รัฐบาลสปป.ลาวหารือแนวทางสนับสนุนสตาร์ทอัพธุรกิจในช่วงสถานการณ์โควิด-19

การดำเนินการเพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ควบคู่ไปกับมาตรการและนโยบายเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพ ถือเป็นประเด็นร้อนที่คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลกำลังถกเถียงกันอยู่ โดยมีนายกรัฐมนตรีพันคำ วิภาวัน เป็นประธาน คณะรัฐมนตรีเริ่มการประชุมประจำเดือน คาดว่าสมาชิกคณะรัฐมนตรีจะหารือถึงมาตรการเพิ่มเติมเพื่อสกัดกั้นกระแสการติดเชื้อ นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีจะหารือร่างแผนแม่บทเพื่อส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพและยังมีกำหนดจะอภิปรายร่างแผนพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปและหัตถกรรมสำหรับปี 2564-2568

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Covid_19_164.php

‘สตาร์ทอัพเวียดนาม’ ระดมทุน 12 ล้านเหรียญสหรัฐ

เว็บไซต์การเงิน ‘DealStreet Asia’ รายงานว่าสตาร์ทอัพอย่าง ‘Loship’ ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าในเวียดนาม ประสบความสำเร็จจากการระดมทุน 12 ล้านเหรียญสหรัฐในระดับ ‘Pre-Series C’ ส่งผลให้มูลค่าของบริษัทอยู่ที่ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งการจัดระดมทุนครั้งนี้ นำโดยบริษัทร่วมทุน ‘BAce Capital’ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก ‘Ant Group’ และ ‘Sun Hung Kai’ ทั้งนี้ สตาร์ทอัพดังกล่าว มีแผนที่จะขยายกิจการไปยังพื้นที่ท้องถิ่นและลงทุนทางด้านเทคโนโลยี ตลอดจนส่งเสริมการทำธุรกิจแบบ B2B นอกจากนี้ ด้วยการระดมทุนรอบใหม่ ‘Loship’ คาดว่าจำนวนประชากรเวียดนามราว 10% จะหันมาใช้แอปนี้ในอีก 2 ปีข้างหน้า และบริษัทยังได้ตั้งเป้าว่าจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้ให้บริการจัดส่งและอีคอมเมิร์ซชั้นนำในเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamese-startup-rakes-in-12-million-usd-funding/206092.vnp

“นครโฮจิมินห์” ตั้งเป้าปั้นธุรกิจสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรม 1,000 รายในอีก 5 ปีข้างหน้า

คณะกรรมการประชาชนนครโฮจิมินห์ นำเสนอโครงการอำนวยความสะดวกในการพัฒนาระบบนิเวศของสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมภายในปี 2564-2568 โดยมีเป้าหมายส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพจำนวน 1,000 ราย ซึ่งการดำเนินงานของคณะกรรมการดังกล่าว จะทำให้ระบบนิเวศของสตาร์ทอัพในเมืองโฮจิมินห์ เจริญก้าวหน้าทัดเทียมระดับภูมิภาคและเป็นรากฐานที่สำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ช่วยในการผลิตและยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าหมายที่จะทำให้ผลิตภาคการผลิตรวม เพิ่มขึ้น 45-50% ของผลิตภัณฑ์ภาค (GRDP) ตลอดจนพัฒนาความสามารถของธุรกิจสตาร์ทอัพ จำนวน 3,000 ราย และเข้าช่วยเหลือ 1,000 โครงการ และช่วยให้สตาร์ทอัพเข้าถึงเงินทุนอีก 100 รายภายในปี 2568

ที่มา :https://vietnamnews.vn/economy/899520/hcm-city-aims-to-support-1000-innovative-start-ups-in-next-five-years.html

สุริยะ หนุนสตาร์ทอัพขับเครื่องเศรษฐกิจไทย

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้ความสำคัญกับธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยได้จัดทำโครงการเชื่อมโยงตลาดสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่สร้างธุรกิจโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน สามารถใช้ทรัพยากรของประเทศในการผลิตสินค้าและบริการ มุ่งเน้นการสร้าง มูลค่าเพิ่ม การจ้างงานในท้องถิ่น และการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เศรษฐกิจฐานรากภานในประเทศต่อไป เพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยพัฒนาทักษะการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมการ ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด เชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมสนับสนุนต่าง ๆ ให้เป็นกลไกที่ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม รวมถึงสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการตลาดอย่างเหมาะสม ให้สามารถขยายฐานกิจการทั้งในและ ต่างประเทศได้  ส่วนกลุ่มเป้าหมาย จะเป็นสตาร์ทอัพที่จดทะเบียนพาณิชย์ตามกฎหมายไทย จำนวน 25 กิจการ โดยมีผลิตภัณฑ์หรือบริการ ซึ่งมีนวัตกรรมในรูปแบบธุรกิจที่สามารถทำซ้ำ และขยายตลาด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้ มีความต้องการเข้าถึงตลาดและแหล่งเงินทุนจากนักลงทุนร่วมทุน หรือบริษัทร่วมลงทุน  โดยจะมุ่งเน้นในสาขาเป้าหมายเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep technology) ที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI), หุ่นยนต์, นาโนเทคโนโลยี, เทคโนโลยีชีวภาพ, IoT, การจัดการพลังงาน, บล็อกเชน, AR & VR (ความจริงเสมือนและ VR เสมือนจริง)และ Big Data เป็นต้น “สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการนี้ไม่ต่ำกว่า 70% จะมียอดขายเพิ่มขึ้น มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น และมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้น และเติบโตได้จากการที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการเชิงนวัตกรรมที่มีมูลค่าสูง มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นพร้อมก้าวสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ และยังช่วยลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ”

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/922135

สหภาพยุโรป ร่วมกับ Khmer Enterprise กัมพูชา พัฒนาพลังงานสะอาด

Khmer Enterprise ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน (MEF) และ EnergyLab ซึ่งเป็นศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพด้านพลังงานแห่งเดียวของกัมพูชา ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการเริ่มต้นพลังงานสะอาดในภาคเกษตรกรรม การประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกัมพูชา ภายใต้การสนับสนุนทางด้านเงินทุนจากสหภาพยุโรป โดยความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการด้านพลังงานสะอาดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถแข่งขันได้ ซึ่งปรับให้เข้ากับความต้องการด้านพลังงานของผู้ประกอบการประมงในภูมิภาค โดย EnergyLab จะคัดเลือกบริษัทสตาร์ทอัพด้านพลังงานสะอาดจำนวน 5-10 ราย ในแต่ละปีเพื่อเข้าร่วมในโครงการบ่มเพาะระยะเวลาโครงการ 1 ปี ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวแนะนำการเริ่มต้นธุรกิจด้วยการฝึกอบรมอย่างเข้มข้น การให้คำปรึกษาและการฝึกสอนแบบตัวต่อตัวเพื่อนำไปสู่การสร้างพลังงานสะอาดภายในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50806857/eu-and-khmer-enterprise-fund-partnership-for-clean-energy-innovation-in-the-agri-fishery-sector/

FinTech เวียดนาม โอกาสที่ Startup ไทยควรรีบคว้า

ในทุกๆปี องค์กรด้านการสนับสนุนและพัฒนาสตาร์ทอัพ (BSSC) จะจัดงาน Vietnam Startup Wheel ได้จัดงานประกวดสตาร์ทอัพใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ซึ่งในปี 2556 จนถึงปัจจุบันมีผู้ประกอบการและธุรกิจสตาร์ทอัพราว 4,000 บริษัท และประชาชนกว่า 90,000 คน โดยงานดังกล่าวสร้างมูลค่าสนับสนุนการลงทุนกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ธนาคารแห่งชาติเวียดนามยังได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนฟินเทค เพื่อให้การสนับสนุนรัฐบาลในการสร้างและพัฒนาระบบนิเวศน์ของฟินเทคในประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้ ทำให้ธุรกิจฟินเทคสตาร์ทอัพในเวียดนามมีตลาดที่ชัดเจน เฟื่องฟูและมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่เวียดนามยังคงเผชิญกับความท้าทายของธุรกิจ FinTech โดยสรุปได้ดังนี้ ภาวะขาดแคลนการระดมทุน, ความปลอดภัยในการดำเนินธุรกรรมทางการเงิน, กระบวนการขอใบอนุญาตดำเนินธุรกิจด้านฟินเทคยังคงมีความซับซ้อนและใช้เวลานาน และรัฐบาลยังขาดแคลนบุคลากรและหน่วยงานในการสนับสนุนหรือความเข้าใจในระบบของธุรกิจดังกล่าว เป็นต้น นอกจากนี้ แนวทางการดำเนินธุรกิจฟินเทคในเวียดนาม มองว่ามีศักยภาพด้านธุรกิจฟินเทคสตาร์ทอัพในเวียดนามนับเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการลงทุนและขยายธุรกิจมายังเวียดนาม โดยเฉพาะการลงทุนในธุรกิจการชำระเงินดิจิทัล การซื้อของออนไลน์ การท่องเที่ยว เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ รวมทั้งการลงทุนในธุรกิจการเงินส่วนบุคคลและนิติบุคคล ตลอดจนด้านเทคโนโลยีการเกษตร สำหรับผู้ที่จะเข้าตลาดฟินเทคสตาร์ทอัพเวียดนามจำเป็นต้องศึกษาบริบทของประเทศ และจำเป็นต้องผ่านการรับรองจากรัฐบาลเวียดนามซึ่งเป็นผู้ดูแลทรัพยากรทั้งหมดของประเทศเสมอ

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/fintech-startup-vietnam