“เมียนมา” เผยผลผลิตถั่วลูกไก่น้อย ดันราคาพุ่งสูงขึ้น

ศูนย์ค้าส่งสินค้าในเมืองมัณฑะเลย์ เปิดเผยข้อมูล ณ วันที่ 22 เม.ย. 2566 พบว่าราคาถั่วลูกไก่ (Chick Pea) ขยับเพิ่มสูงขึ้นจาก 201,000 – 206,500 จั๊ตต่อ 56.25/57.25 Viss มาอยู่ที่ราว 207,000 – 219,000 จั๊ตต่อ 56.25/57.25 Viss โดยตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงราคาที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากภายในช่วง 3 สัปดาห์ ทั้งนี้ ถั่วลูกไก่เป็นพืชผลเมืองหนาวและมักจะปลูกในเดือน ต.ค. และ พ.ย. ในขณะที่ฤดูเก็บเกี่ยวเริ่มตั้งแต่เดือน ม.ค. จนถึงเดือน เม.ย. นอกจากนี้ เมียนมาส่วนใหญ่เพาะปลูกข้าวเปลือก ข้าวโพด ฝ้ายและถั่วชนิดต่างๆ ซึ่งกำลังการผลิตที่ใหญ่เป็นอันดับสอง คือ ถั่วพัลส์และบีน มีสัดส่วน 33% ของผลผลิตทางการเกษตร และยังครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20% ของทั่วประเทศ ตลอดจนในจำนวนผลผลิตดังกล่าว ถั่วดำ ถั่วลูกไก่และถั่วเขียว มีสัดส่วนรวมกัน 72% ของพื้นที่เพาะปลูกถั่วทั่วประเทศ บ่งชี้ให้เห็นว่าถั่วต่างๆ เป็นหนึ่งในสินค้าหลักของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/small-supply-of-chickpeas-pushes-up-prices/#article-title

“กองกำลังว้า” ระงับการทำเหมือง เดือน ส.ค. ราคาดีบุกพุ่ง

กองทัพรวมแห่งรัฐว้า (UWSA) กองกำลังชนกลุ่มน้อยในเมียนมา ประกาศจะระงับการทำงานเหมืองในพื้นที่ภายใต้การควบคุมของกองกำลัง ตั้งแต่เดือน ส.ค. แร่บุกของเมียนมาส่วนใหญ่มาจากเหมืองในพื้นที่รัฐว้า และจากเหตุการณ์ในข้างต้นส่งผลให้ราคาดีบุกพุ่งสูงขึ้น 12% ในประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ที่สุดในโลก และราคาดีบุกดังกล่าวอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือนหลังจากทราบข่าวระงับเหมือง โดยตลาดเมียนมามีสัดส่วน 77% ของการนำเข้าดีบุกของประเทศจีนในปี 2565 ทั้งนี้ รัฐว้าถือเป็นแหล่งผลิตดีบุกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเมียนมาและผลผลิตส่วนใหญ่จะส่งออกไปยังประเทศจีน การระงับการทำเหมืองในครั้งนี้จะทำให้ผลผลิตของเหมืองดีบุกอยู่ในสถานการณ์ที่เข้มงวดขึ้น อย่างไรก็ดี สถานการณ์ยังไม่ชัดเจนว่าจะระงับการทำเหมืองหรือไม่ เนื่องจากไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการแจ้งเตือนและหน่วยงานหลักของรัฐว้าไม่ได้รับการแจ้งเตือน

ที่มา : https://www.reuters.com/article/tin-myanmar/myanmars-wa-militia-to-suspend-mining-in-its-zone-from-aug-tin-prices-jump-idUSKBN2WE0KH

“เมียนมา” เผยปี 65-66 ส่งออกถั่วพุ่ง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามข้อมูลสถิติของกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าในช่วงปีงบประมาณ 2565-2566 เมียนมาส่งออกถั่วพัลส์ (Pulses) ไปยังต่างประเทศกว่า 1.9 ล้านตัน ทำรายได้ราว 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และหากพิจารณาช่องทางการค้าของสินค้าดังกล่าว พบว่าในปีที่แล้ว เมียนมาส่วนใหญ่ส่งออกถั่วพัลส์และถั่วชนิดอื่นๆ ผ่านทางทะเล ปริมาณมากกว่า 1,640,777.1 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านผ่านด่านพรมแดนทางบก ปริมาณ 1,919,156.1 ตัน มูลค่า 1.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ อินเดียมีความต้องการและบริโภคถั่วดำและถั่วแระมากขึ้น โดยอินเดียนำเข้าถั่วดำจากเมียนมา 250,000 ตัน และถั่วแระ 100,000 ตัน เป็นเวลา 5 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ทั้งสองประเทศร่วมลงนาม MOU เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2565

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bags-over-1-4-bln-from-pulses-exports-in-past-fy2022-2023/#article-title

“เมียนมา” เผยราคาข้าวโพดในประเทศ ขยับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

ตามข้อมูลของหอการค้าและอุตสาหกรรมในเมืองย่างกุ้ง ณ วันที่ 6 เม.ย. เปิดเผยว่าราคาข้าวโพดปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 1,200 จั๊ตต่อ viss ผู้ค้าข้าวโพดรายหนึ่งกล่าวว่าความต้องการข้าวโพดที่แข็งแกร่งและราคาข้าวโพดที่สูงขึ้นในตลาดไทย โดยตลาดไทยเป็นผู้ซื้อหลักข้าวโพดจากเมียนมาและยังได้ผลักดันราคาให้สูงขึ้น ทั้งนี้ ในปัจจุบัน เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปจีนและไทยผ่านด่านพรมแดน ตลอดจนส่งออกข้าวโพดไปยังจีน อินเดีย เวียดนามและฟิลิปปินส์ผ่านทางเรืออีกด้วย นอกจากนี้ ประเทศไทยอนุญาตให้นำเข้าข้าวโพดภายใต้ภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ (แบบ Form-D) ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. – 31 ส.ค. อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้กำหนดอัตราภาษีสูงสุดที่ 73% สำหรับการนำเข้าข้าวโพด เพื่อปกป้องสิทธิของผู้เพาะปลูกในประเทศ หากมีการนำเข้าข้าวโพดในช่วงฤดูข้าวโพดของประเทศไทย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/corn-price-moves-slightly-up-in-domestic-market/#article-title

“เมียนมา” เผยราคาข้าวในประเทศขยับขึ้น

จากข้อมูลของศูนย์ค้าส่งข้าววาดัน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2566 เปิดเผยว่าราคาข้าวหอมปอว์ ซาน (Paw San) อยู่ที่ประมาณ 72,000 – 90,000 จั๊ตต่อกระสอบ ขึ้นอยู่กับพื้นที่การผลิต ได้แก่ Shwebo, Myaungmya, Dedaye, Pyapon และ Pathein เป็นต้น และจากข้อมูลเมื่อวันที่ 3 เมษายน พบว่าราคาข้าวหอมปอว์ ซาน ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นราว 75,000 – 93,000 จั๊ตต่อกระสอบ รวมถึงราคาข้าวพันธุ์ต่างๆ ขยับเพิ่มสูงขึ้น 1,000 – 3,000 จั๊ตต่อกระสอบภายในระยะเวลาเพียง 3 วันเท่านั้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-price-move-upwards-in-domestic-market/#article-title

“เมียนมา” เผยราคาน้ำมันปาล์มพุ่ง แม้นำเข้า 7.5 หมื่นตัน

ราคาน้ำมันปาล์มตามใบส่งมอบสินค้า (D/O) ยังคงอยู่ในระดับสูงขึ้น ถึงแม้ว่าจะนำเข้าน้ำมันจำนวนมาก ก่อนที่จะถึงเทศกาลสงกรานต์ (Thingyan) และจากรายงานของผู้ค้าน้ำมัน เปิดเผยว่าตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 1 เมษายน เมืองติลาวาและย่างกุ้ง มีปริมาณการนำเข้าน้ำมันพืชจากต่างประเทศอยู่ที่ราว 3 หมื่นตัน ในขณะที่เรือขนส่งน้ำมัน 8 ลำที่บรรทุกน้ำมันพืช 35,000 ตัน และมีเรือขนส่งน้ำมัน 2 ลำที่บรรทุกน้ำมันปาล์ม 11,000 ตัน โดยราคาน้ำมันปาล์มตามใบส่งมอบสินค้า อยู่ที่ประมาณ 6,400-6,450 จั๊ต อย่างไรก็ดี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งตรวจสอบการจัดเก็บน้ำมันปาล์มหรือจัดจำหน่ายที่มีเจตนาปั่นราคาน้ำมัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-price-spikes-despite-arrival-of-around-75000-tonnes-of-imported-oil/

“เมียนมา” เผยสัปดาห์ที่ 2 ของ มี.ค. ส่งออกข้าว 3 หมื่นตัน มูลค่า 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามข้อมูลสถิติของกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน มี.ค. เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหัก (Broken Rice) ไปยังตลาดต่างประเทศ ด้วยปริมาณมากกว่า 33,250 ตัน คิดเป็นมูลค่า 13.289 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และตั้งแต่วันที่ 11-17 มี.ค. เมียนมาส่งออกข้าวทางเรือไปยังประเทศในเอเชีย 10,090 ตัน และส่งออกข้าวมากกว่า 9,000 ตันไปยังกลุ่มประเทศยุโรป ตลอดจนส่งออกข้าวไปยังฟิลิปปินส์ จีนและมาเลเซีย ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ เมียนมาส่งออกข้าวหักไปยังช่องทางการค้าชายแดนและทางทะเล มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 4.673 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/over-30000-tonnes-of-rice-worth-us13-mln-exported-in-march-2nd-week/

“เมียนมา” ชี้ราคาข้าวในประเทศกลับมาฟื้นตัว

ศูนย์ค้าข้าววาดัน (Wahdan) เปิดเผยว่าราคาข้าวที่บริโภคในประเทศส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มสูงข้นอย่างมาก และจากข้อมูล ณ วันที่ 17 มี.ค. 2566 ราคาข้าวหอม ปอว์ ซาน (Paw San) อยู่ที่ 70,000 – 85,000 วอนต่อกระสอบ อย่างไรก็ตามราคาข้าวขึ้นอยู่กับพื้นที่เพาะปลูกของแต่ละเมือง อาทิเช่น Shwebo, Myaungmya, Dedaye, Pyapon และ Pathein เป็นต้น และเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2566 ราคาข้าวหอม ปอว์ ซาน ขยับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 72,000 – 90,000 วอนต่อกระสอบ และราคาข้าวพันธุ์อื่นๆ เพิ่มขึ้น 500 – 4,500 วอนต่อกระสอบภายในช่วง 2 สัปดาห์ ในขณะเดียวกัน การสต็อกข้าวเก่ามีปริมาณลดลง ทำให้ราคาข้าวเปลือกและข้าวสารสูงขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-prices-rebound-in-domestic-markets/#article-title

“เมียนมา” ประกาศจำกัดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ

กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา ประกาศว่าจะไม่อนุญาตให้ธุรกิจนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และไม่อนุญาตให้จัดเก็บสินค้าเข้าไปในคลังของกิจการได้ ในขณะที่กระบวนการออกใบอนุญาตนำเข้าเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยสาเหตุดังกล่าว ทางหน่วยงานรัฐฯ อ้างถึงผลกระทบของความล่าช้าที่จะทำให้มีผลต่อคุณภาพของสินค้านำเข้าและต้องการที่จะควบคุมตลาดให้ดีขึ้น โดยกฎระเบียบหรือข้อจำกัดที่เกี่ยวกับการค้าและอื่นๆ ได้รับการผ่อนปรนจากรัฐบาลชุดที่แล้ว แต่ถูกเข็มงวดมากขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังเกิดรัฐประหาร อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดที่ดูเหมือนจะเป็นเพียงชั่วคราว เนื่องจากจะมีระยะเวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น

ที่มา : https://www.thaipbsworld.com/import-sector-further-restricted-in-myanmar/

“เมียนมา” เผยแนวโน้มราคาข้าวโพดในประเทศปรับตัวลดลง

สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งภูมิภาคย่างกุ้ง เปิดเผยข้อมูล ณ สิ้นเดือน ม.ค. พบว่าราคาข้าวโพดอยู่ในระดับทรงตัวที่ 1,300 จัตต่อ viss และได้ปรับตัวลดลงเหลืออยู่ที่ 1,200 จัตต่อ viss ในเดือน ก.พ. ทั้งนี้ สมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมาระบุว่าในปัจจุบัน เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปยังจีนและไทยผ่านชายแดน และยังส่งออกไปทางเรือไปยังจีน อินเดีย เวียดนามและฟิลิปปินส์ โดยประเทศไทยได้รับอนุญาตให้นำเข้าข้าวโพดจากเมียนมาภายใต้ภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ (แบบ Form-D) ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. – 31 ส.ค. อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้กำหนดอัตราภาษีสูงสุดที่ 73% สำหรับในกรณีที่มีการนำเข้าข้าวโพดในช่วงฤดูข้าวโพดของไทย นอกจากนี้ อู มิน ข่าย ประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพด เมียนมา กล่าวว่าทิศทางการส่งออกข้าวโพดไปยังต่างประเทศจะเกินกว่า 2 ล้านตัน ในปี 2566

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/corn-price-on-downward-trend-in-domestic-market/#article-title