แนวโน้มการค้ากัมพูชาปรับตัวดีขึ้นจากการส่งออกไปยังสหรัฐฯและจีนเป็นบวก

โอกาสทางการค้าของกัมพูชากลับมาปรับตัวดีขึ้นหลังจากจีนได้ให้คำมั่นที่จะเพิ่มการนำเข้าสินค้าเกษตรจากกัมพูชา สอดคล้องกับการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน ซึ่งกระทรวงกำลังเร่งดำเนินการเพื่อเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการส่งออกไปยังต่างประเทศมากขึ้น รวมถึงขอการสนับสนุนทางด้านเทคนิค เนื่องจากจำเป็นต้องยกระดับการผลิตจากการปลูกสู่การแปรรูปเพื่อการส่งออก โดยตั้งแต่มกราคมถึงพฤษภาคมปีนี้ กระทรวงเกษตรรายงานว่ากัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรที่ไม่ใช่ข้าวรวมกว่า 3 ล้านตันมูลค่า 1.799 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 67 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนตัวเลขการค้าทวิภาคีในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯ มีมูลค่าถึง 2.652 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3 แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการค้าระหว่างกับพูชากับสหรัฐฯและจีนกำลังปรับตัวดีขึ้นควบคู่ไปกับการค้าโดยรวมภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50871510/cambodias-trade-outlook-brightens-on-positive-us-and-china-export-news/

ทุนจีนวางแผนเตรียมสร้างโรงงานผลิตยางล้อในกัมพูชา

China’s General Science Technology วางแผนสร้างโรงงานผลิตยางรถยนต์มูลค่า 202 ล้านดอลลาร์ในกัมพูชา คาดผลิตยางสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลได้ 6 ล้านเส้นต่อปี ซึ่งโรงงานจะตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกัมพูชา โดยโรงงานนี้คาดว่าจะใช้เวลาในการก่อสร้าง 15 เดือนจึงจะแล้วเสร็จและจะเริ่มดำเนินการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2022 เมื่อเริ่มดำเนินคาดว่าจะสร้างงานใหม่เกือบ 800 ตำแหน่ง และสร้างกำไรสุทธิเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ประมาณ 25.6 ล้านดอลลาร์ จากยอดขายประจำปีมากกว่า 212 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาพร้อมที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมกสนผลิตยางในประเทศให้เกิดการเติบโต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50870839/chinas-general-science-to-build-202mn-tyre-plant-in-cambodia/

ไทยผลักดันความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติระหว่างอาเซียนและจีน

นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ ณ นครฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ช่วงวันที่ 6-8 มิถุนายน ที่ผ่านมา ว่าประเทศสมาชิกอาเซียน ชื่นชมการสนับสนุนของจีนแก่อาเซียนในการรับมือกับโควิด-19 เช่น การสนับสนุนเงินจำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สมทบกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-19 และการสนับสนุนวัคซีนแก่ประเทศต่างๆ อีกทั้งจีนยังเป็นภาคีภายนอกของอาเซียนประเทศแรก ที่ให้สัตยาบันความตกลง RCEP เมื่อปี 2564 ตลอดจนร่วมยินดีที่อาเซียนและจีนเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 1 ของกันและกันในปัจจุบัน โดยที่ประชุมฯ ยังร่วมกำหนดทิศทางความสัมพันธ์ฯ ในอนาคต เช่นการฟื้นฟูหลังสถานการณ์แพร่ระบาดและการส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยได้กำหนดให้ปี 2564 – 2565 เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนอาเซียน-จีน ในส่วนของไทยสนับสนุนการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียน-จีนอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

ที่มา : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG210609155346278

เกษตรกรมโหย่ติ ประสบผลสำเร็จในการปลูกงาได้ตลอดทั้งปี

ชาวบ้านในพญายี อำเภอมโหย่ติ จังหวัดมะกเว เขตมะกเว ประสบความสำเร็จในการใช้น้ำบาดาลปลูกงาดำตลอดทั้งปี เกษตรกรมีการไถไร่อย่างเป็นระบบ งาดำเริ่มปลูกเมื่อวันที่ 24 เมษายน 64 หลังจากมีเรือนเพาะชำแล้ว จะทำการปลูกบนพื้นที่ขนาด 1 เอเคอร์ และรดน้ำด้วยผ่านท่อด้วยระบบสปริงเกอร์งาสามารถให้ผลผลิตได้หลังจากปลูก 100 วัน งามีการปลูกในประเทศตลอดทั้งปี โดยเฉพาะเมียนมาร์ปลูกงาขาว งาดำ ปัจจุบันเมียนมาส่งออกงาไปยังจีนส่วนใหญ่ผ่านเส้นทางชายแดน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cultivation-of-sesame-succeeds-in-myothit/#article-title

กัมพูชาผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรไปตลาดจีน

กัมพูชาผลักดันผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีศักยภาพเพื่อการส่งออกไปยังจีน หลังจากกัมพูชาได้ทำการส่งออกมะม่วงโดยตรงไปยังประเทศจีนได้สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยผลผลิตทางการเกษตรที่มีศักยภาพของกัมพูชา ได้แก่ ลำไย ทุเรียน แก้วมังกร และรังนก เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้รวมไปถึงมะม่วงสดและกล้วยที่ถือเป็นสินค้าเกษตรซึ่งกัมพูชาได้รับอนุมัติให้ทำการส่งออกไปยังจีนได้ภายใต้ข้อตกลง โดยจีนถือเป็นตลาดสำคัญในการส่งออกของกัมพูชา ซึ่งมีประชากรรวมกว่า 1.4 พันล้านคน ด้านตัวเลขการส่งออกจากกระทรวงเกษตรแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรที่นอกเหนือจากข้าวรวมกว่า 3 ล้านตัน ในช่วงเดือร ม.ค.-พ.ค. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สร้างรายได้รวม 1.799 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50869417/more-potential-agricultural-products-named-for-export-to-china/

มูลนิธิจีเอ็กซ์ มอบเวชภัณฑ์แก่สปป.ลาวเพื่อรับมือโควิด

มูลนิธิจีเอ็กซ์ ได้มอบเวชภัณฑ์มูลค่ากว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนการตอบสนองต่อการระบาดของโควิด-19 ของสปป.ลาว ดร.กิเคโอะ ประธานหน่วยเฉพาะกิจด้านการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 แห่งชาติ กล่าวว่า “สิ่งของที่ได้รับบริจาคจำเป็นต่อการช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโควิด-19 และจะปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ในระหว่างการทำงาน” การบริจาคสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างสปป.ลาวและจีนภายใต้โครงการ Belt and Road Initiative

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_GX_108.php

บริษัท สปป.ลาวและจีนลงนามร่วมมือส่งเสริมการค้าขายสินค้าเกษตร

ข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง AIDC Trading Sole Co Ltd และ Zhengzhou City Grain and Oil Industry Co Ltd ได้ลงนามในเวียงจันทน์เมื่อวันศุกร์ระหว่างการประชุมทางวิดีโอ ภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลง AIDC Trading จะส่งออกสินค้าเกษตร 9 ประเภทไปยังประเทศจีน ได้แก่ ถั่วลิสง ตันมันสำปะหลัง ตันเนื้อแช่แข็งและแห้ง ตันเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ตันทุเรียน ตันกล้วย ตันมะม่วง ตันถั่วเหลือง ตันและ ตัน น้ำตาล จากผลของการลงนามจะทำให้การส่งออกโดยรวมกันของทั้ง 9 สินค้าในช่วง 5 ปีตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2569 จะมีมูลค่าถึง 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ความร่วมมือนี้จะช่วยปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของหลายร้อยครอบครัวมีส่วนช่วยให้รัฐบาลมีรายได้และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับชุมชนท้องถิ่น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laoand_103.php

โควิด! พ่นพิษฉุดราคาส่งออกมะม่วงเซ่งตะโลงไปจีน ดิ่งลง

สมาคมพัฒนาตลาดมะม่วงและเทคโนโลยีแห่งเมียนมา เผย ราคามะม่วงเซ่งตะโลงส่งออกไปจีนลดลงในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จาก 120 หยวนต่อตะกร้า แต่ในปีนี้ราคาร่วงเกลือ 100 หยวนต่อตะกร้า (1 ตะกร้าละ น้ำหนัก 16 กิโลกรัม) ผลจากการที่รถบรรทุกหลายพันคันติดอยู่ที่ชายแดนเมียนมา – จีน จากการปิดด่านเพราะสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลให้คุณภาพมะม่วงลดลงและราคาก็ลดลงตามไปด้วย ปัจจุบันมีการส่งออกทางรถบรรทุกมะม่วงประมาณ 10 หรือ 15 คันไปยังจีนทุกวัน ส่วนใหญ่ผลผลิตมาจากเมืองสะกายและเมืองกะธา โดยมะม่วงส่วนใหญ่จะปลูกกันในเขตอิรวดีบนพื้นที่ประมาณ 46,000 เอเคอร์ ตามด้วยเขตพะโค 43,000 เอเคอร์ เขตมัณฑะเลย์ 29,000 เอเคอร์ รัฐกะเหรี่ยง 24,000 เอเคอร์ รัฐฉาน 20,400 เอเคอร์ และเมืองซะไกง์ 20,000 เอเคอร์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/price-of-seintalone-mango-exported-to-china-plummets-this-year/#article-title

การพัฒนาของจีนสู่การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจกัมพูชา

ด้วยการคาดการณ์การพัฒนาของจีนที่อาจจะส่งผลผลักดันการเติบโตภายในภูมิภาคอาเซียนในปีนี้ โดยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของกัมพูชาจากการแพร่ระบาดยังคงขึ้นอยู่กับความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่างจีนที่มีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ซึ่งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ทั่วโลกที่ลงทุนมายังกัมพูชาลดลงกว่าร้อยละ 48 สู่ระดับ 846 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2015 ตามข้อมูลขององค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา โดย FDI คิดเป็นร้อยละ 13.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของกัมพูชา ซึ่งหากคิดจากปี 2020 กัมพูชาได้รับการลงทุนโดยตรงจากจีนมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 860 ล้านดอลลาร์ ลดลงจาก 3.6 พันล้านดอลลาร์ในปี 2019 โดยการเติบโตของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจขึ้นอยู่กับว่าจีนฟื้นตัวได้ดีเพียงใดในปีนี้ เนื่องจากจีนถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ ทั้งทางด้านมูลค่าการลงทุน ไปจนถึงปริมาณการลงทุนภายในภูมิภาค เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50863169/economic-recovery-linked-to-chinese-development/

บทบาทจีนใน CLMV จะเปลี่ยนไปอย่างไรหลังโควิด-19 ท่ามกลางความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคุกรุ่นอยู่

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ในช่วงที่ผ่านมา บทบาททางเศรษฐกิจของจีนในกลุ่มประเทศ CLMV นับได้ว่าโดดเด่นมาก โดยเฉพาะด้านการค้า ผ่านยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่จีนพยายามเข้ามาสร้างอิทธิพลทางเศรษฐกิจ ทั้งอิทธิพลของความเชื่อมโยงทางกายภาพ (Physical connectivity) อาทิ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม รวมถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ ภายใต้ Belt and Road Initiative ซึ่งมีส่วนช่วยดึงดูด FDI จีนให้มาตั้งคลัสเตอร์อุตสาหกรรมในพื้นที่ รวมถึงอุตสาหกรรมบริการที่ตอบสนองความเป็นเมืองที่มากขึ้น ขณะเดียวกัน อิทธิพลของความเชื่อมโยงทางสถาบัน (Institutional connectivity) ของจีน อาทิ การผ่อนคลายกฎระเบียบที่เอื้อประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศ ก็มีช่วยกระตุ้นมูลค่าการค้าระหว่าง CLMV กับจีนให้เร่งตัวขึ้น

อนึ่ง การทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (De-Globalization) ที่ทั่วโลกเผชิญอยู่อันมีจุดเริ่มต้นจากสงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ กำลังโดนซ้ำเติมจากความเปราะบางของห่วงโซ่อุปทานโลกอันมีมูลเหตุจากปัจจัยที่ไม่อาจคาดเดามาก่อน อาทิ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก อาจส่งผลให้จีนรวมถึงบริษัทต่างชาติในจีนหันมาให้ความสำคัญต่อประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง (Regionalization) ในการเป็นห่วงโซ่อุปทานแห่งใหม่ เพื่อลดและกระจายความเสี่ยงทางด้านปฏิบัติการ หากฐานการผลิตกระจุกตัวอยู่ในจีน รวมถึงมีส่วนช่วยคานอิทธิพลด้านเศรษฐกิจจากสหรัฐฯ ในทางอ้อม โดยความสำคัญของกลุ่ม CLMV ต่อจีนภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 คาดว่าจะอยู่ในฐานะแหล่งการผลิตสินค้าทางการเกษตร รวมถึงอาหารเพื่อตอบโจทย์ความมั่นคงทางด้านอาหาร (Food security) ที่ทางการจีนมุ่งเน้นภายใต้ยุทธศาสตร์ Dual Circulation นอกจากนี้ CLMV มีแนวโน้มได้รับการกระจายการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นในทิศทางที่เร่งตัวขึ้น โดยเวียดนามยังคงมีศักยภาพในการก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานใหม่สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเข้มข้นอย่างอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ดี เวียดนามที่โดยพื้นฐานแล้วยังมีความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์กับจีนอยู่ซึ่งได้พยายามสานสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอื่นจนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นพันธมิตรกับทางสหรัฐฯ มากขึ้นในช่วงที่ผ่านมานั้น อาจพยายามปรับสมดุล FDI โดยเฉพาะในภาคการผลิตและบริการที่ใช้เทคโนโลยีเข้มข้นให้รองรับนักลงทุนสัญชาติอื่นที่มีศักยภาพสูงมากกว่าดึงดูด FDI จากจีนเป็นหลัก

อ่านต่อ : https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/CLMV-EPI-27-05-21.aspx