จีนออกใบอนุญาตให้เมียนมาส่งออกข้าวเพิ่มในปีนี้

จากการเปิดเผยของ นาย Muse U Min Thein รองประธานของ Muse Rice Wholesale Center กรมศุลกากรของจีนให้ได้ออกใบอนุญาตการส่งออกข้าวให้แก่ บริษัท ในเมียนมาเพิ่มเติมในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อส่งออกข้าวผ่านชายแดนมูเซ บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามปริมาณข้าวที่อนุญาตสำหรับการส่งออกยังไม่ได้รับการยืนยัน ใบอนุญาตนำเข้าข้าวของจีนปี 63 หมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคม 63 การค้าข้าวถูกระงับ ขณะนี้ผู้ค้าข้าวเมียนมาสามารถส่งออกข้าวภายใต้ใบอนุญาตใหม่ได้แล้ว อย่างไรก็ตามการปิดธนาคารทำให้เกิดปัญหาการทำธุรกรรมหยุดชะงักลง ดังนั้นการซื้อขายจึงลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เมียนมาส่งข้าวและปลายข้าวไปยังต่างประเทศมากกว่า 720,000 ตันระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 63 ถึง 15 มกราคม 64 ของงบฯ ปัจจุบันโดยมีรายได้กว่า 275 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศส่งผลกระทบต่อความพร้อมของชลประทานในการเกษตร ด้วยเหตุนี้สหพันธ์ข้าวแห่งเมียนมาร์ (MRF) จึงตั้งเป้าการส่งออกไว้ที่ 2 ล้านตันในปีงบประมาณปัจจุบันเนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวในฤดูร้อนลดลง เมียนมามีรายได้กว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกข้าวในช่วงปีงบประมาณ 63-64 ที่ผ่านมาโดยมีปริมาณกว่า 2.5 ล้านตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/china-grant-licences-to-more-myanmar-companies-for-rice-export-this-year/

ราคาข้าวเวียดนามพุ่งสูงสุดในรอบ 10 ปี

ราคาข้าวหัก 5% ของเวียดนาม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 500-505 เหรียญสหรัฐต่อตันในปี 2564 ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554 รองประธานสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) กล่าวว่าราคาที่สูงขึ้นดังกล่าวบ่งบอกถึงคุณภาพข้าวของเวียดนาม และชี้ให้เห็นถึงความต้องการนำเข้าข้าวที่เพิ่มขึ้นจากตลาดต่างประเทศ อาทิ ฟิลิปปินส์ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปี 2564 มีผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ในภูมิภาค ได้แก่ จีน บังกลาเทศและฟิลิปปินส์ นำเข้าข้าวจำนวนมาก ในขณะเดียวกัน ประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลก อาจเห็นว่าในปีนี้ ปริมาณการส่งออกข้าวลดลง เนื่องมาจากบาทแข็งค่า นอกจากนี้แล้ว ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนามและสหภาพยุโรป (EVFTA) จะทำให้กลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรปจัดสรรโควตาภาษีแก่ข้าวของเวียดนาม ประมาณ 10,000 ตันในปีนี้ ขณะที่ ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างอังกฤษ – เวียดนาม (UKVFTA) จะลดภาษีนำเข้าสำหรับข้าวเวียดนามถึง 0%

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-rice-prices-hit-10-year-high-316147.html

การเมืองเมียนมายังน่าห่วง ผู้ค้าข้าวใน Bayintnaung หยุดการซื้อขายชั่วคราว

ผู้ค้าส่งข้าวศูนย์ค้าระงับการซื้อขายส่งพร้อมทั้งจับตาดูสถานการณ์ทางการเมืองของเมียนมาอย่างใกล้ชิดก่อนตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร นาย U Than Oo เลขานุการของ Bayintnaung Wholesales Center กล่าวว่าการสื่อสารรวมถึงรถบรรทุกถูกตัดขาดจึงต้องหยุดการค้าขายไว้ก่อน ส่วนที่ถูกส่งขายไปแล้วจำเป็นต้องลดราคา 500 จัตต่อถุงเพื่อระบายสินค้า ขณะนี้ผู้ค้ากำลังเฝ้าสังเกตสถานการณ์และรอคำชึ้แจงเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 พบว่ายอดขายสินค้าของซูเปอร์มาร์เก็ตรวมไปถึงตลาดในย่างกุ้งเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้คนกักตุนอาหารและสิ่งจำเป็นในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนนี้

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/bayintnaung-rice-wholesalers-halts-trade-observe-situation.html

เวียดนามประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการส่งออกข้าว แม้มีการหยุดชะงัก

เมื่อวันที่ 6 ม.ค. กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าแถลงการณ์ว่าในปี 2563 เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 6.15 ล้านตัน หรือเป็นมูลค่า 3.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่าปริมาณการส่งออกข้าวจะลดลงราว 3.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากด้านความมั่งคงทางอาหารของประเทศ แต่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 9.3% อีกทั้ง ราคาส่งออกข้าวเฉลี่ยทั้งปี อยู่ที่ประมาณ 499 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 13.3% เมื่อเทียบกับปี 2562 ข้อมูลข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าเป็นราคาเฉลี่ยทั้งปีที่สูงที่สุดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลประโยชน์แก่ชาวเกษตรกรเวียดนาม อย่างไรก็ตาม โครงสร้างการส่งออกข้าวของเวียดนาม ยังคงใช้ข้าวที่มีคุณภาพสูง ด้วยราคาขายและมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ตามรายงานของสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) ระบุว่าในปี 2563 เป็นปีที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการส่งออกข้าวของเวียดนาม เหตุจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในหลายๆประเทศ และความสามารถทางการแข่งขันของเวียดนามที่ดีขึ้นในตลาดโลก ถึงแม้ว่าโควิด-19 ระบาดไปยังทั่วโลก แต่ผู้ส่งออกข้าวได้ทำการปรับเปลี่ยนกิจกรรมและแสดงหาตลาดใหม่ รวมถึงนำข้อได้เปรียบจากการที่ลงนามข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ใช้ออกมาอย่างเต็มที่

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-rice-exports-win-big-despite-one-month-interuption-27137.html

สปป.ลาวจะส่งออกข้าว 2,000 ตันไปยังจีนตามโควต้าที่ได้รับ

สปป.ลาวมีแผนส่งข้าวขัดมัน 2,000 ตันไปยังจีนในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงโควต้าการค้าระหว่างรัฐบาลสปป.ลาวและจีน จากรายงานเวียงจันทน์ไทมส์เมื่อวันพุธ (6 ม.ค. ) โดยอ้างจากกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ของสปป.ลาว ข้อตกลงการค้าข้าวขัดมันของสปป.ลาวกับจีนจะบรรลุเป้าหมายทั้งหมดภายในสิ้นปี 2564 ถึงแม้จะมีความท้าทายจากการระบาดของโรคโควิด -19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจีนเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดสำหรับสปป.ลาว รายได้ของสปป.ลาวจากการส่งออกข้าวขัดมันไปยังจีนจากกรอบความร่วมมือดังกล่าวช่วยทำให้มูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นในช่วงหลายๆปีที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2021/01/07/laos-to-export-2000-tonnes-of-rice-to-china-in-january

ปี 64 ค้าข้าวเมียนมารุกตลาดดิจิทัล

จากข้อมูลของ Myanmar Rice Federation (MRF) ตลาดค้าข้าวออนไลน์แห่งแรกของเมียนมาที่พร้อมเปิดซื้อขายข้าว เมล็ดพืช และเป็นศูนย์กลางข้อมูลจะเปิดให้บริการในต้นปี 64 โดยแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เรียกว่า MRF Rice Portal สำหรับการซื้อขายจะเป็นครั้งแรกในเมียนมาและตั้งเป้าว่าจะวางจำหน่ายในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคมหรือสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม ซึ่งการใช้งานจะง่ายและสะดวกสำหรับเกษตรกร ปัจจุบันการซื้อขายเมล็ดพันธุ์และข้าวผ่าน Social Network ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ด้วยแพลตฟอร์มนี้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมจะสามารถรับข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดผ่านทาง MRF Rice Portal นอกจากนี้ยังมีบริการส่งข้อความผ่าน SMS ซึ่งจะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกัน MRF ได้ร่วมมือกับ Welthungerhilfe (WHH) ของเยอรมนีเป็นครั้งแรกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพสูงขึ้นซึ่งคาดว่าจะช่วยให้การเก็บเกี่ยวดีขึ้นและทำให้ราคาข้าวในต่างประเทศสูงขึ้นอีกด้วย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-rice-trading-go-digital-2021.html

ผลผลิตข้าวของกัมพูชาในช่วงฤดูฝนคาดว่าจะสูงถึง 8.5 ล้านตัน

แม้จะมีภัยน้ำท่วมฉับพลันในบางพื้นที่ของกัมพูชาแต่ผลผลิตข้าวในฤดูฝนคาดว่าจะมีสูงถึง 8.5 ล้านตันภายในปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับปี 2019 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงได้ให้ข้อมูลล่าสุดหลังจากการติดตามการอภิปรายข้อมูลผลผลิตข้าวล่าสุดกับหน่วยงานในจังหวัด ซึ่งการเก็บเกี่ยวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3,122 ตันต่อเฮกตาร์ เพิ่มขึ้นจากประมาณ 3,095 ตันต่อเฮกตาร์ในปีที่แล้ว โดยรัฐมนตรีกล่าวว่าประมาณร้อยละ 89 หรือ 57,557 เฮกตาร์ของพื้นที่นาข้าวทั้งหมดใน 19 จังหวัด ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลันครั้งล่าสุด นอกจากนี้กระทรวงยังได้มอบเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวนหลายพันตันให้กับชาวนาเพื่อนำไปเพาะปลูกในพื้นที่นาที่ได้รับการฟื้นฟูหลังน้ำท่วม ซึ่งตัวเลขจากสมาพันธ์ข้าวกัมพูชาแสดงให้เห็นว่าในช่วง 11 เดือนของปี 2020 การส่งออกข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 17 โดยมีปริมาณรวม 601,045 ตัน คิดเป็นมูลค่า 415 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50794313/wet-season-rice-yield-expected-to-reach-8-5-million-tonnes-this-year/

รัฐบาลกัมพูชาพร้อมสนับสนุนอุตสาหกรรมข้าวภายในประเทศ

Cambodia Rice Federation (CRF) ได้ให้ความสำคัญกับการที่รัฐบาลให้ความสนใจในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมข้าวส่งผลให้การส่งออกข้าวสารเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งในขณะที่ตัวแทนภาคอุตสาหกรรมข้าวได้เข้าร่วมการประชุมข้าวโลกครั้งที่ 12 ประจำปี 2020 โดยรองประธาน CRF ได้แสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนผ่านธนาคารเกษตรและพัฒนาชนบท (ARDB) สำหรับภาคอุตสาหกรรมข้าว เช่น การให้เงินกู้อัตราดอกเบี้ยพิเศษให้กับโรงสีข้าวเพื่อซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาและในการพัฒนาในด้านอื่นๆร่วมด้วย นอกจากนี้นโยบายของรัฐบาลยังจูงใจนักลงทุนไม่ว่าจะเป็นการยกเว้นภาษีเพื่อดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมข้าวภายในประเทศ ซึ่ง ณ เดือนพฤศจิกายน 2020 กัมพูชาทำการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 17 ที่ 601,045 ตัน สร้างรายได้กว่า 415 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50789361/crf-highlights-governments-support-for-rice-sector-at-12th-world-rice-conference-2020/

รัฐบาลกัมพูชาตั้งกองทุนพิเศษสำหรับรองรับฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวในปีนี้

ธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทเพื่อการเกษตร (ARDB) ได้เริ่มสนับสนุนกองทุนพิเศษมูลค่า 30 ล้านดอลลาร์ให้กับโรงสีและผู้ส่งออกข้าวเพื่อทำการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในกัมพูชาในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวปีนี้ โดยผู้อำนวยการธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทเพื่อการเกษตร (ARDB) กล่าวว่าเงินสนับสนุนจะถูกปล่อยออกมาทีละช่วง ซึ่งในช่วงแรกปล่อยออกมาประมาณ 3 ล้านดอลลาร์ แล้วจะค่อยๆกระจายยอดไปในระหว่างการเก็บเกี่ยว โดยเกษตรกรขายข้าวเปลือกให้กับ Amru ในราคาที่ 1,620 เรียลต่อกิโลสำหรับข้าวคุณภาพดีที่สุดและ 1,580 เรียลต่อกิโลสำหรับเกรดรองลงมา ซึ่งรายได้รวมจากการส่งออกข้าวของกัมพูชาแตะ 366.44 ล้านดอลลาร์ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2020 ตามรายงานของ CRF อยู่ที่ 536,035 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกัมพูชาทำการส่งออกข้าวส่วนใหญ่ไปยังตลาดเวียดนามอย่างไม่เป็นทางการมากกว่า 2 ล้านตันต่อปี ตามตัวเลขจากกระทรวงเกษตรกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50781705/special-fund-keeps-rice-harvests-on-firm-track-despite-heavy-floods/

ผู้ค้าข้าวในกัมพูชากล่าวถึงการถูกขัดขวางการส่งออกด้วยปัจจัยหลายประการ

กัมพูชาส่งออกข้าวประมาณ 30,000 ตัน ในช่วงปี 2009 และ ทางภาครัฐบาลกัมพูชาได้มีการใช้นโยบายในการช่วยกระตุ้นการส่งออกซึ่งในปัจจุบันกัมพูชามีการส่งออกข้าวสารโดยประมาณ 600,000 ตันต่อปี โดยในปี 2015 รัฐบาลตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวสารไว้ที่ 1 ล้านตัน ภายในปี 2020 ซึ่งคนวงการข้าวกล่าวว่าปัญหาต่างๆยังคงไม่ได้รับการแก้ไขมาหลายปี แม้จะมีการจัดตั้งคณะทำงานด้านเทคนิค (TWG) ด้านข้าวเมื่อ 5 ปีก่อน ไปจนถึงปัญหาด้านโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานที่ยังคงต้องการได้รับการพัฒนาเพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตข้าวสามารถแข่งขันได้และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งระบบชลประทานของประเทศไม่ได้รับการออกแบบและจัดการที่ดีมากในอดีต โดยในปัจจุบันกัมพูชาส่งออกข้าวเปลือกที่ 536,305 ตัน ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2020 ซึ่งเป็นข้าวหอมประมาณ 421,132 ตัน ตามที่กระทรวงเกษตรระบุ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50779265/rice-exports-hindered-by-a-number-of-factors-says-an-insider/