ธพว.อัดฉีดเงินกู้ 1.5 หมื่นล. เติมทุนเสริมสภาพคล่องเอสเอ็มอี

นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเอสเอ็มอีเป็นจำนวนมาก จึงออกมาตรการทางการเงินเสริม ด้วยแพ็กเกจสินเชื่อ “เติมทุน SMEs มีสุข ยิ้มได้”วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท ภายใต้ 3 ผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ ได้แก่ “SMEs D เติมทุน” วงเงิน 5,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยเริ่มต้น 4% ต่อปี ผ่อนนานถึง 10 ปี  “SMEsมีสุข” วงเงิน 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 5% ต่อปี ผ่อนนานถึง 10 ปี และ “SMEs ยิ้มได้” วงเงิน 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 5.5% ต่อปี ทบทวนวงเงินได้ทุกปี ช่วยเติมทุนหมุนเวียนให้เอสเอ็มอี โดยเปิดรับคำขอกู้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565

ที่มา: https://www.naewna.com/business/592181

คลังเวียดนาม ทุ่มเงินเยียวยา 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ รับมือ ‘โควิด-19’

กระทรวงการคลังของเวียดนาม กำลังพิจารณามาตรการช่วยเหลือกิจการที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 จำนวน 24 ล้านล้านดอง (1.04 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในรูปแบบการยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียม โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดระลอกที่ 4 ทำให้บรรดาหัวเมืองและจังหวัดต่างๆ กำหนดมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข็มงวด ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆนี้ รัฐบาลได้อนุมัติเงินช่วยเหลือภาคธุรกิจและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด จำนวน 26 ล้านล้านดอง และเงินดังกล่าวถูกเบิกจ่ายไปแล้ว นอกจากนี้ นาย โฮ่ดึ๊ก ฟ้อก (Ho Duc Phoc) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เรียกร้องให้รัฐบาลลดการใช้จ่ายประจำ 10% เพื่อนำทรัพยากรไปต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/finance-ministry-working-on-1-bln-covid-support-for-businesses-4330556.html

EXIM แบงก์ ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ไทย ในกัมพูชาและเมียนมา

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM bank) ออกมาตรการช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ทำธุรกิจในกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม (CLMV) เพื่อลดผลกระทบทางการเงินจากการระบาดของโควิด-19 และความไม่สงบทางการเมืองในเมียนมา ผ่านมาตรการช่วยเหลือด้านเงินกู้ซอฟท์โลนและกำหนดให้หยุดชำระคืนเงินต้นชั่วคราวเป็นระยะเวลา 12 เดือน ส่วนมาตรการเสนอวงเงินกู้ใหม่สำหรับผู้ประกอบการใน CLMV เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยคิดเป็นเงินทุนหมุนเวียนประมาณ 638,000 ดอลลาร์ต่อปี คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.99 ต่อปี ระยะเวลาชำระคืน 3 ปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50847917/thai-bank-aids-smes-in-kingdom-over-myanmar/

“EXIM BANK” ออกสินเชื่อวงเงิน 20 ล.ดอกเบี้ย 3.99% ช่วย SMEs ใน CLMV

นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ ธสน. (EXIM BANK) เปิดเผยว่า ธสน. ได้ดำเนินการออกมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SMEs) ใน ตลาด CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ซึ่งประกอบด้วยมาตรการสินเชื่อ CLMV อุ่นใจ เป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการไทยใน CLMV ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 (Covid-19) และสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 3.99% ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 3 ปี ใช้เพียงหนังสือค้ำประกันของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นหลักประกันร่วมกับบุคคลหรือนิติบุคคลค้ำประกันได้ ทั้งนี้ ตลาด CLMV ไต่อันดับขึ้นมาเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 CLMV เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 4 ของไทย รองจากสหรัฐฯ อาเซียนเดิม 5 ประเทศ และจีน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี จากการติดตามสถานการณ์ความไม่สงบภายในเมียนมาอย่างใกล้ชิดและประเมินผลกระทบต่อลูกค้า ผู้ประกอบการไทยเริ่มได้รับผลกระทบจากการชำระเงินล่าช้าและการชะลอคำสั่งซื้อของคู่ค้าในเมียนมา EXIM BANK จึงได้พิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการผ่านมาตรการต่าง ๆ ตามความจำเป็นอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/477549

จุรินทร์’ ลุย MINI-FTA ดันส่งออกทะลุ 4%

จุรินทร์ จัดทัพส่งออกไทยลุยทำมินิเอฟทีเอ เจาะรายเมืองรายมณฑล นำร่องมณฑลไห่หนาน ลงนามปลายเม.ย. หวังยอดส่งออกโตเกิน 4% ด้านเอกชนช่วงเอสเอ็มอีจีนลงทุนร่วมหุ้นผู้ประกอบการไทยสาขาเกษตรและประมง ติดตามได้จากรายงาน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/930396

กัมพูชาวางแผนส่งเสริมธุรกิจภายในประเทศ

กัมพูชารายงานการศึกษาภูมิทัศน์ทางธุรกิจโดยรวมภายในประเทศ ซึ่งการศึกษาดังกล่าวได้ทำการรายงานในงานประชุม Inclusive Business Champions Meeting โดยจัดขึ้นภายใต้การดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งมีจุดประสงค์ในการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจภายในประเทศกัมพูชา จากการจัดหาข้อตกลงทางการค้าเสรีเพื่อเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงส่งเสริมให้ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน มีส่วนในพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภายในประเทศให้มีศักยภาพทันต่อกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านสมาชิกอาเซียนและในภูมิภาค

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50828275/cambodia-boosting-inclusive-businesses/

ธนาคาร ACLEDA พิจารณาขยายเพดานสินเชื่อมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์ ในกัมพูชา

ธนาคาร ACLEDA พิจารณาขยายเพดานสินเชื่อมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์ ในกัมพูชา โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาของ The International Finance Corporation (IFC) ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลก โดย IFC ได้เสนอการขยายเพดานสินเชื่อนี้เพื่อให้ธนาคารสามารถขยายโครงการปล่อยสินเชื่อให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งเมื่อเดือนกันยายน 2020 ธนาคาร ACLEDA มีสินเชื่อรวมอยู่ที่ 3.6 พันล้านดอลลาร์ และมีเงินฝากรวมราว 4.2 พันล้านดอลลาร์ โดยธนาคารผู้ให้กู้กล่าวถึงผลกระทบในการพัฒนาภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ จึงส่งผลให้เกิดข้อเสียเปรียบในการขยายธุรกิจหรือการเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ ด้วยปัญหาเบื้องต้นทางธนาคารจึงมีแนวคิดที่จะร่วมพัฒนาธุรกิจขนาด SMEs จากการสนับสนุนและส่งเสริมให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากยิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50825298/200m-loan-for-cambodias-leading-commercial-bank-acleda-in-the-works/

เอสเอ็มอีคนละครึ่ง ก็มารัฐเตรียมลดภาระรายย่อย

รัฐบาลเตรียมเปิดตัวโครงการ “SME คนละครึ่ง” หวังลดภาระต้นทุน เพิ่มศักยภาพรายย่อย ช่วยค่าใช้จ่ายสารพัด คาดเริ่มเปิดโครงการกลางปีนี้ รัฐบาลเตรียมมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยเพิ่มเติม ในลักษณะร่วมกันจ่ายกับ SME (Co-payment) มีสัดส่วนตั้งแต่ 50-80% สำหรับค่าใช้จ่ายในการขอทดสอบผลิตภัณฑ์ จดทะเบียนหรือขอใบรับรองมาตรฐานต่างๆ และการปรึกษาทางธุรกิจ เช่น มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกอช.) มาตรฐานอาหาร (อย.)  ซึ่งที่ผ่านมาการขอรับบริการทางธุรกิจต่างๆ มีค่าใช้จ่ายสูง เป็นต้นทุนสำคัญของการประกอบการ และกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของเอสเอ็มอีไทยด้วย โดยคาดว่าจะเริ่มเปิดตัวโครงการ SMEs’ Co-payment ในกลางปีนี้ ซึ่งนอกจากจะลดภาระค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ เอสเอ็มอีไทยที่มีอยู่กว่า 3.1 ล้านราย สามารถตัดสินใจเลือกพัฒนาคุณภาพและขอรับมาตรฐานสินค้าและบริการที่ตรงความต้องการของแต่ละอุตสาหกรรมแต่ละราย สร้างโอกาสใหม่ๆ ทางการตลาดด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมาตรฐานสากลด้วย นอกจากนี้แล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังได้มีการหารือเพื่อปรับปรุงโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Softloan) ให้มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้เข้าถึงซอฟต์โลนได้ง่ายและมีวงเงินกู้สูงขึ้น รวมทั้งแนวทาง asset warehousing เพื่อช่วยเหลือไม่ใช้ทรัพย์สินธุรกิจที่ยังมีศักยภาพต้องถูกยึดหรือปิดตัวลง ซึ่งรายละเอียดจะนำสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในเร็ววันนี้

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/829467

กัมพูชาลงนามข้อตกลงด้านการสนับสนุนการพัฒนาภาคเอกชน

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) และบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) ได้ทำบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อดำเนินโครงการ “การพัฒนาตลาดซัพพลายเชนทางการเงิน” โดยบันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้รับการลงนามเมื่อไม่นานมานี้ระหว่างผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายกำกับการธนาคารในนามของผู้ว่าการ NBC และผู้แทนของ IFC ซึ่งโครงการพัฒนาตลาดห่วงโซ่อุปทานทางการเงินจะช่วยสนับสนุนรัฐบาลกัมพูชาในการปรับปรุงภาคเอกชนในประเทศต่อไป นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์ชาติด้านการเงินรวมสำหรับปี 2019-2025 เพื่อส่งเสริมภาคสินเชื่อสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โครงการนี้จะมีบทบาทสำคัญในฐานะแนวทางสำหรับการจัดทำนโยบายสำหรับ SMEs และระบบทางการเงินในกัมพูชา ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพการสนับสนุนด้านกฎระเบียบและการปรับปรุงความรู้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50818714/agreement-to-support-cambodias-private-sector-development-signed/

วิกฤตการทางการเมืองเมียนมาส่งผล SME ส่อเค้าทรุดหนัก

นักธุรกิจจากเมืองเปียงมานา (Pyinmana)  ของเนปยีดอ เผยยอดขายสินค้าตั้งแต่อาหารไปจนถึงสินค้าฟุ่มเฟือยลดลงอย่างมากหลังจากการประกาศภาวะฉุกเฉินหนึ่งปีของกองทัพเมียนมา พบว่าผู้คนต่างจับจ่ายเฉพาะสิ่งของจำเป็นเพราะวิตกกังวลกับสถานการณ์ปัจจุบันในตอนนี้ เช่น ยอดขายไข่ลดลงประมาณ 70% อีกทั้งยอดขายสัตว์ปีกและเนื้อสัตว์ประเภทอื่น ๆ ยังได้รับผลกระทบอย่างหนักตามไปด้วย ขณะนี้ตลาดยังไม่เปิดเต็มรูปแบบเนื่องจาก COVID-19 ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันผู้คนกังวลว่าเศรษฐกิจจะแย่ลงและหลายคนเริ่มประหยัดมากขึ้น ซึ่งการใช้จ่ายที่ลดลงยังส่งผลกระทบต่อธุรกิจสตาร์ทอัพในพื้นที่และธุรกิจ SMEs ส่วน MSMEs (วิสาหกิจขนาดเล็กขนาดกลางและขนาดย่อม) ล้วนประสบปัญหามากมายช่วงการระบาดและบางส่วนถูกบังคับให้ปิด MSMEs คิดเป็น 90% ของเศรษฐกิจประเทศและหากเกิดปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อาจกระทบต่อการว่างงานอย่างมากในอนาคต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/growing-number-myanmar-smes-forced-fold-amid-political-crisis.html