‘เวียดนาม’ เตรียมขึ้นอัตราภาษีที่แท้จริงจากบริษัทข้ามชาติ ภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศ

รัฐสภาเวียดนามมีแผนที่จะอนุมัติจัดเก็บภาษีเพิ่มเติม (Top Up Tax) จากบริษัทข้ามชาติ ซึ่งจะเพิ่มอัตราภาษีที่แท้จริง 15% จากเดือน ม.ค. ที่เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยในช่วงแรก เวียดนามวางแผนที่จะอนุมัติมาตรการภาษี เพื่อชดเชยบางส่วนให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติรายใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้น รวมทั้งบริษัทสมาร์ตโฟนยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้ ‘ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์’ และบริษัทผลิตชิปรายใหญ่ของสหรัฐฯ ‘อินเทล’ แต่มติแยกไม่อยู่ในวาระของรัฐสภา

อย่างไรก็ดี ภาษีใหม่ฉบับนี้เป็นที่ถกเถียง เนื่องจากภาษีดังกล่าวอาจลดการอุทธรณ์ของเวียดนามในกลุ่มบริษัทต่างชาติได้ หากไม่สอดคล้องกับการอุดหนุนเงินภาษี รัฐสภาจึงได้ตัดการลงคะแนนเสียงในสมัยประชุมปัจจุบัน แต่ในที่สุดก็ได้กลับเข้าไปในกำหนดการแล้ว

ที่มา : https://www.reuters.com/world/asia-pacific/vietnam-set-raise-effective-tax-rate-multinationals-part-global-deal-2023-11-27/

‘เวียดนาม’ เปิดแผนลงทุนด้านพลังงานสะอาด 15.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ประชุม COP28

เวียดนามมีแผนที่จะลงทุนเปลี่ยนไปสู่การใช้พลังงานสะอาด 15.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะมีการประกาศเรื่องดังกล่าวในที่ประชุมสุดยอดสภาพภูมิอากาศ ‘COP28’ ที่จะเริ่มในสัปดาห์นี้ที่ดูไบ ในขณะที่นายมาร์ก จอร์จ ที่ปรึกษาด้านสภาพอากาศของสถานทูตอังกฤษในกรุงฮานอย กล่าวว่าหลังจากประสานงานกับหน่วยงาน กระทรวงต่างๆ ของเวียดนาม เพื่อชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้เม็ดเงินลงทุนดังกล่าว และแผนการขั้นสุดท้ายที่จะสรุปในวันพฤหัสบดีนี้ ทั้งนี้ สหราขอาณาจักร (UK) เป็นประธานร่วมของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมที่ร่ำรวย 9 ประเทศ ซึ่งได้ตกลงที่จะจัดสรรเงินทุน 15.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยให้เวียดนามยุติการพึ่งพาพลังงานถ่านหินและเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนได้รวดเร็วขึ้น โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือในการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม (Just Energy Transition) หรือ JTEP

ที่มา : https://macaudailytimes.com.mo/vietnams-plan-for-spending-15-5-billion-for-its-clean-energy-transition-to-be-announced-at-cop28.html

‘ผลสำรวจ’ ชี้บริษัทเยอรมนีมองเวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางธุรกิจ

หอการค้าเยอรมันในต่างประเทศ (AHK) ประจำประเทศเวียดนาม เปิดเผยว่าในเดือน ต.ค. บริษัทเยอรมนีได้ก้าวไปอีกขั้นในการทำธุรกิจในตลาดเวียดนาม ด้วยจำนวนโครงการ ทั้งสิ้น 26 โครงการ มูลค่าราว 221.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่แข็งแกร่งของบริษัท ในขณะที่ยังแสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจของภาคธุรกิจเยอรมนีที่มีความต้องการขยายการดำเนินธุรกิจในเอเชีย

ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่าบริษัทเยอรมนีส่วนใหญ่ 42% ให้ความสำคัญต่อตลาดเวียดนามในเรื่องของการผลิตที่หลากหลายและกิจกรรมการผลิตอุตสาหกรรม รวมถึงกลยุทธ์การกระจายสินค้า รองลงมา 41% มุ่งเน้นไปที่การขายและการตลาด อย่างไรก็ดียังได้ประเมินถึงความเสี่ยงต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจชี้ให้เห็นว่าธุรกิจเยอรมนีมองว่าอุปสงค์โลกมีทิศทางที่ชะลอตัว และมีความกังวลถึงความเสี่ยงของการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน

นอกจากนี้ ผู้ประกอบธุรกิจในเวียดนามยังคงประสบปัญหาบางอย่าง ได้แก่ ต้นทุนพลังงานและทรัพยากรการเงิน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1637075/german-firms-consider-viet-nam-potential-destination-survey.html

‘ดาต้าเซ็นเตอร์และระบบคลาวด์’ ดันเวียดนามให้ปรับตัวสู่ดิจิทัล

จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลและบริการคลาวด์คอมพิวติ้งของเวียดนาม (VNCDC) และสมาคมอินเทอร์เน็ตเวียดนาม (VIA) เปิดเผยว่าเวียดนามเป็นหนึ่งในตลาดคลาวด์คอมพิวติ้ง และศูนย์ข้อมูล (Data Center) ที่เติบโตเร็วสุดในอาเซียน และมีผู้ให้บริการทั้งในประเทศและต่างประเทศมากกว่า 50 ราย ซึ่งการประมวลผลระบบคลาวด์และศูนย์ข้อมูลมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในเวียดนาม พร้อมกับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ทั้งนี้ นายกฯ ได้อนุมัติโครงการ ‘Digital Transformation’ แห่งชาติ จนถึงปี 2568 โดยมีวิสัยทัศน์ถึงปี 2573 จำแนกออกเป็น 3 เสาหลัก ได้แก่ รัฐบาลดิจิทัล เศรษฐกิจดิจิทัลและสังคมดิจิทัล ซึ่งมีกลยุทธ์ภายใต้ชื่อว่า “การก้าวสู่ระบบคลาวด์” นับเป็นโอกาสที่ดีของศูนย์ข้อมูลและคลาวด์คอมพิวติ้งของเวียดนาม ตลอดจนยังผลักดันให้เวียดนามกลายเป็นศูนย์กลางดิจิทัลที่สำคัญในอาเซียน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1637065/data-centre-cloud-computing-potential-as-viet-nam-moving-digital.html

‘เวียดนาม’ ส่งออกผักและผลไม้สูงเป็นประวัติการณ์

สมาคมผักและผลไม้เวียดนาม (VINAFRUIT) เปิดเผยว่าภาคเกษตรกรรมประสบความสำเร็จจากยอดการส่งออกผักและผลไม้ที่ทำรายได้สูงถึง 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สาเหตุหลักมาจากความต้องการที่แข็งแกร่งของตลาดจีนและการกระจายตลาดของภาคเกษตรเวียดนาม

ทั้งนี้ ทุเรียนกลายมาเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วน 40% ของมูลค่าการส่งออกรวม ในขณะที่ผลไม้อื่นๆ เช่น ขนุน แตงโม ส้มโอและลำไย ทำรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมาก อยู่ที่ราว 50% – 200%

โดยจากข้อมูลของภาคเกษตรกรรม แสดงให้เห็นว่าภาคผักและผลไม้แซงหน้าการส่งออกสินค้าเกษตรแบบดั้งเดิม เช่น ข้าว เม็ดมะม่วงหิมพานต์ กาแฟ และมันสำปะหลัง ซึ่งความสำเร็จของการส่งออกสินค้าเกษตรเวียดนาม ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการยกระดับในเรื่องคุณภาพของสินค้า และการขยายตลาด

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/fruit-veggie-exports-soar-to-all-time-high/

‘กระแสอีคอมเมิร์ซ’ ดันยอดนักช้อปออนไลน์เวียดนาม

สำนักข่าววีเอ็นเอ็กซ์เพรส (VnExpress) ได้อ้างคำกล่าวของคุณ Tran Van Trong เลขาธิการของสมาคมอีคอมเมิร์ซเวียดนาม ว่าจากตัวเลขการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดอีคอมเมิร์ซที่เป็นผลมาจากจำนวนนักช้อปออนไลน์เพิ่มมากชึ้น ทั้งในแง่การพัฒนาทักษะการซื้อของออนไลน์และมูลค่าการซื้อ ในขณะที่นาย Dang Anh Dung รองประธานเจ้าหน้าที่บริการของลาซาด้า เวียดนาม กล่าวว่าประชากรเวียดนามที่ซื้อสินค้าออนไลน์ มีจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 57 ล้านคนในปีที่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง ได้แก่ ฮานอย โฮจิมินห์และดานัง เป็นต้น

นอกจากนี้ ‘อีคอมเมิร์ซ’ ถือเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของการเติบโตเศรษฐกิจดิจิทัลเวียดนาม และคาดว่าจะเติบโตสูงถึง 22% มูลค่า 24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568

ที่มา : https://english.news.cn/20231123/3426c6078e824b6ea290936c3007e8c7/c.html

‘เวียดนาม’ ส่งออกปลาทูน่าในช่วง 10 เดือนของปีนี้ แตะ 693 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกปลาทูน่าในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 693 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เวียดนามเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่อันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ดี อาหารทะเลของเวียดนามปรับตัวลดลง 21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หากคิดเป็นมูลค่าจะอยู่ที่เพียง 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ กุ้งของเวียดนามนับเป็นสินค้าทะเลที่ขายดีที่สุด ทำรายได้มากกว่า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาปลาดุก 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หากประเมินยอดขายของสินค้าดังกล่าวจะพบว่าลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว 29% และ 24% ตามลำดับ

นอกจากนี้ ผู้นำเข้าปลาทูน่าเวียดนามรายใหญ่ที่สุด ได้แก่ สหรัฐฯ อิสราเอล ไทย ญี่ปุ่น แคนาดา และเยอรมนี ถึงแม้ว่าการส่งออกไปยังอิสราเอล ไทยและเยอรมนีจะมีการเติบโต  แต่การส่งออกไปยังสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และแคนาดากลับลดลง โดยตัวเลขดังกล่าวลดลงมากที่สุดในสหรัฐฯ ถึง 41% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1636885/vietnamese-tuna-fetches-693-million-in-the-first-ten-months-of-2023.html