่คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 6.1 ในปี 2024 รายงานโดย Pen Bona โฆษกรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งจัดอันดับโดย SeasiaStats หน่วยงานทางสถิติของอินโดนีเซีย โดยกัมพูชาฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากการได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ผ่านการบริหารจัดการอย่างรอบคอบของรัฐบาล นำโดยนายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ซึ่งได้เปิดเผยวิสัยทัศน์ใหม่ครอบคลุมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อขับเคลื่อนกัมพูชาไปสู่สถานะประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2050 ซึ่งเน้นย้ำถึงนโยบายสำคัญ 6 โครงการที่พร้อมจะดำเนินการทันที หวังปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501469932/cambodia-ranks-first-in-asean-and-third-among-the-20-fastest-growing-economies-in-asia-with-a-growth-rate-of-6-1-in-2024/

‘เวียดนาม’ เตรียมกู้เงินจากธนาคารโลก 380 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเป็นทุนสนับสนุนโครงการปลูกข้าวคุณภาพสูง

กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (MARD) เตรียมกู้เงินจากธนาคารโลก มูลค่ากว่า 360 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 9 ล้านล้านดอง เพื่อดำเนินโครงการที่ตั้งเป้าเพาะปลูกข้าวคุณภาพสูง 1 ล้านเฮกตาร์ โดยการหารือเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวจะทำการประชุมกับคณะกรรมการบริหารโครงการของกระทรวงฯ ในวันที่ 8 เม.ย.

ขณะที่นายหลี่ กัว (Li Guo) ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของธนาคารโลก กล่าวว่าโครงการดังกล่าวจะอยู่ภายใต้โครงการปฏิรูปเกษตรกรรมยั่งยืนของเวียดนาม (VnSAT) และมองว่าเวียดนามจะเป็นผู้นำทางด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตสินค้าทางการเกษตรของโลก ตลอดจนธนาคารโลกจะร่วมมือกับกระทรวงฯ อย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ โครงการการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมข้าวเวียดนามได้อย่างยั่งยืน ยกระดับรายได้ของเกษตรกร พร้อมกับปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnam-seeks-us360-million-loan-from-wb-for-high-quality-rice-project/

‘บ.เกาหลีใต้’ เผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดเวียดนาม เหตุจากการเข้ามาของทุนจีน

สำนักข่าวญี่ปุ่น นิคเคอิเอเชีย (Nikkei Asia) เผยแพร่บทความบอกเล่าถึงบริษัทเกาหลีใต้รายใหญ่ของโลกที่ทำธุรกิจในเวียดนาม เผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งจากจีน ในขณะที่ตามรายงานของหอการค้าและอุตสาหกรรมเกาหลี (KCCI) เปิดเผยว่าบริษัทสัญชาติเกาหลีใต้รายใหญ่ ได้แก่ บริษัท ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ (Samsung Electronics) และบริษัทแอลจี (LG) เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของเวียดนามาหลายปี ส่งผลให้เวียดนามเป็นศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก และนักลงทุนเกาหลีใต้เป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ 1 ของประเทศ มูลค่า 85.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ แซงสิงคโปร์และญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี คู่แข่งจากจีนเริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้น สาเหตุมาจากการย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังเวียดนาม รวมถึงค่าแรงงานที่ถูกกว่า จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้นทุนแรงงานจะเพิ่มขึ้นในเวียดนามเช่นกัน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/korean-firms-in-vietnam-face-growing-competition-from-china-post1087897.vov

ใบอนุญาตส่งออก/นำเข้าเป็นเอกสารก่อนเดินทางมาถึงท่าเรือ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา โดยกรมการค้า ประกาศเมื่อวันที่ 5 เมษายน เรื่อง จำเป็นต้องขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าก่อนมาถึงท่าเรือ หากไม่ปฏิบัติตามมีโทษปรับและโทษตามกฎหมายที่มีอยู่  ตามมาตราที่ 4 ของกฎหมายการส่งออกและนำเข้า ห้ามมิให้ผู้ใดส่งออกหรือนำเข้าสินค้าต้องห้าม ตามมาตรา 5 หากไม่ได้รับใบอนุญาต จะไม่อนุญาตให้ผู้ใดส่งออกและนำเข้าสินค้าที่ระบุซึ่งจำเป็นต้องขอใบอนุญาต ตามมาตรา 6 และผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องไม่ฝ่าฝืนเงื่อนไขใบอนุญาตตามมาตรา 7 ซึ่งตามที่ระบุความผิดและบทลงโทษ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึง ผู้ใดพยายามกระทำหรือสนับสนุนในการกระทำความผิดใดๆ ที่ได้รับตามกฎหมาย ต้องระวางโทษ และของกลางจะถูกริบ ดังนั้น กรมการค้าจึงเตือน ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าได้รับโทษสำหรับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งออกและนำเข้า คำสั่ง และแนวปฏิบัติ และแจ้งให้ขอใบอนุญาตก่อนเพื่อเป็นเอกสารก่อนมาถึงสำหรับการขนส่งทุกประเภททางอากาศ ทางทะเล และทางบก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/export-import-licences-now-mandatory-as-pre-arrival-documents-2/#

การเปลี่ยนแปลงของตลาดข้าวและแนวโน้มราคาก่อนเทศกาล Thingyan ในย่างกุ้ง

ตามรายงานของตลาด เนื่องจากช่วงวันหยุด Thingyan ใกล้เข้ามา ราคาของข้าวที่ไม่ใช่ข้าวพรีเมียมในฤดูร้อนชนิดใหม่จึงลดลงในตลาดย่างกุ้ง แม้ว่าราคาข้าวมรสุม (ทั้งที่ไม่ใช่ข้าวพรีเมี่ยมและพรีเมี่ยม) จะยังคงสูงอยู่ ซึ่งในสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน 2024 ราคาข้าวใหม่ที่ไม่ใช่พรีเมี่ยม ฤดูร้อนอยู่ที่ 76,000 จ๊าดต่อถุง ซึ่งลดลงจาก 80,000 จ๊าดต่อถุง ณ สิ้นเดือนมีนาคม ปัจจุบัน ข้าวมรสุมที่ไม่ใช่พรีเมี่ยมมีราคาอยู่ที่ 86,000 จ๊าดต่อถุง ข้าวมรสุมที่ไม่ใช่พรีเมี่ยมที่เพิ่งเก็บเกี่ยว (พันธุ์ 90 วัน) อยู่ที่ 93,000 จ๊าด และข้าวมรสุมเก่าที่ไม่ใช่พรีเมี่ยม 90 วันอยู่ที่ 110,000 จ๊าดต่อ ถุง ข้าวพันธุ์ Pawkywe ใหม่มีราคาอยู่ที่ 100,000 จ๊าดต่อถุง ข้าวพันธุ์ Ayeyawady อยู่ระหว่าง 123,000 ถึง 141,000 จ๊าด และ ข้าวพันธุ์ Shwebo อยู่ระหว่าง 150,000 ถึง 160,000 จ๊าด ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ตลาดค้าส่งข้าวจะปิดทำการเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน ตามที่ระบุไว้ในรายงาน นอกจากนี้ การขนส่งข้าวจากเมืองอื่นๆ ไปยังย่างกุ้งก็จะถูกระงับในช่วงหลายวันก่อนถึงเทศกาล นอกจากนี้ ผู้ค้าข้าวคาดการณ์ว่าความต้องการทั้งข้าวที่ไม่ใช่ข้าวพรีเมี่ยมและพันธุ์จะสูงตามหลังเทศกาล Thingyan ส่งผลให้ราคาในอนาคตคาดว่าจะเพิ่มขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-market-dynamics-and-price-trends-ahead-of-thingyan-festival-in-yangon/

ออสเตรเลียกระชับความร่วมมือกับ สปป.ลาว และอาเซียน

การประชุมสุดยอดพิเศษอาเซียน-ออสเตรเลีย เมื่อเดือนที่แล้ว ออสเตรเลียได้ประกาศการลงทุนเพิ่มเติมจำนวน 222.5 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 146 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับแผนสนับสนุนการเติบโตของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การให้ทุนระยะที่สองในอีกห้าปีข้างหน้าจะจัดการกับลำดับความสำคัญและความท้าทายที่มีร่วมกัน โดยมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงความมั่นคงทางน้ำ การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจ และการต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติ นอกจากนี้ โครงการ Partnerships for Infrastructure ของออสเตรเลีย จะขยายเงินทุน 140 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 92 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สิ่งนี้จะสนับสนุนลำดับความสำคัญของภูมิภาค เช่น ความร่วมมือลาว-ออสเตรเลีย ในด้านการเชื่อมโยงพลังงานและการขนส่ง แผนเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าออสเตรเลียจริงจังกับการกระชับความร่วมมือกับอาเซียนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และทำงานร่วมกับ สปป.ลาว เพื่อสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/04/08/australia-strengthens-partnerships-with-laos-asean/