เมียนมาคาด การปรับนโยบายใหม่ จะไม่กระทบการส่งออกข้าวโพด

นายอู มิน แค ประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดของเมียนมา กล่าวว่า นโยบายใหม่เกี่ยวกับการส่งออกข้าวโพดของเมียนมา จะไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อการส่งออกข้าวโพดของประเทศ โดยรายการสินค้าส่งออก ได้แก่ ข้าวโพด แป้ง ป๊อปคอร์น เมล็ดพืช แป้งข้าวโพด เมล็ดธัญพืช ข้าวฟ่าง อาหารเม็ด บัควีต (Buckwheat) และเมล็ดข้าวสำหรับเลี้ยงนก จะต้องขอใบอนุญาตส่งออกโดยการยื่น Form-D (หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า) ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2565 โดยการปรับเปลี่ยนนโยบายนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อรับรองความมั่นคงด้านอาหาร ความมั่นคงภายในประเทศ และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน ราคา FOB อยู่ที่ 320-340 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพข้าวโพดในตลาดย่างกุ้ง ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกไปตลาดต่างประเทศ จำนวน 2.3 ล้านตัน ตลาดหลักคือไทย ส่วนที่เหลือจะส่งออกไปยังจีน อินเดีย และเวียดนาม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/30-march-2022/#article-title

เมียนมาปิดถนนเมียวดี-ดอนา-ตอง-จอ กระทบค้าส่งออกชายแดนเมียนมา-ไทย หลายแสนจัต !

ตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค.2565 การปิดถนนถนนเมียวดี-โดนา-ตอง-จอ ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าสำคัญบริเวณชายแดนเมียนมา-ไทย ส่งผลให้ชาวเมียนมาหลายแสนคนต้องกลายเป็นคนว่างงาน รถบรรทุกขนาดเล็กและขนาดใหญ่กว่า 1,000 คัน รวมทั้งรถยนต์นั่งต้องหยุดทำการวิ่งขณะขนส่งสินค้าเข้าจากไทยผ่านชายแดนเมียวดี ซึ่งการปิดชายแดนทำให้สินค้าเกษตรเกิดความเสียหายหลายแสนรายการในทุกๆ วัน โดยสินค้าเกษตรที่ส่งจากเมียวดีไปยังไทย ได้แก่ พริกสด ถั่วลิสง และหัวหอม ซึ่งจะเน่าเสียหายเพราะเก็บไว้ไม่ได้นาน ในขณะที่การนำเข้าน้ำอัดลมและอาหารลดลงเมื่อสองเดือนก่อน อีกทั้งจากข้อจำกัดในการนำเข้าส่งผลให้ การนำเข้าเหล็ก ดีบุก ซีเมนต์ และสิ่งของจำเป็นอื่นๆ ต้องลดลงไปด้วย

ที่มา : https://news-eleven.com/article/228319

ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมาลดฮวบ 1.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย ณ วันที่ 21 ม.ค.65 ของงบประมาณย่อย (ต.ค. 64 ถึงมี.ค. 65) มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรดิ่งลง 1.25 พันล้านดอลลาร์ ลดลงอย่าง 375.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกไปจีนคิดเป็นร้อยละ 90 ของการส่งออกผักและผลมืทั้งหมด ในช่วงปีงบประมาณที่ผ่านมาการปิดด่านชายแดนของจีนส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตผู้ค้าผลไม้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ กฎระเบียบการนำเข้าและมาตรการป้องกันโควิด-19 ของจีนยังทำให้เกิดความล่าช้า  ปัจจุบัน ชายแดนบางแห่งเริ่มทดลองเป็ดค้าขายเป็นบางแห่งแล้ว ในภาคการส่งออก อุตสาหกรรมการเกษตรมีทิศทางที่สดใส โดยคิดเป็นร้อยละ 37 ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกที่สำคัญในภาคเกษตร ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ผลไม้และผัก ฯลฯ ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกาเป็น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agricultural-export-value-plummet-to-1-25-bln-as-of-21-january/#article-title

สินค้าเกษตรไทยยังแข็งแกร่งในตลาดโลก เกษตรฯ เผย ปี 64 ส่งออกยังเติบโต ทั้งคู่ค้า FTA และอาเซียน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด – 19 ในปี 2564  โดยภาพรวมการค้าไทยกับทั่วโลก คิดเป็นมูลค่า 1,273,761 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่า 1,098,475 ล้านบาท  (เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.96) หากพิจารณาเฉพาะการค้าระหว่างไทยกับประเทศที่ไทยทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) ซึ่งไม่นับรวมประชาคมอาเซียน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่า ภาพรวมการค้า อยู่ที่ 760,148 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.42)  โดยการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย มีมูลค่ากว่า 597,634 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.81) ทั้งนี้ ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าคิดเป็นมูลค่า 435,120 ล้านบาท

ที่มา : https://www.thailandplus.tv/archives/463973

จีนเริ่มสั่งซื้อพริกจากเมียนมา ในราคา 8,000 จัตต่อ viss

สมาคมพัฒนาตลาดและพัฒนาเทคโนโลยีพริกของเมียนมา เผย จากความต้องการพริกแห้งของจีนอย่างต่อเนื่อง ได้สั่งซื้อพริกแห้งจากเมียนมาในราคา 8,000 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ซึ่งปัจจุบันมีการเก็บเกี่ยวพริกขี้หนูสดในเขตมาเกว อิยาวดี และมัณฑะเลย์ และราคาเริ่มลดฮวบลงเหลืออยู่ที่ 2,000 จัตต่อ viss ขณะที่ปีที่แล้ว ราคาพริกขี้หนูสดอยู่ที่ 4,000 จัตต่อ viss ปีนี้ผลผลิตลดลงเนื่องจากผลกระทบจากสภาพอากาศ นอกจากนี้ จำนวนพื้นที่ในการเพาะปลูกยังลดลงอีกด้วย โดยปกติพริกขี้หนูสดพริกของเมียนมาถูกส่งไปออกยังไทยและจีนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การปิดด่าน Muse ด่านสำคัญระหว่างเมียนมาและจีนตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.64 เป็นต้นมา ส่งผลให้การส่งออกต้องหยุดชะงักลง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/dried-chilli-pepper-valued-at-k8000-per-viss-on-china-demand/#article-title

รัฐบาลสปป.ลาวห้ามนำเข้าสินค้าเกษตรบางชนิด

รัฐบาลได้สั่งห้ามการนำเข้าผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์ และปลาบางประเภท โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการเพาะปลูกพืชผลและสัตว์เหล่านี้ในสปป.ลาวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมากขึ้น ทั้งนี้สินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรอาจนำเข้าต่อไปได้ เช่น สเปิร์มของสัตว์เพื่อการเพาะพันธุ์ เมล็ดข้าว วัคซีนและอุปกรณ์สำหรับสัตว์ ยาสำหรับสัตว์ และอาหารสัตว์ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎ ต้องมีการใช้งานเฉพาะและไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตในประเทศ และรวมถึงเนื้อวัว เนื้อแกะ และเนื้อนกกระจอกเทศระดับพรีเมียมที่เสิร์ฟในร้านอาหารและโรงแรมขนาดใหญ่ สปป.ลาวเผชิญกับการขาดดุลการค้ามาอย่างต่อเนื่อง การริเริ่มแนวทางดังกล่าวรัฐบาลสปป.ลาวพยายามลดความพึ่งพาจากต่างประเทศในอีกส่วนหนึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงด้านอาหารในอนาคตให้แก่สปป.ลาวอีกด้วย

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt13.php

เวียดนามนำเข้าสินค้าเกษตรจากกัมพูชาแตะร้อยละ 80 ของสินค้าเกษตรทั้งหมด

เวียดนามนำเข้าสินค้าเกษตรจากกัมพูชาในสัดส่วนสูงถึงเกือบร้อยละ 80 ของการส่งออกสินค้าเกษตรกัมพูชา มูลค่ารวมถึง 5 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงปีที่แล้ว โดยบริษัทผู้นำเข้าเวียดนามทำการนำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์ พริกไทย และถั่วเขียวจากกัมพูชาสูงถึงร้อยละ 96-99 ตามรายงานของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของกัมพูชา ซึ่งการส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของกัมพูชาไปยังเวียดนามขยายตัวถึง 4.6 เท่าจากปี 2020 รวมถึงการส่งออกพริกไทยและถั่วเขียวก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันถึง 4 เท่า โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปีที่แล้ว มูลค่าการค้าระหว่างเวียดนามและกัมพูชาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 84 เมื่อเทียบเป็นรายปี มูลค่ารวมกว่า 8.6 พันล้านดอลลาร์ ตามการระบุของกรมศุลกากรเวียดนาม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501004581/vietnam-buys-80-pct-of-cambodias-agriculture-exports/

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรรวม มูลค่า 4.4 พันล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่ารวม 4.4 พันล้านดอลลาร์ ไปยังตลาดต่างประเทศ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ โดยสิ่งนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าภาคเกษตรกรรมจะยังคงเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจกัมพูชาในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งตัวเลขจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ระบุว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรปริมาณรวม 7.1 ล้านตัน ถูกส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ 68 แห่งทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 87.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งในจำนวนนี้คิดเป็นการส่งออกข้าวสารรวม 532,179 ตัน ลดลงร้อยละ 11.46 เมื่อเทียบปีต่อปี มูลค่ารวม 454 ล้านดอลลาร์ ส่วนข้าวเปลือกส่งออกไปทั้งสิ้นจำนวน 3.1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนพฤศจิกายนปีนี้ มูลค่าการส่งออกรวม 546 ล้านดอลลาร์ โดยการส่งออกสินค้านอกภาคเกษตรมีมูลค่ารวม 2.990 พันล้านดอลลาร์ ปริมาณ 4.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.47 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50980853/cambodia-nets-4-4-billion-from-agricultural-exports/

25 พ.ย. 64 พร้อมเปิดชายแดนเมียนมา-จีน (Kyinsankyawt)

วันที่ 22 พฤศจิกายน การค้าผ่านแดนจะเริ่มทดสอบโดยเริ่มตั้งแต่เวลา 13.00 น. ในช่วงบ่ายเป็นเวลาสามวัน หากการทดสอบเสร็จสิ้นลงแล้ว จะกลับมาเปิดดำเนินการในวันที่ 25 พ.ย. ตามที่กำหนดไว้ ซึ่งรถบรรทุกสินค้าประมาณ 10,000 คันซึ่งถูกจัดเก็บในคลังสินค้าในด่านมูเซ 105 ไมล์ จะถูกวิ่งเพื่อทำการทดสอบก่อนก่อน ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค. 2564 จีนได้ปิดชายแดน (Kyinsankyawt, Wamting) หลังแพร่ระบาดของ COVID-19 ในเมียนมา ส่งผลให้คนงานราว 400,000-600,000 คนต้องตกงาน นอกจากนี้ ผู้ค้าจากด่านชายแดนมูเซยังสูญเสียรายได้จากการปิดด่านในครั้งนี้ โดยเมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ถั่วและข้าวโพด และผลิตภัณฑ์ประมง เช่น ปู กุ้ง เป็นต้น นอกจากนี้ การส่งออกก๊าซธรรมชาติของเมียนมาไปยังจีนยังดำเนินการผ่านพรมแดนมูเซ-รุ่ยลีอีกด้วย ส่วนการนำเข้าจะเป็น วัตถุดิบ CMP เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-kyinsankyawt-border-post-to-resume-operations-on-25-nov/#article-title

5 พ.ย. 64 ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมา ลดลง 315 04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาอยู่ที่ 315.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของงบประมาณย่อย (ต.ค. 2564 ถึงมีนาคม 2565) ลดลง 28.49 04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ 343.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากคู่ค้าหลักอย่างจีนปิดปิดชายแดนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในภาคการส่งออก อุตสาหกรรมการเกษตรคิดเป็น 37% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล และอื่นๆ โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา ปัจจุบันเมียนมาพยายามวางแผนการส่งออกเนื่องจากปัจจุบันตลาดโลกมีความผันผวน การค้าแบบ G to G จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยสร้างตลาดที่แข็งแกร่งสำหรับเกษตรกร ซึ่งกระทรวงพาณิชย์กำลังช่วยเหลือเกษตรกรในด้านต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิตที่สูง การจัดหาเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ต้นทุนการเพาะปลูก และสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน ปัจจุบันการส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งขึ้นเป็น 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 สวนทางกับการส่งออกสินค้าอื่นๆ จะมีแนวโน้มลดลง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agricultural-export-tops-315-mln-as-of-5-november/#article-title