ญี่ปุ่นติดอันดับ 3 ของประเทศที่เมียนนาส่งออกสินค้า ในปีงบประมาณปัจจุบัน

ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เผย มูลค่าการค้าระหว่างเมียนมาและหุ้นส่วนการพัฒนาของญี่ปุ่นมีมูลค่ามากกว่า 1.049 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณปัจจุบัน (2563-2564) และญี่ปุ่นถูกจัดให้เป็นคู่ค้าส่งออกรายใหญ่อันดับ 3 ของเมียนมา การส่งออกของเมียนมาร์ไปญี่ปุ่นในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-ก.ค.64) อยู่ที่ประมาณ 768 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่ามีเพียง 281.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าส่งออก ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์จากทะเล ข้าว งาดำ ถั่วเขียว ยางและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในทางกลับกันด้านการนำเข้าจะเป็น เครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ ยา รถยนต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ขณะที่ปีงบประมาณนี้ มีบริษัทสามแห่งจากญี่ปุ่นได้รับการอนุมัติให้ลงทุนในประเทศเริ่มต้น 518 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งญี่ปุ่นมีสัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 34.7% ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/japan-ranks-myanmar-third-largest-export-country-this-fy/?__cf_chl_managed_tk__=pmd_6TWYMCUi3RM5JgxKjHymCjuLm_A_yPQOvBsl04lnqxE-1632277432-0-gqNtZGzNAvujcnBszRNl

ทางการกัมพูชาผลักดันธุรกิจ SMEs ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์

รัฐบาลกัมพูชากำลังพยายามอย่างมากที่จะให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของกัมพูชา (SMEs) ขึ้นจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์และกรมสรรพากรมากขึ้น โดยต้องการให้ธุรกิจ SMEs ดำเนินกิจการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และอีกทางหนึ่งเพื่อปกป้องผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตรามาตรฐานที่ร้อยละ 10 แต่ก็มีผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ต้องเสียภาษีพิเศษ (SPT) อาทิเช่น บุหรี่เสียภาษีร้อยละ 20 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 35 และน้ำมันเครื่องร้อยละ 30 ในทางกลับกัน SPT สำหรับตั๋วเครื่องบินและบริการด้านความบันเทิง เช่น ผู้จัดคอนเสิร์ตและการแข่งขันกีฬาคิดเพียงน้อยละ 10 เท่านั้น โดยรัฐบาลมีความกระตือรือร้นที่จะเก็บภาษีทั้งหมดที่ค้างชำระ เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาด ซึ่งกรมสรรพากรของกัมพูชาได้รายงานถึงการจัดเก็บภาษีมากกว่า 1.9 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 7.3 และคาดการณ์ว่าจะมีการจัดเก็บภาษีรวม 2.2 พันล้านดอลลาร์ ตลอดทั้งปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50936037/tax-changes-are-part-of-efforts-to-maintain-govt-revenue-experts-say/

ค้าชายแดนมูเซ ดิ่งลง 12% !

กระทรวงพาณิชย์ เผย การค้าชายแดนของ Muse ตลอด 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 63-64 ลดลงถึง 12% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จากการติดเชื้อ COVID-19 ในเมียนมาที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้การค้าผ่านแดนมูเซต้องหยุดลงโดยทันที พร้อมกับด่านชายแดนอื่นๆ ของเมียนมาและจีนมาตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.64 โดยมูลค่าการค้าด่านชายแดนมูเซระหว่างเมียนมาและจีนลดลงต่ำสุด 3.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 23 ก.ค.64 ท่ามกลางความไม่มั่นคงทางการเมืองและการระบาดของไวรัสโควิด-19 ลดลงจาก 4.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ถั่วและข้าวโพด และผลิตภัณฑ์ทางทะเล เช่น ปู กุ้ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังส่งออกก๊าซธรรมชาติไปจีนยังผ่านชายแดนมูเซ-รุยลีอีกด้วย ส่วนการนำเข้าจะเป็นวัตถุดิบ CMP (สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม) เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาวางแผนเปิดตลาดอีคอมเมิร์ซ

กระทรวงพาณิชย์วางแผนเปิดตัวแอป “Cambodia Trade” ซึ่งถือเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่มีเป้าหมายเพื่อให้บริการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของตนผ่านช่องทางออนไลน์ให้กับลูกค้าที่มีศักยภาพในตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ โดยกระทรวงเรียกร้องให้ผู้ที่ต้องการขายสินค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซทำการลงทะเบียนล่วงหน้า เพื่อให้มีสิทธิ์ในการใช้แอปที่ www.CambodiaTrade.com ซึ่ง SMEs จะต้องเป็นบริษัทหรือองค์กรที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งแพลตฟอร์มได้รับการพัฒนาโดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก Enhanced Integrated Framework ภายใต้โครงการ Go4eCAM โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการตระหนักถึงประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซสำหรับ SMEs

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50871464/ministry-of-commerce-to-launch-e-commerce-marketplace/

7 เดือนแรกของปีงบฯ 63-64 ส่งออกข้าวของเมียนมาลดฮวบ 30 ล้านดอลลาร์ฯ

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ 7 เดือนแรกของปีงบประมาณนี้ (พ.ศ. 2563-2564) เมียนมาส่งออกข้าวและปลายข้าวกว่า 1.28 ล้านตันมีรายได้ 490.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 512,589 ตัน เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มูลค่าลดลงเหลือ 33.92 ล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณนี้ จีนเป็นผู้นำเข้าหลัก รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์ โกตดิวัวร์ แคเมอรูน และกินีตามลำดับ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปมีสัดส่วนการนำเข้า 20% ส่วนอีก 25% จะส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในแอฟริกา ในปีงบประมาณที่แล้วเมียนมาส่งออกข้าวและปลายข้าวไปกว่า 60 ประเทศทั่วโลก โดยจีนเป็นผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ที่สุด อย่างไรก็ตามความต้องการจากประเทศอื่นๆ เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย มาดากัสการ์ โปแลนด์ กินีเ บลเยียมเซเน กัลอินโดนีเซีย เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ได้เพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้การส่งออกประมาณ 16% ผ่านทางชายแดนส่วนที่เหลือส่งออกทางทะเล

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-rice-export-down-by-us-30-mln-in-seven-months-of-this-fy/

ครึ่งปีแรกการค้าทางทะเลเมียนมา ลดฮวบ 4.3 พันล้านดอลลาร์

กระทรวงพาณิชย์เผยมูลค่าการค้าทางทะเลของเมียนมาในช่วงครึ่งปีแรก (1 ต.ค. -2 เม.ย. ) ของปีงบประมาณ 63-64 เหลือ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงอย่างมากถึง 4.3 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะเดียวกันมูลค่าการค้าชายแดนอยู่ที่ 5.6 พันล้านดอลลาร์ลดลง 264 ล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลจากการระบาดของ COVID-19 ที่ประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มความเข้มงวดมาตรการป้องกันตลอดชายแดน สำหรับการค้าทางทะเลหยุดชะงักในภาคโลจิสติกส์การหยุดเดินเรือบางส่วนและการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์รวมถึงการขาดเงินหมุนเวียนเนื่องจากการปิดธนาคารเอกชน โดยการค้าภายโดยรวมของประเทศแตะระดับต่ำที่ 15.78 พันล้านดอลลาร์งลดลง 20.36 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการค้าทางทะเลสร้างรายได้ 26,000 ล้านดอลลาร์จากมูลค่าการค้าโดยรวมที่ 36,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงปีงบประมาณ 62-63 เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร สินค้าประมง แร่ธาตุ ปศุสัตว์ สินค้าจากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในขณะเดียวกันก็นำเข้าได้แก่สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และวัตถุดิบทางอุตสาหกรรม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/maritime-trade-drops-by-4-3-bln-in-h1/

การค้าทวิภาคีระหว่างไทยและกัมพูชาลดลงในช่วง 2 เดือนแรกของปี

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 1.298 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2021 ลดลงร้อยละ 20.5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ของไทยกล่าวถึงการส่งออกของกัมพูชามายังไทยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวอยู่ที่ 225 ล้านดอลลาร์ ลดลงถึงร้อยละ 47 ส่วนการนำเข้าสินค้าของกัมพูชาจากไทยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 1.073 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งสินค้าเกษตรคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกส่วนใหญ่ของกัมพูชาไปยังประเทศไทย ส่วนสินค้าส่งออกของไทยไปกัมพูชาประกอบด้วย น้ำมัน ปุ๋ย อาหารและเครื่องสำอางเป็นหลัก โดยรองประธานหอการค้ากัมพูชากล่าวว่าหากในอนาคตอันใกล้มีการกระจายวัคซีนไปทั่วประเทศของทั้งสองประเทศ คาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะดีขึ้นและจะช่วยกระตุ้นการค้าและการส่งออกของทั้งสองประเทศให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งการค้าทวิภาคีระหว่างสองประเทศมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 7.236 พันล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้วลดลงร้อยละ 23 จากปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50831807/cambodia-thailand-bilateral-trade-down-jan-feb/

พาณิชย์เมียนมา เว้นภาษีนำเข้า-ส่งออกชั่วคราว

กรมการค้า กระทรวงพาณิชย์ (MOC) เผยเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 64 ส่งออกและผู้นำเข้าไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตสำหรับสินค้าส่งออกพิกัดศุลกากร (HS Code) 37 รายการ และการนำเข้า 72 รายสำหรับการนำเข้า ระหว่างวันที่ 8 มีนาคมถึง 9 เมษายน 2564 เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า สินค้าส่งออกที่ได้รับการยกเว้น เช่น หอมกระเทียม ข้าว ปลายข้าว น้ำตาลทรายดิบ ยางธรรมชาติ ฯลฯ สินค้านำเข้า เช่น ปลาหั่นบาง (ปลาแซลมอนและปลาทูน่า) แป้ง เมล็ดถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม ฯลฯ ส่วนภาษีหัก ณ ที่จ่าย 2% ยังได้รับการยกเว้นจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 64 เนื่องจากความยากลำบากในการชำระภาษีจากการปิดทำการของธนาคารเอกชน นอกจากนี้ยังไม่สามารถทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศได้ในระหว่างนี้ อย่างไรก็ตามการลดภาษีและการยกเว้นใบอนุญาตจะไม่สามารถรับมือกับการชะลอตัวของการค้าท่ามกลางสภาวะทางการเมืองในปัจจุบัน ด้านผู้ส่งออกชายแดนมูเซเผย แม้การค้าทางทะเลจะหยุดชะงัก แต่การยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะช่วยการค้าชายแดนกับจีนและไทยราบรื่นมากยิ่งขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/moc-grants-temporary-tariff-exemption-for-export-import-items/

จุรินทร์ เผยค้าชายแดนไทย-เมียนมา ยังไม่สะดุด ชี้สัญญาณส่งออกไทยดีต่อเนื่อง

กระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าในส่วนการประท้วงในเมียนมาเมื่อวานนี้ ยังไม่ได้รับผลกระทบการส่งสินค้าข้ามแดนระหว่างไทยกับเมียนมา ไม่ว่าจะเป็นที่ด่านระนองด่านพุน้ำร้อน หรือด่านเจดีย์สามองค์ที่กาญจนบุรี ทั้งนี้ เมื่อวานสถานการณ์ยังปกติยกเว้นที่ด่านแม่สาย ท่าขี้เหล็ก จุดเดียวที่มีการชุมนุมของผู้ชุมนุมในฝั่งเมียนมา การขับรถข้ามแดนส่งสินค้า อาจชะลอตัวบ้าง แต่เนื่องจากผู้ส่งออกของไทยคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้าแล้ว จึงได้เร่งการส่งสินค้าข้ามแดนในช่วงเช้าไปได้จำนวนมาก และการจราจรทางด้านการส่งสินค้ายังเคลื่อนตัวไปได้ “ในภาพรวมยังถือว่ายังอยู่ในสถานการณ์ปกติ จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่กระทรวงติดตามใกล้ชิด ในอนาคตถ้ามีปัญหาอะไรจะเรียนให้ทราบต่อไป”

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2592463

พาณิชย์ลุยแก้ปัญหาตกเขียวกระเทียม ดึงเอกชนช่วยรับซื้อกก.13.50บ.

พาณิชย์ คลอดมาตรการเชิงรุกช่วยเหลือชาวไร่กระเทียม ดึงเอกชน 8 รายทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กก.ละ 13.50 บาท หลังพบตกเขียวกดราคาเหลือ กก.8 บาท พร้อมอัดมาตรการเสริม ช่วยดอกเบี้ยเงินกู้ 3% เพื่อซื้อกระเทียมเก็บ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยหลังการประชุมวางแผนเชิงรุกรองรับการแก้ไขปัญหากระเทียม ณ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ว่า กระทรวงฯ ได้เตรียมการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมเป็นการล่วงหน้าเพื่อรองรับผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดมากช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. โดยกรมการค้าภายในได้ประสานงานกับพาณิชย์จังหวัด ซึ่งเป็นทีมเซลส์แมนของจังหวัด ร่วมกับภาคเอกชนจัดให้มีการเจรจาซื้อขายกระเทียมสดในราคาที่เป็นธรรม 8 สัญญา มีภาคเอกชน 8 บริษัทเป็นผู้ซื้อและกลุ่มเกษตรกร 8 กลุ่มเป็นผู้ขาย ในราคากระเทียมสดกิโลกรัมละ 13.50 บาท ซึ่งเป็นราคาชี้นำตลาดในฤดูกาลผลิตนี้ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังได้กำหนดมาตรการเสริมในช่วงที่กระเทียมออกมาก โดยมีมาตรการชะลอขาย ถ้าเกษตรกร ผู้รวบรวมกระเทียมหรือสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรชะลอขาย จะมีวงเงินช่วยเหลือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ผู้รวบรวมกระเทียม ประมาณ 6 เดือน เมื่อราคาดีค่อยขาย ช่วยดอกเบี้ย 3% และมาตรการทางกฎหมายให้มีการบังคับใช้กฎหมายเข้มงวด โดยเฉพาะปัญหาการลักลอบการนำเข้ากระเทียมจากต่างประเทศ โดยได้สั่งการให้กรมศุลกากร ตำรวจ ฝ่ายความมั่นคง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เคร่งครัดการแก้ปัญหาลักลอบการนำเข้า ซึ่งจะนำเรื่องนี้ไปเรียนให้ที่ประชุม ครม.ทราบอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 26 ม.ค.64 เพื่อให้นายกรัฐมนตรีได้สั่งการกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแก้ปัญหาการลักลอบนำเข้ากระเทียมต่อไป  นอกจากนี้ จะเข้มงวดการออกไปอนุญาตนำเข้ากระเทียม ให้มีการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพของกระเทียมที่นำเข้า และเข้มงวดการตรวจสอบการขนย้าย หากตรวจพบการกระทำผิดจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/820902