เงินเฟ้อสปป.ลาวพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์

อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนมากกว่าที่คาดการณ์ และเพิ่มขึ้นเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 ในเดือนมีนาคมราคาในหมวดการสื่อสารและการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบเดือนที่แล้ว ราคาเชื้อเพลิงและก๊าซเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน และยังมีราคาสินค้าในอีกหลายหมวดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสาเหตุมาจากการระบาดของโควิด-19 ประกอบกับราคาน้ำมันที่ผันผวนทำให้ราคาสินค้าต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงในการผลิตหรือการขนส่งเพิ่มขึ้นและค่า kip ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินบาทที่เพิ่มขึ้น เพราะสปป.ลาวยังต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าและวัสดุเข้าเพื่อผลิต เป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น

 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Investment68.php

วงล้อเศรษฐกิจ – ซ้ำเติมผู้บริโภค

ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ของโลก (คิดเป็น 28.5% ของปริมาณการส่งออกขอโลก) ดันราคาข้าวสาลีพุ่งสูงสุดในรอบหลายปี ได้ส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์เกษตรโลกให้ปรับตัวพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก จึงมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของราคาข้าวสาลีในตลาดโลกอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อไทยในแง่ต้นทุนวัตถุดิบของอุตสาหกรรมปลายน้ำที่ใช้ข้าวสาลีเป็นส่วนประกอบอย่างอาหารคน และอาหารสัตว์ ทำให้มีราคาปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น ในปี 2565 ทั้งต้นทุนราคาวัตถุดิบและต้นทุนโลจิสติกส์จะอยู่ในระดับที่สูง รวมถึงราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น ซ้ำเติมภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงที่สุดแล้ว จะส่งผลกระทบไปยังราคาอาหารปลายทางที่ต้องจ่ายสูงขึ้นด้วย เช่น เนื้อสัตว์ หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป/ขนมปัง ตามราคาข้าวสาลีและราคาธัญพืชทดแทนที่ปรับเพิ่มขึ้น เป็นต้น

ที่มา: https://www.khaosod.co.th/economics/news_6951461

‘บลจ. VinaCapital’ ปรับลดประมาณการ GDP เวียดนาม โต 6.5% ในปีนี้

VinaCapital หนึ่งในบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีประสบการณ์มากที่สุดในเวียดนาม ประเมินการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในปีนี้ มีแนวโน้มขยายตัวที่ 6.5% หรือต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ 1%

คุณ Michael Kokalan หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบลจ. VinaCapital กล่าวว่าความขัดแย้งของรัสเซียและยูเครนได้สร้างผลกระทบต่อตลาดการเงินระหว่างประเทศและกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์

อย่างไรดีความขัดแย้งดังกล่าว ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจเวียดนามเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงจากสภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ คือราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้น อาจทำให้เงินเฟ้อของเวียดนามปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 1-2%

นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างกระทันหัน ซึ่งจะทำให้ค่าเงินเวียดนาม (VND) อ่อนค่าลง 1-2% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/business/vinacapital-lowers-vietnam-s-estimated-gdp-rate-to-6-5-this-year-822837.html

‘HSBC’ คาดเงินเฟ้อเวียดนามสูงขึ้นเล็กน้อย

ธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) ได้ปรับคาดการณ์เงินเฟ้อของเวียดนามในปี 2565 จาก 2.7% มาอยู่ที่ 3% เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ถือว่ามีความเสี่ยงอยู่ในระดับเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัญญาเชิงบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยจำนวนผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่ก่อนเทศกาลตรุษญวน รัฐบาลประกาศว่าจะไม่มีการกลับมาล็อกดาวน์และข้อจำกัดการกิจกรรมทางสังคมต่างๆ รวมถึงการดำเนินนโยบายของรัฐฯ ที่ให้อยู่ร่วมกับเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นผลมาจากความสำเร็จของโครงการฉีดวัคซีนในประเทศจำนวนมาก ส่งผลต่อระดับความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัว ทั้งนี้ การปรับคาดการณ์เงินเฟ้อดังกล่าวของธนาคารเอชเอสบีซี เมื่อเทียบกับธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) มองว่ายังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของรัฐบาลที่ 4% โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อของอาเซียน เช่น ไทยและสิงคโปร์ที่มีตัวเลขเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-receives-slightly-higher-inflation-forecast-negligible-risk-hsbc-post924429.vov

เสนอให้ปรับราคาสินค้าแทนการฉวยโอกาส

ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต เปิดเผยว่า กล่าวว่า สินค้าและบริการใดที่มีต้นทุนสูงขึ้นโดยเฉพาะจากราคาน้ำมันและพลังงานที่สูงขึ้น กระทรวงพาณิชย์ควรให้ปรับราคาเพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงไม่ใช่ฉวยโอกาสขึ้นราคา หากไม่ให้ปรับขึ้นราคาตามต้นทุนจะทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนสินค้าได้ ส่วนสินค้าและบริการจำเป็นพื้นฐานนั้น รัฐบาลควรเข้ามาอุดหนุนหรือแทรกแซงกลไกราคาไม่ให้ราคาสูงเกินจนประชาชนไม่สามารถซื้อหาได้และเกิดความเดือดร้อนในการดำรงชีวิต

ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/news/675536

‘เงินเฟ้อพุ่ง’ปัญหาเร่งด่วนของอาเซียน

ตอนนี้้ นอกจากจะรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19แล้ว ชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) กำลังออกมาตรการต่างๆเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อพุ่ง ซึ่งเป็นผลพวงจากอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลกดัชนีซีพีไอเดือนม.ค.ของอินโดนีเซีย ทะยานสูงสุดในรอบ 20 เดือน  ส่วนสิงคโปร์อัตราเงินเฟ้อเดือนธ.ค.เพิ่มเป็น4% และมาเลเซีย เร่งควบคุมราคาอาหารและเชื้อเพลิงที่ทะยานขึ้นมากจนทำให้อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยในเดือนธ.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3.2%

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/world/986461

‘เวียดนาม’ คาดเงินเฟ้อคงอยู่ภายใต้การควบคุม ปี 65

การสัมมนา หัวข้อเรื่อง ”การตลาดและการตั้งราคา” จัดขึ้นที่กรุงฮานอย คุณ Nguyễn Bá Minh ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาเศรษฐกิจและการเงิน ได้คาดการณ์ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปี 2565 จะเพิ่มขึ้นราว 2-3% เมื่อเทียบกับปี 2564 โดยจากข้อมูลข้างต้น เงินเฟ้อในปี 2565 จะอยู่ภายใต้การควบคุม สาเหตุจากราคาวัตถุดิบทั่วโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ยาก อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโควิดสายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” สงครามการค้าและความขัดแย้งทางการเมืองในระดับโลก ตลอดจนกำลังซื้อในประเทศยังคงเปราะบาง ทั้งนี้ คุณ Nguyễn Đức Độ ผู้เชี่ยวชาญ ยังเห็นด้วยว่าดัชนี CPI ในปี 2565 จะคงอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัว ในขณะที่เศรษฐกิจของเวียดนามคาดว่าจะเติบโตที่ 6.5% อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญมองว่าการควบคุมเงินเฟ้อในปี 2565 จะไม่ง่ายนัก เนื่องจากดัชนีเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงตั้งแต่ต้นปี จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีแนวโน้มสูงขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1112395/inflation-forecast-to-be-under-control-in-2022.html

‘เวียดนาม’ เผยดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วง 11 เดือนแรกของปี 64 เพิ่มขึ้น 1.84%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) รายงานว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้น 1.84% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ทั้งนี้เงินเฟ้อในเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้น 0.11% จากเดือนก่อน ส่งผลให้เงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีเพิ่มขึ้น 0.85% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นับว่าเป็นตัวเลขเงินเฟ้อต่ำสุดตั้งแต่ปี 2554

อย่างไรก็ตาม นาย Nguyen Bich Lam อดีตผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม กล่าวว่าทั้งราคาน้ำมัน ข้าวและอาหาร มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงสิ้นสุดเทศกาลวันตรุษญวน รวมถึงมีความต้องการวัสดุก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น ดัชนี CPI ปีนี้ อาจอยู่ที่ระดับ 2% ซึ่งต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ 4%

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1088337/cpi-increases-by-just-184-per-cent-in-11-months.html

รัฐบาลสปป.ลาวเร่งกระตุ้นจีดีพี ลดเงินเฟ้อ

นักเศรษฐศาสตร์และสมาชิกสภานิติบัญญัติได้เรียกร้องให้รัฐบาลใช้ประโยชน์จากผลประโยชน์ที่ได้รับจากการรถไฟลาว-จีนเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากทางรถไฟได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเร่งรัดโครงการฉีดวัคซีนและเปิดประเทศใหม่เพื่อลดผลกระทบจากการระบาดใหญ่ที่มีต่อเศรษฐกิจ ในปี 2565 รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตของ GDP ไว้ที่ร้อยละ 4 และอัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 5-7 อย่างไรก็ตาม ประธานคณะกรรมการวางแผน การเงิน และตรวจสอบของรัฐสภา และนักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ดร.ลีเบอร์ ลีบูเปา กล่าวกับที่ประชุมรัฐสภาว่ารัฐบาลจำเป็นต้องทบทวนตัวเลขเหล่านี้ “โดยหลักการแล้ว การเติบโตของ GDP จะต้องสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเพื่อสะท้อนถึงแนวโน้มเชิงบวกในการพัฒนาประเทศ หากอัตราเงินเฟ้อสูงกว่า GDP ก็หมายความว่าไม่มีการเติบโต”

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt217.php

เศรษฐกิจเวียดนาม ตามแรงกดดันเงินเฟ้อ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) รายงานว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.88% เมื่อเทียบรายปี เนื่องจากกำลังซื้อที่ตกต่ำจากผลกระทบของโควิด-19 โดยทางดร. Nguyen Duc Do รองผู้อำนวยการสถาบันการเงินและเศรษฐกิจ คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปีนี้น่าจะอยู่ที่ราว 2% ราคาอาหารปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน อีกทั้ง เมื่อควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างสมบูรณ์ ราคาอาหารจะปรับตัวลดลงอีกครั้ง ซึ่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้รายได้ของประชาชนลดลงและเมื่อกำลังซื้อต่ำ ราคาดังกล่าวจะไม่สามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้ นอกจากนี้ ดร. Pham The Anh มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่าดัชนี CPI ที่อยู่ในระดับต่ำ สะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจที่แย่จากการได้รับผลกระทบของโควิด-19

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/national-economy-under-inflationary-pressure-900562.vov