ไตรมาส 2 ของปีงบฯ 64-65 เงินเฟ้อเมียนมา พุ่งทะลุ 15.05% เพิ่มขึ้น 3.66% จากไตรมาสแรก

สำนักงานสถิติกลางของเมียนมา(Central Statistical Organization) เผย ไตรมาสที่ 2 (เดือนม.ค. ถึง เดือนมี.ค. 2565) ของปีงบประมาณ 2564-2565 (เดือนต.ค.2564-เดือนก.ย.2565) อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของเมียนมาเพิ่มขึ้นเป็น 15.05% จาก 3.66% ในไตรมาสแรก โดยอัตราเงินเฟ้อของไตรมาสแรก อยู่ที่ 11.39% ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยสำหรับช่วง 6 เดือนตั้งแต่เดือนต.ค. 2564 ถึงมี.ค. 2565 คาดว่าจะอยู่ที่ 6.67% จากข้อมูลของธนาคารโลก อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2560-2562 อยู่ที่ 6.4% และ ในสิ้นปี 2563 ลดลงเหลือ 5.2% เนื่องจากราคาไฟฟ้าและอาหารลดลง

ที่มา: https://news-eleven.com/article/232248

อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นปัญหาที่สปป.ลาวกำลังเผชิญ

จากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนได้เพิ่มความไม่แน่นอนทางการเมืองและสินค้าโภคภัณฑ์และตลาดการเงินที่สั่นสะเทือนท่ามกลางการระบาดของโควิดนอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นและความตึงเครียดทางการเมืองจะเพิ่มแรงกดดันต่อราคาสำหรับสินค้านำเข้าในสปป.ลาว โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยต่อปีในลาวจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.8% ในปี 2565 และ 5.0% ในปี 2566 ซึ่งได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจากข้อมูลราคาน้ำมันเบนซินเกรดพรีเมียมในเวียงจันทน์อยู่ที่ 20,620 กีบต่อลิตร เกรดปกติ 18,060 กีบ และดีเซล 18,000 กีบ อีกปัจจัยที่สำคัญคือการอ่อนค่าของ kip อย่างต่อเนื่อง ซึ่งค่าเงินกีบอ่อนค่าโดยเฉลี่ยต่อปีที่ 7.6% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราเงินเฟ้อไม่เพียงเป็นปัญหาเดียว ที่สปป.ลาวกำลังเผชิญ ขณะนี้หนี้สาธารณะและหนี้ที่ภาครัฐค้ำประกันได้รับรายงานล่าสุดที่ร้อยละ 78.8 ของ GDP ในปี 2564 ค่าใช้จ่ายภายในประเทศที่ค้างชำระ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลง และ kip ที่อ่อนตัวลงในปี 2564 ส่งผลให้ระดับหนี้เพิ่มขึ้น ในขณะหนี้สาธารณะต่างประเทศของสปป.ลาวคาดว่าจะมี 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปีในช่วงห้าปีข้างหน้าคิดเป็นร้อยละ 7 ของ GDP ทั้งนี้รัฐพยายามแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนรวมถึงปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนให้ดียิ่งขึ้น และผลักดันให้มีการดำเนินการตามแผนโครงการขนาดใหญ่อย่างเต็มรูปแบบ ตลอดจนยกเครื่องการจัดการธุรกิจนำเข้าเพื่อให้แน่ใจว่าสกุลเงินต่างประเทศที่เพียงพอเข้าสู่ระบบธนาคาร

 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten85_spiralling_22.php

อัตราเงินเฟ้อพุ่ง 7.3 % แตะระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี

อัตราเงินเฟ้อปีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.3 ในเดือนกุมภาพันธ์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดที่นับแต่มีการบันทึกสถิติมา ราคาผู้บริโภคที่พุ่งสูงขึ้นได้รับแรงหนุนจากต้นทุนเชื้อเพลิงและสินค้านำเข้าอื่นๆ ที่พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากการอ่อนค่าของ kip อย่างต่อเนื่อง และราคาน้ำมันโลกที่พุ่งสูงขึ้น ด้านนักเศรษฐศาสตร์กังวลว่าราคาน้ำมันอาจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องจากอุปสงค์และอุปทานไม่ตรงกัน รัฐบาลอาจเริ่มปรับราคาน้ำมันทุก 5-7 วัน แทนที่จะเป็นทุกสองสัปดาห์ หากราคาน้ำมันโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการเพื่อเพิ่มการผลิตเพื่อลดการนำเข้า และเพื่อควบคุมราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจและประชาชนทั่วไป รัฐบาลได้ตัดสินใจลดภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 ในปีนี้ และลดปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าราคาน้ำมันสำรองในปัจจุบันอยู่ที่ 0 กีบ/ลิตร ซึ่งจะช่วยบรรเทาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Inflation54.php

อัตราเงินเฟ้อสปป.ลาวพุ่งสูงสุดรอบ 2 ปี

อัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบปีต่อปีเพิ่มขึ้นเป็น 6.25% ในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่มกราคม 2563 ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนสปป.ลาว ทำให้ต้นทุนสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.04 ในเดือนพฤศจิกายน ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.27 ในเดือนธันวาคม ตามรายงานล่าสุดจากสำนักสถิติลาว ต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นเป็นหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเงินเฟ้อในสปป.ลาวรวมถึงการระบาดใหญ่ของโควิด-19  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด Omicron กระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนและทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นเนื่องจากอุปสงค์และอุปทานไม่สมดุลกัน ทั้งนี้รัฐบาลสปป.ลาวกำลังดำเนินการเพื่อเพิ่มผลผลิตเพื่อลดการนำเข้าเพื่อควบคุมราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจและประชาชนทั่วไป

อีกทั้งรัฐบาลได้ตัดสินใจลดภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 ในปีนี้ และลดปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าราคาน้ำมันสำรองในปัจจุบันอยู่ที่ 0 กีบ/ลิตร เพื่อกั้ญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Inflation_37_22.php

‘เวียดนาม’ คงเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำถึงสิ้นปี 64

นาย Le Minh Khai รองนายกรัฐมนตรีและคณะกรรมการบริหารเมืองฮานอย รายงานที่ประชุมว่าเวียดนามดำเนินการรักษาการเติบโตของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 1% ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ เพื่อคงเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 4% ต่อปี โดยคณะกรรมการมองว่าเพื่อให้ตัวเลขเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่กำหนดไว้ เวียดนามจะต้องดำเนินการ 2 เป้าหมายสำคัญ คือ สามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ ควบคู่กันไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ดัชนี CPI เผชิญกับอุปสรรค เนื่องจากตลาดมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาของความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นในช่วงสิ้นปีนี้ นอกจากนี้แล้ว ดัชนี CPI ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 1.64% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 0.89%

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1013386/vn-to-keep-cpi-growth-low-by-end-of-2021.html

อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเกือบสี่เปอร์เซ็นต์ในเดือนมิถุนายนปีนี้

อัตราเงินเฟ้อในสปป.ลาวเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายนปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.96% จากข้อมูลของสำนักสถิติสปป.ลาว อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลโดยตรงต่อค่าครองชีพในสปป.ลาว

ราคาอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 4.09 เปอร์เซ็นต์ในเดือนมิถุนายนปีนี้ ขณะที่ราคาเสื้อผ้าเพิ่มขึ้น 3.06 เปอร์เซ็นต์ ราคาเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้น 3.11 เปอร์เซ็นต์ โดยแอลกอฮอล์และยาสูบเพิ่มขึ้น 4.63%

ค่าขนส่งเพิ่มขึ้น 5% ในขณะที่ค่าไปรษณีย์และค่าโทรคมนาคมเพิ่มขึ้นถึง 8.32% และสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 8.36% ตามรายงานของศูนย์สถิติแห่งชาติภายใต้กระทรวงการวางแผนและการลงทุน ทั้งนี้การขาดแคลนการผลิตในประเทศและการระบาด Covid-19 ระลอก 2 ของสปป.ลาวทำให้อัตราเงินเฟ้อรุนแรงขึ้น อีกทั้งสินค้าส่วนใหญ่ในสปป.นำเข้าทำให้ขาดดุลการค้าในขณะที่ความต้องการเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น (บาทและดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งทำให้ค่าเงินท้องถิ่นอ่อนค่าลง (LAK)

ที่มา : https://laotiantimes.com/2021/08/02/inflation-rate-increased-by-nearly-four-percent-in-june-this-year/

เวียดนามเผย CPI มี.ค. หดตัว -0.27%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าความต้องการในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค หลังเทศกาลเต็ต (Tet)  และราคาอาหารปรับตัวลดลง เป็นผลมาจากปริมาณอาหารเหลือเฟือ ทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมีนาคม ติดลบ 0.27% จากช่วงเดียวกันของเดือนก่อน ในขณะที่ เพิ่มขึ้น 1.16% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งถือว่าตัวเลขดังกล่าว อยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559 ทั้งนี้ ดัชนี CPI ในไตรมาสแรกที่เพิ่มขึ้น 0.29% เหตุจากราคาข้าวปรับตัวพุ่ง 8.55% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตั้งแต่ช่วงเดือนม.ค.-มี.ค. อันเป็นผลของราคาสินค้าโลกที่เพิ่มสูงขึ้นและความต้องการข้าวเกรดพรีเมี่ยมจำนวนมาก ในช่วงเทศกาลเต็ต

ที่มา : https://en.dangcongsan.vn/economics/march-cpi-decreases-0-27-571880.html

อัตราเงินเฟ้อเดือนกันยายนยังคงอยู่ในระดับสูง

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ลดลงในเดือนกันยายนเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่ก็ยังอยู่ในระดับสูงตามรายงานของสำนักงานสถิติสปป.ลาว ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อยู่ที่ 114.97 จุดในเดือนกันยายนส่งผลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 4.63 ลดลงจากร้อยละ 5.84 ในเดือนสิงหาคม ระดับอัตราเงินเฟ้อได้รับแรงหนุนจากราคาอาหารและสินค้านำเข้าอื่นๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นจากการที่สปป.ลาวนำเข้าอาหารจำนวนมากจากประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งอาหารทะเล อีกทั้งในช่วงฤดูฝนเกษตรกรไม่สามารถปลูกพืชให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดได้ ยังมีอีกปัจจัยที่เป็นแรงหนุนสำคัญคือความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินกีบ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ค่าครองชีพในสปป.ลาวสูงขึ้น โดยมีเหตุมาจากการระบาดของ COVID -19 ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการไหลเข้าของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศรวมถึงการลงทุนจากต่างประเทศในสปป.ลาวซึ่งถือเป็นแหล่งรายได้หลักของสกุลเงินต่างประเทศของสปป.ลาว จากข้อมูลของสำนักงานสถิติสปป.ลาวค่าเงินกีบลดลงร้อยละ 4.29 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับเงินบาท อย่างไรก็ตามรัฐบาลพยายามจำกัดราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นโดยผลักดันให้มีการผลิตในประเทศมากขึ้นเพื่อลดความจำเป็นในการนำเข้า

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Inflation_195.php

อัตราเงินเฟ้อของกัมพูชาในช่วง COVID-19 อยู่ที่ร้อยละ 3

อัตราเงินเฟ้อของกัมพูชายังคงอยู่ในระดับต่ำอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ในขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศของประเทศยังคงสามารถรองรับการนำเข้าสินค้าและบริการได้นานถึง 10 เดือน กล่าวโดยธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเปิดเผยระหว่างการประชุมกับตัวแทนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในกัมพูชา โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้ปรับการคาดการณ์การเติบโตของกัมพูชาในปี 2020 เป็นลบร้อยละ 4 จากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ติดลบร้อยละ 5.4 ในเดือนมิถุนายนเนื่องจากภาคการเกษตรมาการปรับตัวที่ดีขึ้นและปริมาณการผลิตที่นอกเหนือจากเครื่องนุ่งห่มที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงค่อนข้างคงที่ที่ร้อยละ 2.1 ในปี 2020 ก่อนที่จะลดลงสู่ร้อยละ 1.8 ในปี 2021 เนื่องจากราคาน้ำมันที่ต่ำทำให้ต้นทุนการขนส่งและการผลิตลดลงด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50766833/cambodias-inflation-stands-at-3-percent-during-covid-19/

อัตราเงินเฟ้อในสปป.ลาวยังคงเป็นอุปสรรคของสปป.ลาว

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในสปป.ลาวลาวยังคงอยู่ในระดับสูงแม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตรการเพื่อควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมก็ตาม รายงานของสำนักงานสถิติสปป.ลาว เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคแตะระดับ 113.15 จุดในเดือนกรกฎาคม โดยอัตราเงินเฟ้อในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงในเดือนกรกฎาคมเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน แต่ก็ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ยาสูบ เสื้อผ้า รองเท้าและยาก็ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้อัตราเงินเฟ้อประจำปีอยู่ที่ร้อยละ 5.12 ปัจจัยหลักที่ผลักดันให้เกิดเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงนั้นมาจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องนำเข้าสินค้าในราคาที่สูงขึ้นและสปป.ลาวยังคงนำเข้าอาหารจำนวนมากรวมถึงอาหารทะเลจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลักแทนการผลิตในประเทศ ไม่เพียงแค่ปัญหาด้านเงินเฟ้อที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสปป.ลาว ในสถานการร์ปัจจุบันสปป.ลาวเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจสำคัญทั้งด้านการท่องเที่ยว การลงทุน การส่งออก และกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานซึ่งสาเหตุที่ทำให้ต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามา แม้ว่ารัฐบาลจะผลักดันให้มีการผลิตทางการเกษตรในประเทศมากขึ้น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Inflation167.php