“ผู้ออกกฎหมายเวียดนาม” เรียกร้องให้ลดดอกเบี้ย หนุนศก.เติบโต

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่าผู้ออกกฎหมาย หรือสมาชิกสภานิติบัญญัติของเวียดนาม มีการเรียกร้องให้ธนาคารกลางพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อพยุงเศรษฐกิจและช่วยให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในช่วงปลายปี 2565 ชะลอตัวจาก 5.92% ลงมาอยู่ที่ 3.32% ในไตรมาสแรกของปีนี้ ส่งผลให้ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นจำนวน 2 ครั้งในปีนี้ โดยเวียดนามตั้งเป้าการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่ 6.5% ในปี 2566 อย่างไรก็ดี เวียดนามยังคงเผชิญกับความท้าทายหรืออุปสรรคอีกหลายประการที่จะกดดันเศรษฐกิจและเป้าหมายของการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้

ที่มา : https://www.reuters.com/markets/asia/vietnam-lawmakers-call-further-rate-cut-prop-up-growth-2023-05-09/

รัฐบาลกัมพูชาเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ภาษี ฉบับใหม่

รัฐบาลกัมพูชาได้อนุมัติร่างกฎหมายการจัดเก็บภาษีฉบับใหม่ ซึ่งคาดหวังว่าจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมและยกระดับภาคธุรกิจของกัมพูชา รวมถึงเพิ่มสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนที่เอื้ออำนวย ลดช่องโหว่ในการหลีกเลี่ยงภาษี โดยการอนุมัติดังกล่าวมีขึ้นในการประชุมคณะรัฐมนตรีประจำสัปดาห์ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี ฮุน เซน เป็นประธาน ซึ่งร่างกฎหมายภาษีอากรฉบับใหม่ ประกอบด้วยตัวบทกฎหมาย 20 บท 255 มาตรา นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมและส่งเสริมเศรษฐกิจกัมพูชาในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ขณะที่กรมภาษีอากร (GDT) ได้รายงานการจัดเก็บภาษีในช่วงปี 2022 ที่มูลค่ารวม 3.45 พันล้านดอลลาร์ เกินเป้าหมายประจำปีถึง 2.81 พันล้านดอลลาร์ ที่ร้อยละ 22.54 และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2021 สำหรับเป้าหมายในปี 2023 ทางการกัมพูชาตั้งเป้าจัดเก็บภาษีให้ได้ 3.57 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501266503/government-approves-new-draft-law-on-taxation/

คาด FTAs, RCEP ผลักดันการลงทุนเข้ามายังกัมพูชาเพิ่มขึ้น

กัมพูชาคาดดึงดูดการลงทุนใหม่ ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคี (FTA) ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) รวมถึงกฎหมายเพื่อการลงทุนฉบับใหม่ ด้าน Heng Sokkung เลขาธิการกระทรวงอุตสาหกรรม และหัตถกรรม กล่าวว่า การที่กัมพูชาจัดทำข้อตกลงการค้ากับหลายๆ ประเทศ จะทำให้กัมพูชาสามารถเข้าถึงตลาดโลกได้มากขึ้น แม้จะมีวิกฤตโลก อาทิเช่น สงครามระหว่าง ยูเครน-รัสเซีย, วิกฤตพลังงาน และการเงิน โดยปัจจุบัน กัมพูชามี FTA อยู่หลายฉบับ เช่น FTA กัมพูชา-จีน, RCEP ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ไปเมื่อต้นปี 2022 รวมถึง FTA กัมพูชา-เกาหลี ที่มีผลบังคับใช้ไปเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ขณะที่กระทรวงฯ ได้รายงานการจดทะเบียนโรงงานใหม่ 186 แห่ง ในปี 2022 ทำให้จำนวนโรงงานที่เปิดดำเนินการทั้งหมดในประเทศอยู่ที่ 1,982 แห่ง โดยมีมูลค่าการลงทุนรวม 16.690 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 13.811 พันล้านดอลลาร์ในปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501224876/bilateral-ftas-rcep-expected-to-drive-new-industrial-investment-inflows/

การลงทุนในกัมพูชาเพิ่มขึ้น หลังทางการออกกฎหมายรับมือโควิด-19

หลังจากประชากรภายในประเทศกัมพูชาได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในอัตราที่ค่อนข้างสูง และกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อปีที่แล้ว ได้มีส่วนช่วยเพิ่มจำนวนโครงการลงทุนใหม่ในกัมพูชา รายงานโดยสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ซึ่งมีการขอยื่นข้อเสนอการลงทุนใหม่จำนวน 35 โครงการ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 14 โครงการเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรายงานระบุว่าโครงการลงทุนที่ได้รับใบอนุญาตสามารถสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นได้กว่า 31,000 ตำแหน่ง เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 75 ด้านมูลค่าการลงทุนรวมของโครงการอยู่ที่ 2 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 236 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งโครงการการลงทุนใหม่ยังไม่รวมโรงการที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501060981/kingdoms-new-investments-rise-on-covid-19-handling-law/

กฎหมายอีคอมเมิร์ซในกัมพูชาเริ่มเห็นภาพชัดขึ้น

กฎหมาย e-commerce ของกัมพูชา เริ่มมองเห็นภาพชัดขึ้น ผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งเจ้าหน้าที่กระทรวงที่เกี่ยวข้องกฎหมายฉบับนี้อยู่ระหว่างหารือวิธีปฏิบัติ การบังคับใช้และกำหนดขอบเขตในอนาคต โดยมีหอการค้า (EuroCham) เป็นเจ้าภาพผ่านการสัมมนาแบบออนไลน์ Om Dararith ผู้ให้คำปรึกษาแก่กระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า “บริษัท e-commerce มีเวลา 6 เดือนในการสมัครเพื่อขอรับใบอนุญาต และสามารถประกอบกิจการได้เฉพาะภายในราชอาณาจักรเท่านั้น ส่วนผลกระทบของการจำกัดช่วงเวลาสมัครนั้น ยังไม่สามารถบอกได้เนื่องจากกระทรวงกำลังอยู่ในขั้นตอนการกระจายข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมาย” และกล่าวเสริมว่าธุรกิจ e-commerce ที่ประกอบในประเทศกัมพูชาปัจจุบันนี้ต้องมีการเตรียมการเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย e-commerce ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ โดยต้องเตรียมเอกสารเพื่อขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้อง ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์กำลังพัฒนา website ให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขออนุญาตผ่านช่องทาง online (ซึ่งปัจจุบันต้องส่งแบบฟอร์มกระดาษเท่านั้น) ซึ่งภาพรวมธุรกิจ e-commerce ในประเทศกัมพูชาเป็นไปในทิศทางที่ดี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50884606/uncertainties-about-e-commerce-laws-addressed-by-eurocham/

คณะกรรมการสมัชชาสปป.ลาว (NA) จะอนุมัติกฎหมาย 96 ฉบับเพื่อบังคับใช้ใน 5 ปีข้างหน้า

กฎหมาย 96 ฉบับจะถูกประกาศใช้และแก้ไขในช่วง 5 ปีข้างหน้า กฎหมาย 38 ฉบับเป็นกฎหมายใหม่และจะมีการถกเถียงกันก่อนที่จะได้รับการอนุมัติในขณะที่อีก 58 ฉบับเป็นกฎหมายที่จะได้รับการแก้ไขเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์การพัฒนาของประเทศซึ่งจากกฎหมายทั้งหมด 96 ฉบับมี 36 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ 28 นางพิงคำลา สิมมาเลขาธิการ NA กล่าวว่า “คณะกรรมการประจำของสมัชชาจะต้องร่วมมืออย่างใกล้ชิดมากขึ้นกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเนื้อหาของกฎหมายก่อนที่จะส่งไปยังรัฐสภาเพื่ออภิปราย” ปัญหาหลักอย่างหนึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือกฎหมายบางฉบับที่ประกาศใช้แล้วไม่สามารถปฎบัติหรือประยุกต์ใช้ได้ตามความเป็นจริงของสถานการณ์ของประเทศ  NA มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การแก้ไขหรืออกกฎหมายเพิ่มเติมครั้งนี้ จะทำให้กฎหมายของสปป.ลาวมีความสอดคล้องกับยุคสมัยและบริบทของโลกปัจจุบันเพื่อเป็นกรอบหรือแนวทางในการพัฒนาประเทศที่สำคัญด้านหนึ่งจากเสาหลักที่สำคัญอย่างด้านกฎหมาย

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_NA_63.php

สปป.ลาวออกกฎหมายลงโทษแรงงานต่างด้าวและผู้ประกอบการผิดกฎหมาย

รัฐบาลได้กำหนดบทลงโทษต่อแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายและผู้ประกอบธุรกิจในการเสนอราคาเพื่อควบคุมปัญหาและตรวจสอบให้แน่ใจว่าชาวต่างชาติในสปป.ลาวปฏิบัติตามกฎหมาย ชาวต่างชาติหรือคนไร้สัญชาติใด ๆ ที่ประกอบอาชีพที่ไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะถูกปรับและลงโทษเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 13 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 12 มีนาคมนี้ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลในการควบคุมแรงงานต่างด้าวและผู้ประกอบธุรกิจที่ผิดกฎหมายอย่างเข้มงวดมากขึ้น การปรับกฏหมายดังกล่าวจะทำให้ธุรกิจจำเป็นต้องมีการขึ้นทะเบียนตามระเบียบและยังเป็นฐานข้อมูลของภาครัฐในการจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_48.php

หอการค้าฯ เผยเวียดนามควรมีกฎหมายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสนับสนุน

ประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) กล่าวว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ระลอกใหม่ จะมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมสนับสนุน ดังนั้น หากอุตสาหกรรมสนับสนุนในประเทศไม่ได้รับการพัฒนาให้ไปอยู่ในระดับสูงขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน ก็ไม่สามารถหลุดพ้นจากการแปรรูปสินค้า และถึงแม้ว่าเวียดนามจะสามารถดึงดูดเม็ดเงิน FDI ได้หลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐก็ตาม ทั้งนี้ ธุรกิจญี่ปุ่นหลายรายได้ตัดสินใจเลือกย้ายฐานการผลิตและการทำธุรกิจมายังเวียดนาม ในขณะเดียวกัน ทางตัวแทนของซัมซุงเวียดนาม ระบุว่ามีการสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในกรุงฮานอย อีกทั้ง ธุรกิจเวียดนามและสหรัฐฯ ได้มีการลงนามข้อตกลงด้านการลงทุน คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและพลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้ สำนักกฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งศึกษาและสร้างกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป จึงส่งให้รัฐบาลเพื่อขออนุมัติ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/804469/viet-nam-should-have-law-on-supporting-industry-vcci-chairman.html

ข้อกำหนดกฎหมายการลงทุนแฟรนไชส์ในเวียดนาม

โดย SME Go Inter

ตลาดแฟรนไชส์ในเวียดนามยังคงเป็นที่น่าศึกษา ติดตามเพื่อขยายฐานการลงทุน โดยเฉพาะธุรกิจสินค้าบริการอาหารและเครื่องดื่มแบบแฟรนไชส์ที่ไปได้ดีและโตแรง ขณะที่รูปแบบการนำแฟรนไชส์จากต่างประเทศมาเปิดดำเนินการในเวียดนามมีรูปแบบ ที่หลากหลายทั้งแบบสัญญา แฟรนไชส์โดยตรง (Direct franchising) ที่มีการพัฒนาให้สิทธิ์ในการเปิดกิจการได้มากกว่าหนึ่งแห่ง ตัวอย่างเช่น รูปแบบแฟรนไชส์ที่มีการให้สิทธิ์ในการเปิดดำเนินธุรกิจได้หลายสาขา (multi-unit) หรือการให้สิทธิ์แบบ Development agreements รวมทั้งแบบสัญญาแฟรนไชส์หลัก (Master franchise agreements) เป็นต้น

ดังนั้นการเข้าไปเล่นตลาดแฟรนไชส์ในเวียดนาม จะต้องดำเนินกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค และกฎระเบียบข้อบังคับของกฎหมายการลงทุนแฟรนไชส์ในเวียดนาม เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  1. ควรทำการสำรวจตลาดก่อนที่จะมีการตั้งราคาของผลิตภัณฑ์และค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
  2. เลือกผลิตภัณฑ์/บริการที่มีศักยภาพหรือเป็นที่นิยม แม้ว่าธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจะยังคงเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมในอีก 3-5 ปีข้างหน้า
  3. เน้นกลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีการเติบโตสูง
  4. เข้าร่วมงานแสดงสินค้าหรือเยี่ยมชมงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องในเวียดนามอย่างต่อเนื่อง เพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ สร้างความรับรู้และจดจำสินค้าแก่ผู้บริโภค อย่างน้อย 3 ปีติดต่อกัน จะทำให้คู่ค้าเกิดความคุ้นเคยต่อแบรนด์สินค้า
  5. เลือกทำเลที่เหมาะสมและราคาไม่แพง ในเมืองที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น นครโฮจิมินห์ และกรุงฮานอย ที่ยังมีทำเลให้เลือกมาก
  6. ปรับกลยุทธ์ให้เข้าถึงตลาดที่มีวัฒนธรรมแตกต่าง ด้วยการศึกษาวัฒนธรรม นิสัยและรสนิยมของคนในท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จของธุรกิจ

การขึ้นทะเบียนประกอบธุรกิจแฟรนไชส์กับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม

  1. เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียนประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ประกอบไปด้วย สำเนาเอกสารแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์ (The Franchise Introduction Statement) และข้อตกลงของแฟรนไชส์ รวมไปถึงใบสมัครและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. ข้อตกลงแฟรนไชส์ในเวียดนาม กฎหมายของประเทศเวียดนามไม่ได้บังคับให้มีข้อกำหนดเพิ่มเติมใดๆ ในข้อตกลงธุรกิจแฟรนไชส์ ผู้เป็นเจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์และผู้รับสิทธิ์ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ มีอิสระที่จะเจรจาข้อกำหนดและเงื่อนไขของข้อตกลงแฟรนไชส์
  3. ภาษีธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนาม ถึงแม้ว่าเจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์ต่างชาติจะไม่ได้จดทะเบียนธุรกิจในเวียดนาม แต่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้รับสิทธิดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนาม และถือเป็นการทำสัญญาระหว่างบริษัทเวียดนามกับบริษัทต่างชาติ จึงจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับค่าธรรมเนียมใดๆ ที่เรียกเก็บจากผู้รับสิทธิดำเนินกิจการ
  4. การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในเวียดนาม การเข้ามาลงทุนธุรกิจในเวียดนาม เจ้าของสิทธิแฟรนไชส์ควรจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า รวมถึงการจด URL และเว็บไซต์กับสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติเวียดนาม
  5. การเป็นผู้รับสิทธิดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ต่างประเทศในเวียดนาม นักลงทุนต่างชาติสามารถเป็นผู้รับสิทธิ์ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ได้ เมื่อมีการจัดตั้งนิติบุคคลในเวียดนาม อย่างไรก็ตาม สามารถเปิดธุรกิจเฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการโดยชาวต่างชาติตามที่เวียดนามได้ผูกพันไว้กับองค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO)
  6. การจัดตั้งธุรกิจค้าปลีกในเวียดนาม โดยส่วนใหญ่ไม่มีการกำหนดเงินทุนขั้นต่ำสำหรับการดำเนินการธุรกิจในเวียดนาม

สำหรับคำแนะนำในการเข้าไปดำเนินธุรกิจในเวียดนามของผู้ประกอบการไทยนั้น มีรูปแบบดังนี้

  1. ลงทุนร่วมกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ชาวเวียดนามโดยเป็นการลงทุนลักษณะ Offshore
  2. การจัดตั้งกิจการในแบบบริษัทต่างชาติ (Foreign-own company)
  3. การควบรวมและการซื้อกิจการ (Mergers and Acquisitions (M&A)
  4. เลือกพันธมิตรหรือคู่ค้าที่เหมาะสม โดยบริษัทท้องถิ่นหลายแห่งอาจไม่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงในแบรนด์สินค้า รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์

ที่มา :

/1 สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์ ศูนย์สนับสนุนธุรกิจใน AEC.ธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนาม.2562

/2 https://www.bangkokbanksme.com/en/franchise-investment-law-requirements-in-vietnam

รัฐบาลสปป.ลาวเสนอการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม

รัฐบาลสปป.ลาวได้ขอให้รัฐสภาอนุมัติการแก้ไขกฎหมาย 2 ฉบับคือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เสนอร่างแก้ไขกฎหมายน้ำและแหล่งน้ำฉบับแก้ไขในปี 60 และแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สมาชิกสมัชชาพิจารณาแก้ไข ได้เน้นถึงความต้องการในการรับรองร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมโดยกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงมีความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าการบริหารทรัพยากรน้ำและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเป็นไปตามกฎหมายที่ดินซึ่งรับรองในปี 62 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับกลยุทธ์การจัดการที่ดินของประเทศ ซึ่งรัฐบาลมีแผนจะดำเนินการจนถึงปี 73 เป้าหมายหลักของการจัดการที่ดินคือเพื่อให้แน่ใจว่า 70% ของพื้นที่สปป.ลาวเป็นป่า นอกจากนี้อนุญาตให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้รับผิดชอบการจัดการที่ดินทุกประเภท รวมถึงที่ดินที่ล้อมรอบแหล่งน้ำ การแก้ไขกฎหมายจะช่วยให้ภาคทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถดำเนินการสำรวจเกี่ยวกับที่ดินทุกประเภทและกำหนดแผนสำหรับการอนุรักษ์และพัฒนาที่ดิน ทั้งนี้ประธานรัฐสภาได้ขอให้สมาชิกพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงที่เสนอเกี่ยวข้องกับความต้องการในปัจจุบันและจะทำให้มั่นใจได้ว่าการบริหารจัดการที่ดินและการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติมีประสิทธิภาพหรือไม่

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt126.php