“เมียนมา” ทำรายได้จากการส่งออกถั่วพัลส์ ทะลุ 240 ล้านดอลลาร์

กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา เปิดเผยว่าเมียนมาทำสถิติส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 310,000 ตัน และสร้างรายได้มากกว่า 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566-2567 โดยรายงานระบุว่า การขนส่งถั่วพัลส์ปริมาณข้างต้นแบ่งเป็นผ่านเส้นทางทางทะเลมากกว่า 280,816.8 ตัน คิดเป็นมูลค่า 212.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเส้นทางการค้าผ่านช่องทางอื่นๆ 29,756.2 ตัน ทั้งนี้ ตลาดอินเดียมีความต้องการถั่วเขียวผิวดำและถั่วแระเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อการบริโภคในประเทศ อีกทั้งจากการร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างเมียนมา-อินเดีย เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ทำให้อินเดียมีแนวโน้มว่าจะนำเข้าถั่วเขียวผิวดำเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 250,000 ตัน และถั่วแระ 100,000 ตัน จากเมียนมา เป็นระยะเวลา 5 ปี ในปีงบประมาณ 2568-2569 โดยข้อตกลงดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อโควต้ารายปีที่กำหนดไว้ของอินเดีย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-240-mln-in-export-of-pulses-within-two-months/#article-title

“ไทย” เดินหน้าเป็นเจ้าภาพอาเซียน จัดโต๊ะคุยรัฐบาลเมียนมา

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้ส่งคำเชิญไปยังนายปรัก สุคน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชา เพื่อเป็นหัวหอกในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการต่อสถานการณ์ในประเทศเมียนมา ในวันที่ 18-19 มิ.ย. ทั้งนี้ จากการแถลงข่าวของกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศของกัมพูชา เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. ระบุว่ากระบวนการการเจรจาจะเป็นไปตามข้อเสนอแนะจากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 42 ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนที่แล้ว และได้เน้นย้ำถึงบทบาทของฉันทามติ 5 ข้อ”ของอาเซียนที่ต้องปฏิบัติตามและมีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วน คือ ต้องมีการยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมียนมาทันที โดยต้องเจรจาทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/national-politics/thailand-host-asean-delegates-myanmar-discussion

“เมียนมา” เผยราคายางพารา ดีดทะลุ 1,400 จ๊าตต่อปอนด์

ราคายางพาราในรัฐมอญ (Mon State) ทะลุ 1,400 จ๊าตต่อปอนด์ ได้แรงหนุนจากแนวโน้มราคายางระหว่างประเทศที่พุ่งสูงขึ้น โดยในปัจจุบันราคายางพาราแบบแห้ง (Local 3) อยู่ที่ราว 1,405 จ๊าตต่อปอนด์ ในขณะที่ยางพาราแผ่นรมควันราคาประมาณ 1,425 จ๊าตต่อปอนด์ ทั้งนี้ สถานการณ์ราคายางพาราในเมียนมา ได้รับอิทธิผลมาจากอุปสงค์โลก ผลผลิตยางพาราในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และผลผลิตของตลาด ซึ่งปัจจัยข้างต้นมีส่วนสำคัญต่อรัฐมอญ เนื่องจากรัฐมอญเป็นศูนย์กลางการผลิตยางพาราที่สำคัญของเมียนมา นอกจากนี้ สมาคมผู้ปลูกและผลิตยางพาราของประเทศเมียนมา ได้ตั้งเป้ายอดการส่งออกยางพาราไว้ที่ 300,000 ตัน ในปีงบประมาณ 2566-2567

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rubber-price-rebounds-surpasses-k1400-per-pound/#article-title

“เมียนมา” เผยราคาทองคำทะลุ 3.1 ล้านจ๊าตต่อ Tical

สมาคมผู้ค้าทองคำในย่างกุ้ง (YEGA) เปิดเผยว่าราคาทองคำทำสถิติพุ่งสูงสุด 3.1 ล้านจ๊าตต่อ Tical (0.578 ออนซ์ หรือ 0.016 กิโลกรัม) ในตลาดภายในประเทศ เนื่องมาจากทิศทางของราคาทองคำแท่งที่สูงขึ้นและการอ่อนค่าของค่าเงินจ๊าต เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ราคาทองคำตลาดโลก Gold Spot อยู่ที่ 1,962 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ และค่าเงินจ๊าตอ่อนค่าลง 2,970 ดอลลาร์สหรัฐในตลาดเกรย์ มาร์เก็ต (Grey Market)

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/gold-price-surpasses-k3-1-mln-per-tical-in-shady-dealings/#article-title

“เมียนมา” เผยราคาน้ำตาลพุ่งทะยาน

ราคาน้ำตาลมีทิศทางที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลาดภายในประเทศ และอยู่ในระดับจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ประมาณ 3,300 จ๊าดต่อ Viss เป็นผลมาจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น อยู่ที่ 680 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ประกอบกับสต๊อกสินค้าในประเทศอยู่ในระดับต่ำและการนำเข้าน้ำตาลจากต่างประเทศน้อยลง ทำให้ราคาน้ำตาลสูงขึ้น ทั้งนี้ ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น สาเหตุมาจากการส่งเสริมผู้ปลูกอ้อย นอกจากนี้ คุณ อูวินเท (U Win Htay) รองประธานสมาคมผลิตภัณฑ์น้ำตาลและอ้อยของเมียนมา กล่าวว่าก่อนหน้านี้ เมียนมาส่งออกน้ำตาลไปยังจีนและเวียดนาม ซึ่งเกินกว่าที่บริโภคไว้ในประเทศ แต่ในปัจจุบันเมียนมาส่งออกเพียงแค่ประเทศเวียดนาม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sugar-price-on-upward-spiral/#article-title

“เมียนมา” เผยราคาถั่วเขียวผิวดำ พุ่ง 2.4 ล้านจ๊าดต่อตัน

จากข้อมูล ณ วันที่ 10 มิ.ย. 2566 ระบุว่าราคาถั่วเขียวผิวดำ (Black gram) อยู่ที่ 2.45 ล้านจ๊าดต่อตัน (FAQ/RC) และ 2.69 ล้านจ๊าดต่อตัน (SQ/RC) ในตลาดย่างกุ้ง ขณะที่ราคา FOB อยู่ที่ 950-970 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน โดยราคาปัจจุบันทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2558 ราคาอยู่ที่ 2.456 ล้านจ๊าดต่อตัน (FAQ/RC) และ 2.656 ล้านจ๊าดต่อตัน (SQ/RC) ทั้งนี้ ในช่วงที่เกิดความวุ่นวายในตลาดถั่วพัลส์ เมียนมา ในปี 2551 พบว่าราคาเขียวผิวดำ อยู่ที่ 700,000 จ๊าดต่อตัน และต่อมาราคาปรับตัวลดลงเหลือ 360,000 จ๊าดต่อตัน นอกจากนี้ ยังเผชิญกับข้อจำกัดในการนำเข้าถั่วพัลส์และส่งผลให้อุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย อย่างไรก็ดี ตามข้อมูลในปัจจุบัน ราคากลับมาพุ่งสูงขึ้นกว่า 2.4 ล้านจ๊าดต่อตัน เนื่องจากค่าเงินจ๊าดอ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/black-gram-price-rockets-to-above-k2-4-mln-per-tonne/#article-title

“มินอ่องหล่าย” เดินหน้าตรวจสอบพื้นที่เกษตรกรรมและปศุสัตว์ เหตุมั่งคงด้านอาหาร

พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) และคณะ ได้ทำการตรวจสอบการดำเนินงานในพื้นที่เกษตรกรรมและปศุสัตว์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา (Thilawa) และมีการรายงานชี้แจ้งถึงผลการดำเนินงานในเขตพื้นที่ดังกล่าวเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ผลผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์ผ่านระบบการเกษตรแบบผสมผสาน ตลอดจนการกำหนดราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรในเขตย่างกุ้งที่มีความจำเป็นต้องให้แน่ใจว่าอาหารมีเพียงพอและราคาอยู่ในระดับเหมาะสมต่อผู้บริโภคในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีการชี้แจ้งถึงความสำคัญของการขยายพื้นที่เพาะพันธุ์การเกษตรและปศุสัตว์ เพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตรและกำชับหน่วยงานให้ปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

ที่มา : https://www.myanmaritv.com/news/food-sufficiency-sg-inspects-thilawa-multipurpose-agriculture-livestock-zone

“ข้าวไข่มุก” เมียนมา พุ่ง 110,000 จ๊าดต่อกระสอบ

ศูนย์ค้าข้าววาดัน (Wahdan) เปิดเผยว่าราคาข้าวพันธุ์ชเวโป ปอว์ ซาน (Shwebo Pawsan) หรือข้าวไข่มุกของเมียนมา ปรับตัวพุ่งสูงขึ้นแตะ 110,000 จ๊าดต่อกระสอบ ในขณะที่ราคาข้าวพันธุ์อื่นๆ ก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยในตลาดย่างกุ้ง ทั้งนี้ สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) จะร่วมมือกับโรงสีข้าว ผู้ค้าส่งและบริษัทต่างๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพในตลาดข้าวและควบคุมราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ จะทำการตรวจสอบผู้ที่เผยแพร่ข่าวลือที่เป็นอันตรายร้ายแรงบนแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อทำให้เกิดความกังวลต่อผู้บริโภคและการขึ้นราคาข้าวเป็นประโยชน์ในระยะยาวของอุตสาหกรรมข้าว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/shwebo-pawsan-rice-price-rockets-to-k110000-per-bag/#article-title

“เมียนมา” เผยเดือน พ.ค. ดันส่งออกพุ่ง 110,000 ตัน ในปีงบประมาณ 66-67

ตามข้อมูลของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) ระบุว่าเมียนมาส่งออกข้าวและปลายข้าวไปยังตลาดต่างประเทศในเดือน พ.ค. มากกว่า 110,000 ตัน ในปีงบประมาณ 2566-2567 รวมทั้งข้าว 46,786 ตัน และปลายข้าว 63,920 ตัน ทั้งนี้ ช่องทางการส่งออกข้าวส่วนใหญ่ของเมียนมาผ่านทางทะเล 102,801 ตัน ในขณะที่ผ่านทางชายแดน 7,905 ตัน นอกจากนี้ เมียนมาได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวไว้ที่ 2.5 ล้านตันในปีงบประมาณ 2566 และทำรายได้จากการส่งออกข้าวราว 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตลาดจีนเป็นประเทศหลักของการส่งออกข้าวของเมียนมา ด้วยปริมาณมากกว่า 775,000 ตัน รองลงมาเบลเยียม 323,000 ตัน บังกลาเทศ 239,000 ตัน และฟิลิปปินส์ 202,000 ตัน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เมียนมาตั้งเป้าที่จะส่งเสริมการส่งออกข้าว 10% ต่อปี โดยให้ความสำคัญกับการส่งออกข้าวเกรดสูงและเพิ่มปริมาณการส่งออก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-110000-tonnes-of-rice-in-may-2023-2024-fy/#article-title

ด่านชายแดนมุต่อง “เมียนมา-ไทย” ดันส่งออกผลไม้พุ่งทะยาน เดือน พ.ค.

ตามรายงานระบุว่าผลไม้ที่จะส่งออกไปยังอำเภอมะริด เขตตะนาวศรี ผ่านด่านมุต่อง (Mawtaung) บริเวณชายแดนเมียนมา-ไทย ในเดือน พ.ค. นับว่าเป็นการส่งออกผลไม้ครั้งใหญ่ที่สุดของเมียนมา โดยผลไม้ที่นำเข้ามากที่สุด ได้แก่ ชมพู่ ส้ม สละ ขนุน และแก้วมังกร ราคาปัจจุบันของชมพู่กิโลกรัมละ 19.44 บาท ส้มกิโลกรัมละ 9.69 บาท สละกิโลกรัมละ 6.45 บาท และแก้วมังกร 6.81 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ ค่ายด่านมุต่องได้กำหนดว่าต้องนำเข้าผลไม้ 24 ตัน นับตั้งแต่วันที่ 1 – 30 พ.ค.

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-thailands-mawtaung-border-exports-most-fruits-in-may/#article-title