เมียนมาส่งออกไปบังคลาเทศผ่านชายแดนมังดอร์มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เดือนมิถุนายน 2563 เมียนมาส่งออกผ่านชายแดนผ่านชายแดนมังดอว์มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปยังบังคลาเทศและส่วนใหญ่เป็นสินค้าอย่างพลาสติก ซึ่งการค้าชายแดนมังดอร์ หยุดตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤษภาคมและเปิดในเดือนมิถุนายน 2563 จากการแพร่ระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/more-than-us-1-million-worth-products-exported-to-bangladesh-via-maungdaw-border-trade

ส่งออกกุ้งเวียดนามไปยังแคนาดา โต 32%

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงครึ่งปีแรกของเดือนพ.ค. ยอดส่งออกกุ้งของเวียดนามไปยังแคนาดา เพิ่มขึ้นร้อยละ 32 เป็นมูลค่า 54.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในเดือนม.ค. การส่งออกกุ้งของเวียดนามไปยังแคนาดา เผชิญกับภาวะชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ยอดส่งออกในเดือนที่ผ่านมา มีการเติบโตในอัตราเลขสองหลัก (Double-Digit Growth) ทั้งนี้ แคนาดาเป็นผู้นำเข้ากุ้งรายใหญ่ของเวียดนาม อยู่ในอันดับที่ 6 ของตลาดต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.7 ของยอดส่งออกทั้งหมด ในขณะที่ ช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ ยอดส่งออกกุ้งของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นมูลค่า 49.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ศูนย์กลางการค้าโลก (World Trade Center) ชี้ว่าในช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ เวียดนามนำเข้ากุ้งลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว รองลงมาอินเดีย เวียดนาม ไทย จีนและเอกวาดอร์ ตามลำดับ สำหรับราคาเฉลี่ยส่งออกกุ้งของเวียดนาม มีราคาสูงสุดเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาดแคนาดา

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-shrimp-exports-to-canada-surge-32-21651.html

เวียดนามเผย 5 เดือนแรก ยอดส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์โต

กรมศุลกากรเวียดนาม (GDC) เปิดเผยว่าเดือนพ.ค. ยอดส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ลดลง แต่ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ กลับเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนที่แล้ว การส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังต่างประเทศ ลดลงร้อยละ 3.7 ในแง่ปริมาณ และร้อยละ 9.7 ในแง่มูลค่า ด้วยปริมาณ 42,821 ตัน และมูลค่า 263.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ ในขณะที่ ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกสินค้าดังกล่าว เพิ่มขึ้นทั้งในแง่ปริมาณและมูลค่า ร้อยละ 17.1 และร้อยละ 1.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37 ของยอดส่งออกทั้งหมด รองลงมาสหภาพยุโรป ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ร้านอาหารและโรงแรมในสหรัฐฯและยุโรปนำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์แปรรูปลดลง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cashew-nut-exports-grow-in-first-five-months/177379.vnp

ลิ้นจี่เวียดนามที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น “ขายหมด”

ผู้อำนวยการสำนักงานเกษตรและพัฒนาชนบทในจังหวัดบั๊กซาง กล่าวว่าลิ้นจี่สดที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่นนั้น คาดว่าจะขายได้ดี ซึ่งในวันที่ 21 มิ.ย. ทางจังหวัดดังกล่าว ส่งออกลิ้นจี่สดไปยังญี่ปุ่นผ่านการขนส่งทางอากาศ ด้วยปริมาณ 3 ตัน และเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. ได้ส่งออกลิ้นจี่สดเพิ่มอีก 6 ตัน ผ่านทางทะเล ส่งผลให้ปริมาณขายลิ้นจี่ในญี่ปุ่น อยู่ที่ราว 10 ตัน โดยจะเริ่มวางขายในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ “ราคาลิ้นจี่ที่ขายในตลาดต่างประเทศ ปรับตัวสูงถึง 40,000 ด่งต่อกิโลกรัม ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าเมื่อเทียบกับราคาในประเทศ อย่างไรก็ตาม หากได้การวางแผนที่ดี จะสามารถส่งออกไปยังญี่ปุ่นหลายร้อยตัน”

ที่มา : http://en.dangcongsan.vn/economics/vietnamese-lychee-sold-out-in-japan-555343.html

รายได้จากการส่งออกผลไม้ยังคงที่จากความต้องการกล้วยที่มีอย่างต่อเนื่อง

จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตผลไม้ดอกไม้และผักของเมียนมา รายได้จากการส่งออกผลไม้ของเมียนมาในปีงบประมาณปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 370 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งเทียบเท่ากับรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อนหน้าแม้จะมีการระบาด COVID-19 เนื่องจากความต้องการกล้วยคุณภาพดีที่เพิ่มขึ้นซึ่งสามารถชดเชยการส่งออกผลไม้อื่น ๆ เช่นแตงโมและแตงกวา ในความเป็นจริงหากไม่มมีการระบาดของ COVID-19 เมียนมาอาจมีรายได้จากการส่งออกผลไม้เพิ่มขึ้น ผลไม้ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังชายแดนจีน ก่อนที่ COVID-19 จะระบาด แตงโมและแตงกวาเป็นเป็นผักและผลไม้หลักในการส่งออกเพราะมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงสองสามเดือนแรกของปีเมียนมาส่งออกกล้วยที่ปลูกในท้องถิ่นแถบชายแดนจำนวน 75,000 ตันที่มีรายรับ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับ 70,000 ตันส่งออกทั้งปีที่แล้วจำนวน 290 ล้านดอลลาร์ รายรับจากการซื้อขายรวม ณ ชายแดนปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2.3 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-fruit-export-revenues-stable-due-strong-banana-demand.html

การส่งออกสินค้าเกษตรช่วงการระบาดของโควิด-19

มาตรการระงับการส่งออกข้าวในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ของไทยและหลายประเทศ เพื่อป้องกันวิกฤติขาดแคลนข้าวนั้นเป็นมาตรการที่จำเป็นจริงหรือ เมื่อปริมาณข้าวยังเพียงพอต่อการบริโภคภายใน และการระงับการส่งออกข้าวก็อาจทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารในอีกหลายประเทศได้ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งออกข้าวที่เป็นอาหารหลักของประชากรเกือบครึ่งโลก ทาง FAO ก็กังวลว่าผลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 อาจเกิดวิกฤติขาดแคลนข้าว และทำให้ราคาข้าวสูงขึ้นและจะมีผลกระทบต่อประชากรที่ยากจนที่พึ่งข้าวเป็นอาหารหลัก เนื่องจากอาจมีประเทศส่งออกข้าวบางประเทศห้ามหรือจำกัดการส่งออกข้าวเพื่อสำรองไว้บริโภคในประเทศซึ่งปรากฏว่าเมื่อเดือน มี.ค.2563 เวียดนามได้ประกาศระงับการส่งออกข้าว เพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารภายในประเทศ เช่นเดียวกับประเทศกัมพูชาก็มีแผนการระงับการส่งออกข้าวไว้เพื่อความมั่นคงด้านอาหารในประเทศเช่นกัน ต่อมาในเดือน เม.ย.2563 เวียดนามได้ประกาศส่งออกข้าวตามปกติ ส่วนกัมพูชาก็มิได้มีการระงับการส่งออกข้าวตามแผนที่กำหนดไว้ ทำให้ข้อวิตกการขาดแคลนข้าวลดลง

ที่มา:https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/885541?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

เวียดนามได้รับสัญญาเชิงบวกจากการส่งออกลิ้นจี่สดไปยังจีน ผ่านชายแดน

ปริมาณการส่งออกลิ้นจี่สดของเวียดนามไปยังประเทศจีนพุ่งสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ผ่านด่านชายแดนเตินแท็งห์ (Tan Thanh) จ.หลั่นเซิน (Lang Son) ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา นับว่าเป็นสัญญาเชิงบวกแก่ผู้ประกอบการและชาวเกษตรกร เป็นต้น จ.หลั่นเซิน ชี้ว่าจำนวนยานพาหนะขนส่งลิ้นจี่สดเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ผ่านด่านชานแดนเตินแท็งห์ เมื่อเทียบกับช่วงเริ่มต้นฤดูเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ ข้อมูลทางสถิติของกรมศุลกากร ระบุว่าปริมาณส่งออกลิ้นจี่สดไปยังประเทศจีน อยู่ที่ 13,500 ตัน ตั้งแต่ช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ในปัจจุบันหน่วยงานรัฐบาลได้วางมาตรฐานสำหรับการเพาะปลูกลิ้นจี่แก่คู่ค้าชาวจีน เพื่อที่จะป้องกันการแพร่ระบาคของไวรัสโควิด-19 และให้สอดคล้องกับกฎระเบียบในปัจจุบัน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/positive-signs-for-fresh-lychee-exports-to-china-via-border-gates-415044.vov

สศก. แจงสถานการณ์ส่งออกสินค้าเกษตรไทยในอาเซียน เผยไตรมาสแรกยังเติบโตดี

นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการติดตามสถานการณ์การค้าสินค้าเกษตรและยางพาราธรรมชาติ (พิกัด 4001) ของไทยกับภูมิภาคอาเซียน ในช่วง 3 เดือนแรก (มกราคม-มีนาคม) ของปี 2563 พบว่า ไทยมีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรรวม 113,566 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.10 จากปี 2562 ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยมีมูลค่าส่งออกเป็น 75,415 ล้านบาท ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ น้ำตาลและผลิตภัณฑ์จากน้ำตาล เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้ ของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้งและนม สำหรับการนำเข้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยมีมูลค่าการนำเข้า 38,151 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ร้อยละ 41.43 โดยกลุ่มสินค้าเกษตรนำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ พืชผักที่บริโภคได้โดยเฉพาะมันสำปะหลังและถั่วเขียว ปลาและสัตว์น้ำ ของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้ ข้าวและธัญพืช และของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้งและนม ทั้งนี้เนื่องจากอยู่ในช่วงเวลาการอนุญาตให้มีการนำเข้าโดยไม่จำกัดปริมาณภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรuอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ประกอบกับผลผลิตในประเทศมีปริมาณน้อยลง ทั้งจากปัญหาภัยแล้งรวมถึงโรคระบาดในข้าวโพด ทำให้ผลผลิตที่ได้มีไม่เพียงพอ ต่อความต้องการใช้ จึงมีการนำเข้ามาเป็นจำนวนมาก เพื่อแปรรูปเป็นอาหารสัตว์และจำหน่ายต่อไป

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3134064

ส่งออกสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มและไลฟ์สไตล์ไทย 4 เดือนแรกปี’63 ร่วง 10%

นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว การแข่งขันทางการค้าที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ตลอดจนการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการค้าและการส่งออกของหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (สะสม) ช่วง 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย. 2563) พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 2,032.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปี 2562 มูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มลดลง 10.7% โดยแยกเป็นการส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 1,280.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 13.4% และ การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 752.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.8% ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จึงมีแนวคิดในการพลิกฟื้นการค้าและการส่งออกของประเทศโดยการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเพื่อรองรับธุรกิจตามวิถีใหม่ (New normal) สำหรับภาคธุรกิจภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยนำร่องพัฒนา 30 ผลิตภัณฑ์ นำไปทดสอบตลาดคาดว่าจะทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 10% หรือมูลค่าไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/economics/news_4326769

เวียดนามส่งออกหน้ากากอนามัย 30 ล้านชิ้นไปยังอเมริกาเหนือ

เวียดนามส่งออกหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ผลิตในเวียดนาม 30 ล้านชิ้นไปยังอเมริกาเหนือ ผ่านการบริการขนส่งเที่ยวบินเช่าเหมาลำ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการแก่ประชาชนท้องถิ่นและผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพที่ต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเที่ยวบินแรกออกจากกรุงฮานอยเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. และเปลี่ยนสายการบินที่ฮ่องกง ก่อนจะถึงอเมริกาเหนือ ต่อมาเที่ยวบินสองเดินทางมาถึงจุดหมายปลายทางเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. ทั้งนี้ ‘บริษัท ไอทีแอล โลจิสติกส์’ เป็นผู้ผลิตหน้ากากอนามัยรายใหญ่ในเวียดนาม ระบุว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ต้องการหน้ากากที่ได้รับมาตรฐาน 3 พันล้านชิ้นและเวียดนามก็เป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์รายใหญ่ ซึ่งในเดือนพ.ค. ทางบริษัทดังกล่าวได้จัดส่งอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) 1.5 ล้านชุดไปยังนิวยอร์ก,สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึง 16 เม.ย. เวียดนามส่งออกหน้ากาก 415.7 ล้านชิ้น ญี่ปุ่นเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุด รองลงมาเกาหลีใต้ เยอรมัน สหรัฐฯและฮ่องกง ตามรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/30-million-made-in-vietnam-medical-masks-delivered-to-north-america-21162.html