กัมพูชาส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังเวียดนามลดลง 37%

ในช่วง 7 เดือนแรกของปี กัมพูชาส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบไปยังเวียดนามปริมาณรวม 670,000 ตัน มูลค่า 1 ล้านดอลลาร์ ลดลงเป็นอย่างมากกว่าร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามรายงานของสมาคมเม็ดมะม่วงหิมพานต์แห่งกัมพูชา (CAC) โดย Uon Siloth ประธาน CAC กล่าวว่า ปริมาณการส่งออกที่ลดลงเป็นผลเนื่องจากสภาพอากาศที่เลวร้าย ซึ่งส่งผลทำให้ผลผลิตลดลง ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของเวียดนามได้อย่างเต็มที่ โดยปัจจุบันราคาของเม็ดมะม่วงหิมพานต์ก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันราคาจะอยู่ในช่วงระหว่าง 550-720 เรียลต่อกิโลกรัม ในขณะที่การเพาะปลูกต้นมะม่วงหิมพานต์ในปี 2021 มีพื้นที่ราว 800,000 เฮกตาร์ ทั่วประเทศ แต่ด้วยสาเหตุข้างต้นทำให้เหลือพื้นที่เพาะปลูกเพียง 70,000 เฮกตาร์ โดยกระทรวงพาณิชย์และสถาบันที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งเตรียมร่างนโยบายระดับชาติว่าด้วยเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ประจำปี 2022-2027 เพื่อผลักดันให้เป็นสินค้าเกษตรสำคัญของกัมพูชา ด้วยการเสริมสร้างศักยภาพของกัมพูชาทั้งการ จัดเก็บ แปรรูป บรรจุ ตลาด จัดจำหน่ายและส่งออก ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเม็ดมะม่วงหิมพานต์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501132348/cashew-exports-to-vietnam-decline-37/

ครึ่งปี 65 สหรัฐฯ เร่งนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นจากตลาดเวียดนาม

ตามตัวเลขทางสถิติ เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2565 เวียดนามส่งออกข้าวอยู่ที่ระดับประมาณ 4.19 ล้านตัน คิดเป็นรายได้ราว 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยปริมาณและมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้น 20.5% และ 9% ตามลำดับ จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถือว่าอยู่ในระดับการส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ถึงแม้ว่าจะเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในด้านการส่งออกข้าว แต่สินค้าเวียดนามยังคงได้รับความนิยมในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ แหล่งนำเข้าข้าวเวียดนาม พบว่าสหรัฐฯ นำเข้าข้าวเวียดนามมากที่สุด เพิ่มขึ้น 63.3% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 รองลงมาฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นตลาดที่มีการบริโภคข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วน 44.5% ของส่วนแบ่งตลาดรวม

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/us-increases-rice-imports-from-vietnamese-market-in-first-half-post961046.vov

เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปไทย ลดฮวบ !

นาย U Aye Chan Aung ประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดของเมียนมา กล่าวว่า การส่งออกข้าวโพดไปไทยลดลงอย่างมาก แม้ว่าก่อนหน้านี้จะสามารถส่งออกข้าวโพดได้ 150,000 ตันต่อเดือน แต่พบว่าการส่งออกเมื่อเดือนก.ค.2565 ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วถึง 30%  ซึ่งเกิดจากการอ่อนค่าของเงินจัตจาก 1,850 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 2,500 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและการค้าที่ลดลงอย่างมาก เพราะเงินจัตที่อ่อนค่าจะทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าต่าง ๆ สูงขึ้น อีกทั้งปัญหาขั้นตอนทางกฎหมายและกฎระเบียบที่ยุ่งยากและซับซ้อน (red tape) ในการออกใบอนุญาตส่งออกข้าวโพดมีความล่าช้า ส่งผลให้มีสต็อกข้าวโพดในตลาดในประเทศตกค้างเป็นจำนวนมาก  ปัจจุบันราคาข้าวโพดอยู่ที่ประมาณ 800-820 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ในตลาดย่างกุ้ง ที่ผ่านมาไทยให้ไฟเขียวการนำเข้าข้าวโพดภายใต้ภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ (แบบ Form-D) ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. ถึง 31 ส.ค.2565 อย่างไรก็ตาม ไทยได้กำหนดอัตราภาษีนำเข้าสูงสุด 73% เพื่อปกป้องเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดของไทย โดยในปีงบประมาณ 2563-2564  เมียนมาส่งออกข้าวโพด 2.3 ล้านตันไปยังต่างประเทศ ส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปยังไทย และบางส่วนจะถูกส่งออกไปยังจีน อินเดีย และเวียดนาม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/corn-exports-to-thailand-plummet/#article-title

กัมพูชาส่งออกข้าวไปยังจีนมูลค่า 89 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี

กัมพูชาส่งออกข้าวสารปริมาณ 169,766 ตัน ไปยังจีนในช่วง 7 เดือนแรกของปี สร้างรายได้เข้าประเทศ 89 ล้านดอลลาร์ รายงานโดยสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) โดยจีนยังคงเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา ครองสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 48.3 ของปริมาณการส่งออกข้าวทั้งหมด ซึ่งกัมพูชาคาดหวังเป็นอย่างมากที่จะส่งออกข้าวไปยังจีนมากขึ้น ผ่านความตกลงการค้าเสรี RCEP โดยนอกจากการส่งออกแล้ว ทางการกัมพูชายังคาดหวังที่จะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในภาคส่วนต่างๆ ในประเทศ รวมถึงในอุตสาหกรรมการผลิตข้าว เพื่อส่งออกผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปไปยังประเทศกลุ่มสมาชิก RCEP ซึ่งตามรายงานของ CRF กัมพูชาส่งออกข้าวสารทั้งหมดทั้งสิ้น 350,902 ตัน ไปยัง 56 ประเทศทั่วโลก ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เมื่อเทียบเป็นรายปี สร้างรายได้รวม 218 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501125411/cambodia-earns-89-million-from-milled-rice-export-to-china-in-jan-july/

เดือนเม.ย.-ก.ค.65 เมียนมาส่งออกข้าวไปแล้วกว่า 733,000 ตัน สร้างเม็ดเงินเข้าประเทศ 249 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) เผย 4 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ (เม.ย.-ก.ค.2565) เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักจำนวน 733,098 ตัน โดยมีรายได้ประมาณ 249 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และยังพบว่าการส่งออกในเขตชายแดนลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วสาเหตุความล่าช้าเกิดจากความเข้มงวดของชายแดนจีน ปัจจุบันมีการส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 10,000 ถุง ผ่านชายแดนมูเซไปยังจีนทุกวัน ส่วนใหญ่เมียนมาส่งออกข้าวไปยัง 20 ประเทศ เช่น จีน (92,622 ตัน) และฟิลิปปินส์ (91,374 ตัน) เป็นต้น โดยราคาพันธุ์ข้าวขาวอยู่ที่ประมาณ 325-360 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และพบว่าราคาข้าวของเมียนมาค่อนข้างต่ำกว่าคู่แข่งอย่างไทยและเวียดนาม ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมามีรายได้ถึง 700 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ จากการส่งออกข้าว 2 ล้านตันไปยังต่างประเทศ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-249-mln-worth-of-over-733000-mt-of-rice-in-past-4-months/

ราคาข้าวเมียนมาในประเทศ ดิ่งฮวบ!

ศูนย์ค้าส่งข้าววะดาน เผย ราคาข้าวหักในในประเทศราคาร่วงลงอีกครั้งหนึ่ง ระหว่างวันที่ 11 – 15 ก.ค.2565 ราคาข้าวหักที่เคยสูงถึง 35,000 จัตต่อถุง (108 ปอนด์) ราคาลดฮวบเหลือ 28,000 จัตต่อถุงในวันที่ 18 ก.ค.2565  ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 7,000 จัตต่อถุงภายใน 3 วัน ราคาข้าวปัจจุบันอยู่ในช่วงระหว่าง 31,200 จัตต่อถุง ถึง 55,000 จัตต่อถุงขึ้นอยู่กับสายพันธ์ ตั้งแต่ ไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2565-2566 (เม.ย.-มิ.ย.2565) เมียนมาส่งข้าวและข้าวหักกว่า 550,000 ตัน โดยส่งออกทางทะเลกว่า 510,000 ตัน และผ่านชายแดนอีก 33,000 ตัน โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฟิลิปปินส์, จีน, เบลเยียม, สเปน ฯลฯ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ผ่านมา เมียนมา มีรายได้กว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าว 2 ล้านตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/broken-rice-prices-fall-again/#article-title

วิกฤติขาดแคลนข้าวสาลี เหตุจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ดันส่งออกข้าวเวียดนามดีขึ้น

ปัญหาการหยุดชะงักของอุปทานข้าวสาลีทั่วไปที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้ผู้นำเข้าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องแสวงหาวัตถุดิบหรือธัญพืชอื่นมาแทน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อข้าวเวียดนาม โดยข้าวเวียดนามปรับราคาสูงขึ้นอย่างมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาและสูงกว่าข้าวไทยอีกด้วย ข้าวคุณภาพสูงของเวียดนามในเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 10-15 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณการส่งออกข้าว อยู่ที่ 2.77 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 6.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่วนใหญ่จะส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลักที่มีความต้องการอย่างมาก โดยเฉพาะตลาดแอฟริกา ฟิลิปปินส์และมาเลเซีย ความต้องการข้าวเวียดนามที่เพิ่มขึ้นนั้นไม่เพียงแต่สามารถสังเกตได้ในตลาดดั้งเดิมเท่านั้น แต่ยังสามารถสังเกตได้ในตลาดระดับบนหรือตลาดไฮเอนด์ เช่น เยอรมนี สวีเดนและโปแลนด์ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางคนมองว่ายังเร็วเกินไปที่จะยินดีกับทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากผู้นำเข้าหลายรายเริ่มมองหาซัพพลาย เพื่อหาราคาข้าวที่ถูกกว่าท่ามกลางราคาข้าวเวียดนามที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1266243/wheat-shortages-bode-well-for-vietnamese-rice.html

“เวียดนาม” ยกระดับการส่งออกข้าวคุณภาพสูง

สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าราคาข้าวขาวหัก 5% ของเวียดนามสูงกว่าราคาข้าวไทย อินเดียและปากีสถาน โดยเฉพาะราคาข้าวเวียดนาม 418 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน สูงกว่าราคาข้าวไทย 8 ดอลลาร์สหรัฐและสูงกว่าราคาข้าวปากีสถาน ($30) และอินเดีย ($75) ตามลำดับ ในขณะที่ราคาส่งออกข้าวขาวหัก 25% ของเวียดนามในปัจจุบัน อยู่ที่ 403 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เท่ากับข้าวไทย แต่ยังสูงกว่าราคาข้าวปากีสถานและอินเดีย นอกจากนี้ ข้าวคุณภาพสูงของเวียดนามจะส่งออกไปยังญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป โดยเร็วๆนี้ทางบริษัท Tan Long Group JSC กับธนาคารญี่ปุ่น “Kiraboshi” ได้ร่วมจัดพิธีในกรุงโตเกียว มีวัตถุประสงค์เพื่อโปรโมทข้าว “ST25” ซึ่งเป็นข้าวหอมที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2562 สู่ตลาดญี่ปุ่น

 

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-boosts-export-of-highquality-rice/232263.vnp

จีนให้คำมั่นกัมพูชา สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจต่อเนื่อง

Wang Yi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน ให้คำมั่นต่อกัมพูชาในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ ผ่านการส่งออกและการเพิ่มเที่ยวบินตรงระหว่างประเทศ โดยการส่งออกของกัมพูชาไปยังจีนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 6-10 ทุกปี ในด้านการลงทุน Wang Wentian เอกอัครราชทูตจีนประจำกัมพูชา กล่าวว่า การลงทุนโดยตรงของจีนในกัมพูชาในปัจจุบันสูงถึง 206 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรกของปีนี้ ขณะที่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่าง จีน-กัมพูชา ก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนมีมูลค่าถึง 4,990 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามข้อมูลจากกรมศุลกากรและสรรพสามิต ในขณะที่กัมพูชาส่งออกไปยังจีนมูลค่ารวมอยู่ที่ 519.8 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สวนทางกับการนำเข้าจากจีนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.5 หรือคิดเป็นมูลค่า 4,470 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501106399/china-pledges-continuous-support-for-cambodias-economic-development/

5 เดือนแรกไทยส่งออก-ค้าชายแดน กวาดรายได้ เกือบ 5 ล้านล้านบาท

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยและการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน เดือนพฤษภาคมและ 5 เดือนแรกของปี 2565 ผ่านระบบซูม โดยตัวเลขการส่งออกเดือนพฤษภาคม 2565 เพิ่มขึ้น 10.5% มูลค่า 854,372 ล้านบาท และการส่งออกในภาพรวม 5 เดือนแรก มกราคม-พฤษภาคม เพิ่มขึ้น 12.9% มูลค่า 4,037,962 ล้านบาท 5 เดือนแรก การส่งออก เพิ่มขึ้น 12.9% แตะ 4 ล้านล้านบาท สำหรับทิศทางการส่งออกในเดือนที่เหลือของปีนี้ นายจุรินทร์กล่าวว่า ยังคิดว่ายังเป็นบวก เพราะ 5 เดือนนี้ เพิ่มขึ้น 12.9% ทั้งปียังน่าจะบวกได้และน่าจะเกินเป้า เพราะตั้งเป้าไว้ที่ 4-5% คิดว่าน่าจะบรรลุเป้า แต่จะเพิ่มไปมากน้อยแค่ไหนต้องประเมินรายละเอียดต่อไป ปีที่แล้วส่งออกทั้งปี 8.5 ล้านล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้าที่ 9 ล้านล้านบาท แต่ 5 เดือนทำได้ 4 ล้านล้านบาทแล้ว น่าจะเกินเป้าที่ 9 ล้านล้านบาทได้ ทั้งนี้ การส่งออก สินค้าสำคัญ 3 หมวด ประกอบด้วยสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรและหมวดสินค้าอุตสาหกรรม หมวดสินค้าเกษตร พฤษภาคม 2565 เพิ่มขึ้น 3 เดือนต่อเนื่อง เพิ่มขึ้น 21.5% มูลค่า 106,082 ล้าน

ที่มา : https://www.prachachat.net/breaking-news/news-968673