โรงไฟฟ้าสองแห่งในกันดาลของกัมพูชาเรื่องผลิตกระแสไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลขนาดใหญ่ในจังหวัดกันดาลได้เริ่มเดินเครื่องยนต์ สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับกริดแห่งชาติ ตามข้อมูลของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน โดยเครื่องยนต์ของโรงไฟฟ้ารวมกันมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 400 เมกะวัตต์ ซึ่งเริ่มผลิตไฟฟ้าไปเมื่อต้นเดือน ม.ค. ผู้อำนวยการใหญ่ด้านพลังงานของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกล่าวโรงงานดังกล่าวได้เริ่มผลิตไฟฟ้าแล้ว แต่ยังไม่สามารถผลิตได้อย่างเต็มกำลังการผลิตที่ 400 เมกะวัตต์ โดยการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าเริ่มในเดือนตุลาคม 2019 ประกอบด้วยโรงงานสองแห่ง แห่งแรกใช้พลังงานจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 200 เมกะวัตต์ ผลิตโดย บริษัท Wartsila ของฟินแลนด์ และได้รับการพัฒนาโดยบริษัท CGGC-UN Power Co. จากจีน ส่วนโรงงานแห่งที่สองใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 200 เมกะวัตต์ ผลิตโดย Man Group ของเยอรมนี สร้างโดย China National Heavy Machinery Corp (CHMC) ซึ่งโครงการนี้คาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 380 ล้านดอลลาร์ โดยรัฐบาลให้กู้ยืม 300 ล้านดอลลาร์ และส่วนที่เหลือมาจากเงินกองทุนของ EDC โดยในปี 2019 กัมพูชาใช้พลังงานทั้งหมด 12,014.59 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803643/two-power-plants-in-kandal-start-their-engines/

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาลงนาม MoU สำหรับการพัฒนาภายในประเทศ

กระทรวงพาณิชย์ (MoC) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) 2 ฉบับ ระหว่างบริษัทที่ปรึกษาด้านการค้าปลีกและการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ BRB และ อีกฉบับกับบริษัท โคคา โคลา ประจำประเทศกัมพูชา โดยการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาด้านการค้าปลีกและการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ BRB คาดจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนผู้ผลิตเครื่องปั้นดินเผา งานแฮนด์เมด งานหัตถกรรม และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในจังหวัดกำปงชนัง ซึ่งจัดให้มีการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ขยายตลาด และเพิ่มอัตราการผลิตผลิตภัณฑ์ รวมถึงการลงบันทึกความเข้าใจกับ โคคา โคลา มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการค้าการเพิ่มการใช้ผลิตภัณฑ์ “Made in Cambodia” ปรับปรุงขีดความสามารถของวิสาหกิจกัมพูชาและสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการค้า ภายใต้คอนเซ็ป “Made in Cambodia” ซึ่งรัฐบาลก็ได้เริ่มกระตุ้นให้ธุรกิจภายในประเทศยื่นขอฉลากคุณภาพสำหรับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นร่วมด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ นอกจากนี้กระทรวงจะร่วมมือกับภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาและความท้าทายที่ต้องเผชิญในห่วงโซ่อุตสาหกรรมร่วมกันต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803679/ministry-of-commerce-signs-two-development-mous/

อินทนิลคอฟฟี่เตรียมขยายสาขาร้านกาแฟในกัมพูชา

หลังจากที่อินทนิลได้เปิดร้านแฟล็กชิปสโตร์ ณ กรุงพนมเปญ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2018 โดยได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากชาวกัมพูชา ซึ่งกำลังพยายามที่จะเพิ่มสาขามากถึง 100 สาขาในกัมพูชาและสปป.ลาว เฉพาะที่เป็นแฟรนไชส์ของบริษัทบางจากคอร์ปอเรชั่น (BCP) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินการด้านพลังงานรายใหญ่ โดยกล่าวว่ามีแผนที่จะเพิ่มสาขาอินทนิลในต่างประเทศเพื่อขยายธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมันหลังจากการระบาดของโรคสงบลง ซึ่งการขยายสาขาที่ล่าช้าเนื่องจากการระบาดตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว โดย RCG Retail Group (กัมพูชา) เป็นผู้ให้สิทธิในการเปิดสาขาในกัมพูชาและสปป.ลาว ก่อนหน้านี้ BCP ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสาขาเกือบ 100 แห่งใน สปป.ลาวและกัมพูชารวมถึงร้านกาแฟอีกกว่า 1,000 แห่ง ในประเทศไทยภายในปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803172/inthanin-coffee-looks-to-add-more-coffee-outlets-in-cambodia/

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชากับไทยลดลงในช่วง ม.ค. – พ.ย. 2020

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างกัมพูชาและไทยลดลงร้อยละ 22 ในเดือน ม.ค. – พ.ย. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันตั้งแต่ต้นปี (YTD) ของปี 2019 โดยการค้าทวิภาคีในช่วงเวลาดังกล่าวมีมูลค่าอยู่ที่ 6.6 พันล้านดอลลาร์ ลดลงจาก 8.6 พันล้านดอลลาร์ ตามสถิติของสถานทูตกัมพูชาประจำปี 2019 ซึ่งการส่งออกของกัมพูชาไปไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 1.1 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงเวลาดังกล่าวลดลงร้อยละ 52 YTD จาก 2.2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2019 ส่วนการนำเข้าจากไทยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 6.3 พันล้านดอลลาร์ลดลงร้อยละ 12 YTD จาก 5.6 พันล้านดอลลาร์ ที่บันทึกไว้ในเดือนมกราคมถึงพฤศจิกายนในปี 2019 ทำให้กัมพูชาขาดดุลการค้ากับไทย 4.5 พันล้านดอลลาร์ ในเดือนพฤศจิกายน โดยการค้าข้ามพรมแดนแต่เพียงช่องทางเดียวของไทยกับกัมพูชามีมูลค่าสูงถึง 572 ล้านดอลลาร์ ซึ่งการส่งออกของกัมพูชาไปไทยในเดือนพฤศจิกายนมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 59 ล้านดอลลาร์ลดลงร้อยละ 56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำไว้ได้ที่ 135 ล้านดอลลาร์ ส่วนการนำเข้าจากไทยในเดือนพฤศจิกายนสูงถึง 513 ล้านดอลลาร์แต่ก็ยังเป็นสัดส่วนที่ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 28

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803109/cambodia-thailand-2020-trade-down-jan-nov/

ธนาคารเพื่อการพัฒนาปล่อยเงินสนับสนุนให้กับภาคการเกษตรของกัมพูชา

ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทเพื่อการเกษตร (ARDB) กล่าวว่าสถาบันการเงินได้ปล่อยวงเงินกู้รวม 245 ล้านดอลลาร์ ให้กับ ผู้ผลิตและส่งออกข้าว ภาคปศุสัตว์ และ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภาคเกษตรกรรม โดย ARDB ได้เพิ่มกองทุนพิเศษอีก 50 ล้านดอลลาร์ สำหรับภาคธุรกิจ SMEs ซึ่งกระจายไปยังธุรกิจมากถึง 600 แห่ง เพื่อมุ่งเน้นเฉพาะด้านการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร การแปรรูปอาหาร ธุรกิจเกษตรพืชผล รวมทั้งผัก ปศุสัตว์และธุรกิจสัตว์น้ำ รวมถึงองค์กรใด ๆ ที่ใช้วัตถุดิบจากภาคการเกษตร โดยธนาคารได้ลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 6 สู่ร้อยละ 5 สำหรับเงินทุนหมุนเวียน และร้อยละ 6.5 สู่ร้อยละ 5.5 สำหรับเงินลงทุน นอกจากนี้ระยะเวลาการชำระหนี้ได้เลื่อนขึ้นเป็นระยะเวลา 7 ปี ซึ่งธุรกิจ SMEs สามารถกู้ได้มากถึง 300,000 ดอลลาร์ นอกจากนี้ธนาคารจะจัดฝึกอบรมให้กับธุรกิจ SMEs เกี่ยวกับแผนธุรกิจ งบการเงิน ธรรมาภิบาล แผนการตลาด การจัดการทางการเงิน และการฝึกอบรมเกี่ยวกับการสนับสนุนทางเทคนิคร่วมด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50802809%20/development-bank-delivers-245mn-to-agri-sector-producers-exporters-smes

ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้ยังไม่บรรลุผล

การเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีที่ทางกัมพูชาได้เสนอต่อเกาหลีใต้ กำลังดำเนินไปอย่างช้า ๆ แม้ว่าทุกฝ่ายจะมีเป้าหมายที่จะจัดทำร่างฉบับสุดท้ายภายในสิ้นปี 2020 โดยปลัดกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่าการเจรจา FTA กับเกาหลีใต้ยังคงอยู่ในการหารือรอบที่สี่ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างกัมพูชากับเกาหลีใต้ เกี่ยวกับข้อตกลง FTA อย่างไรก็ตามทั้งสองฝ่ายกำลังผลักดันข้อตกลงนี้ให้เสร็จสิ้นภายในต้นปีนี้ โดยการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้มีมูลค่าอยู่ 724 ล้านดอลลาร์ลดลงร้อยละ 16 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งกัมพูชาส่งออกสินค้าไปเกาหลีใต้อยู่ที่ 267 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 5 โดยกัมพูชานำเข้าสินค้าจากเกาหลีใต้มีมูลค่าอยู่ที่ 457 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งสินค้าสำคัญที่กัมพูชาส่งออกไปเกาหลีใต้ ได้แก่ เสื้อผ้าและสิ่งทอ รองเท้า กระเป๋าเดินทาง อะไหล่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ส่วนการนำเข้าสินค้าสำคัญของกัมพูชาจากเกาหลีใต้ ได้แก่ ยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ในครัว เครื่องดื่ม ยา และผลิตภัณฑ์พลาสติก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50802798/free-trade-deals-yet-to-come-to-fruition/