เวียดนามเผยตู้คอนเทนเนอร์สินค้าเพิ่มขึ้น 22% ในช่วงครึ่งปีหลัง

สำนักงานบริหารการเดินเรือเวียดนาม (VMA) เผยการจัดส่งสินค้าที่เป็นตู้คอนเทนเนอร์ผ่านท่าเรือของเวียดนาม ยังคงเติบโตได้ดีในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ แม้ว่าจะมีการระบาดของโควิด-19 ก็ตาม โดยเฉพาะ ยอดรวมของการจัดส่งสินค้าผ่านท่าเรือที่มีปริมาณกว่า 363 ล้านตันในช่วง 6 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 7% ต่อปี และการใช้ตู้คอนเทนเนอร์เพื่อการส่งออก มีประมาณ 4 ล้านตู้ เพิ่มขึ้น 17% ทั้งนี้ ตามตัวเลขสถิติของสำนักงานข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าในช่วงเริ่มต้นของปีนี้ ท่าเรือหลายแหล่งมีปริมาณสินค้าตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ มีเถ่อ เพิ่มขึ้น 74%, อานซาง (50%), นครโฮจิมินห์ (17%) และบ่าเหรี่ยะ – หวุงเต่า (38%)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/container-goods-via-seaports-up-22-percent-in-h1/203177.vnp

เวียดนามเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนน้ำตาลไทย

กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม เรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด 42.99% พร้อมกับตอบโต้การอุดหนุน 4.65% สำหรับผลิตภัณฑ์น้ำตาลที่มีต้นกำหนดจากประเทศไทย สิ่งนี้เกิดขึ้นหลังจากได้รับผลการสอบสวนเบื้องต้นที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 9 ก.พ. ส่งผลให้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าตัดสินใจกำหนดอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและดแทนการเก็บภาษีชั่วคราว สำหรับผลิตภัณฑ์อ้อยที่มาจากประเทศไทย ทั้งนี้ ผลการสอบสวน ระบุว่าผลิตภัณฑ์น้ำตาลที่นำเข้าจากตลาดไทย ทั้งน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์และน้ำตาลทรายไม่ขัดสี ได้รับการอุดหนุนและทุ่มตลาด 47.64% ประเด็นดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากธุรกิจไทยจัดส่งน้ำตาล 1.3 ล้านตันไปยังตลาดเวียดนามในปีที่แล้ว พุ่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 330.4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-imposes-anti-dumping-and-anti-subsidy-tax-on-thai-sugar-866580.vov

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ CLMVIP : ความเหมือนที่แตกต่าง

โดย ศูนย์วิจัยกรุงศรี

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ทำให้เศรษฐกิจของประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ (ในที่นี้จะเรียกโดยย่อว่า “CLMVIP”) ได้รับผลกระทบอย่างหนักในปี 2020 อย่างไรก็ดี ในปี 2021 หลายประเทศในกลุ่มนี้ มีแนวโน้มเติบโตในอัตราสูงราวร้อยละ 4-7 ปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของประเทศ CLMVIP ที่สำคัญ 3 ประการ คือ (i) ผลของมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากทั้งนโยบายการเงินและการคลัง โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (ii) การส่งออกที่ได้อานิสงส์จากวัฏจักรการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ (iii) กระแสการรวมตัวกันภายในภูมิภาค (Regionalization) ที่เข้มแข็งขึ้น แม้ว่าประเทศในกลุ่ม CLMVIP จะมีปัจจัยสนับสนุนการเติบโตที่คล้ายคลึงกัน ในรายประเทศอาจมีลำดับการฟื้นตัวที่แตกต่าง เวียดนาม มีโอกาสฟื้นตัวโดดเด่นด้วยพื้นฐานเศรษฐกิจในประเทศที่แข็งแกร่ง และรายรับจากภาคต่างประเทศที่ขยายตัวดี ผนวกกับข้อได้เปรียบจากความตกลงการค้าเสรีสำคัญ อาทิ ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ความตกลงการค้าเสรีสหราชอาณาจักร-เวียดนาม (UKVFTA) รวมทั้งยังมีการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ดี

ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ใน CLMVIP มีระดับการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปกว่าด้วยข้อจำกัดที่แตกต่างกัน โดยอินโดนีเซียและกัมพูชา อาจฟื้นตัวเป็นลำดับถัดจากเวียดนาม แม้อินโดนีเซียมีจำนวนผู้ติดเชื้อสูง แต่คาดว่าภาคส่งออกจะมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อีกทั้งยังได้ผลบวกจากแผนการขยายมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ รวมถึงแผนการฉีดวัคซีนและแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ กัมพูชาอาจได้แรงสนับสนุนจากการส่งออก นำโดยตลาดจีนและสหรัฐฯ ซึ่งอาจช่วยลดผลกระทบจากการถูกระงับสิทธิพิเศษทางภาษีบางส่วนจากสหภาพยุโรป ฟิลิปปินส์ แม้มีปัจจัยหนุนจากขนาดวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐมากถึงร้อยละ 4 ของ GDP   แต่การเบิกจ่ายยังเป็นไปอย่างล่าช้า และสถานการณ์การระบาดในประเทศค่อนข้างรุนแรง ส่งผลให้ตลาดแรงงานยังอ่อนแอ และกระทบต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายเพื่อบริโภคในประเทศ สปป.ลาว มีโครงสร้างเศรษฐกิจที่ค่อนข้างอ่อนแอ อีกทั้งขนาดการกระตุ้นเศรษฐกิจค่อนข้างจำกัด ผลกระทบจากโควิด-19 จึงทำให้ฟื้นตัวล่าช้า ขณะที่เมียนมา เผชิญประเด็นด้านเสถียรภาพทางการเมืองหลังจากผู้นำทางทหารของเมียนมาเข้ายึดอำนาจและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ซึ่งส่งผลฉุดรั้งความเชื่อมั่นของนักลงทุนและคู่ค้าในระยะนับจากนี้ และอาจมีผลให้พัฒนาการทางเศรษฐกิจของเมียนมาในระยะยาวหยุดชะงักลงไปได้

อ่านต่อ : https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/regional-recovery-2021

เวียดนามเผยธุรกิจขนส่งในโฮจิมินห์กว่า 170 ราย ต้องออกจากตลาดในช่วง 5 เดือนแรก

จำนวนบริษัทกว่า 171 รายในเมืองโฮจิมินห์ ปิดกิจการชั่วคราวลงในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เนื่องจากประสบกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยระลอกแรกนั้นเริ่มเมื่อปลายเดือนมกราคม และระลอกสองเริ่มเมื่อปลายเดือนเมษายน ทำให้ประเทศไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ และด้วยข้อจำกัดการเดินทาง การปิดชายแดนและมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไม่สามารถฟื้นตัวได้ ทั้งนี้ สำนักงานการท่องเที่ยวเมืองโฮจิมินห์ ระบุว่าเมืองโฮจิมินห์ ถือเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของประเทศและเป็นสถานที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด สำหรับด้านจำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศ พบว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มีจำนวนนักท่องเที่ยว 7.1 ล้านคน ดิ่งลง 47% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่ มีรายได้จากการท่องเที่ยวกว่า 1.54 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 37% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/82535/over-170-travel-firms-in-hcmc-leave-market-in-five-months.html

‘เวียดนาม’ คาดว่าขึ้นเบอร์ 3 ของโลก ส่งออกข้าวปี 65

กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) คาดการณ์ว่าเวียดนามจะก้าวขึ้นแท่นผู้ส่งออกข้าวเบอร์ 3 ของโลกในปีหน้า ด้วยปริมาณการส่งออกประมาณ 6.3 ล้านตัน ในขณะที่ ผลผลิตข้าวทั่วโลกตั้งแต่ปี 64-65 มีแนวโน้มแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 505..4 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.9 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปี 63-64 และสิ่งที่น่าจับตามอง ได้แก่ บังกลาเทศ มาเลเซีย กัมพูชา จีน ไอวอรี่โคสต์ เกาหลีใต้ ปารากวัย ไต้หวัน (จีน) และไทย มีแนวโน้มผลผลิตข้าวเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ แผนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมข้าวจนถึงปี 68 และเวียดนามได้ตั้งเป้ายอดส่งออกข้าวราว 5 ล้านตันต่อปี ผู้ส่งออกข้าวเริ่มปรับสัดส่วนพันธุ์ข้าวขาวมาเป็นข้าวหอมคุณภาพสูง ขณะเดียวกัน พร้อมเน้นตลาดระดับบนหรือตลาดไฮเอนด์ อาทิ สหภาพยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่น เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-lychees-with-origin-tracing-stamp-hit-shelves-in-france-866010.vov

เวียดนามเผยการจัดเก็บงบประมาณ พุ่ง 15% ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้

กระทรวงการคลัง เผยว่าการจัดเก็บงบประมาณของภาครัฐฯ คาดว่าจะสูงถึง 98.6ล้านล้านดอง ในเดือนพฤษภาคม ส่งผลให้รายได้รวมในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ แตะ 667.9 ล้านล้านดอง (29 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เพิ่มขึ้น 15.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยจำนวนเงินดังกล่าว จะโอนไปยังงบประมาณส่วนกลางทั้งสิ้น 347 ล้านล้านดอง ในขณะที่งบประมาณส่วนท้องถิ่นอยู่ที่ 320.9 ล้านล้านดอง ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ระบุว่าการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 125.8 ล้านล้านดอง และมูลค่าการใช้จ่ายในช่วง 5 เดือนแรก อยู่ที่ 581.6 ล้านล้านดอง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/budget-collection-up-over-15-percent-in-five-months/203000.vnp

จับตา ‘ลิ้นจี่เวียดนาม’ วางจำหน่ายที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตในฝรั่งเศส

ลิ้นจี่สดของเวียดนามชุดแรกที่เพาะปลูกอยู่ในจังหวัดหายเซือง (Hai Duong) ไปวางจำหน่ายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตในฝรั่งเศส นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการนำเข้าผลไม้ท้องถิ่นไปยังประเทศแถบยุโรป การกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีผลบังคับใช้ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVFTA) เมื่อวันที่ 1 สิ.ค. 2563 ทั้งนี้ นาย Ngo Minh Duong ประธานบริษัท Thanh Binh Jeune กล่าวว่าการนำเข้าลิ้นจี่ โดยใช้ผลประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี ควบคู่กับมาตรฐานคุณภาพและกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้านั้น ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพของธุรกิจ และช่วยให้สินค้ามีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในหมู่ผู้บริโภคต่างประเทศ อีกทั้ง นาย Vu Anh Son หัวหน้าสำนักงานการค้าของเวียดนามในฝรั่งเศส กล่าวว่าความสำเร็จในการส่งออกลิ้นจี่ที่มีตราประทับแหล่งกำเนิดสินค้า ชี้ให้เห็นถึงความพยายามของรัฐบาลเวียดนามในการส่งเสริมธุรกิจต่างๆ ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-lychees-with-origin-tracing-stamp-hit-shelves-in-france-866010.vov