ADB อนุมัติเงินกู้ 40 ล้านดอลลาร์ ช่วย SME กัมพูชา

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้อนุมัติเงินกู้จำนวน 40 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยให้ กลุ่มไมโคร วิสาหกิจขนาดกลางและวิสาหกิจขนาดย่อม (MSMEs) ของกัมพูชา เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น โดยเงินจำนวนดังกล่าวจะสนับสนุนภายใต้ความพยายามของรัฐบาล ในการปฏิรูปเพื่อเพิ่มเสถียรภาพทางการเงินและการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของภาคการเงินในประเทศ ซึ่งในการนี้ถือเป็นระยะที่ 3 ของโครงการพัฒนาระบบการเงิน ที่ได้ดำเนินการมาก่อนหน้าตั้งแต่ปี 2016-2019 โดย ADB ระบุว่าการเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการทางด้านการเงินสำหรับคนยากจนในกัมพูชามีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากมีความรู้ทางด้านการเงินต่ำ สะท้อนจากประชากรกลุ่มผู้ใหญ่ในประเทศที่มีบัญชีธนาคารอยู่เพียงร้อยละ 22 ขณะเดียวกันผู้ประกอบการ MSMEs ก็ประสบกับปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเช่นกัน ซึ่ง ADB กล่าวเพิ่มเติมว่าความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินของกัมพูชาเพิ่มขึ้นในระยะที่ผ่านมา เนื่องจากการระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50954353/adb-approves-40-million-to-help-small-companies-get-loans/

กัมพูชาวางแผนพัฒนาปรับปรุงถนนเรียบชายฝั่งจังหวัดแกบ

องค์การบริหารส่วนจังหวัดแกบตั้งเป้าที่จะปรับปรุงถนนเลียบชายฝั่งที่เชื่อมศาลากลางจังหวัดแกบไปยังพื้นที่อังกอร์ ทางตอนใต้ของจังหวัดแกบ โดยการก่อสร้างมีกำหนดที่จะเริ่มในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ และคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2023 ซึ่งโครงการถนนเลียบชายฝั่งจะมีความยาวประมาณ 11.4 กิโลเมตร ใช้เงินกู้สัมปทานการก่อสร้างมูลค่า 10.5 ล้านดอลลาร์ จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) โดยถนนเลียบชายฝั่งถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 2 ของ ADB ซึ่งทาง ADB ให้เงินกู้กัมพูชาจำนวน 30 ล้านดอลลาร์ เพื่อดำเนินโครงการ 3 โครงการในจังหวัดแกบ รวมถึงโครงการท่าเทียบเรือท่องเที่ยวบนเกาะทอนซาย และถนนเลียบชายฝั่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50950385/10-million-kep-coastal-road-to-start-in-november/

ADB อนุมัติเงินกู้เพื่อการปรับปรุงถนนแก่รัฐบาลกัมพูชา

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) อนุมัติเงินกู้จำนวน 82 ล้านดอลลาร์ ให้กับรัฐบาลกัมพูชา เพื่อใช้ในการปรับปรุงถนนในเขตพื้นที่จังหวัด ไพรแวง และกันดาล โดยคาดว่าโครงการนี้จะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจอนุภาคกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ซึ่ง ADB ได้ให้ความช่วยเหลือดังกล่าวเป็นระยะที่ 2 ของโครงการปรับปรุงเครือข่ายถนน โดยความพยายามนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับเวียดนาม และสนับสนุนการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกข้ามพรมแดนระหว่างจังหวัด ไพรแวง และกันดาล ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาได้กำหนดแผนในการพัฒนาระดับชาติเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูง และมีมันคง โดยสามารถรองรับภาคการขนส่งภายในประเทศที่กำลังเผชิญอยู่กับความท้าทายในปัจจุบัน อาทิเช่น ถนนในชนบทส่วนใหญ่เป็นถนนราดยาง และมีเส้นทางอยู่จำกัด ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดด้านการขนส่ง รวมถึงเพื่อรองรับปัจจัยด้านการเติบโตของประชากรและการจ้างงานของประเทศภายในปี 2030

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50944155/adb-approves-82-million-loan-to-government-towards-road-improvement-projects/

รัฐบาลสปป.ลาวและเวียดนามพิจารณาความเป็นไปได้ในการสร้างทางด่วนเวียงจันทน์-ฮานอย

รัฐบาลสปป.ลาวและเวียดนามกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการสร้างทางด่วนเชื่อมเวียงจันทน์กับฮานอย ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา 2 เส้นทาง โดยเส้นทางแรกจะวิ่งผ่านเวียงจันทน์-ปากซาน-เวียงทอง-Thanh Thuy-Hanoi เป็นระยะทาง 725 กิโลเมตร                    เป็นเส้นทางในประเทศลาว 355 กิโลเมตร ค่าใช้จ่ายโดยประมาณจะอยู่ที่ 5.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเส้นทางที่ 2 เป็นเส้นทางผ่านเวียงจันทน์-นาแพง-ไซสมบูรณ์-เชียงขวาง-ท่าลาว (จังหวัดหัวพัน)-ฮานอยระยะทาง 730 กม. เป็นเส้นทางในประเทศลาว 485 กม. ค่าใช้จ่ายโดยประมาณของเส้นทางนี้จะอยู่ที่ประมาณ 9.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อสร้างทางด่วนแล้วเสร็จจะเป็นอีกก้าวหนึ่งในการเปลี่ยนประเทศสปป.ลาวจากการไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นทางเชื่อมทางบกภายในภูมิภาค

 ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Vientiane_Hanoi_189.php

ท่าเรือพนมเปญ เสริมพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ในกัมพูชา

ท่าเรือพนมเปญ (PPAP) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) ได้เปิดตัวโครงการส่วนต่อขยายท่าเทียบ ไปในวันที่ 20 กันยายน ที่ผ่านมา โดยได้ยกระดับความสามารถในการจัดการตู้คอนเทนเนอร์เป็น 400,000 TEU ต่อปี ซึ่งการก่อสร้างท่าเรือแห่งนี้ใช้งบประมาณอยู่ที่ 18.4 ล้านดอลลาร์ เริ่มก่อสร้างขึ้นในปี 2019 และแล้วเสร็จภายในช่วงกลางปี 2021 โดยมีขนาดครอบคลุมพื้นที่ 2.75 เฮกตาร์ และเดิมมีความสามารถในการจัดการตู้คอนเทนเนอร์ 100,000 TEU ต่อปี ซึ่งเหตุผลที่จำเป็นต้องขยายเป็นเพราะว่าจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่เพื่อรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องของปริมาณการใช้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือ โดยในปี 2019 PPAP ได้รับตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 290,000 ตู้ มายังท่าเรือ และยังได้วางแผนโครงการขยายสถานีคอนเทนเนอร์ใหม่ ด้วยการเพิ่มพื้นที่จัดเก็บให้ได้ 500,000 TEUs ต่อปี ภายในปี 2022

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50938651/phnom-penh-autonomous-port-upgrades-container-handling-capacity-to-400000-teus/

7 หุ้น โรงไฟฟ้าใหญ่ไทย กำลังเติบโตในเวียดนาม

โดย Maratronman I Wealthy Thai

เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในทุกๆ เพราะขนาดเศรษฐกิจของประเทศกำลังขยายใหญ่โตขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากประชากรที่เพิ่มตัวขึ้นปีละหลายล้านคน รวมถึงประชากรกำลังอยู่ในวัยคนหนุ่มสาว ซึ่งเป็นวัยที่มีส่วนจะช่วยผลักดันความก้าวหน้าของประเทศ

การลงทุนจากต่างประเทศทยอยการลงทุนเข้ามาในประเทศเวียดนามอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นได้จากผู้ประกอบการค่ายโทรศัพท์มือถือยักษ์ใหญ่อย่างซัมซุงใช้ประเทศเวียดนามเป็นฐานการผลิตโทรศัพท์มือถือ รวมถึงนักลงทุนจากสหรัฐที่ย้ายฐานการผลิตจากจีนมายังเวียดนาม

ซึ่งนั่นก็หมายความว่าเวียดนามเองนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องรังสรรค์โครงสร้างพื้นฐานประเทศไว้รองรับสิ่งใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้ประเทศ และเศรษฐกิจเดินหน้าต่อแบบไม่ชะงัก แม้จะต้องเผชิญกับปัญหาการระบาดของโควิด-19 แต่เวียดนามก็ไม่หวั่นตั้งเป้าปี 64 จีดีพีจะกลับมาเติบโตในระดับ 6.5% จากในปี 63 ที่โตแบบสะดุด

สำหรับโครงสร้างพื้นฐานส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ เพื่อรองรับการเติบโต และอุตสาหกรรมที่กำลังรุ่งเรืองคงจะหนีไม่พ้นโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้า ซึ่งกระแสไฟฟ้ามีส่วนช่วยผลักดันเศรษฐกิจให้เดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยเวียดนามคาดการณ์ว่าจะมีการผลิตพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมากถึง 80,000 เมกะวัตต์ ในปี 2573

โดยแหล่งพลังงานหลักยังคงเป็นถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 30,000 เมกะวัตต์ ขณะเดียวกัน โรงไฟฟ้าพลังงานลมในพื้นที่ชายฝั่งและพลังงานลมก็คาดว่าจะมีการขยายเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 50,000 เมกะวัตต์ ซึ่งอัตราการเติบโตของการใช้พลังงานในปี 2021-2030 ยังอยู่ในระดับสูง จาก 8.6 % ในปี 2021-2025 และ 7.2 % ในปี 2026-2030 แผนพัฒนาพลังงานของเวียดนามคาดการณ์ว่าจะมีการใช้พลังงานสูงสุด 138,000 เมกะวัตต์ ในปี 2030 และ 302,000 เมกะวัตต์ ในปี 2045

เมื่อเห็นแผนการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศเวียดนามแบบนี้แล้ว นักลงทุนคงจะพอเดากันได้แล้วใช่มั้ยว่า มีบริษัทหลักทรัพย์ของไทยที่ไหนบ้าง ถ้าเดาไม่ออก งั้น Wealthy Thai จะเล่าให้ฟัง มีบริษัทในตลาดหุ้นไทยที่ประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่เข้าไปลงทุน มีทั้งสิ้น 7 บริษัท ประกอบด้วย

1.บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF

2.บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM

3.บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH

4.บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP

5.บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) หรือ BCPG

6.บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SUPER

7.บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL

ที่มา : https://www.wealthythai.com/en/updates/stock/stock-of-the-day/1496

รัฐบาลสปป.ลาวทุ่มกว่า 8.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในวังเวียง

รัฐบาลสปป.ลาวจะมีการใช้เงินมากกว่า 8.8 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการก่อสร้างถนนที่มุ่งสู่น้ำตกแก่งนุ้ยในจุดท่องเที่ยวของวังเวียงในแขวงเวียงจันทน์ โดยได้รับทุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียมากกว่า 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตวังเวียงและรอบอ่างเก็บน้ำน้ำงึม โดย 4.6 ล้านเหรียญสหรัฐได้ถูกอนุมัติแล้วในการสร้างถนนที่มีอยู่เดิมไปน้ำตกแก่งยุ้ยระยะทาง 6 กิโลเมตร รวมถึงการก่อสร้างถนนและสะพานทางฝั่งตะวันตกของอำเภอวังเวียงเป็นระยะทาง 26 กิโลเมตร และความกว้างของถนน 6 เมตร การสร้างถนนและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาแขวงเวียงจันทมากขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_OverUS_175.php

รัฐบาลสปป.ลาวพันธมิตรสำคัญ Star Telecom ในการพัฒนาดิจิทัลในประเทศ

ศูนย์รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร และสตาร์ เทเลคอม (ยูนิเทล) ได้บรรลุข้อตกลงเพื่อเร่งรัดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของรัฐบาลและปรับปรุงเทคโนโลยีดิจิทัลสปป.ลาว ข้อตกลงดังกล่าวลงนามโดยอธิบดีศูนย์รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวง ดร.ทวีศักดิ์ มโนธรรม และรองอธิบดี Star Telecom นายบุญมี มาลาวงษ์ ภายใต้ข้อตกลงนี้ พันธมิตรจะทำการวิจัยและพัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์เพื่อประยุกต์ใช้กับบริการที่ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชนทั่วไปใช้ พวกเขายังจะทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาแพลตฟอร์มการชำระเงินและการค้าดิจิทัลเพื่อรวมเข้ากับระบบดิจิทัลของรัฐบาลและระบบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (แพลตฟอร์มลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์) ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 การจัดการและบริการที่ได้รับการปรับปรุงรวมถึงบริการภาครัฐและสังคมจะมีบทบาทสำคัญในการตอบสนองความต้องการในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล การร่วมมือดังกล่าวจะนำพาสปป.ลาวไปสู่การพัฒนาที่สำคัญด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govtstar_163.php

จีนยังคงเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในสปป.ลาว

จีนยังคงเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในลาว โดยดำเนินโครงการทั้งหมด 813 โครงการ มูลค่า 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐ นาย Sonexay Siphandone รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน กล่าวระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 5 ระหว่างผู้ประกอบการลาวและจีนเมื่อวันศุกร์ว่าจีนยังคงเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในลาว ตามรายงานของ Lao Youth Radio จาก 53 ประเทศที่ลงทุนสปป.ในลาว จีนมีจำนวนการลงทุนมากที่สุด นาย Sonexay Siphandone กล่าวเสริม “เขตเศรษฐกิจพิเศษ ทางด่วนเวียงจันทน์-วังเวียง สวนอุตสาหกรรม และโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดของการลงทุนของจีนในสปป.ลาว” อีกทั้งการรถไฟสปป.ลาว-จีน ซึ่งเป็นโครงการโครงสร้างพื้นฐานหลักของสปป.ลาว เสร็จสมบูรณ์แล้วกว่าร้อยละ 90 และคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนธันวาคมปีนี้

ที่มา : https://laotiantimes.com/2021/08/17/china-remains-the-largest-foreign-investor-in-laos-2/

เวียดนามวางแผนเพิ่มปริมาณการค้ากับจังหวัดชายแดนกัมพูชา

เวียดนามวางแผนเพิ่มปริมาณการค้ากับกัมพูชาผ่านโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อกิจกรรมการค้าและการแลกเปลี่ยนสินค้าผ่านชายแดนระหว่างจังหวัดยาลายของเวียดนาม ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศกัมพูชา โดยเวียดนามจัดตั้งโครงการเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมชายแดนระหว่างประเทศในช่วงปี 2025-2030 ซึ่งนอกจากจะคาดหวังปริมาณการค้าระหว่างกันที่เพิ่มขึ้นแล้ว ทั้งสองประเทศยังคาดหวังถึงการดึงดูดนักลงทุนและการส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในการก่อสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระหว่างชายแดน ที่นอกเหนือจากงบประมาณของทางภาครัฐจัดสรรให้ โดยคาดว่าในอีกไม่นานจะเกิดการสนับสนุน การแลกเปลี่ยนและเกิดการหมุนเวียนของสินค้าระหว่างกัน รวมถึงข้อตกลงความร่วมมืออื่น ๆ ระหว่างพื้นที่ชายแดนของจังหวัดยาลาย (เวียดนาม) และจังหวัดรัตนคีรี (กัมพูชา) ในระยะถัดไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50912806/gia-lai-province-in-vietnam-to-boost-trade-links-with-cambodias-border-provinces/