พาณิชย์เมียนมาเผยส่งออกสินค้าเกษตรพุ่ง แม้ธนาคารปิดทำการ

การส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งขึ้นในช่วงห้าเดือนที่ผ่านมาแม้ว่าผู้ค้าจะประสบปัญหาในการทำธุรกรรมเนื่องจากการปิดตัวคราวของธนาคารพาณิชย์ในเมียนมา จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ในปีงบประมาณปัจจุบันนับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ณ วันที่ 5 มีนาคม 2564 การส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่าสูงถึง 2.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ 765.74 ล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณนี้ การส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นจาก 1.72 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 62-63 แม้จะได้รับผลกระทบของ COVID-19 ความต้องการสินค้าอื่นๆ จากต่างประเทศที่ลดลง และความไม่มั่นคงทางการเมือง การงดให้บริการของธนาคารทำให้ผู้ค้าหันไปใช้การชำระเงินนอกระบบที่เรียกว่า “hundi” ในการทำการค้าชายแดน โดยการส่งออกอุตสาหกรรมการเกษตรคิดเป็น 22% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ ได้แก่ ข้าว ปลายข้าว เมล็ดถั่ว และข้าวโพด ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา  ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์กำลังช่วยเหลือเกษตรกรในการรับมือกับความท้าทายต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิตที่สูง การหาเมล็ดพันธุ์พันธุ์ ต้นทุนการเพาะปลูกที่สูง และสภาพอากาศที่ไม่สามารถคาดเดาได้

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agro-exports-remain-to-rise-even-private-banks-shut-down/#article-title

กล้วยยังคงเป็นสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญของสปป.ลาว

กล้วยสปป.ลาวยังคงทำรายได้สูงสุดในบรรดาสินค้าเกษตรทั้งหมดโดยมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดในปี 2563 สูงถึงเกือบ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ แม้จะมีข้อจำกัดทางการค้าจากการแพร่ระบาด COVID-19 ตามข้อมูลกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ของสปป.ลาวระบุว่ามูลค่าของกล้วยที่ขายให้กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนและไทยในปี 2563 เพิ่มขึ้นเป็น 227.4 ล้านดอลลาร์ ในแง่ของผลผลิตปริมาณกล้วยที่ปลูกเพื่อการส่งออกก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกที่สร้างขึ้นภายใต้ระบบเกษตรพันธสัญญา อย่างไรก็ตามจำนวนนักลงทุนและสวนกล้วยลดลงหลังจากที่รัฐบาลหยุดให้สัมปทานสำหรับพื้นที่เพาะปลูกใหม่และสิ้นสุดข้อตกลงกับ บริษัท ที่ละเมิดกฎระเบียบ ในปัจจุบันรัฐบาลพยายามทำให้เกษตรกรรมที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นของสปป.ลาวเติบโตควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดที่ยั่งยืนและสมดุลของการลงทุนกับสิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://www.freshplaza.com/article/9303635/laos-bananas-remain-top-agricultural-export/

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังเวียดนามเพิ่มสูงขึ้น

การส่งออกของกัมพูชาไปยังเวียดนามเพิ่มขึ้นในปี 2020 แม้ว่าทั้งสองประเทศจะกำหนดให้มีการควบคุมการเคลื่อนย้ายสินค้าข้ามพรมแดนอย่างเข้มงวดเพื่อต่อสู้กับโรคระบาดอย่างโควิด-19 ก็ตาม โดยข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์แสดงให้เห็นว่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 ในปี 2020 สู่มูลค่า 385 ล้านดอลลาร์ ส่วนการนำเข้าของกัมพูชาจากเวียดนามลดลงร้อยละ 3.1 สู่มูลค่า 2,633 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นการค้าทวิภาคีระหว่างสองประเทศมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 3,018 ล้านดอลลาร์ลดลงร้อยละ 1.13 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยการเพิ่มขึ้นของการส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าด้านเกษตรที่เพิ่มขึ้น จากความต้องการของผู้บริโภคทางฝั่งเวียดนาม ซึ่งกัมพูชาได้กำหนดให้มีการตรวจสอบสินค้าและการขนส่งผ่านแดนอย่างเข้มงวด ผู้ที่จะข้ามพรมแดนต้องเข้าสู่เขตกักกัน 14 วัน เพื่อเป็นการกักกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50825872/cambodias-exports-to-vietnam-increase/

EDL-T เซ็นสัญญาสัมปทานกับรัฐบาล

Electricite du Laos Transmission Company Limited (EDL-T) ซึ่งเป็น บริษัท ร่วมทุนระหว่าง China Southern Power Grid (CSG) และ Electricite du Laos (EDL) ได้ทำสัญญาสัมปทานกับรัฐบาลซึ่งถือเป็นก้าวต่อไปในความร่วมมือด้านการส่งไฟฟ้าระหว่างจีนและสปป.ลาว ข้อตกลงดังกล่าวอนุญาตให้ EDL-T ภายใต้การดูแลของรัฐบาลสปป.ลาวทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายไฟฟ้าแห่งชาติ เพื่อลงทุนสร้างและดำเนินการโครงข่ายไฟฟ้า 230kV ขึ้นไปในสปป.ลาว และดำเนินโครงการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้าระหว่างสปป.ลาวและประเทศเพื่อนบ้าน EDL-T จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสปป.ลาวและปรับปรุงความเป็นอยู่ของประชาชนด้วยการส่งไฟฟ้าที่ปลอดภัยมั่นคงและยั่งยืน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_EDL_51.php

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังญี่ปุ่นในเดือนมกราคมลดลง

การส่งออกของกัมพูชาไปยังญี่ปุ่นลดลงในเดือนมกราคมเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามข้อมูลที่เปิดเผยโดยองค์การการค้าภายนอกของญี่ปุ่น (JETRO) ซึ่งกัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังญี่ปุ่นมูลค่ารวม 138 ล้านดอลลาร์ ในเดือนมกราคมลดลงร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมปีที่แล้ว ส่วนการนำเข้าสินค้าของกัมพูชาจากญี่ปุ่นในช่วงเดียวกันมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 37 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 โดยการค้าทวิภาคีรวมอยู่ที่ 176 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2020 ซึ่งรองประธานหอการค้ากัมพูชากล่าวว่าแม้ปริมาณการค้าจะลดลง แต่เชื่อมั่นว่าหลังจากทั่วโลกได้มีการให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ไประยะหนึ่งแล้วจะส่งผลให้กิจกรรมทางด้านการค้าระหว่างประเทศฟื้นตัวขึ้นโดยถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนและการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ สินค้าส่งออกที่สำคัญของกัมพูชาไปยังญี่ปุ่น ได้แก่ เสื้อผ้า กระเป๋าเดินทาง รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ เครื่องสำอาง กระดาษ เครื่องใช้สำนักงาน และเครื่องหนัง ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญของญี่ปุ่นไปยังกัมพูชา ได้แก่ เครื่องจักร รถยนต์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า และพลาสติก เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50824888/cambodias-exports-to-japan-down-in-january/

“พาณิชย์”เร่งหาตลาดผลไม้ล่วงหน้า ตั้งเป้าขาย 1,840 ล้านบาท

นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมฯ ได้กำหนดจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจสินค้าผลไม้สดและแปรรูปออนไลน์ ในวันพฤหัสบดีที่ 25 มี.ค.2564 ซึ่งเป็น 1 ใน 14 แผนงานเร่งด่วน ของกระทรวงพาณิชย์ ด้านการส่งเสริมสินค้าเกษตรคุณภาพ ภายใต้วิสัยทัศน์ เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด โดยใช้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต ในการเร่งหาตลาดล่วงหน้าในการรองรับฤดูผลผลิตผลไม้ที่กำลังออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก เช่น ทุเรียน มังคุด มะม่วง ลำไย มะพร้าว เป็นต้น และผลักดันให้ราคาผลไม้ปรับตัวสูงขึ้น พร้อมสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าผลไม้ไทย และบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประกอบการและเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ ในการจัดกิจกรรม จะได้นำผลการเจรจาไปต่อยอดการเซ็นสัญญาข้อตกลงการซื้อขาย (Memorandum of Purchasing : MOP) หรือข้อตกลงการส่งมอบสินค้า (Memorandum of Delivery : MOD) ในงานมหกรรมผลไม้ภาคตะวันออก ประจำปี 2564 ณ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-12 เม.ย.2564 ซึ่งกรมฯ ได้ร่วมกับกรมการค้าภายใน องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี และสมาคมการค้าผลไม้ยุคใหม่ จัดกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย การประชุมติดตามมาตรการด้านสุขอนามัยในการเก็บ บรรจุ และขนส่งสินค้าผลไม้ในสถานการณ์โควิด-19 การเตรียมพร้อมทางด้านโลจิสติกส์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในฤดูผลไม้ออกสู่ตลาด การปล่อยคาราวานรถบรรทุกผลไม้ส่งออกที่ผ่านการฆ่าเชื้อโควิด-19 และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงซื้อขายผลไม้ส่งออก โดยมีนายจุรินทร์ เป็นประธาน และยังมีกิจกรรมการออกคูหาขายสินค้าผลไม้และผลิตภัณฑ์ประจำจังหวัด การจับคู่เจรจาเสนอซื้อขายผลไม้ในฤดูระหว่างเกษตรกรชาวสวนภาคตะวันออก และล้ง โรงแพ็กด้วย

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/471725

ธุรกิจเหล็กชั้นนำเวียดนาม “ฮวาฟัต” เผยยอดขายดิ่ง 25% ในเดือนก.พ.

ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของเวียดนาม “หวาฟัต” (Hoa Phat Group) เปิดเผยว่าในเดือนกุมภาพันธ์ ธุรกิจมียอดจำหน่ายเหล็กรวมทั้งสิ้น 439,000 ตัน ลดลง 25% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งสาเหตุที่ยอดจำหน่ายลดลงเนื่องมาจากอยู่ในช่วงเทศกาลเต็ต (Tet) ระยะเวลา 7 วัน และผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ยอดจำหน่ายเหล็กก่อสร้างปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงเวลาเดียวกัน จำนวน 189,000 ตัน ในขณะที่ฝั่งปริมาณการผลิตของเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน (HRC) และเหล็กบิลเล็ตหรือเหล็กแท่งยาว เข้าสู่ตลาดลดลง 30% และ 47% ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ พบว่ายอดคำสั่งซื้อส่วนใหญ่มาจากตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีนและอินโดนีเซีย เป็นต้น สำหรับในส่วนของยอดจำหน่ายในช่วงเดือนมกราคมจนถึงกุมภาพันธ์ อยู่ที่ราว 1 ล้านตัน รวมถึงเหล็กก่อสร้าง 376,000 ตัน, เหล็กบิลเล็ต 214,000 ตัน และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน 428,000 ตัน

  ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/899521/hoa-phat-steel-sales-down-25-per-cent-in-february.html

การส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯยังคงเห็นการเติบโต

การส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯในช่วงต้นปียังคงเห็นถึงการเติบโตในมูลค่าการส่งออกอย่างต่อเนื่องสะท้อนถึงอุปสงค์ที่แข็งแกร่งสำหรับผลิตภัณฑ์ของกัมพูชาในสหรัฐฯ โดยข้อมูลจากสำนักงานสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐฯแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาส่งออกสินค้ารวมมูลค่ากว่า 580 ล้านดอลลาร์ ไปยังสหรัฐฯ ในเดือนมกราคม 2021 เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลทำให้การค้าทวิภาคีระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 5 สู่ 614 ล้านดอลลาร์ ในช่วงที่มีการวัดผลตามข้อมูลของสำนักงานสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐฯ ซึ่งการค้าระหว่างกัมพูชากับสหรัฐฯ คาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2021 เนื่องจากความพร้อมของวัคซีน COVID-19 ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กล่าวโดยรองประธานหอการค้ากัมพูชา โดยสินค้าหลักของกัมพูชาที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯส่วนใหญ่ ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยว ส่วนการนำเข้าจากสหรัฐฯ สินค้าสำคัญส่วนใหญ่ ได้แก่ ยานพาหนะ อาหารสัตว์ และเครื่องจักร เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50822337/cambodian-exports-to-us-continue-to-grow-in-january-2021/

การส่งออกของสปป.ลาวไปยังไทยลดลงในเดือนมกราคม

มูลค่าการส่งออกสปป.ลาวไปยังไทยในเดือนมกราคมลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2020 ซึ่งเป็นผลมาจากข้อ จำกัด ที่กำหนดไว้เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด -19 จากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์สปป.ลาว พบว่าในเดือนมกราคม 2563 ลาวมีรายได้ 135 ล้านดอลลาร์ ลดลงเหลือ 89 ล้านดอลลาร์ในเดือนมกราคมปีนี้ โดยมี ไฟฟ้าเป็นสินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ รองจากทองแดงและผลิตภัณฑ์ทองแดง ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า สินค้าทั่วไปและกล้องถ่ายรูป สินค้าอื่น ๆ

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2021/03/04/lao-exports-to-thailand-decrease-in-january

กัมพูชาส่งออกเสื้อผ้าไปยัง EAEU ลดลงอย่างมากในปี 2020

การส่งออกเสื้อผ้าของกัมพูชาไปยัง EAEU (สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย) ลดลงกว่าร้อยละ 36.6 เมื่อเทียบเป็นรายปีในระหว่างปี 2019 ตามรายงานของ Fibre2Fashion Pvt Ltd. ผู้ดำเนินธุรกิจแบบ B2B ขับเคลื่อนตลาด โดย EAEU ประกอบด้วย 5 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย เบลารุส คาซัคสถาน อาร์เมเนีย และ คีร์กีซสถาน ซึ่งการลดลงของภาคการส่งออกไปยัง EAEU เกิดขึ้นระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายนของปี 2020 โดยปริมาณการส่งออกเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในเดือนกรกฎาคม Fibre2Fashion กล่าวว่าอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มถือเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมการส่งออกของกัมพูชา ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของการส่งออกสินค้าทั้งหมดของประเทศ โดยในปี 2019 กัมพูชาส่งออกไปยัง EAEU เกือบ 180 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50820107/garment-exports-to-eaeu-drop-significantly-in-2020/