ไตรมาส 1 ปี 64 เศรษฐกิจเวียดนามโต 4.48%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในไตรมาสแรกของปี 2564 อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัว 4.48% เป็นผลมาจากการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ดี ภาคเกษตรกรรม ป่าไม้และประมง ขยายตัว 3.16% ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง 6.3% และภาคบริการ 3.34% โดยทั้ง 3 ภาคเศรษฐกิจมีส่วนผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ 8.34% 55.96% และ 35.7% ตามลำดับ ภาคบริการมีการขยายตัวในเชิงบวก เนื่องจากผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี ทั้งนี้ ในไตรมาสแรก กิจกรรมการส่งออกและนำเข้ากลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ด้วยมูลค่าราว 152.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี นอกจากนี้ ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเวียดนามในไตรมาสแรก ยังคงมีเสถียรภาพและอยู่ในทิศทางที่เป็นบวก ประกอบกับควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการ คือ การควบคุมการระบาดของไวรัส และดำเนินการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึง ตลอดจนช่วยเหลือภาคเอกชนและเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อการลงทุนของภาครัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/915081/vietnamese-economy-expands-448-per-cent-in-q1.html

Moody’s รายงานการจัดอันดับเครดิตเรตติ้งของกัมพูชา

ฝ่ายบริการนักลงทุนของ Moody’s ประกาศถึงการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของ 6 ประเทศ ในกลุ่มอาเซียนรวมถึงกัมพูชา โดยในรายงานภายในอาเซียนฉบับเดือนมีนาคมสถาบันจัดอันดับของสหรัฐฯกล่าวว่าแนวโน้มด้านเครดิตเรตติ้งของกัมพูชายังคงมีเสถียรภาพ ซึ่งถูกจัดอยู่ในอันดับ B2 โดยอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ที่จัดเครดิตเรตติ้งอยู่ที่ Baa2, มาเลเซียถูกจัดอยู่ในอันดับ A3, สิงคโปร์ Aaa และไทยถูกจัดอันดับอยู่ที่ Baa1 ในขณะเดียวกันสำหรับ สปป.ลาว ถูกจัดให้อยู่ในอันดับ Caa2 ซึ่งถือเป็นเรตติ้งที่อยู่ในทิศทางลบ จากสถานการณ์ในปัจจุบัน ส่วนสำหรับเวียดนามอยู่ที่อันดับ Ba3

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50831628/moodys-says-outlook-stable-for-cambodias-credit-rating/

“ยูโอบี” คาดเศรษฐกิจเวียดนามโต 7.1% ในปี 64

ธนาคารยูโอบี คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามจะเพิ่มขึ้น 7.1% ในปีนี้ เนื่องมาจากภาคการส่งออกและการดึงดูดเม็ดเงินทุนจากต่างชาติที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกของเวียดนามเพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เครื่องจักรและส่วนประกอบ เป็นต้น ในขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ไหลเข้าในเวียดนามได้อย่างดี ด้วยเม็ดเงินทุนจดทะเบียนกว่า 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่เดือนม.ค.-ก.พ. ญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุด มูลค่าราว 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาสิงคโปร์และจีน ตามลำดับ นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรม เผยว่าในปัจจุบัน แนวโน้มการเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง แต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสและการฉีดวัคซีนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม การเติบโตของ GDP เวียดนาม อยู่ที่ 7.1% ซึ่งตัวเลขดังกล่าว สูงกว่าที่สมัชชาแห่งชาติได้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 6%

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/uob-vietnamese-economy-predicted-to-post-71-gdp-growth-in-2021-29853.html

ยอดการค้าเวียดนามกับกัมพูชา พุ่ง 64% ในช่วง 2 เดือนแรก

สำนักงานการค้าเวียดนามประจำประเทศกัมพูชา เผยว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามมีมูลค่าการส่งออกไปยังกัมพูชา อยู่ที่ 728.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.6% ในขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้ามากกว่า 603 ล้านเหรียญสหรัฐ พุ่ง 335% โดยสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของเวียดนาม ได้แก่ เหล็ก น้ำมัน เครื่องนุ่งห่ม สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าเกษตรอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ เวียดนามได้มีการส่งเสริมการส่งออก ไม่ว่าจะเป็นมาตรการทางด้านภาษีให้แก่สินค้ากัมพูชา ทั้งนี้ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ การค้าระหว่างประเทศระหว่างเวียดนามกับกัมพูชา มีมูลค่าเกินกว่า 1.33 พันล้านเหรียญสหรัฐ พุ่ง 64% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

  ที่มา : https://vov.vn/en/economy/experts-consider-how-vietnam-can-attract-greater-investment-from-global-firms-845168.vov

อุตฯ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม มีแนวโน้มฟื้นตัวในไตรมาสที่ 2 ปี 65

แนวโน้มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่มของเวียดนาม ชี้ให้เห็นว่าภาคธุรกิจอาจจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ในขณะที่สถานการณ์จะกลับมาฟื้นตัวเป็นปกติในช่วงสิ้นปี 2566 บริษัท Vietnam National Garment and Textile Group (Vinatex) ผู้ผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่มรายใหญ่ของเวียดนาม เผยว่าโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้ากำลังทำงานอย่างเต็มกำลังจนถึงเดือนก.ค.และสิ.ค. ถือว่าเป็นสัญญาที่ดีของอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ธุรกิจดังกล่าว ได้ตั้งเป้ามูลค่าการส่งออก 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบเท่ากับช่วงก่อนที่จะเกิดโควิด-19 นอกจากนี้ ตามข้อมูลของกรมศุลกากร ระบุว่าในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามมีรายได้จากการส่งออกอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นผลมาจากยอดคำสั่งซื้ออุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) จากทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของปี 2564 อุตสาหกรรมคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออก 39 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ โดยจะขยายไปยังตลาดอื่นๆ จากการใช้ประโยชน์ของข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่เวียดนามร่วมลงนามไว้

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnams-textile-and-apparel-industry-may-recover-in-2h-2022-316797.html

เวียดนามเผยไตรมาสแรก เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ พุ่ง 4.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

จากข้อมูลของหน่วยงานรัฐบาลเวียดนาม เผยว่าเวียดนามดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้น 6.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนใหญ่จะลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป 49.6% ในขณะที่ 38.9% จะลงทุนในภาคการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า อีกทั้ง สิงคโปร์เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ของเวียดนาม รองลงมาญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

  ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20210328/vietnam-sees-foreign-investment-rise-to-41-billion-in-first-quarter/60008.html

“ฮานอย” ตั้งเป้าธุรกิจกว่า 900 แห่งเข้าไปในอุตสาหกรรมสนับสนุน

ตามแผนของคณะกรรมการประชาชนของเมือง ภายใต้คำสั่ง 49 / KH-UBND ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเป้าหมายในประเด็นการพัฒนาโครงการอุตสาหกรรมสนับสนุนในท้องถิ่น ปี 2564 โดยแผนงานระบุว่าอุตสาหกรรมสนับสนุน มีสัดส่วน 16% ของมูลค่าการผลิตทั้งหมดของภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปประจำเมืองฮานอย อีกทั้ง ยังกำหนดภารกิจเพื่อช่วยในการส่งเสริมอุตสาหกรรมสนับสนุน เช่น การเชื่อมต่อระหว่างธุรกิจกับซัพพลายเออร์ในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนสนับสนุนองค์กรต่างๆ ในการนำระบบบริหารธุรกิจและการผลิตขั้นสูงมาใช่ในการทำธุรกิจ รวมถึงการส่งเสริมกิจกรรมการวิจัยและพัฒนา (R&D) และการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/911299/ha-noi-strives-to-have-900-firms-in-supporting-industries.html

ผู้เชี่ยวชาญประเมินศักยภาพของเวียดนามในการดึงดูดธุรกิจระดับโลก

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าภาคการลงทุนจากต่างประเทศมีส่วนสำคัญต่อการผลักดันทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของเวียดนาม อีกทั้ง เวียดนามคงเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนที่น่าสนใจแก่นักลงทุนต่างชาติ สาเหตุมาจากเม็ดเงินลงทุนโดยตรงตากต่างประเทศจาก 24.1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2558 ขึ้นมาแตะ 38 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 ซึ่งตัวเลขเม็ดเงินทุนในปี 2563 อยู่ที่ 28.53 พันล้านเหรียญสหรัฐ ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ คุณ Do Nhat Hoang ผู้อำนวยการหน่วยงานการลงทุนจากต่างประเทศ กล่าวว่าการเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ทั้งความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP), ความตกลงเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (EVFTA) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) นอกจากนั้น ยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการดึงดูดโครงการทางด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเอไอ บล็อกเชนและฟินเทค ตลอดจนการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/experts-consider-how-vietnam-can-attract-greater-investment-from-global-firms-845168.vov