พิษการเมืองกระทบหนักภาคการเกษตรเมียนมา

การยึดอำนาจของกองทัพในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 ส่งผลให้ภาคเกษตรกรรมของประเทศอย่างรุนแรง การส่งออกและโครงการที่วางแผนไว้ถูกระงับ นาย Daw Sandar Myo ประธานสมาคมผู้ประกอบการอะโวคาโดแห่งเมียนมา เผยหลังการหารือการจัดตั้งโรงงานคัดบรรจุอะโวคาโดที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐในรัฐฉานตอนใต้ได้ถูกโต้กลับจากสหรัฐด้วยเช่นกัน ความช่วยเหลือจากนานาชาติหยุดลง ซึ่งรวมถึงความช่วยเหลือจากเดนมาร์ก ทั้งนี้โครงการที่มุ่งเน้นไปที่ MSMEหรือกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย เช่น Responsible Business Fund จะหยุดลงหรือไม่ยังไม่มีความแน่ชัด องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ได้ระงับโครงการการค้าเกษตรอาเซียนและความร่วมมืออื่น ๆ กับเมียนมา การส่งออกผลไม้ก็ได้รับผลกระทบเช่นกันไม่ว่าจะเป็นอะโวคาโดและขิงไปที่ส่งออกไปสหราชอาณาจักรและแตงเมลอนไปยังสหภาพยุโรป แผนการส่งออกแตงโมไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังไม่เป็นที่ชัดเจนมากนัก สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกผลไม้ดอกไม้และผักแห่งเมียนมา มีแผนจะขายผลไม้เพื่อการส่งออกในตลาดท้องถิ่น แต่อาจเป็นไปได้ยากเนื่องจากมีผลผลิตจำนวนมาก

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/political-unrest-turns-myanmars-agriculture-sector-sour.html

เมียนมาเตรียมจัดตั้ง MSME เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ

นาย U Zaw Min Win ประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) กล่าวว่าเมียนมาเตรียมจัดตั้งสมาคม MSME เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดย่อม (MSME) และเมื่อเร็วๆ นี้ ได้เขียนกฎระเบียบขององค์กรแล้วและจะส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) MSME มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและมีส่วนช่วยในการสร้างโอกาสในการทำงานมากขึ้น จนถึงขณะนี้มีธุรกิจทั้งหมด 70,866 แห่งที่จดทะเบียนในหน่วยงานพัฒนาของ MSME โดยมีอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่ลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันในเมียนมาธุรกิจ MSME มีถึงร้อยละ 90

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-establish-msme-association-support-economy.html

ธุรกิจภาค MSMEs ภายในกัมพูชาต้องการการสนับสนุน

การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดย่อม ขนาดเล็ก และขนาดกลาง (MSMEs) ด้วยนวัตกรรมและความเป็นสากล ถือเป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ตามรายงานฉบับใหม่ของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ในรายงานที่ชื่อว่า Asia Small and Medium-Sized Enterprise Monitor 2020 เผยให้เห็นว่า MSME เป็นแรงผลักดันที่สำคัญในเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97 ของธุรกิจทั้งหมด โดยคิดเป็นร้อยละ 41 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของแต่ละประเทศ ซึ่งผู้อำนวยการ ADB ประจำประเทศกัมพูชากล่าวว่า MSMEs ถือเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจของกัมพูชา มีส่วนช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการแข่งขันในระดับภูมิภาค เช่นเดียวกับผู้อำนวยการแผนก SMEs ของกระทรวงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมกล่าวว่า MSMEs มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของกัมพูชาโดยมีส่วนช่วยในการจ้างงานถึงร้อยละ 70 ของแรงงานทั้งหมด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50777691/micro-small-medium-firms-vital-but-need-support-report/

ธนาคารโลกจัดหาเงินสำรองฉุกเฉินสำหรับธุรกิจขนาดเล็กในสปป.ลาว

ธนาคารโลกได้อนุมัติเงินสำรองฉุกเฉินจำนวน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในสปป.ลาวเพื่อช่วยให้ฟื้นตัวจากผลกระทบของ Covid-19 การระดมทุนจะดำเนินการผ่านโครงการ ‘Micro, Small, and Medium Enterprise Access to Finance Emergency Support and Recovery Project’ ของธนาคารโลกซึ่งจะทำงานร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าและสถาบันการเงินในท้องถิ่น เพื่อให้สินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งมีโอกาสได้รับเงินกู้เงินทุนหมุนเวียนที่สามารถรักษาธุรกิจของตน เพื่อการลงทุนสำหรับอุปกรณ์ใหม่หรือการขยายโรงงาน ทั้งนี้บริษัทเผชิญกับการลดลงอย่างรวดเร็วของอุปสงค์ รายได้ ซัพพลายเชน และการท่องเที่ยวต้องหยุดชะงัก ส่งผลผลให้บริษัทหลายแห่งจะเลิกจ้างพนักงานและจะต้องปิดถาวร โครงการใหม่นี้จะช่วยให้ MSME ปกป้องการดำรงชีวิตของพนักงานและลดปัญหาการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ธนาคารโลกจะให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของธนาคารแห่งสปป. ลาวในการกำกับดูแลระบบค้ำประกันสินเชื่อจะช่วยลดความเสี่ยงด้านเครดิตที่เกี่ยวข้องกับเงินกู้ภายใต้โครงการ นอกจากนี้จะให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของธนาคารพาณิชย์ บริษัทขนาดเล็ก กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าและสถาบันอื่น ๆ ที่เข้าร่วม โดยธุรกิจต้องจดทะเบียนบริษัทขนาดย่อย ขนาดเล็ก หรือองค์กรเอกชนขนาด จึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงินกู้ภายใต้โครงการ การตัดสินใจในการให้สินเชื่อและการกำหนดราคาของเงินให้สินเชื่อจะให้สถาบันการเงินที่เข้าร่วมเป็นผู้พิจารณาจากการประเมินเครดิตของตนเอง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Worldl_209.php

ผลกระทบของ COVID-19 สู่การหยุดชะงักทางเศรษฐกิจของกัมพูชา

ผู้ประกอบการรายย่อย, ขนาดเล็กและขนาดกลาง (MSMEs) กำลังเผชิญกับการหยุดชะงักของการดำเนินกิจการและการหยุดชะงักของยอดขายรวมถึงการบริการที่ลดลงอันเป็นผลมาจาก COVID-19 โดย MSMEs ถือเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจมาอย่างยาวนานในกัมพูชา ซึ่งในกัมพูชา MSMEs ถูกระบุว่ามีบทบาทสำคัญในการสร้างงาน การสร้างรายได้ ให้กับประชากรที่อยู่ในช่วงผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะ MSMEs ในกัมพูชามีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 70 ของการจ้างงานทั้งหมด และมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 58 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่ง Angkor Research and Consulting. ได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมโดยร่วมมือกับ Future Forum เพื่อทำการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจในปีนี้ โดยข้อมูลที่พบในการศึกษาชี้ให้เห็นว่ารายได้สุทธิเฉลี่ยของผู้ประกอบการในครัวเรือนลดลงร้อยละ 56 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งในระดับจังหวัดผลสำรวจระบุว่ากรุงพนมเปญและกัมปงสปือได้รับผลกระทบเชิงลบมากที่สุดระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน ในขณะที่กำปอตได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ทั้งจากการขนส่งที่แย่ลงสู่การท่องเที่ยวที่ทรุดตัวอย่างหนัก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50765790/economic-disruption-of-covid-19/

เยอรมนีอนุมัติเงิน 7.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐสนับสนุนกองทุนเงินทุนเพื่อธุรกิจ

เยอรมนีอนุมัติเงินเพิ่ม 7.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับกองทุนการเข้าถึงการเงินสปป.ลาว (LAFF) เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการเงินระยะยาวสำหรับครัวเรือนและองค์กรขนาดเล็กขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) ในพื้นที่ชนบท โดยกองทุนนี้จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของธนาคารสปป. ลาว และยังสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจลาวอย่างยั่งยืนโดยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจสำหรับ MSME โดยธนาคารและสถาบันการเงินรายย่อยสามารถให้สินเชื่อแก่ธุรกิจได้มากถึง 500 ล้านกีบต่อธุรกิจ  ตรงตามวัตถุประสงค์หลักของโครงการคือการสนับสนุนภาคการเงินเชิงพาณิชย์ของลาวในการให้บริการทางการเงินที่ยั่งยืนและตามความต้องการของ MSMEs ในพื้นที่ชนบท สิ่งนี้จะช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนและสนับสนุนการสร้างงานและลดความยากจน

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/germany-backs-access-finance-msmes-115374