เวียดนามเผยยอดส่งออกเครื่องนุ่งห่มลดลง 6.6% ในช่วง 4 เดือนแรก

จากข้อมูลของสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) เปิดเผยว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มรวม อยู่ที่ 10.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน มูลค่านำเข้ารวม 6.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.76 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเดือนเมษายนนั้น มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ยอดส่งออกและนำเข้าดิ่งลงฮวบ แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอไม่มียอดคำสั่งซื้อและคาดว่าจะลดลงอีกในเดือนพ.ค., มิ.ย. เนื่องจากคำสั่งซื้อส่วนใหญ่อยู่ในเดือนดังกล่าวอาจถูกยกเลิก ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ล้วนแต่มีหนี้เสีย สำหรับธุรกิจส่งออกสิ่งทอได้ลดกำลังการผลิตลง เนื่องจากไม่ได้รับคำสั่งซื้อใหม่ นอกจากนี้ ทางรองผู้อำนวยการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่าการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าหลายชนิด รวมถึงสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่หันมาผลิตหน้ากากผ้า เพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/garment-exports-fall-66-percent-in-four-months/172848.vnp

เวียดนามคาดไตรมาสแรก ยอดส่งออกกุ้งพุ่งไปยังสหรัฐฯ ญี่ปุ่น

อุตสาหกรรมกุ้งเวียดนามในตลาดสำคัญสดใส ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดนเฉพาะตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา แม้ว่าอยู่ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) กล่าวว่า ญี่ปุ่นติด 5 อันดับแรกของตลาดส่งออกกุ้งรายใหญ่ของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21 ของมูลค่าส่งออกกุ้งรวม หลังจากในเดือนก.พ. ส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวพุ่งขึ้นร้อยละ 63 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ขยับขึ้นเป็นตลาดส่งออกกุ้งอันดับ 2 ของเวียดนามในไตรมาสแรก เนื่องจากมีความต้องการอาหารจำเป็นเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อน รวมถึงกุ้งด้วย ท่ามกลางการแพร่ระบาดไวรัส ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรก เวียดนามส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่า 115.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน นับว่าเป็นการขยายตัวสูงที่สุดในบรรดาตลาดส่งออกสำคัญ อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกอื่นๆ กลับมีมูลค่าลดลง ได้แก่ สหภาพยุโรป เกาหลีใต้และจีน เป็นต้น ถึงแม้ว่าไม่ทราบความชัดเจนเมื่อไรการระบาดจะสิ้นสุดลง แต่ความต้องการกุ้งทั้งตลาดในประเทศและตลาดโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-sees-high-shrimp-export-growth-to-us-and-japan-in-q1/172232.vnp

เวียดนามอนุมัติส่งออกข้าวมากกว่า 56,000 ตัน

สำนักงานกรมศุลกากรเวียดนาม ระบุในเว็บไซต์ว่าเวียดนามส่งออกข้าวราว 57,000 ตัน ช่วงบ่ายวันอังคาร ซึ่งจำนวนข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของ 400,000 ตัน ภายใต้โควตาส่งออกในเดือนนี้ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมานั้น นายกรัฐมนตรีเหงียน ซวน ฟุก ได้อนุมัติแผนของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ในการส่งออกข้าวอีกครั้งหลังจากระงับชั่วคราว เพื่อให้แน่ใจว่าเวียดนามมีอาหารเพียงพอที่จะรับมือการระบาดของไวรัส ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าวราว 1.52 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 700.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 และ 16 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/715610/more-than-56000-tonnes-of-rice-cleared-for-customs-approval.html

ราคาส่งออกข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า

ราคาข้าวหอมมะลิส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในเดือนที่แล้วจาก 50 เหรียญสหรัฐสู่ 100 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตันตัน ตามรายงานของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) อย่างไรก็ตามราคาซื้อขายข้าวขาวในประเทศยังคงทรงตัว โดยเลขาธิการ CRF อธิบายถึงความไม่เท่ากันของราคาส่งออกที่พุ่งขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการปิดชายแดนเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 หลายประเทศทำให้การขนส่งสินค้ารวมถึงข้าวทำได้ยากขึ้นและสิ่งนี้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า ดีมานด์ก็เพิ่มขึ้นเช่นกันเนื่องจากจุดหมายปลายทางที่ทำการส่งออกไปมีสต็อคของสินค้าที่ค่อนข้างต่ำ ซึ่งความต้องการดังกล่าวยังเห็นว่าราคาข้าวหอมมะลิกัมพูชา (Malys Angkor) เพิ่มขึ้น 70 เหรียญสหรัฐเป็น 950 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน ปัจจุบันกัมพูชาได้รับอนุญาตให้ส่งออกข้าวหอมเท่านั้นเนื่องจากได้ราคาที่สูงขึ้นในตลาดต่างประเทศ ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลกัมพูชาสั่งห้ามการส่งออกข้าวขาวและข้าวเปลือกชั่วคราวจนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจว่ามีสต็อกเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการภายในประเทศผ่านช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนซึ่งเกิดจากการแพร่กระจายของ COVID-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50713246/price-of-exported-rice-doubles/

ไวรัส มรณะ ฉุดส่งออกไทยติดลบ 5.5 % สูญ 13,480 ล้านเหรียญสหรัฐ

ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินโลกน็อคดาวน์ทำส่งออกไทยติดลบ 7.1%  ต่ำสุดรอบ 1 ปี เสียหายยับเยิน 5.5 แสนล้านบาท เฉพาะโควิด-19 ทำส่งออกไทยหาย 13,480 ล้านเหรียญสหรัฐ  ชี้อาเซียน-ฮ่องกงหนัก โดยผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ส่งออกไทยในปี 63 คาดว่าจะมีมูลค่า 228,816 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงจากปีก่อน 7.1%   หรือลดลง 17,429 ล้านเหรียญสหรัฐ (557,728 ล้านบาท) ถือเป็นอัตราที่ต่ำสุดรอบ 10 ปี แบ่งเป็นได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำจากการระบาดไวรัส โควิด-19 ถึง 80%  ,ความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน 10%, สงครามการค้าสหรัฐ-ประเทศคู่ค้า 5% และความขัดแย้งระหว่างสหรัฐ-อิหร่าน 5% เบื้องต้นคาดการณ์ว่าการส่งออกไทยไปยังอาเซียนจะเสียหายมากสุดหรือลดลง  5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงส่งออกไปฮ่องกงลดลง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ,ญี่ปุ่นลดลง  3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จีนเสียลดลง  2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และสหภาพยุโรป ลดลง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นต้น โดยหากประเมินเฉพาะผลกระทบจากการระบาด โควิด-19 อย่างเดียว ไม่รวมปัจจัยอื่น พบว่าจะมีผลต่อการส่งออกในปีนี้ติดลบ 5.5% หรือคิดเป็นมูลค่า 13,480 ล้านเหรียญสหรัฐ (431,360 ล้านบาท)

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/873679

นายกฮุนเซนสั่งห้ามส่งออกข้าวเพื่อป้องกันอุปทานภายในประเทศ

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้สั่งหยุดการส่งออกข้าวขาวและข้าวเปลือกทั้งหมดกำหนดตั้งแต่วันที่ 5 เมษายนจนกว่าจะมีประกาศให้ทำการส่งออกดังเดิม โดยนายฮุนเซนกล่าวในการแถลงข่าวหลังจากการประชุมรัฐสภาว่าการตัดสินใจในครั้งนี้ทำไปเพื่อปกป้องอุปทานภายในประเทศเพื่อตอบสนองต่อการขาดแคลนอาหารในช่วงของการระบาด COVID-19 ซึ่งรัฐบาลได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าหนึ่งสัปดาห์เพื่อให้ผู้ผลิตข้าวและผู้ส่งออกสามารถจัดการและควบคุมสต็อค รวมถึงเคลียคำสั่งซื้อต่างๆที่มีอยู่ จากรายงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กัมพูชาได้ส่งออกข้าวสาร 214,612 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศ โดยคิดเป็นส่งออกไปยังประเทศจีน 94,060 ตัน สหภาพยุโรป 62,998 ตัน ตลาดอาเซียน 27,937 ตัน และตลาดอื่น ๆ 29,617 ตัน รวมไปถึงการส่งออกอย่างไม่เป็นทางการที่คาดว่ามากกว่า 800,000 ตัน ไปยังเวียดนาม ซึ่งรองประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) กล่าวว่าการส่งออกข้าวขาวของกัมพูชายังคงมีเสถียรภาพ โดยข้าวขาวที่ผลิตในประเทศส่งออกประมาณ 20 ถึง 25% ในแต่ละเดือน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50707627/pm-bans-white-rice-and-paddy-exports-in-effort-to-safeguard-local-supply/

กระทรวงเสนอจำกัดปริมาณการส่งออกข้าว 400,000 ตันต่อเดือน

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) ได้เสนอแผนต่อนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการควบคุมปริมาณส่งออกข้าวต่อเดือนและการกักตุน 400,000 ตัน จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วยข้อเสนอดังกล่าวนั้น คาดว่าปริมาณการส่งออกข้าวในเดือนเม.ย.-พ.ค. อยู่ที่ประมาณ 800,000 ตัน และนากยรัฐมนตรีจะนำไปพิจารณาถึงการส่งออกข้าวในเดือนพ.ค. ช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเม.ย. ทั้งนี้ ทางกระทรวงฯ เสนอให้ส่งออกข้าวผ่านชายแดนระหว่างประเทศเท่านั้น ซึ่งมีอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตครบครันที่จะทำให้กรมศุลกากรสามารถตรวจสอบได้ สำหรับความต้องการบริโภคและการเก็บสินค้า ทางกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทคาดว่าความต้องการข้าวเปลือกในประเทศปีนี้ อยู่ที่ 29.96 ล้านตัน ส่วนที่เหลือจะนำไปส่งออกประมาณ 13.5 ล้านตัน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/ministry-proposes-limiting-rice-exports-to-400000-tonnes-per-month-411991.vov

แอลจีเรียเป็นตลาดที่มีศักยภาพของผลิตภัณฑ์เวียดนาม

จากรายงานของสำนักงานการค้าเวียดนามในแอลจีเรีย ระบุว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรียเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการส่งออกลวดเย็บกระดาษของเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กาแฟและข้าว เป็นต้น รายได้จากการส่งออกของเวียดนามไปยังแอลจีเรีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ และเวียดนามอาจขยายส่งออกกาแฟไปยังแอลจีเรีย เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสูงสุดของผู้คนในท้องถิ่น ทั้งนี้ กาแฟเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกชั้นนำของเวียดนามไปยังแอลจีเรีย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของตลาดแอลจีเรีย ขณะที่ ข้าวยังคงเป็นสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพอย่างมาก เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 โดยแอลจีเรียส่วนใหญ่จะนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ 100,000 ตันต่อปี ยิ่งไปกว่านั้น อัตราภาษีนำเข้าของประเทศสำหรับอาหารจะต่ำกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มสินค้าประเภทอื่น นอกจากนี้ ในปี 2562 เวียดนามส่งออกข้าวไปยังแอลจีเรียราว 17,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 และจำนวนแรงงานชาวเอเชียเพิ่มสูงขึ้นในแอลจีเรีย ทำให้มีความต้องการข้าวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/algeria-a-potential-market-for-vietnamese-products/170720.vnp

การส่งออกสินค้าการท่องเที่ยวของกัมพูชามูลค่าเกิน 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562

สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชา (GMAC) กล่าวว่าการส่งออกสินค้าการท่องเที่ยวของกัมพูชาไปทั่วโลกมีมูลค่าเกิน 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 โดยเริ่มจากฐานที่ต่ำอยู่ที่ประมาณ 50 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดคิดเป็นประมาณ 80% ของการส่งออกทั้งหมดของสินค้าด้านการท่องเที่ยว โดยการเติบโตของการส่งออกนี้เป็นผลมาจากความพยายามร่วมกันของกระทรวงพาณิชย์ (MOC) และ GMAC ไปยังรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกาซึ่งส่งผลให้มีการทบทวนสิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) ของสหรัฐในปี 2559 รวมถึงได้พิจารณารายการสินค้าด้านการท่องเที่ยวให้อยู่ในรายการที่มีคุณสมบัติภายใต้ขอตกลง GSP เพื่อการส่งออกไปยังสหัรฐ ซึ่งกัมพูชามีการส่งออกผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า รองเท้าและสินค้าด้านการท่องเที่ยวมีมูลค่ารวม 9,325 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 เพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50702636/travel-goods-exports-from-cambodia-exceeded-1-2-billion-in-2019/

ราคาส่งออกข้าวพุ่ง ตามความต้องการเพิ่มขึ้น

จากข้อมูลของสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าเมื่อไม่นานมานี้ ราคาส่งออกข้าวปรับตัวสูงขึ้น เนื่องมาจากความต้องการเพิ่มขึ้นของตลาดบางแห่ง อาทิ มาเลเซีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เป็นต้น ทางตลาดมาเลเซียได้ตกลงที่จะซื้อธัญพืชจากเวียดนาม 90,000 ตัน และจะนำเข้าเพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคตข้างหน้า สำหรับเกาหลีใตให้โควตานำเข้าอาหารเวียดนาม 55,112 ตันในปีนี้ ขณะเดียวกัน ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวจำนวนมากจากเวียดนาม ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2562 และคาดว่ายังคงรักษาตำแหน่งสูงสุดในปี 2563 คิดเป็นปริมาณนำเข้า 2.6 ล้านตัน ทั้งนี้ คณะผู้แทนจากกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ มีกำหนดการเข้าเยี่ยมชมโรงงานแปรรูปข้าวเวียดนาม เพื่อที่จะเตรียมนำเข้าในอนาคตข้างหน้า นอกจากนี้ จีนที่เคยเป็นตลาดข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนามาหลายปีนั้น แต่ในปี 2562 ยอดส่งออกข้าวไปยังประเทศดังกล่าวลดลงอย่างมากร้อยละ 64.2 เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัวสโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rice-export-prices-surge-amid-high-demand/169579.vnp