เวียดนามเอาชนะจีน อินเดีย ก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการผลิตถัดไป

ตามรายงานของ Economist Intelligence Unit (EIU) เผยว่าเวียดนามเป็นจุดหมายปลางทางของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในเอเชีย หลังออกจากจีนและอินเดีย ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจึงเป็นศูนย์กลางการผลิตด้วยต้นทุนต่ำในห่วงโซ่อุปทานของเอเชีย ซึ่งปัจจัยสำคัญในการเติบโตของประเทศนั้น ได้แก่ ข้อเสนอให้กับบริษัทระหว่างประเทศ เพื่อให้ธุรกิจสามารถจัดตั้งหน่วยงานในการผลิตสินค้าไฮเทค ด้วยค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ และผลประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) เป็นต้น อีกทั้ง หน่วยงาน EIU ระบุว่าเวียดนามมีคะแนนมากกว่าทั้งอินเดียและจีน เกี่ยวกับเรื่องนโนบาย FDI นอกจากนี้ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ FTA จะแสดงถึงจุดแข็งของความสัมพันธ์ทางการค้าของเวียดนาม และช่วยลดต้นทุนทางด้านการส่งออกอีกด้วย

  ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-beats-china-india-to-become-next-manufacturing-hub-831078.vov

นักเศรษฐศาสตร์ คาดเศรษฐกิจเวียดนามเร่งตัวพุ่งในปีนี้

การขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนามเติบโตค่อนข้างช้า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อปีที่แล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน ประเมินว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะเร่งพุ่งสูงขึ้น แค่รอโอกาสที่จะกลับมา ดังนั้น รัฐบาลจึงตั้งเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้อยู่ที่ 6.5% เพิ่มขึ้น 2 เท่าของปีที่แล้ว นับว่าเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ สาเหตุจากยังคงมีความเสี่ยงจาก COVID-19 และความขัดแย้งทางการค้า รวมถึงความไม่แน่นอนทางด้านการเมืองทั่วโลก อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุน กล่าวว่าเวียดนามมีโอกาสอีกมากมายและเติบโตอย่างแข็งแกร่งได้ ประกอบกับโอกาสจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) และการหันมานำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ รวมถึงการก่อตั้งของอุตสาหกรรมใหม่และโมเดลธุรกิจ นอกจากนี้ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB), ธนาคารยูโอบี (UOB) และธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) คาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัว 6.3%, 7.1% และ 8.1% ในปีนี้ ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/858071/vietnamese-economy-tipped-to-bounce-back-in-2021.html

พาณิชย์ปรับแผนหนุนเกษตรกร-เอสเอ็มอีใช้เอฟทีเอควบคู่ค้าขายออนไลน์

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ปรับกลยุทธ์การทำงาน ปี 2564 แก้เกมโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ โดยให้เน้นการใช้เทคโนโลยีออนไลน์สำหรับกิจกรรมฝึกอบรมเสริมสร้างองค์ความรู้ เพื่อติดอาวุธให้กับกลุ่มเกษตรกรเอสเอ็มอี สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน พร้อมใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สามารถจับคู่ธุรกิจเพิ่มยอดขาย และบุกตลาดต่างประเทศได้จริง โดยอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เสริมว่า สำหรับโครงการสำคัญที่กรม จะดำเนินการ ในปี 2564 และจะเพิ่มการนำเทคโนโลยีออนไลน์มาใช้ในการจับคู่ธุรกิจ ตามนโยบายของ รมช.พาณิชย์ ได้แก่ โครงการจัดทัพโคนมไทย บุกตลาดต่างประเทศด้วยเอฟทีเอ เน้นขยายตลาดส่งออกไปอาเซียนและจีน โครงการจับมือผู้ประกอบการใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ เพิ่มการส่งออกต่างประเทศด้วยเอฟทีเอ ร่วมกับ ศอ.บต. โครงการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรไทยให้สามารถเพิ่มการส่งออกโดยใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ โครงการพัฒนาความพร้อมทางการค้าสหกรณ์ไทยสู่โลกการค้าเสรี และโครงการยกระดับผู้ประกอบการไทยผ่านโลกการค้าเสรี ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีความตกลงเอฟทีเอ จำนวน 14 ฉบับ รวมอาร์เซ็ป กับ 18 ประเทศ ได้แก่ สมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี และฮ่องกง โดยในปี 2562 การค้าของไทยกับประเทศคู่เอฟทีเอ 18 ประเทศ มีมูลค่ารวม 302,991 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 2 ใน 3 สัดส่วน 63% ของมูลค่าการค้าไทย กับโลก

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/economics/news_5726321

ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้ยังไม่บรรลุผล

การเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีที่ทางกัมพูชาได้เสนอต่อเกาหลีใต้ กำลังดำเนินไปอย่างช้า ๆ แม้ว่าทุกฝ่ายจะมีเป้าหมายที่จะจัดทำร่างฉบับสุดท้ายภายในสิ้นปี 2020 โดยปลัดกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่าการเจรจา FTA กับเกาหลีใต้ยังคงอยู่ในการหารือรอบที่สี่ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างกัมพูชากับเกาหลีใต้ เกี่ยวกับข้อตกลง FTA อย่างไรก็ตามทั้งสองฝ่ายกำลังผลักดันข้อตกลงนี้ให้เสร็จสิ้นภายในต้นปีนี้ โดยการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้มีมูลค่าอยู่ 724 ล้านดอลลาร์ลดลงร้อยละ 16 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งกัมพูชาส่งออกสินค้าไปเกาหลีใต้อยู่ที่ 267 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 5 โดยกัมพูชานำเข้าสินค้าจากเกาหลีใต้มีมูลค่าอยู่ที่ 457 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งสินค้าสำคัญที่กัมพูชาส่งออกไปเกาหลีใต้ ได้แก่ เสื้อผ้าและสิ่งทอ รองเท้า กระเป๋าเดินทาง อะไหล่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ส่วนการนำเข้าสินค้าสำคัญของกัมพูชาจากเกาหลีใต้ ได้แก่ ยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ในครัว เครื่องดื่ม ยา และผลิตภัณฑ์พลาสติก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50802798/free-trade-deals-yet-to-come-to-fruition/

FTA ดันส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นมไปตลาดโลกโต 5%

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศภายใต้กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า เอฟทีเอหนุนส่งออกสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมของไทย 11 เดือน ปี 2563 ขยายตัว 5% มูลค่าส่งออกกว่า 516 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย 94% เป็นการส่งออกไปประเทศคู่          เอฟทีเอ พบว่านมและผลิตภัณฑ์นมซึ่งเป็นหนึ่งในสินค้าดาวรุ่งของไทยมีการพัฒนาและยังปรับตัวได้ดีท่ามกลางกระแสการค้าโลกที่มีความท้าทายสูง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมของไทยไปตลาดโลกเพิ่มขึ้น      คืออุตสาหกรรมนมและผลิตภัณฑ์นมของไทยมีศักยภาพในการผลิตและมีคุณภาพที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน สินค้านมและผลิตภัณฑ์นมของไทยจึงเป็นที่นิยมและมีความพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมนมในอาเซียน ทั้งนีความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันซึ่งภายใต้ความตกลงการค้าเสรีของไทยสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมทุกรายการที่ส่งออกจากไทยได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าแล้วจาก 14 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี และฮ่องกง ส่วนอีก 4 ประเทศ ได้ลดภาษีนำเข้าสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมให้ไทยบางส่วนแต่ยังเก็บภาษีนำเข้าในบางสินค้า เพื่อสร้างโอกาสขยายการส่งออกและขยายตลาดให้กับสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมของไทยได้เพิ่มขึ้น กระทรวงพาณิชย์มีแผนจะจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจออนไลน์ (Online Business Matching) ระหว่างผู้ประกอบการโคนมแปรรูปของไทยกับผู้นำเข้า ผู้กระจายสินค้า ผู้แทนห้างค้าส่ง/ค้าปลีก ในตลาดจีนเพื่อขยายมูลค่าการค้าของผลิตภัณฑ์นมให้สูงขึ้น

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/beco/3189424

ติวเข้มเกษตรกรมุ่งใช้เอฟทีเอส่งออกสินค้าท้องถิ่น

‘พาณิชย์’ ลงพื้นที่ตั้งวงให้ความรู้เกษตรกรไทย ดันสินค้าเกษตรอินทรีย์-ผ้าย้อม เจาะตลาดส่งออก แนะใช้เอฟทีเอเพิ่มแต้มต่อคู่ค้า สร้างรายได้ในชุมชน นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 – 29 พ.ย. 2563 กรมฯ ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรในพื้นที่อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ ดินแดน “หุบเขาเกษตรอินทรีย์”เพื่อสำรวจศักยภาพสินค้าเกษตรในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) เพิ่มแต้มต่อให้กับสินค้าเกษตรของไทยในตลาดคู่ค้าสำคัญให้กับสหกรณ์ เกษตรกร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่สร้างเครือข่ายผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือขยายการส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยสู่ตลาดโลก ซึ่งปัจจุบันไทยมีความตกลงการค้าเสรี 13 ฉบับ กับ 18 ประเทศ ที่ได้มีการลดและยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรกับสินค้าส่งออกส่วนใหญ่จากไทยแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่เกษตรกรในอำเภอหนองบัวแดง จะพัฒนาสินค้าให้ได้คุณภาพเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ  ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ พบกลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพ อาทิ ผ้าย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติหนองบัวแดง   ทอลวดลายแบบโบราณ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นลงบนผืนผ้า ซึ่งได้รับความนิยมมากทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้ 3.6 ล้านบาทต่อปี   กล้วยหอมทอง(ส่งออกไปญี่ปุ่น)  มีรายได้ 2.4 ล้านบาทต่อปี    ด้านกลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านโหล่น ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ส่งออกไปประเทศเกาหลีใต้ จีน และเวียดนาม มีรายได้ 63 ล้านบาทต่อปี สำหรับสถิติการค้าระหว่างประเทศปี 2563 ในช่วง 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค. 2563) พบว่า การส่งออกสินค้าเกษตร (กสิกรรม ประมง และปศุสัตว์ ไม่รวมอุตสาหกรรมการเกษตร) ของไทยไปประเทศที่มีความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) มีมูลค่ารวมกว่า 12,288.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 70.5% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยไปโลก โดยยังคงขยายตัว 0.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 จึงมีโอกาสสูงที่การส่งออกสินค้าเกษตรไทยจะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากไทยมีความพร้อมในการควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ดี ปัจจุบันไทยเป็นประเทศผู้ส่งออก อันดับ 2 ของอาเซียน รองจากฟิลิปปินส์ ในช่วง 10 เดือนของปี 2563 (ม.ค.-ต.ค.) ไทยส่งออกกล้วยหอมสดสู่ตลาดโลก 2,800 ตัน มูลค่ากว่า 2.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 6.4% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 ตลาดสำคัญ คือ ญี่ปุ่น จีน และกัมพูชา นอกจากนี้ ไทยยังครองตำแหน่งผู้ส่งออกมะม่วง อันดับ 1 ของอาเซียน  มีปริมาณ 8.5 หมื่นตัน มูลค่ากว่า 83 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 15% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 ตลาดส่งออกสำคัญ คือ มาเลเซีย เกาหลีใต้ จีน และญี่ปุ่น

ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/news/639140

สหภาพยุโรปวางแผนร่วมพัฒนาโลจิสติกส์เพื่อเสริมสร้างการค้าระหว่างประเทศ

สมาคมธุรกิจโลจิสติกส์ (LOBA) และ หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งยุโรป ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อพัฒนาการลงทุนการค้าและโลจิสติกส์ระหว่างกัมพูชาและจีน โดยประธาน LOBA กล่าวถึงโอกาสสำหรับทั้งนักลงทุนและการพัฒนาธุรกิจในอนาคตของทั้งสองประเทศ ซึ่งการทำงานร่วมกันระหว่าง LOBA และ EACHAM จะช่วยให้บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออกจากทั้งสองประเทศในการขนส่งสินค้าและการซื้อขายที่มีศักยภาพ ทั้งยังง่ายต่อการติดต่อและเพิ่มพันธมิตรทางธุรกิจร่วมด้วย โดยกัมพูชาและจีนยังได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่กำหนดไว้ว่าภาษีในการส่งออกของกัมพูชาจะลดลงเหลือร้อยละ 0 (สำหรับสินค้าส่วนใหญ่) เพื่อเป็นการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50785080/mou-aims-to-improve-logistics-to-strengthen-cambodia-china-trade/

เวียดนามเผยข้อตกลง RCEP จะไม่ทำให้ขาดดุลการค้ามากขึ้น

จากตัวเลขสถิติ ชี้ให้เห็นว่าเวียดนามขาดดุลการค้ากับจีน เกาหลีใต้และอาเซียน อยู่ที่ 27.71, 21.37 และ 5.58 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ทำให้เกิดความกังวลว่าข้อตกลงดังกล่าวอาจทำให้เวียดนามขาดดุลการค้าพุ่งขึ้น ในขณะที่ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าเวียดนามได้เข้าร่วมความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) และเขตการค้าเสรี (FTA) กับอาเซียนและกลุ่มประเทศคู่ค้า ซึ่งหมายความว่าได้เปิดเสรีทางการค้าไปแล้ว ในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ข้อตกลง “RCEP” มีเป้าหมายสำคัญ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจและการลงทุน ด้วยเหตุนี้ ข้อตกลงดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อการขาดดุลการค้าในระยะยาวของเวียดนาม ทั้งนี้ นาย Nguyen Thi Quynh Nga รองผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายการค้าพหุภาคีของกระทรวงฯ เร่งให้ธุรกิจในประเทศศึกษาถึงข้อตกลงดังกล่าวอย่างรอบคอบ เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าและฝ่าอุปสรรคทางการค้าที่รุนแรงได้ในตลาดในประเทศ

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rcep-will-not-worsen-trade-deficit-ministry/190918.vnp

รัฐบาลกัมพูชาวางแผนลดภาษีสำหรับสินค้าส่งออกประเภทสินค้าทางการเกษตร

กัมพูชาซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่พึ่งพาสินค้าเกษตรที่มีการพัฒนาน้อยที่สุดในข้อตกลงการเจรจาการค้าเสรี (FTA) โดยประมาณร้อยละ 80 ของการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชาคือ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปตามความชอบทางการค้าของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยขณะนี้รัฐบาลกำลังส่งเสริมสินค้าเกษตรผ่านการเจรจา FTA หลังจากที่ประเทศได้ลงนาม FTA กับจีน (CCFTA) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 ต.ค. ซึ่งอย่างไรก็ตามข้าวของกัมพูชาไม่รวมอยู่ในรายการสินค้าภายใต้ CCFTA เนื่องจากประเทศได้รับกรอบโควต้าสำหรับการส่งออกข้าวสารไปยังจีนแล้ว ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาต่ำที่สุดควรได้รับการสนับสนุนทางภาษีศุลกากรเชิงกลยุทธ์เป็นลำดับแรก โดยสินค้าภายใต้ CCFTA ของจีนครอบคลุมสินค้ากว่า 340 รายการสำหรับการส่งออกของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50780935/lower-taxes-on-less-developed-agricultural-export-products-needed-as-trade-deals-sought/

ใช้สิทธิการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรีลดฮวบ

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงการใช้สิทธิประโยชน์ สำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) และสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (จีเอสพี) ในเดือน ม.ค.-ก.ค.63 ว่า มูลค่าการใช้สิทธิรวมเท่ากับ 35,421.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 14.77% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน มีสัดส่วนการใช้สิทธิ 77.94% แบ่งเป็นเอฟทีเอ 32,875.25 ล้านเหรียญฯ ลด 15.88% และจีเอสพี 2,546.60 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 2.61% ทั้งนี้ “แม้ภาพรวมการใช้สิทธิลดลง แต่สินค้าบางรายการของไทยยังส่งออกได้ต่อเนื่อง ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม และเกษตรแปรรูป แม้มีปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโควิด-19 สินค้าที่ขยายตัวได้ดี เช่น เครื่องดื่มที่ไม่เติมแก๊ส เช่น นม ผลไม้สดต่างๆ ทั้งทุเรียน มังคุด มะม่วง อาหารปรุงแต่ง น้ำผลไม้ ปลาทูน่าปรุงแต่ง อาหารปรุงแต่งที่ทำจากเกล็ดธัญพืช เต้าหู้ปรุงแต่ง ซอสปรุงแต่ง กุ้ง ข้าวโพดหวาน ปลาสคิปแจ็ก เป็นต้น” นอกจากนี้ การใช้สิทธิเอฟทีเอนั้น ตลาดที่ไทยส่งออกโดยมีมูลค่าการใช้สิทธิสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน 11,152.89 ล้านเหรียญฯ เพิ่ม 3.84% รองลงมาอาเซียน ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและอินเดีย ขณะที่การใช้สิทธิจีเอสพี 4 ระบบ คือ สหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซียและเครือรัฐเอกราช และนอร์เวย์

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1962459