‘ยอดการค้าเวียดนาม-สหรัฐฯ’ มีโอกาสแตะ 100 พันล้านเหรีญสหรัฐ ปีนี้

การค้าระหว่างประเทศเวียดนาม-สหรัฐฯ มีแนวโน้มแตะ 100 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ เพิ่มขึ้นกว่า 221 เท่าเมื่อเทียบกับตัวเลขในปี 2538 เมื่อทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ระดับปกติ นาย Hoang Quang Phong รองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) กล่าวในที่ประชุมเกี่ยวกับการส่งเสริมการค้าระหว่างเวียดนามกับสหรัฐฯ ภายใต้บริบทใหม่ ว่าแม้จะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อหวงโซ่อุปทาน แต่ในปี 2563 ถือเป็นปีแรกที่ยอดการค้าทวีภาคีระหว่างเวียดนาม-สหรัฐฯ มีมูลค่ามากกว่า 90 พันล้านเหรียญสหรัฐ

อีกทั้ง ปัจจัยทางการค้าถือเป็นเสาหลักสำคัญของความสัมพันธ์การค้าระหว่างเวียดนาม-สหรัฐฯ โดยเวียดนามสนใจที่จะทำธุรกิจในตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากจำนวนผู้บริโภคมีขนาดใหญ่กว่า 100 ล้านคน ประกอบกับนโยบายที่เปิดกว้าง มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับตลาดอาเซียนผ่านข้อตกลงการค้าเสรี

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-us-trade-likely-to-reach-100-billion-usd-this-year/215948.vnp

บริษัทค้าปลีกเสื้อผ้า-รองเท้าแบรนด์ดังกระทบหนัก หลัง “เวียดนาม” ปิดโรงงานล็อคดาวน์โควิดยาวนาน

โดย Money & Banking (การเงินการธนาคาร)

นักวิเคราะห์จาก BofA Securities เป็นธนาคารเพื่อการลงทุนข้ามชาติของอเมริกาภายใต้การดูแลของ Bank of America ระบุว่า ผลกระทบของการปิดโรงงานที่ยืดเยื้อเป็นเวลานานในเวียดนาม มีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบอย่างมากกับผู้ค้าปลีดเสื้อผ้าและรองเท้าหลายรายที่วางแผนไว้สำหรับปี 2565

โดย BofA Securities มองถึงเหตุผลหลายประการสำหรับการคาดการณ์นี้ รวมข้อเท็จจริงที่ว่าการกลับมาของเศรษฐกิจในเวียดนามตอนใต้ ซึ่งมีผู้ผลิตเสื้อผ้าและรองเท้าจำนวนมาก มีการเคลื่อนไหวช้ากว่าทางตอนเหนือมาก

เนื่องจากเวียดนามประสบกับจำนวนผู้ป่วยโควิดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรุนแรงในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ส่งผลให้มีการล็อคดาวน์ในพื้นที่อีกครั้ง การผลิตต้องหยุดชั่วคราวและส่งผลกระทบต่อบริษัทต่างๆ เช่น Adidas และ Nike ที่ต้องพึ่งพาภูมิภาคนี้เป็นอย่างมากในการผลิตรองเท้าผ้าใบและเสื้อผ้ากีฬา โดย BofA ตั้งข้อสังเกตว่าธุรกิจต่างๆ ได้เริ่มเปิดทำการอีกครั้งแล้ว แต่อัตราการฉีดวัคซีนยังคงต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

Mohamed Faiz Nagutha นักเศรษฐศาสตร์ของ BofA กล่าวว่า แม้ว่ากิจกรรมการผลิตจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในปีที่แล้วหลังจากการหยุดชะงักจากการแพร่ระบาดของโควิดในช่วงสั้นๆ พร้อมเสริมว่า แต่กฎการดำเนินงานโรงงานในปัจจุบันในเวียดนามยังคงเข้มงวดและซับซ้อนมาก ซึ่งอาจขัดขวางความสามารถของพนักงานในการกลับไปทำงานได้

“โดยรวมแล้ว เราคาดว่าการแพร่ระบาดจะส่งผลกระทบต่อความคาดหวังในการกลับมาดำเนินกิจกรรมการผลิตใหม่อย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่ยังคงมีอยู่ ต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นและการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานในส่วนอื่นๆ ของเอเชีย

ด้าน Puma ได้เตือนแล้วว่าปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะในเวียดนาม จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทขาดแคลนในปีหน้า ขณะที่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Adidas ปรับลดแนวโน้มในปี 2564

ที่มา : https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/vietnam-factory-effect-retail-market-161164

อ้างอิง : https://www.cnbc.com/2021/11/15/factory-shutdowns-in-vietnam-to-have-longer-impact-for-retailers-bofa.html

‘เวียดนาม’ กลายเป็นจุดเชื่อมโยงสำคัญของห่วงโซ่อุปทานสหรัฐฯ

จากข้อมูลของหนังสือพิมพ์ Dau Tu (Investment) ระบุว่าซีอีโอ 90 คน จากบริษัทชั้นนำของสหรัฐฯ เรียกร้องให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เร่งบริจาควัคซีนให้กับเวียดนาม เนื่องจากเวียดนามเผชิญกับการระบาดของไวรัสที่ร้ายแรงที่สุด ซึ่งจดหมายที่ส่งถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซีอีโอของบริษัทต่างๆ ได้แก่ Adidas, Coach, Gap, Hanesbrands, Nike, VF และ Under Amour ได้เน้นย้ำว่าเวียดนามเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจและซัพพลายเชนที่สำคัญของสหรัฐฯ ทั้งนี้ ปัจจุบันเวียดนามเป็นประเทศผู้ผลิตเสื้อผ้า รองเท้าและอุปกรณ์การเดินทางรายใหญ่อันดับ 2 ของตลาดสหรัฐฯ นอกจากนี้เวียดนามยังเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่สำหรับวัตถุดิบที่ป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตรองเท้าของสหรัฐฯ และแรงงานสหรัฐฯกว่า 3 ล้านคนเชื่อมโยวผ่านห่วงโซ่คุณค่ากับคนเวียดนามอีกหลายล้านคน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-an-important-link-of-us-supply-chain/206996.vnp

เวียดนามเผยไตรมาสแรก ภาคเกษตรฯ ส่งออกพุ่ง

การส่งออกสินค้าการเกษตร ป่าไม้และประมงของเวียดนามเติบโตได้ดี ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ แม้เผชิญการระบาดของโควิด-19 เวียดนามมีรายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรกรรม 24.23 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 28.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานวัตถุดิบไปยังทั่วโลก และในทิศทางเชิงลบต่อการผลิต การบริโภคและการส่งออกสินค้าการเกษตร ทั้งนี้ สินค้าส่งออกการเกษตรของเวียดนามที่มีการเติบโตทั้งปริมาณและมูลค่า ได้แก่ ยางพารา ชา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากมันสำปะหลัง อย่างไรก็ดี จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เป็นตลาดส่งออกสินค้าการเกษตรที่สำคัญของเวียดนาม โดยสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุด ด้วยมูลค่า 6.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ พุ่ง 59.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/986726/viet-nams-agriculture-sector-gains-export-growth-in-h1.html

ธุรกิจสหรัฐฯ เล็งขยายห่วงโซ่อุปทานในเวียดนาม

ตามรายงานของบริษัท QIAM (ผู้ให้บริการทางด้านซัพพลายเชนในสหรัฐอเมริกา) เผยว่าจากการสำรวจของกลุ่มธุรกิจสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ 43% มองว่าเวียดนามเป็น 1 ใน 3 ประเทศชั้นนำในภูมิภาคที่มีการซื้อสูงสุดตั้งแต่ต้นปี 2564 และพุ่งขึ้น 2 เท่าจากปี 2562 ซึ่งข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความต้องการในการตรวจสอบและติดตามคุณภาพการดำเนินงานในเวียดนามเพิ่มขึ้น การเติบโตในครั้งนี้ ขยายตัวมากกว่าในช่วงระดับก่อนการระบาดโควิด-19 เป็นผลมาจากความต้องการในการตรวจสอบในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2562 นอกจากนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์ ระบุว่าเวียดนามไม่ใช่ประเดียวในภูมิภาคที่ได้รับประโยชน์จากปริมาณธุรกิจที่ขยายตัว เนื่องจากมีความต้องการทางด้านงานตรวจสอบและติดตามคุณภาพการดำเนินงานในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/944703/us-firms-interested-in-vietnamese-supply-chain.html

ADB อนุมัติเงินกู้ส่งเสริมห่วงโซ่อุปทานการเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหารในกัมพูชา

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้อนุมัติเงินกู้ 70 ล้านดอลลาร์ เพื่อปรับปรุงขีดความสามารถของธุรกิจภาคการเกษตรใน 6 จังหวัดทั่วกัมพูชาในการแปรรูปสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่น มันสำปะหลัง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มะม่วง ผัก และสัตว์ปีก ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มความปลอดภัยของห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตร โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างประโยชน์ให้กับสหกรณ์การเกษตร 230 แห่ง และธุรกิจด้านการเกษตร 50 แห่งทั่วกัมพูชา ซึ่งมองว่าภาคการเกษตรสามารถช่วยเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ หากธุรกิจด้านการเกษตรไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือขนาดกลางในท้องถิ่นสามารถปรับปรุงความสามารถในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลผลิตและทำการตลาดในประเทศและต่างประเทศได้ โดยปัจจุบันสินค้าแปรรูปจากภาคเกษตรมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 4 ของ GDP เนื่องจากไม่มีผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มที่หลากหลาย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50787037/adb-approves-70-million-loan-to-strengthen-agricultural-value-chain-and-food-safety-in-cambodia/

นักลงทุนญี่ปุ่นย้ายฐานเข้าสู่เวียดนาม เหตุห่วงโซ่อุปทาน

การลงทุนของญี่ปุ่นในเวียดนามนั้น มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และยังคงดำเนินต่อไปอีก เนื่องจากนักลงทุนญี่ปุ่นมองว่าเวียดนามมีสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดี โดยบริษัทญี่ปุ่น 15 รายที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อกระจายห่วงโซ่อุปทานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ คุณ Watanabe Nobuhiro กล่าวว่าบริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งเข้าร่วมกับทาง HCMC Japanese Friendship Club (JCCH) แสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจของผู้ประกอบการญี่ปุ่นต่อการทำธุรกิจในนครโฮจิมินห์ อีกทั้ง สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ระบุว่าสาเหตุดังกล่าวมาจากการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ ทำให้ธุรกิจญี่ปุ่นในโฮจิมินห์สามารถจัดการกับปัญหาในการทำธุรกิจได้

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/japanese-investors-shifting-to-vietnam-to-diversify-supply-chain-24249.html

กัมพูชาเผชิญกับปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานจากไวรัส COVID-19

ซัพพลายเออร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากกัมพูชา เมียนมาและเวียดนามมีความสำคัญต่อแบรนด์แฟชั่นระดับโลกสูงขึ้นเกือบ 20% โดยซัพพลายเออร์เหล่านี้เผชิญกับปัญหาในด้านห่วงโซ่อุปทานเนื่องจากวัสดุส่วนใหญ่สำหรับผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมาจากประเทศจีน ซึ่งได้รับความเสียหายจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยเลขาธิการสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าในประเทศกัมพูชาอ้างโดย Nikkei Asian Review กล่าวว่าวัตถุดิบมากกว่า 60% สำหรับอุตสาหกรรมเสื้อผ้าของประเทศกัมพูชามาจากประเทศจีน ซึ่งโฆษกกระทรวงแรงงานกล่าวกับสื่อมวลชนท้องถิ่นว่ามีคนงานมากกว่า 90,000 คน ในโรงงานกว่า 200 แห่งในกัมพูชา ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในครั้งนี้

ที่มา :  https://www.khmertimeskh.com/50694492/cambodia-faces-supply-chain-crunch-no-thanks-to-covid-19