สหภาพยุโรปสนับสนุนเงินทุน 2.5 ล้านยูโร ในโครงการป้องกันและบรรเทา COVID-19

สหภาพยุโรปได้จัดหาเงินจำนวน 2.5 ล้านยูโรให้กับสปป.ลาวภายใต้โครงการที่ชื่อว่า“ Civil Society Action to Prevent and Mitigate Covid-19” ภายใต้ความร่วมมือ Plan International องค์กรภาคประชาสังคมสปป.ลาว และสมาคมพัฒนาการเกษตรและสิ่งแวดล้อม พวกเขามีเป้าหมายที่จะสนับสนุนรัฐบาลสปป.ลาวในการบรรเทาผลกระทบด้านสุขภาพสังคมและเศรษฐกิจจากการระบาด COVID-19 ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานองค์กรภาคประชาสังคม นอกจากนี้ยังเสริมสร้างแผนการพัฒนาด้านสาธารณสุขรวมถึงให้ความสำคัญกับต่อเศรษฐกิจสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาความยากจนที่เป็นปัญหาที่สปป.ลาวเผชิญมาตลอด เงินทุนดังกล่าวจะเข้ามาช่วยทำให้สปป.ลาวพัฒนาต่อไปได้ภายใต้ปัจจัยพื้นฐานที่มั่นคงในแต่ละด้าน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_EU161.php

สถานการณ์ COVID-19 ในกัมพูชาไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ติดต่อกันเป็นวันที่ 5

กัมพูชาไม่พบผู้ป่วยเป็นวันที่ 5 ติดต่อกันจากผู้ติดเชื้อของไวรัส COVID-19 รายใหม่ โดยกัมพูชามีผู้ติดเชื้อภายในประเทศจนถึงปัจจุบันตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมจำนวน 273 ราย ซึ่งผู้ติดเชื้อ 273 คน ประกอบด้วยคนกัมพูชา 174 ราย ฝรั่งเศส 40 ราย จีน 17 ราย มาเลเซีย 13 ราย อินโดนีเซีย 8 ราย อเมริกัน 7 ราย อังกฤษ 5 ราย เวียดนาม 3 ราย แคนาดา 3 ราย เบลเยียม 1 ราย อินเดีย 1 ราย และคาซัคสถาน 1 ราย ในขณะเดียวกันวันนี้กระทรวงสาธารณสุขประกาศถึงผู้ป่วยฟื้นตัวรายใหม่ 13 ราย โดยขณะนี้ยอดผู้รักษาหายอยู่ที่ 251 ราย หรือมากกว่าร้อยละ 92 ซึ่งไม่มีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ COVID-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50755704/cambodia-covid-19-situation-update-no-new-cases-for-5th-straight-day-13-new-recoveries/

รายงานภาวะเศรษฐกิจครึ่งปี 63 เศรษฐกิจสปป.ลาวมีแนวโน้มที่ดี

ตามรายงานการประเมินเศรษฐกิจมหภาคที่เปิดเผยโดยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติพบว่าตัวชี้วัดเศรษฐกิจสปป.ลาวบางประการมีแนวโน้มที่ดีในช่วงครึ่งปีนี้ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในช่วงตกต่ำและมีความไม่แน่นอนทั่วโลกจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ด้านการส่งออกพบว่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตั้งแต่เดือนมิถุนายนเมื่อทางการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนระหว่างสปป.ลาวและเพื่อนบ้าน ด้านการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติในสปป.ลาวลดลงร้อยละ 60 ในช่วงครึ่งปีนี้ ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตราการเพื่อบรรเทาและช่วยเหลือภาคต่างๆ รวมถึงธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินได้ชะลอการชำระคืนเงินกู้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเพื่อตอบสนองต่อภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเพื่อบรรเทาและช่วยเหลือภาคธุรกิจ ปัจจุบันถึงแม้สถานการณ์การ COVID-19 ในสปป.ลาวจะดีขึ้นแต่ตัวชี้วัดสำคัญอย่างอัตราการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม ทำให้รัฐบาลยังคงให้ความสำคัญกลับแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างจริงจัง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Study.php

ทุนญี่ปุ่น เบนเข็มสู่อาเซียน ใครได้ประโยชน์?

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (มิติ) ของญี่ปุ่น ได้ประกาศว่ามีกลุ่มบริษัทญี่ปุ่นรวม 87 แห่งมีความประสงค์ย้ายฐานการผลิตออกจากจีน ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ให้เงินอุดหนุนในการโยกย้ายหรือกระจายการลงทุนในวงเงิน 70,000 ล้านเยน หรือประมาณ 20,000 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพาฐานการผลิตในจีน และเพื่อให้ญี่ปุ่นสามารถบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สาเหตุการย้ายฐานการผลิตของบริษัทญี่ปุ่นออกจากจีน การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในภาคอุตสาหกรรม หลายอุตสาหกรรมต้องชะงักงันจากการปิดประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ส่งผลกระทบต่อระบบซัพพลายเชน ทั้งนี้ 87 บริษัทญี่ปุ่นย้ายฐานการผลิตออกจากจีนแล้วไปไหน พบว่า 57 บริษัทจะย้ายการดำเนินการกลับไปญี่ปุ่น โดยใช้วัสดุท้องถิ่นทั้งหมด ขณะที่อีก 30 บริษัทจะย้ายฐานการผลิตมายังอาเซียน ซึ่งพบว่าจะย้ายมาเวียดนาม 15 บริษัท อาทิ บริษัทผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดไดร์ฟ บริษัทผลิตแร่เหล็กหายาก, ไทย 6 บริษัท ได้แก่ บริษัทผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อ บริษัทผลิตโลหะผสม บริษัทผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์ บริษัทผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ บริษัทผลิตเสื้อกาวน์, มาเลเซีย 4 บริษัท อาทิ บริษัทผลิตถุงมือยาง, ฟิลิปปินส์ 3 บริษัท, ลาว 2 บริษัท, อินโดนีเซีย 1 บริษัท และเมียนมา 1 บริษัท

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/894038?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic=10473&index

เวียดนามเผยการบริโภคเหล็กลดลง 9.6% ในช่วง 7 เดือนแรก

สมาคมเหล็กเวียดนาม (VSA) เผยในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ การบริโภคเหล็กของเวียดนามอยู่ที่ 12.7 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยคาดว่าตลาดเหล็กทั่วโลกจะกลับมาปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ แต่ว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงระบาดอยู่จนถึงตอนนี้ ประกอบกับเวียดนามประสบปัญหาการขายเหล็กในตลาดต่างประเทศ เนื่องจากหลายๆประเทศยังคงล็อกดาวน์อยู่และการหยุดชะงักของซัพพลายเชน ทั้งนี้ สมาคมฯ ระบุว่าผู้ส่งออกเหล็กชาวเวียดนามจำเป็นต้องพิจารณาเกี่ยวกับการควบคุมผลิตภัณฑ์เหล็กสำเร็จรูปที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากรายการสินค้าดังกล่าว ได้รับการแจ้งเตือนถึงมาตรการป้องกันทางการค้า นอกเหนือจากมาตรฐานด้านเทคนิคและมาตรฐานแหล่งกำเนิดสินค้าแล้ว ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับเงื่อนไขป้องกันทางการค้า เมื่อส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ และยุโรป

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/steel-consumption-down-96-in-first-seven-months-417440.vov

รีสอร์ทในกัมพูชาเกือบ 600 แห่ง พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาว

กระทรวงการท่องเที่ยวระบุว่ามีรีสอร์ทอย่างน้อย 557 แห่งทั่วประเทศเปิดให้บริการสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งในและนักท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วงวันหยุด 5 วัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคมพร้อมมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยกระทรวงการท่องเที่ยวได้แนะนำให้รีสอร์ทเตรียมเครื่องมือที่จำเป็นรวมทั้งเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิร่างกาย แอลกอฮอล์เจล มาส์ก และเจลล้างมือ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อความปลอดภัย ซึ่งการแพร่ระบาดของโควิด -19 ได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชาทำให้โรงแรม เกสต์เฮาส์ ร้านอาหาร และ บริษัททัวร์บางแห่งปิดกิจการไปแล้วกว่า 3,000 แห่งทั่วกัมพูชา ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาอนุญาตให้มีวันหยุด 5 วันตั้งแต่วันที่ 17 ถึง 21 สิงหาคม เพื่อทดแทนวันหยุดปีใหม่ของกัมพูชาในช่วงกลางเดือนเมษายน โดยเลื่อนออกไปเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/755525/nearly-600-tourism-resorts-cash-in-on-domestic-tourists-during-five-day-holiday/

สปป.ลาวเผชิญกับการส่งเงินกลับประเทศที่ลดลงอย่างรวดเร็ว

คณะกรรมการวางแผนการเงินและตรวจสอบของสมัชชาแห่งชาติและนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสกล่าวว่าการส่งเงินกลับประเทศในสปป.ลาวคาดว่าจะลดลงประมาณร้อยละ 50 ในปี 63 อันเป็นผลมาจากการระบาดของโควิด -19 ประธาน การส่งเงินกลับประเทศดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญในเศรษฐกิจสปป.ลาวและความพยายามลดความยากจน ซึ่งแรงงานข้ามชาติสปป.ลาวมากกว่า 100,000 คนได้เดินทางกลับบ้านจากการแพร่ระบาดของโควิด -19 ส่วนใหญ่ทำงานในประเทศไทยส่วนที่เหลือทำงานในเกาหลีใต้และญี่ปุ่น และแรงงานบางส่วนที่ทำงานในประเทศอื่น ๆ แต่มีจำนวนไม่มากนัก ตามรายงานของธนาคารโลกฉบับล่าสุดที่เปิดเผยเมื่อเดือนมิ.ย.ปีนี้ผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากโควิด -19 ส่งผลเสียต่อสปป.ลาวในการส่งเงินเข้าประเทศและอาจผลักดันให้ผู้คนจำนวนมากถึง 214,000 คนเข้าสู่ความยากจน นับตั้งแต่เกิดการระบาดส่งผลให้มีการส่งเงินกลับประเทศลดลงประมาณ 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 0.7% ของ GDP ในปี 63 ครัวเรือนในสปป.ลาวประมาณ 9 % ได้รับการโอนเงินจากต่างประเทศและการส่งเงินคิดเป็น 60% ของรายได้ครัวเรือน ตามรายงานของธนาคารโลกรายได้ครัวเรือนของผู้รับลดลงอย่างมากอาจส่งผลให้อัตราความยากจนเพิ่มขึ้น คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.4 – 3.1 % ในปี 63 อย่างไรก็ตามการหยุดชะงักของประเทศขัดขวางกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเงินในประเทศและรายได้ของคนในท้องถิ่น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_to_159.php

เวียดนามนำเข้ารถยนต์ดิ่งลงฮวบ 50% เผชิญกับการระบาดของไวรัสโควิด-19

กรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามนำเข้ารถยนต์ 44,973 คัน ลดลงร้อยละ 47.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ความต้องการรถยนต์ลดลง ขณะที่ มูลค่าการนำเข้ารถยนต์ราว 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งปริมาณการนำเข้ารถยนต์ส่วนใหญ่ของเวียดนามร้อยละ 80 มาจากประเทศไทย (19,944 คัน) และอินโดนีเซีย (17,723 คัน) ที่ปลอดภาษีภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียน นอกจากนี้ จากรายงานของสมาคมผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม (VAMA) ระบุว่ายอดขายรถยนต์ของเวียดนามในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณยอดขายอยู่ที่ 131,200 คัน เป็นผลมาจากความต้องการของผู้คนลดลงท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/car-imports-plummet-nearly-50-pct-covid-19-blamed-4147657.html

บริษัทในพื้นที่ลงทุนเพื่อพัฒนาท่าเรือพาณิชย์แห่งใหม่ในอิระวดี

เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 63  Ever Flow River Public Co (EFR) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้งและ Ayeyar Hinthar Holdings (AHH) จะร่วมมือกันพัฒนาท่าเรือ Ayeyarwaddy International Industry Port (AIIP) โดย EFR  Unison Choice Services ซึ่งเป็น บริษัทย่อยของ EFR จะร่วมมือกับ AHH เพื่อจัดตั้ง A Logistics Co Ltd ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้จัดการสำหรับโครงการ โดย AIIP Unison Choice Service จะถือหุ้นร้อยละ 60 ใน A Logistics ขณะที่ AHH จะถือร้อยละ 40 AIIP จะมีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกในการส่งออกสินค้าที่ผลิตในเมียนมาและการนำเข้าวัตถุดิบ วัสดุก่อสร้าง และอุปกรณ์เสริมที่จำเป็น นอกจากนี้ยังจะเปิดใช้เส้นทางเดินเรือที่เชื่อมต่อโดยตรงกับท่าเรือในและต่างประเทศ EFR ให้บริการโลจิสติกส์รวมถึงการขนส่งการขนส่งทางอากาศ คลังสินค้า การขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ และการกระจายสินค้า จนถึงช่วงการระบาดของ COVID-19 EFR ได้พัฒนาโครงการที่สำคัญ 2 โครงการ Hlaing Inland Terminal และ Logistic Center มีมูลค่า 46 ล้านดอลลาร์สหรัฐในย่างกุ้งจะประกอบไปด้วยศูนย์โลจิสติกส์ คลังสินค้าทัณฑ์บน (bonded warehouse ) คลังสินค้าภายในประเทศและอาคารสำนักงาน 7 ชั้นบนพื้นที่ 40 เอเคอร์ และกำลังสร้างศูนย์กระจายสินค้าในมัณฑะเลย์อีกด้วย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/local-firms-develop-new-commercial-port-ayeyarwady.html

โควิดฉุดยอดค้าชายแดน-ผ่านแดน ครึ่งปี หด 9.18% พาณิชย์ เร่งสปีดเปิดด่านเพิ่ม

กรมการค้าต่างประเทศ เผยสถิติการค้าชายแดน-ผ่านแดน 6 เดือนของปี 2563 มูลค่ารวมทั้งสิ้น 627,480 ล้านบาท ลดลง 9.18% จากปัญหาโควิด-19 พร้อมจากนี้ กรมฯดันเปิดด่านค้าชายแดนให้เพิ่มจากปัจจุบัน 40 จุด มาเลเซียยังครองแชมป์ค้าชายแดนสูงสุด สำหรับมูลค่าการค้าชายแดนกับเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ (มาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา) ในช่วง ม.ค.-มิ.ย. 63 พบว่า มาเลเซียเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่ง มีมูลค่าการค้ารวม 109,401 ล้านบาท (ลดลง 26.81%) รองลงมาคือ สปป.ลาว มูลค่า 92,285 ล้านบาท (ลดลง 7.09%) เมียนมา มูลค่า 86,744 ล้านบาท (ลดลง 13.65%) และกัมพูชา มูลค่า 82,023 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 2.27%) เรียงตามลำดับ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปมาเลเซีย ได้แก่ ยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์ และแผงวงจรไฟฟ้า สปป.ลาว ได้แก่ น้ำมันดีเซล สินค้าปศุสัตว์อื่นๆ และสินค้าแร่และเชื้อเพลิงอื่นๆ เมียนมา ได้แก่ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำมันดีเซล และปูนซีเมนต์ และกัมพูชา ได้แก่ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ สินค้าปศุสัตว์ และรถยนต์นั่ง ขณะที่มูลค่าการค้าผ่านแดนประเทศเพื่อนบ้านไปยัง จีน สิงคโปร์ เวียดนาม และประเทศอื่น ๆ ในช่วง ม.ค.- มิ.ย. 63 พบว่า จีนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งมีมูลค่าการค้ารวม 109,896 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 16.00%) รองลงมา คือ สิงคโปร์ มูลค่า 41,694 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 13.70%) เวียดนาม มูลค่า 29,900 ล้านบาท (ลดลง 23.89%) และประเทศอื่นๆ มูลค่า 75,537 ล้านบาท (ลดลง 16.78%) สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปจีน ได้แก่ ผลไม้สดฯ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ และยางพารา สิงคโปร์ ได้แก่ เครื่องยนต์สันดาปฯ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ และแผงวงจรไฟฟ้า และเวียดนาม ได้แก่ ผลไม้สดแช่เย็นฯ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำฯ ปัจจุบันไทยได้เปิดจุดผ่านแดน (จุดผ่านแดนถาวร/จุดผ่านแดนชั่วคราว/จุดผ่อนปรนการค้าและการท่องเที่ยว/จุดผ่อนปรนพิเศษ) 40 แห่ง จากทั้งหมด 97 แห่งทั่วประเทศ โดยเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 จังหวัดสระแก้วได้มีประกาศเปิดจุดผ่านแดนเพื่อการขนส่งสินค้าเพิ่มอีก 2 แห่ง คือ จุดผ่อนปรนการค้าบ้านตาพระยา และบ้านหนองปรือ รวมทั้งได้มีมาตรการผ่อนคลายจุดผ่านแดนที่เปิดอยู่แล้วอีก 2 แห่ง คือ จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศ และจุดผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน อ.คลองหาด เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา จุดผ่อนปรนการค้าบ้านยักษ์คุ จังหวัดอำนาจเจริญ นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้นำคณะเดินทางลงพื้นที่ ณ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ในการร่วมกันผลักดันให้มีการกลับมาเปิดทำการจุดผ่อนปรนการค้ากิ่วผาวอก อ.เชียงดาว และบ้านหลักแต่ง อ.เวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้ ปัจจุบันจุดผ่อนปรนการค้าทั้ง 2 แห่งดังกล่าวปิดทำการเนื่องจากฝ่ายเมียนมาไม่อนุญาตให้มีการเดินทางเข้า-ออกด้วยเหตุผลความมั่นคงภายใน

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-506891