เวียดนามได้รับอนุมัติให้ส่งออกอาหารที่ทำมาจากแมลงไปยังสหภาพยุโรป

กฎระเบียนคณะกรรมกรรมาธิการยุโรป “2021/171” เผยเวียดนามได้ให้หลักฐานและใบรับรองต่อกรรมาธิการยุโรปด้านสุขภาพและความปลอดภัยอาหาร เพื่อให้ได้รับการอนุมัติทำการส่งออกแมลงไปยังตลาดยุโรปได้ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ทั้งนี้ โดยก่อนหน้านั้นประเทศเวียดนาม แคนาดา  สวิตเซอร์แลนด์ เกาหลีใต้และไทย ได้รับการอนุญาตให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากแมลงได้ ในแง่อีกมุมหนึ่งอาหารที่ทำมาจากแมลงได้รับการขนามว่าเป็นอาหารแห่งอนาคต นอกจากนี้ กฎระเบียบของสหภาพยุโรปถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารเวียดนามในอนาคต

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-authorised-to-export-insectbased-food-to-eu/197735.vnp

เวียดนามเผยยอดส่งออกโทรศัพท์และชิ้นส่วนพุ่ง แม้เผชิญโควิด-19

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) ระบุว่าตั้งแต่ต้นปีนี้ โทรศัพท์และชิ้นส่วนถือเป็นสินค้าส่งออกหลักของเวียดนาม ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ มีสินค้าส่งออกของเวียดนามจำนวน 9 รายการที่มีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนรวมกัน 73.8% ของยอดส่งออกรวม โดยเฉพาะสินค้าประเภทโทรศัพท์และชิ้นส่วนที่มีมูลค่าแตะ 9.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือ 15% ของยอดส่งออกรวม) เพิ่มขึ้น 22.8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตลอดจนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) มีความต้องการสินค้าโทรศัพท์และชิ้นส่วนของเวียดนาม ด้วยมูลค่าการนำเข้า 551 ล้านเหรียญสหรัฐ พุ่ง 108% และคิดเป็น 2 ใน 3 ของยอดนำเข้ารวมทั้งสิ้นของเวียดนาม นอกจากนี้ คุณ Do Thi Thuy Huong สมาชิกคณะกรรมการบริหารของสมาคมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เวียดนาม (VEIA) กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงชองห่วงโซ่การผลิตโดยธุรกิจ FDI คาดว่าจะสร้างโอกาสครั้งใหญ่แก่ธุรกิจเวียดนามในการก้าวเป็นซัพพลายเออร์ให้กับบริษัทต่างชาติ

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-maintains-positive-outlook-for-economic-recovery-in-2021-wb-843720.vov

สนง.ส่งเสริมการค้าเวียดนามจับมืออาลีบาบา ผลักดันธุรกิจผ่านช่องทางส่งออกออนไลน์

สำนักงานส่งเสริมการค้าเวียดนาม (Vietrade) และเว็บไซต์อาลีบาบา (Alibaba) ที่เป็นแพลต์ฟอร์มอีคอมเมิร์ซในระดับโลก แบบ B2B ของกลุ่มบริษัทอาลีบาบา ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อส่งเสริมธุรกิจเวียดนามในการยกระดับการส่งออกออนไลน์และจัดตั้งอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศ ซึ่งภายใต้การลงนามบันทึกความเข้าใจนั้น ทางอาลีบาบาจะให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคสำหรับหน่วยงานส่งเสริมการค้าและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของเวียดนาม ในขณะเดียวกัน สำนักงานส่งเสริมการค้าได้มุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับอาลีบาบา เพื่อปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงโดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอลและเพิ่มขีดความสามารถในด้านอีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้ ตลาดอีคอมเมิร์ซของเวียดนามในปี 2563 เติบโต 18% ด้วยมูลค่า 11.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ แม้ว่าขยายตัวได้ช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่เวียดนามก็ยังเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอัตราการเติบโตของอีคอมเมิร์ซเป็นตัวเลขสองหลัก

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietrade-alibabacom-partner-to-help-firms-with-online-export-843718.vov

ธนาคารโลกชี้ปี 64 เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มเชิงบวก

ตามรายงานภาพรวมเศรษฐกิจเวียดนามของธนาคารโลก เผยว่าหากมองในอนาคต ควรจะให้ความสนใจเกี่ยวกับประเด็นการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งในประเทศและทั่วโลก เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวมีผลกระทบที่สำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม ตลอดจนการดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลัง เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน ทั้งนี้ ธนาคารโลกได้ตั้งข้อสังเกตว่าภาคการผลิตอุตสาหกรรมชะลอตัวลง เหตุจากโรงงานปิดตัวลงในช่วงเทศกาลเต็ต ในขณะที่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ ปรับตัวลดลง 7.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าจะเผชิญกับการระบาดของโรควิด-19 ระลอกใหม่ แต่ยอดค้าปลีกของเวียดนามในเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 8.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสูงขึ้นจากอยู่ในช่วงเทศกาลเต็ต อย่างไรก็ตาม เมื่อเจาะลึกถึงกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ พบว่าการส่งออกของเวียดนามลดลง 4.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่ การนำเข้าเพิ่มขึ้น 11.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-maintains-positive-outlook-for-economic-recovery-in-2021-wb-843720.vov

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังเวียดนามเพิ่มสูงขึ้น

การส่งออกของกัมพูชาไปยังเวียดนามเพิ่มขึ้นในปี 2020 แม้ว่าทั้งสองประเทศจะกำหนดให้มีการควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้าข้ามพรมแดนอย่างเข้มงวดเพื่อต่อสู้กับโรคระบาดอย่างโควิด-19 ก็ตาม โดยข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์แสดงให้เห็นว่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 ในปี 2020 สู่มูลค่า 385 ล้านดอลลาร์ ส่วนการนำเข้าของกัมพูชาจากเวียดนามลดลงร้อยละ 3.1 สู่มูลค่า 2,633 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นการค้าทวิภาคีระหว่างสองประเทศมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 3,018 ล้านดอลลาร์ลดลงร้อยละ 1.13 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยการเพิ่มขึ้นของการส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าด้านเกษตรที่เพิ่มขึ้น จากความต้องการของผู้บริโภคทางฝั่งเวียดนาม ซึ่งกัมพูชาได้กำหนดให้มีการตรวจสอบสินค้าและการขนส่งผ่านแดนอย่างเข้มงวด ผู้ที่จะข้ามพรมแดนต้องเข้าสู่เขตกักกัน 14 วัน เพื่อเป็นการกักกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50825872/cambodias-exports-to-vietnam-increase/

เวียดนามจำเป็นต้องเปิดพรมแดน เพื่อฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว

นายเหงียน ฮิ๋ว เถาะ นายกสมาคมท่องเที่ยวแห่งประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เผยว่าเวียดนามจำเป็นต้องค้นหาโซลูชันและเตรียมความพร้อมกับเงื่อนไขที่จำเป็นทั้งหมด เพื่อที่จะเปิดพรมแดนให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในเดือนกรกฎาคม 2564 ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติถือเป็นทางออกเดียวสำหรับการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วน 9.2% ของ GDP ในปี 2562 ทั้งนี้ การควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศ เพื่อที่จะสามารถรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ ตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ในขณะที่ ณ ปัจจุบัน ประเทศในกลุ่มภูมิภาคแห่งนี้ มีแผนที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะประเทศไทย ได้ประกาศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 ตลอดจนสิงคโปร์เปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีใบรับรองระบุสถานะติดลบของ COVID-19 อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังไม่สามารถรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมากได้ แต่ก็ไม่อาจชะลอตัวได้ เนื่องจากการแข่งขันของประเทศในภูมิภาค ประกอบกับคนในพื้นที่กลัวการระบาดอีกครั้ง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/904845/viet-nam-needs-to-open-borders-for-tourism-recovery-experts.html

เศรษฐกิจเวียดนามยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงแรกของปี 64

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เผยว่าเศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ได้รับสัญญาจากการเติบโตของภาคธุรกิจควบคู่กับการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจฟื้นตัว ได่แก่ การผลิตทางการเกษตร ป่าไม้ อุตสาหกรรมและดัชนีพัฒนาธุรกิจ เป็นต้น และยังมีตัวชี้วัดอื่น ได้แก่ การดึงดูดของการลงทุนจากภาคเอกชนและกิจกรรมการส่งออก-นำเข้าที่กลับมาดีขึ้น ทั้งนี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ยอดจดทะเบียนของธุรกิจใหม่กว่า 8,000 แห่งทั่วประเทศ ด้วยเงินทุนจดทะเบียนแตะ 179 พันล้านดอง นอกจากนี้ นาย Tran Toan Thang หัวหน้าศูนย์ข้อมูลและวิเคราห์เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NCIF) กล่าวว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม ได้รับสัญญาในทิศทางที่เป็นบวกในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ของปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าจะอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ธุรกิจในท้องถิ่นหยุดกิจการชั่วคราวกว่า 33,000 แห่งในช่วง 2 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้น 18.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnamese-economy-continues-to-reboot-during-first-months-of-2021-29289.html

“ภาคอิเล็กทรอนิกส์” ดันอุตสาหกรรมโดยรวมของเมืองโฮจิมินห์

การผลิตอิเล็กทรอนิกส์ในเมืองโฮจิมินห์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ สาเหตุหลักมาจากการรักษาเสถียรภาพของตลาดส่งออกและการส่งเสริมการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ นาง Nguyễn Thị Xuân Thủy รองผู้​อำนวยการศูนย์ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม กล่าวว่าภาคธุรกิจได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จึงจำเป็นที่ต้องตัดเงินเดือนพนักงาน ดังนั้น ธุรกิจต้องเร่งหาตลาดใหม่และค้นหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ เพื่อรับมือกับปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมโดยรวมเติบโตในอัตรา 32.4% ส่งผลในทิศทางที่ดีขึ้นต่อ 4 อุตสาหกรรมหลักในเมืองโฮจิมินห์ ถึง 7.8% และปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/903910/electronics-lead-hcm-city-industrial-revival.html