กัมพูชาส่งออกข้าวสารลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

ปริมาณการส่งออกข้าวสารของกัมพูชาในช่วง 2 เดือนแรกของปี มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 64.53 ล้านดอลลาร์ รวม 76,222 ตัน ตามรายงานของสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) โดยปริมาณลดลงร้อยละ 44.16 ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ซึ่งการลดลงส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการขาดตู้คอนเทนเนอร์และต้นทุนการขนส่งทางทะเลที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราดังกล่าวเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 500 จากปี 2019 เมื่อเทียบกับตัวเลขของเดือนมกราคม โดยการส่งออกข้าวสารในเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย รายงานระบุเพิ่มเติมว่าการส่งออกข้าวสารในเดือนมกราคมมีจำนวน 34,273 ตัน ส่งไปยัง 28 ปลายทาง ในเดือนกุมภาพันธ์การส่งออกข้าวสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 สู่ 41,949 ตัน ส่งออกไปยัง 35 ประเทศ ซึ่งจีนรวมทั้งฮ่องกงและมาเก๊ายังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการส่งออกข้าวของกัมพูชา โดยตลาดดังกล่าวมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 49.37 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับถัดไปคือสหภาพยุโรปโดยมีส่วนแบ่งอยู่ที่ร้อยละ 24.91 คิดเป็น 18,996 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50820068/milled-rice-exports-decline-year-on-year/

จีนออกใบอนุญาตให้เมียนมาส่งออกข้าวเพิ่มในปีนี้

จากการเปิดเผยของ นาย Muse U Min Thein รองประธานของ Muse Rice Wholesale Center กรมศุลกากรของจีนให้ได้ออกใบอนุญาตการส่งออกข้าวให้แก่ บริษัท ในเมียนมาเพิ่มเติมในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อส่งออกข้าวผ่านชายแดนมูเซ บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามปริมาณข้าวที่อนุญาตสำหรับการส่งออกยังไม่ได้รับการยืนยัน ใบอนุญาตนำเข้าข้าวของจีนปี 63 หมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคม 63 การค้าข้าวถูกระงับ ขณะนี้ผู้ค้าข้าวเมียนมาสามารถส่งออกข้าวภายใต้ใบอนุญาตใหม่ได้แล้ว อย่างไรก็ตามการปิดธนาคารทำให้เกิดปัญหาการทำธุรกรรมหยุดชะงักลง ดังนั้นการซื้อขายจึงลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เมียนมาส่งข้าวและปลายข้าวไปยังต่างประเทศมากกว่า 720,000 ตันระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 63 ถึง 15 มกราคม 64 ของงบฯ ปัจจุบันโดยมีรายได้กว่า 275 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศส่งผลกระทบต่อความพร้อมของชลประทานในการเกษตร ด้วยเหตุนี้สหพันธ์ข้าวแห่งเมียนมาร์ (MRF) จึงตั้งเป้าการส่งออกไว้ที่ 2 ล้านตันในปีงบประมาณปัจจุบันเนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวในฤดูร้อนลดลง เมียนมามีรายได้กว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกข้าวในช่วงปีงบประมาณ 63-64 ที่ผ่านมาโดยมีปริมาณกว่า 2.5 ล้านตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/china-grant-licences-to-more-myanmar-companies-for-rice-export-this-year/

RCEP ยกระดับการส่งออกสินค้าเกษตรเวียดนาม

ความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค (RCEP) เปิดโอกาสที่ดีให้แก่ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรเวียดนามในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก นาย Lê Duy Minh ประธานสมาคมฟาร์มและวิสาหกิจการเกษตรเวียดนาม กล่าวว่า RCEP จะช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรของเวียดนาม สามารถเข้าถึงตลาดที่ใหญ่ที่สุดและเปิดโอกาสในการแข่งขันกับคู่แข่ง ซึ่งข้อตกลงการค้าดังกล่าว มีจำนวนประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ รวมถึงออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วน 29% ของ GDP โลก และมีจำนวนประชากรรวม 2.2 พันล้านคน ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าเสรีฉบับนี้จะช่วยยกระดับการส่งออกสินค้าเกษตรของเวียดนาม เนื่องจากกลุ่มประเทศสมาชิกมีความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสใหม่แก่การค้ากับจีน ได้แก่ การสื่อสาร บริการทางการเงิน โลจิสติกส์และอีคอมเมิร์ซ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/886346/rcep-offers-opportunity-to-expand-vietnamese-agricultural-exports.html

จุรินทร์ เผยค้าชายแดนไทย-เมียนมา ยังไม่สะดุด ชี้สัญญาณส่งออกไทยดีต่อเนื่อง

กระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าในส่วนการประท้วงในเมียนมาเมื่อวานนี้ ยังไม่ได้รับผลกระทบการส่งสินค้าข้ามแดนระหว่างไทยกับเมียนมา ไม่ว่าจะเป็นที่ด่านระนองด่านพุน้ำร้อน หรือด่านเจดีย์สามองค์ที่กาญจนบุรี ทั้งนี้ เมื่อวานสถานการณ์ยังปกติยกเว้นที่ด่านแม่สาย ท่าขี้เหล็ก จุดเดียวที่มีการชุมนุมของผู้ชุมนุมในฝั่งเมียนมา การขับรถข้ามแดนส่งสินค้า อาจชะลอตัวบ้าง แต่เนื่องจากผู้ส่งออกของไทยคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้าแล้ว จึงได้เร่งการส่งสินค้าข้ามแดนในช่วงเช้าไปได้จำนวนมาก และการจราจรทางด้านการส่งสินค้ายังเคลื่อนตัวไปได้ “ในภาพรวมยังถือว่ายังอยู่ในสถานการณ์ปกติ จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่กระทรวงติดตามใกล้ชิด ในอนาคตถ้ามีปัญหาอะไรจะเรียนให้ทราบต่อไป”

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2592463

เวียดนามเผย ม.ค. ทำรายได้จากการส่งออกเครื่องนุ่งห่ม 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) ระบุว่าในเดือนมกราคม 2564 เวียดนามส่งออกเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ดัชนีผลผลิตเครื่องนุ่งห่มและดัชนีผลผลิตเสื้อผ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้น 16.6% และ 9.9% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ นาย Vu Duc Gian ประธานสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม กล่าวว่าวิกฤตโควิด-19 จะยังคงสร้างผลกระทบต่อเนื่องไปจนถึงปี 2565 อย่างไรก็ตาม หากได้รับวัคซีนโควิด-19 ในไตรมาสแรกและไตรมาสสองของปี 2564 คาดว่าจะควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดดังกล่าวได้ และส่งผลให้ตลาดเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอกลับมาฟื้นตัวในที่สุด อีกทั้ง อุตฯ เครื่องนุ่งห่มจำเป็นต้องสร้างห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะประเทศที่ได้ร่วมลงนามการค้าเสรีกับเวียดนามและอาเซียน นอกจากนี้ ในปีที่แล้ว เวียดนามทำรายได้จากการส่งออกเครื่องนุ่งห่มประมาณ 35 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นผลมาจากการระบาดของเชื้อไวรัส และความตึงเครียดทางการค้าสหรัฐฯ กับจีน รวมถึงเหตุการณ์อังกฤษแยกตัวออกจาก EU (Brexit)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-earns-26-billion-usd-from-garment-exports-in-january/196399.vnp

ส่งออกข้าวโพดไปไทยพุ่ง แต่นำเข้าลดลงกว่าครึ่ง

การส่งออกข้าวโพดไปยังไทยที่ด่านเมียวดีกำลังเติบโต แต่การนำเข้าจากเพื่อนบ้านในอาเซียนลดลง เมียนมาส่งออกข้าวโพดกว่า 200 คัน ไปยังไทยทุกวันผลเกิดจากการยกวันภาษีการส่งออกสินค้าตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 เป็นต้นไป การนำเข้าสินค้าของไทยจึงลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง ความไม่สงบทางการเมืองและการปิดทำการของธนาคารสร้างความเสียหายอย่างมากต่อการค้าของเมียนมา ก่อนหน้านี้ด่านการค้าชายแดนมีรถบรรทุกประมาณ 50 คันขนส่งสินค้าเกษตร เช่น ถั่วดิน พริก หัวหอม ปลาและกุ้ง ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นโดยมีรถบรรทุกประมาณ 200 ถึง 300 คันที่ขนส่งข้าวโพดมายังไทยทุกวัน มีการประท้วงอย่างต่อเนื่องและการปิดธนาคาร ทำให้ไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงิน การสั่งซื้อสินค้า อีกทั้งไม่สามารถเสียภาษีได้และปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก่อนหน้ามีรถบรรทุกจากไทยประมาณ 400 คันเข้าเมียนมาทุกวัน ตอนนี้มีเหลือเพียง 150 คันเท่านั้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmars-corn-exports-rise-thai-imports-more-halved.html

ไทย-จีน จับมือพัฒนามาตรฐานคุณภาพผลไม้ไทย ดันส่งออกปี 64 เพิ่ม ตั้งเป้าทะลุ 7 หมื่นล้าน

เมื่อวันที่ 17 ก.พ.64 นายอลงกรณ์ พลบุตร  ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ภายใต้นโยบายทำงานเชิงรุกยุคโควิดเพื่อขยายการส่งออกผลไม้ไทยสู่ตลาดโลกของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ จะจัดการประชุมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาคุณภาพผลไม้เพื่อสร้างโอกาสเพิ่มขึ้นในการส่งออกผลไม้ไทยไปจีน โดยจะมีการประชุมร่วมกันกับผู้แทนกระทรวงเกษตรฯ และอัครราชฑูตที่ปรึกษาด้านพาณิชย์ของจีนรวมทั้งหอการค้าไทย-จีนและผู้แทนภาคเอกชนของ 2 ฝ่าย ในเดือนมีนาคมที่จะถึง สำหรับประเด็นการหารือจะครอบคลุมตั้งแต่ การพัฒนามาตรฐานและคุณภาพผลไม้ไทย ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ จากฟาร์มถึงผู้บริโภค การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การขนส่งโลจิสติกส์ การส่งเสริมการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ การพัฒนาการอำนวยความสะดวก บริเวณด่านส่งออก 4 ด่านได้แก่ ด่านโมฮ่าน ด่านโหยวอี้กวน ด่านตงชิงและด่านผิงเสียง รวมทั้งความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรและผู้ประกอบการ ทั้งนี้ประเทศไทยและประเทศจีนมีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนานผูกพันเสมือนพี่น้องกันและได้พัฒนาความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้มีพิธีลงนามความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าไทยให้มีคุณภาพและมาตรฐานสอดคล้องกับกฎระเบียบและข้อบังคับการนำเข้าของสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างหอการค้าไทย-จีน และ บริษัท ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย) จำกัด

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/923074

รัฐบาลกัมพูชาร่วมกับสภาหอการค้ายุโรปส่งเสริมการส่งออก

กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง (MAFF) ร่วมกับสภาหอการค้ายุโรป (EuroCham) ประจำประเทศกัมพูชา ได้สัญญาว่าจะร่วมมือกันพัฒนาภาคการเกษตรของกัมพูชาเพื่อขยายการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป โดยได้มีการหารือเกี่ยวกับภาคธุรกิจการเกษตรในวงกว้าง เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษอุตสาหกรรมเกษตร โครงการสนับสนุนระหว่างประเทศเพื่อการปรับปรุงการเกษตร การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของภาคการเกษตร รวมถึงโอกาสและความท้าทายจากข้อตกลงการค้าเสรีที่ทางกัมพูชาได้ทำสัญญาร่วมเอาไว้ ซึ่งภาคเกษตรกรรมของกัมพูชาในช่วงของการแพร่ระบาดของ COVID-19 กัมพูชาถือว่ามีหลักประกันด้านความมั่นคงด้านอาหาร ไปจนถึงการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะ จีน เกาหลี และสหภาพยุโรป เน้นไปที่สินค้าส่งออก เช่น ข้าวสาร พริกไทย มันฝรั่งทอด เม็ดมะม่วงหิมพานต์ กล้วย และมะม่วง เป็นต้น ภายใต้ความร่วมมือกัมพูชาต้องการการสนับสนุนทางเทคนิคด้านการเกษตรที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มผลผลิต ความสามารถในการแข่งขัน ความครอบคลุมและความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการแปรรูปสินค้าการเกษตรในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50814995/ministry-and-eurocham-to-collaborate-on-exports-to-eu/

ส่งออกเมียนมายังปกติ แต่นำเข้ามุเซ หยุดชะงัก

การส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าเน่าเสียง่ายไปจีนของเมียนมายังเป็นปกติแม้มีการต่อต้านการยึดอำนาจของทหารเมียนมาแบบอารยะขัดขืนโดยการขวางการนำเข้าของประเทศ ขณะนี้ตัวแทนที่นำเข้าค้าชายแดนมูเซกำลังเข้าร่วมเคลื่อนไหวส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการทำธุรกรรมในแต่ละวันและรถบรรทุกขาเข้าที่ติดอยู่ที่เขตการค้า ผู้ดูแลศูนย์ค้าส่งมูเซ 105 ไมล์ เผยอย่างไรก็ตามการส่งออกผักผลไม้และสินค้าเน่าเสียง่ายของประเทศไปยังจีนยังคงดำเนินการตามปกติ อย่างไรก็ตามยังสามารถขนส่งการส่งออกพืชผลไปยังจีนได้บางส่วน ด้านการส่งออกแตงโม แตงกวา มะม่วง ปลา ปู และปลาไหลยังขนส่งไปจีนตามปกติ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/exports-operating-usual-imports-stutter-muse.html

เวียดนามตั้งเป้าปี 73 ยอดส่งออกภาคเกษตร ป่าไม้และประมง 60-62 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ตามคำสั่งอนุมัติของนายกรัฐมนตรีเมื่อเร็วๆนี้ ต่อโครงการเกษตรกรรม เผยว่าเวียดนามตั้งเป้าการส่งออกภาคเกษตร ป่าไม้และประมง อยู่ที่ประมาณ 60-62 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2573 โดยโครงการดังกล่าวเล็งเห็นถึงการเข้าร่วมของห่วงโซ่อุปทานภาคเกษตร ป่าไม้และประมง ตลอดจนปรับปรุงคุณภาพและมูลค่า เพื่อที่จะส่งออกให้เป็นไปตามกฎระเบียบของผู้นำเข้าและพัฒนาเครื่องหมายการค้าในตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ การส่งออกของภาคเกษตร ป่าไม้และประมง คาดว่าจะเติบโต 6-8% ต่อปี ประมาณ 40% มาจากการส่งออกสินค้สที่เป็นแบนด์ระดับชาติ, 70% มาจากธรรมชาติ และ 60% มาจากการส่งออกสินค้าที่ผ่านกระบวนการแปรรูป  ดังนั้น โครงการแห่งนี้จึงกำหนดเป้าหมายและนโยบาย เพื่อรองรับกับความปลอดภัยทางอาหารและพัฒนาอุตสาหกรรมที่สนับสนุน รวมไปถึงช่วยเหลือธุรกิจเกี่ยวกับการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาในตลาดส่งออก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-targets-60-62-bln-usd-from-agroforestryfisheries-export-by-2030/196140.vnp