อินโดนีเซียเตรียมนำเข้าข้าว 22,500 ตัน จากกัมพูชา เพื่อรองรับเทศกาล Eid al-Fitr

รัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนที่จะนำเข้าข้าว 22,500 ตัน จากกัมพูชา เพื่อเติมเต็มคลังข้าวภายในประเทศ รองรับความต้องการบริโภคในช่วงก่อนเทศกาลอีฎิ้ลฟิตริ (Eid al-Fitr) ตามที่สำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Agency – Bapanas) แถลง โดยให้ความสำคัญกับข้าวที่ผลิตภายในประเทศเป็นอันดับแรก แต่ในครั้งนี้ทางการได้ตัดสินใจว่า บูลอก (Bulog – บริษัทโลจิสติกส์ของรัฐบาล) จะทำการจัดซื้อข้าวจากต่างประเทศ ว่าจะนำเข้าข้าว 22,500 ตัน จากกัมพูชา กล่าวโดย Arief Prasetyo Adi หัวหน้า Bapanas กล่าว ณ กรุงจาการ์ตา สำหรับปีที่แล้วรัฐบาลอินโดนีเซียได้แจกจ่ายข้าวสารช่วยเหลือประชาชนกว่าผู้ซึ่งได้รับประโยชน์กว่า 22 ล้านคน เป็นระยะเวลา 7 เดือน ขณะที่ปีนี้รัฐบาลตั้งเป้าที่จะแจกจ่ายเป็นระยะเวลา 6 เดือน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501459050/indonesia-to-import-22500-tonnes-rice-from-cambodia-for-eid-al-fitr/

มันสำปะหลังเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของ สปป.ลาว ในเดือนมกราคม 67

มูลค่าการส่งออกของ สปป.ลาว ในเดือนมกราคม 2567 มีมูลค่า 561 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นเป็น 749 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมันสำปะหลังเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่ง ภายใต้มูลค่า 94 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกท่าสำคัญอื่นๆ ได้แก่ แร่ทองคำและทองคำแท่ง มูลค่า 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ มูลค่า 39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และยางพารา มูลค่า 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ตลาดส่งออกหลัก คือ จีน โดยมีมูลค่าการค้าประมาณ 198 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเทศไทยและเวียดนาม มีมูลค่าประมาณ 134 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 129 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ ด้านการนำเข้า น้ำมันดีเซลเป็นสินค้านำเข้ามากที่สุด คิดเป็นมูลค่า 95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลิตภัณฑ์เคมี อุปกรณ์เครื่องจักรกล ยานพาหนะทางบก และเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็มีส่วนช่วยอย่างมากต่อการนำเข้าของประเทศ โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศไทย มูลค่าการนำเข้า 309 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเทศจีน 298 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเวียดนาม สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญในอันดับรองลงมา

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/03/19/cassava-leads-lao-exports-in-january-2024-amid-trade-deficit/

ฮุน มาเนต เผยยอดส่งออกกัมพูชาเติบโต 16.57% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

นายกรัฐมนตรี ฮุน มาเนต กล่าวว่า ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2023 ถึง กุมภาพันธ์ 2024 กัมพูชาสามารถส่งออกสินค้ามูลค่ารวมกว่า 1.18 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนกว่าร้อยละ 16.57 ที่มูลค่าประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นกว่า 1.6 พันล้านดอลลาร์ โดยถ้อยแถลงนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวในโอกาสที่เป็นประธานการประชุมสภาคลัง (Council of Ministers) ณ พระราชวังสันติภาพ (Peace Palace) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2024 ซึ่งสินค้าส่งออกหลักของกัมพูชา ได้แก่ เสื้อผ้า ข้าว ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรและเครื่องใช้ไฟฟ้า ผัก ผลไม้ รองเท้า ยางพารา เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ขณะที่ประเทศคู่ค้าสำคัญของกัมพูชา ได้แก่ จีน เวียดนาม สหรัฐฯ ไทย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย แคนาดา สหราชอาณาจักร และอีกหลายประเทศ โดยการเติบโตของมูลค่าการส่งออกแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจกัมพูชาเริ่มขยายตัว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501456766/pm-in-the-past-six-months-cambodia-exported-11-8-billion/

การค้าต่างประเทศของเมียนมาทะลุ 27 พันล้านดอลลาร์ใน 11 เดือน

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ การค้าภายนอกของเมียนมากับพันธมิตรต่างประเทศมีมูลค่ามากกว่า 27.758 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 1 มีนาคม ในปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยที การส่งออกของเมียนมามีมูลค่ามากกว่า 13.378 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 14.379 พันล้านดอลลาร์ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2566 ถึง 1 มีนาคม พ.ศ. 2567 อย่างไรก็ดี มูลค่าการค้าทางทะเลของเมียนมาในปีงบประมาณนี้เกินกว่า 20.55 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่การค้าชายแดนมีมูลค่า 7.207 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งตัวเลขการค้าในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาลดลงกว่า 3.605 พันล้านดอลลาร์ หากเทียบกับที่บันทึกไว้ในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้วที่มีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 31.36 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-foreign-trade-surpasses-us27b-in-11-months/

กัมพูชาส่งออกขยายตัว 22.7% ในช่วง 2 เดือนแรกของปี

มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของกัมพูชาเติบโตกว่าร้อยละ 19.2 ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2024 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ก่อน โดยมีมูลค่าการค้ารวม 8.12 พันล้านดอลลาร์ เผยแพร่โดยกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 คิดเป็นมูลค่ารวม 3.98 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 ที่มูลค่า 4.13 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งจีนยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชาในช่วงเวลาดังกล่าวที่สหรัฐฯ ยังคงเป็นปลายทางการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา รองลงมาคือเวียดนาม ส่งผลทำให้กัมพูชามีดุลการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ 1.26 พันล้านดอลลาร์ แต่ขาดดุลการค้ากับจีนที่มูลค่า 1.74 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501454157/cambodias-exports-surge-22-7-in-first-two-months/

ม.ค. มูลค่าการค้าระหว่าง กัมพูชา-RCEP ขยายตัวกว่า 21.2%

มูลค่าการค้าระหว่างกัมพูชากับประเทศสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ในช่วงเดือนมกราคม 2024 มีมูลค่ารวมสูงถึง 2.74 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ (MoC) ซึ่งปริมาณการค้ารวมดังกล่าวคิดเป็นกว่าร้อยละ 67.6 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 4.05 พันล้านดอลลาร์ โดยประเทศคู่ค้าหลัก 5 อันดับแรก ภายใต้ข้อตกลง ได้แก่ จีน เวียดนาม ไทย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย ด้าน Penn Sovicheat รัฐมนตรีต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาและโฆษก กล่าวว่า RCEP ถือเป็นตัวเร่งการเติบโตทางการค้าของประเทศ และเป็นแม่เหล็กดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรมากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501449110/cambodias-trade-with-rcep-countries-up-21-2-pct-in-january/

ผู้ค้าผลไม้เมียนมาหันมาจับตาตลาดในประเทศ ท่ามกลางการเสียหายของสินค้าที่เกิดจากการส่งออก

ผู้ค้าผลไม้เมียนมา กล่าวถึง อุปสรรคในการคมนาคมในช่องทางเชียงตุง ช่องมองลา และพะโม ที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดขั้วในฝั่งจีน การถูกระงับที่ชายแดนเพราะนโยบายฝั่งจีนที่มีความเค้มงวดมากขึ้น ความเสียหายของสินค้าจากการคมนาคมบนถนนที่ขรุขระส่งผลต่อคุณภาพของแตงโมที่ส่งไปยังประเทศจีน ส่งผลให้ราคาสินค้าตกต่ำลง ทำให้ผู้ค้าจึงเริ่มจับตาดูตลาดภายในประเทศ เนื่องด้วย ราคาส่งออกในปัจจุบันไม่ครอบคลุมค่าขนส่งและต้นทุนทั่วไปอื่นๆ ค่าอากรที่ด่านชายแดนอยู่ที่ 35,000-40,000 หยวนต่อรถบรรทุก ทั้งนี้ รถบรรทุกแตงโม 100 คันมุ่งหน้าสู่จีน มีเพียง 10 คันเท่านั้นที่สามารถครอบคลุมค่าขนส่ง อย่างไรก็ตาม ผู้ค้าผลไม้เน้นย้ำว่าพวกเขากำลังเผชิญกับความท้าทายที่ยืดเยื้อท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนโยบายในจีน สืบเนื่องจากเมื่อปี 2021 ข้อจำกัดเกี่ยวกับโควิด-19 ขัดขวางการส่งออกแตงโมและแตงไทยของเมียนมาไปยังจีน ระเบียบศุลกากรจีนเพิ่มความล่าช้า รถบรรทุกล่าช้าเป็นเวลานานส่งผลเสียต่อคุณภาพแตงโม และมีเพียง 1 ใน 5 รถบรรทุกที่มุ่งหน้าไปยังจีนเท่านั้นที่ยังคงไม่ได้รับความเสียหาย ทำให้ผู้ค้าจำเป็นต้องพิจารณาเวลาการส่งมอบ ราคา และความสามารถในการทำกำไร เนื่องจากแตงโมเป็นผลไม้ที่เน่าเสียง่ายในขณะที่พยายามสำรวจตลาดใหม่นอกเหนือจากประเทศจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/traders-eye-domestic-market-amid-export-loss/

บริษัทผลิตเนื้อวัวของ สปป.ลาว เล็งส่งออกเนื้อวัวไปยังจีนมากขึ้น

กลุ่มบริษัท ดวงเจริญพัฒนา กำลังจัดตั้งฟาร์มปศุสัตว์ขนาดใหญ่ในแขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดหาเนื้อวัวให้กับตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน ซึ่งกลุ่มบริษัท ดวงเจริญพัฒนา ได้รับสัมปทานที่ดิน 5 แปลง จากรัฐบาล ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 3,687 เฮกตาร์ เพื่อปลูกหญ้าและเลี้ยงโค โดยประธานและผู้อำนวยการของบริษัท กล่าวว่า โครงการนี้เริ่มต้นในปี 2564 และได้ทำการทดลองเลี้ยงวัว 4 สายพันธุ์ จนถึงขณะนี้ บริษัทได้ส่งออกวัวไปแล้วมากกว่า 1,000 ตัว ส่วนใหญ่ไปยังจีน ไทย และเวียดนาม ทั้งนี้ กลุ่มบริษัท ดวงเจริญพัฒนา ได้สร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นมากกว่า 300 ตำแหน่ง มีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจในแขวงบ่อแก้ว และส่งผลให้ สปป.ลาว สามารถสร้างรายได้มากกว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกสินค้าเกษตรในปี 2566 ซึ่งเกินเป้าหมายกว่า 20.18% สินค้าเกษตรหลักที่ส่งออก ได้แก่ กล้วย ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย วัว และกระบือ โดยจีนเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุด รัฐบาลลาวสนับสนุนให้เกษตรกรและผู้ผลิตเพิ่มการส่งออกเพื่อนำเงินตราต่างประเทศ ช่วยลดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่สูงในช่วงที่ผ่านมา

ที่มา : https://english.news.cn/asiapacific/20240223/1b37e1a966b24406a4d9d723b13ce70e/c.html

รัฐบาลเพิ่มแต้มต่อสินค้าเกษตรไทยด้วย FTA ดันครองเบอร์ 1 ส่งออกในอาเซียน

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่านายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตั้งใจขับเคลื่อนนโยบายเพื่อยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศผ่านการจัดทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อดึงดูดการค้า การลงทุนจากต่างชาติ เดินหน้าทำการค้าเชิงรุก และผลักดันให้เกิดการขยายตลาดสินค้าเกษตรไทยในต่างประเทศ โดยนายกรัฐมนตรีเชื่อว่าหากเดินหน้าผลักดันความร่วมมือ FTA ให้เต็มศักยภาพจะเพิ่มตัวเลขการค้าการลงทุนได้มหาศาล ถือเป็นโอกาสสร้างแต้มต่อทางการแข่งขันให้ไทยในตลาดโลก ซึ่งขณะนี้ ไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอันดับ 1 ในภูมิภาคอาเซียน และเป็นอันดับ 7 ของโลก และส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน และเป็นอันดับที่ 11 ของโลก ในปี 2023 โดยตลาดคู่ค้า FTA ที่มีการส่งออกขยายตัวทางการค้าสูง ได้แก่ จีน ซึ่งขยายตัว 11% คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 42% ของการส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทย ตามมาด้วยตลาดอาเซียนที่ขยายตัว 5% ด้านสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูปที่เป็นสินค้าศักยภาพที่ขยายตัวได้ดีในการส่งออกของไทยไปยังตลาดคู่ค้า FTA อันดับ 1 ยังคงเป็น ข้าว ที่มีการขยายตัวมากถึง 92% ในตลาดอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย

ที่มา : https://www.naewna.com/business/787985

หอการค้าฯ สปป.ลาว มองอินเดียเป็นตลาดส่งออกสินค้าขนาดใหญ่ของลาวได้

หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว ได้จัดการประชุมธุรกิจลาว-อินเดีย ในเวียงจันทน์ โดยมีผู้นำทางธุรกิจมากกว่า 170 ราย จากกว่า 100 บริษัทเข้าร่วม นายทนงสิน กัลยา รองประธานบริหารหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว กล่าวว่า “อินเดียมีศักยภาพอย่างมากในการส่งออกสินค้าจากลาวไปขาย รวมถึงการลงทุนด้านอุตสาหกรรมในประเทศลาว การประชุมครั้งนี้เป็นโอกาสในการหารือเกี่ยวกับรูปแบบการลงทุนที่สามารถส่งเสริมการค้าระหว่างลาวและอินเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ” หวังว่าผู้ประกอบธุรกิจชาวอินเดียและสภาธุรกิจอาเซียน-อินเดีย จะช่วยส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนาในประเทศลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร่วมมือกับบริษัทลาวในภาคส่วนต่างๆ เพื่อการพัฒนาและผลกำไรร่วมกัน ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของ สปป.ลาว เปิดเผยว่า มูลค่าการค้าระหว่างลาวและอินเดียมีมากกว่า 108 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2566 ลดลง 15.57% เมื่อเทียบกับปี 2565 โดยลาวนำเข้าสินค้าจากอินเดียมูลค่า 25.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และขายสินค้ามูลค่า 82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับอินเดีย ซึ่งถือว่าไม่มากนัก แต่มีศักยภาพที่จะขยายตัวได้ ด้านการลงทุนตั้งแต่ปี 2551-2565 บริษัทอินเดียได้จดทะเบียนเงินลงทุนประมาณ 314 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และได้จัดตั้งธุรกิจ 311 แห่ง ใน สปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_34_India_y24.php