กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 ในช่วง 5 เดือนแรก

การส่งออกจากกัมพูชาไปยังสหรัฐอเมริกาในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 สู่ 2.3 พันล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลจากสำนักสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐ โดยรายงานด้านการค้าระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 สู่ 2.4 พันล้านดอลลาร์ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคมกัมพูชานำเข้าผลิตภัณฑ์มูลค่า 125 ล้านดอลลาร์ จากสหรัฐอเมริกาลดลงร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการขยายตัวในทิศทางบวกของการส่งออกนั้นเกิดจากการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่เสื้อผ้าสำเร็จรูป เช่น ข้าวสาร จักรยานและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการส่งออกของภาคเครื่องนุ่งห่มลดลงโดยเฉพาะในตลาดสหภาพยุโรป โดยเมื่อปีที่แล้วการค้าทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศมีมูลค่ารวม 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38 เมื่อเทียบกับปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50743738/cambodias-exports-to-u-s-up-26-percent-in-first-five-months/

การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชาลดลงจากผลกระทบของ Covid-19

โฆษกกระทรวงแรงงานและฝึกอบรมด้านการส่งออกในภาคเสื้อผ้าลดลงมากกว่าร้อยละ 5 เป็นประมาณ 3.78 พันล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งปีแรก โดยโฆษกกระทรวงแรงงานกล่าวในการแถลงข่าวเกี่ยวกับมาตรการของรัฐบาลในการตอบสนองต่อผลกระทบของ COVID-19 ที่กระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน (MEF) เมื่อวานนี้ว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของกัมพูชาอยู่ที่ราว 3.784 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 5.4 จากการส่งออกมากกว่า 4 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2019 เหตุผลในการลดลงนั้นเป็นเพราะผลกระทบของ COVID-19 รวมถึงการจัดซื้อที่ลดลงทั่วโลก ซึ่งเลขาธิการสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าในประเทศกัมพูชา (GMAC) กล่าวว่าการลดลงโดยทั่วไปนั้นเป็นเพราะการหยุดการดำเนินการชั่วคราวและคำสั่งซื้อที่ลดลง โดยจากรายงานครึ่งปีของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ซึ่งกัมพูชานำเข้าลดลงร้อยละ 5 การส่งออกสินค้ากัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นร้อยละ 45 จักรยานร้อยละ 18 ข้าวร้อยละ 29 และผลิตภัณฑ์อื่นๆ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50743103/garment-exports-fall-factories-hit-by-virus/

การส่งออกข้าวของกัมพูชาพุ่งสูงขึ้นร้อยละ 42 ในช่วงครึ่งปีแรกของ 2563

การส่งออกข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 ในช่วงหกเดือนแรกของปีนี้ ตามรายงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกล่าวว่ากัมพูชาส่งออกข้าวสารจำนวน 397,660 ตัน นับจากเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.25 เมื่อเทียบกับจำนวน 281,538 ตัน ในปี 2562 ซึ่งกัมพูชาส่งออกข้าวสารไปยังกว่า 56 ประเทศทั่วโลก โดยการส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 45 จีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.20 ส่วนในกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 47.7 และแหล่งอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.26

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50739927/rice-exports-surge-by-42-percent-in-the-first-six-months-of-2020/

การเปลี่ยนแปลงของกัมพูชาจากความไม่มั่นคงด้านอาหารสู่ประเทศผู้ส่งออกข้าว

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวว่ากัมพูชากำลังส่งเสริมภาคเกษตรกรรมอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการส่งออกข้าว ซึ่งนายกฯย้ำว่ากัมพูชาจะไม่ประสบกับความไม่มั่นคงด้านอาหารเหมือนในอดีตอีกต่อไป คำแถลงดังกล่าวเกิดขึ้นจากการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ “โครงการเยียวยาสำหรับครอบครัวผู้ยากจนและผู้ด้อยโอกาสในช่วง Covid-19″ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2563 โดยจุดแข็งของกัมพูชาคือมีผลผลิตส่วนเกินถึง 6 ล้านตัน ซึ่งกัมพูชาส่งออกข้าวหลัก ๆ สามประเภท ได้แก่ ข้าวหอม ข้าวขาวและข้าวสวยไปยังจีน สหภาพยุโรป และ อาเซียน ตามรายงานของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) โดยกัมพูชามีรายได้มากกว่า 240 ล้านดอลลาร์จากการส่งออกข้าวในช่วง 5 เดือนแรกในปี 2563 ซึ่งส่งออกข้าว 356,000 ตัน เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ซึ่งมีการส่งออกเพียง 250,000 ตัน โดยตัวเลขการส่งออกในปี 2563 ถือเป็นการเติบโตที่สำคัญที่สุดในกัมพูชาซึ่งเป็นปริมาณการส่งออกที่สูงที่สุด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50738817/cambodias-transformation-from-a-food-insecurity-to-a-rice-exporting-nation/

ส่งอออกข้าวโพดเมียนมาคาดอุปสงค์ตลาดเพิ่ม

กระทรวงพาณิชย์พร้อมหนุนธนาคารปล่อยสินเชื่อเพื่อปลูกข้าวโพดในประเทศซึ่งคาดว่าความต้องการจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างกระทรวงกับสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมาที่ถูกจัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563 เมียนมามีพื้นที่ปลูกข้าวโพดประมาณ 1.9 ล้านเอเคอร์ทั่วทั้งภูมิภาค Ayeyarwady, Nay Pyi Taw, รัฐ Shan, รัฐ Kayah และรัฐ Kayin ซึ่งให้ผลผลิตมากกว่า 3 ล้านตันต่อปีตามข้อมูลของปีที่แล้ว การบริโภคภายในประเทศนั้นน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณการผลิตทั้งหมดส่วนอีกครึ่งหนึ่งส่งออกไปยังประเทศไทยเป็นหลัก ปัจจุบันเมียนมาเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดรายใหญ่อันดับสองของอาเซียน ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2562-2563 ความต้องการข้าวโพดได้เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากประเทศไทยซึ่งมีความต้องการข้าวโพดเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุตสาหกรรมและอาหารสัตว์มีปริมาณเพิ่มขึ้น จากข้อมูลพบว่าในปีนี้ส่งออกข้าวโพดไปแล้วประมาณ 1.8 ล้านตันซึ่งมากกว่าหนึ่งล้านตันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว  มากกว่าร้อยละ 60 ส่งออกไปยังประเทศไทย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/corn-traders-myanmar-get-organised-anticipation-more-demand.html

กัมพูชาส่งออกสินค้าการเกษตร 2 ล้านตัน ในช่วง 5 เดือนแรกของปี

กัมพูชามีการส่งออกสินค้าเกษตรจำนวน 1.9 ล้านตัน ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จากผลผลิตทางการเกษตรทั้งหมดที่ส่งออกข้าวสารมีสัดส่วนประมาณ 350,000 ตัน คิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 โดยอธิบดีกรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงกล่าวว่าการส่งออกข้าวมีสัดส่วนมากที่สุดของการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด ซึ่งจีนถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการส่งออกข้าวข้าวของกัมพูชา จากแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นนี้กัมพูชาคาดว่าจะส่งออกข้าวสารได้ถึง 8 แสนตัน หรือ 1 ล้านตัน ภายในสิ้นปีนี้ ไปจนถึงการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดอาจจะสูงถึง 5 ล้านตันภายในสิ้นปี โดยกัมพูชามีพื้นที่เพาะปลูกรวม 4.8 ล้านเฮกเตอร์ และมีพืชที่มีศักยภาพเพื่อการส่งออก ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มะม่วง ข้าวโพด กล้วย ลำไย พริกไทย และแก้วมังกรตามที่กระทรวงระบุ ซึ่งเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตร 4.8 ล้านตัน ไปยังตลาดต่างประเทศรวมถึงอาเซียน สหภาพยุโรปและจีน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50736330/cambodia-exports-two-million-tonnes-of-agricultural-products-in-first-five-months/

ศักยภาพการส่งออกกุ้งของเวียดนามในตลาดแคนาดา

จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกกุ้งของเวียดนามไปยังแคนาดา อยู่ที่ 49.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งในเดือนเม.ย. ชี้ให้เห็นว่ายอดส่งออกกุ้งไปยังตลาดดังกล่าว พุ่งสูงขึ้นร้อยละ 51 คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ แคนาดานิยมบริโภคกุ้งก้าวกรามที่มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นผลมาจากปริมาณกุ้งแช่เย็นลดลง อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจล่าสุด ชี้ให้เห็นว่าแคนาดามีสัดส่วนการนำเข้ากุ้งครึ่งหนึ่งของปริมาณอาหารทะเลทั้งหมดและมีแนวโน้มในการซื้อกุ้งเพื่อนำมาประกอบอาหารในครัวเรือนแคนาดา นอกจากนี้ เวียดนามเป็นผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่อันดับที่ 2 ของแคนาดา สำหรับด้านราคาส่งออก พบว่าราคาส่งออกกุ้งของเวียดนามสูงกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ในขณะเดียวกัน รัฐบาลเวียดนามมีความต้องการสูงสำหรับตลาดหลากหลายประเทศและลดการนำเข้าจากสหรัฐฯ

ที่มา : https://customsnews.vn/potential-of-exporting-shrimp-to-canada-14931.html

เวียดนามมียอดเกินดุลการค้า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนพ.ค.

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในเดือนพ.ค. เวียดนามเกินดุลการค้า มีมูลค่าประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยเหตุนี้ ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ยอดเกินดุลการค้าสูงถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ข้อมูลเบื้องต้นของการค้าระหว่างประเทศ แสดงให้เห็นว่าในเดือนพ.ค. เวียดนามมีมูลค่าส่งออกอยู่ที่ 19.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 18.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.9 อย่างไรก็ตาม ยอดส่งออกพุ่งสูงขึ้นไปยังตลาดส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ จีน (2.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) รองลงมาสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและอาเซียน เป็นต้น สำหรับสินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, โทรศัพท์และชิ้นส่วน, เครื่องจักรและรองเท้า เป็นต้น นอกจากนี้ ตัวเลขทางสถิติในเดือนพ.ค. ชี้ให้เห็นว่าตลาดส่งออกเริ่มกลับมาฟื้นตัว ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-enjoys-us1-billion-in-trade-surplus-in-may-414911.vov

เวียดนามเผยยอดส่งออกผักผลไม้ครึ่งปีแรก สูงถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยตัวเลขการส่งออกผักและผลไม้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 มีมูลค่ามากกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน จีนยังคงเป็นผู้นำเข้าผักและผลไม้รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีสัดส่วนร้อยละ 60.8 ของยอดนำเข้ารวม อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านทางตอนเหนือ ลดลงร้อยละ 29.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ หลายตลาดขยายตัวได้ดี เช่น ไทย (57.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ, เพิ่มขึ้น 244.1%) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และเนเธอแลนด์ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรส่งออกผักและผลไม้แปรรูปในช่วงเวลานี้ ยอดส่งออกจะกลับมาฟื้นตัวในช่วงปลายปี เนื่องจากคาดว่าควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/veggie-fruit-exports-exceed-15-billion-usd-in-first-half/174897.vnp

ต่างชาติยังสนใจลงทุนในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเมียนมาเชื่อยังแข็งแกร่งแม้ส่งออกลดลง

ความสนใจของนักลงทุนต่างชาติในภาคการผลิตเสื้อผ้ายังคงแข็งแกร่งแม้จะมีปริมาณการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลงในปีงบประมาณ 2562-2563 จากข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) มีบริษัทต่างชาติ 178 แห่งที่ได้รับอนุญาตให้ลงทุนในเมียนมาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 31 พฤษภาคม 2563 แม้การส่งออกจะลดลงเหลือเพียง 2.7 พันล้านดอลลาร์ โดยลดลงมากกว่า 24 ล้านดอลลาร์จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการยกเลิกคำสั่งซื้อของสหภาพยุโรปจากปัญหา COVID-19 ทั้งโรงงานยังเลิกจ้างหรือปิดกิจการซึ่งส่งผลกระทบถึงแรงงานกว่า 700,000 คนโดยเฉพาะแรงงานหญิงในโรงงาน 600 แห่ง และการหยุดชะงักของการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศจีนนื่องจากการล็อกดาวน์ประเทศ โดยร้อยละ 70 ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป เช่นเดียวกับญี่ปุ่น เกาหลี แคนาดา และสหรัฐอเมริกา จากการช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลและสหภาพยุโรปทำให้อุตสาหกรรมกำลังฟื้นตัว นอกจากนี้ยังมีรายได้จากการส่งออกจากชายแดนเมียนมา – ไทย ในเมียวดีโดยมีการส่งออกมูลค่า 71 ล้านดอลลาร์ไปยังประเทศไทย ทั้งนี้รัฐบาลมีแผนรับมือทางเศรษฐกิจโดยได้จัดสรรเงินกู้ยืมให้กับอุตสาหกรรมที่มีปัญหารวมถึงอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าด้วย ภาคการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเมียนมามีรายรับจากการส่งออก 5 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2561-2562

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/investor-interest-myanmar-garment-sector-still-strong-despite-lower-exports.html