ญี่ปุ่นสนับสนุนโครงการระดับรากหญ้าด้านสุขภาพ การศึกษา เกษตรกรรม

รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้เงินช่วยเหลือจำนวน 240,000 เหรียญสหรัฐสำหรับโครงการพัฒนาสี่โครงการในพื้นที่ชนบทของลาว ญี่ปุ่นจะให้ทุนสนับสนุนโครงการด้านสุขภาพสองโครงการในจังหวัดเชียงขวางและไซยะบุรี โครงการการศึกษาในจังหวัดหัวพัน และโครงการการเกษตรในจังหวัดสะหวันนะเขต ผ่านโครงการความช่วยเหลือแบบให้เปล่าสำหรับโครงการความมั่นคงของมนุษย์ระดับรากหญ้า ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าสำหรับโครงการความมั่นคงของมนุษย์ระดับรากหญ้า ให้เงินทุนสำหรับโครงการขนาดค่อนข้างเล็กซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่นและมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศกำลังพัฒนา โดยอิงตามหลักความมั่นคงของมนุษย์

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Japan_223_21.php

มูลค่าการค้าระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่นแตะ 1.7 พันล้านดอลลาร์

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่นแตะระดับ 1.754 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยตั้งแต่ ม.ค.-ก.ย. กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังญี่ปุ่นมูลค่ารวม 1.316 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามข้อมูลจากองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ซึ่งกัมพูชานำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นมูลค่ารวม 438 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2020 ส่งผลให้กัมพูชาเกินดุลการค้ากับญี่ปุ่นถึง 878 ล้านดอลลาร์ โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญของกัมพูชาที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น ได้แก่ เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ เครื่องสำอาง กระดาษ เครื่องใช้สำนักงาน และเครื่องหนัง ในทางกลับกันสินค้าส่งออกสำคัญที่กัมพูชานำเข้ามาจากญี่ปุ่น ได้แก่ เครื่องจักร รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ และพลาสติก เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50967728/cambodia-japan-trade-reaches-1-7-billion-in-jan-sept/

กัมพูชาเห็นถึงการเกินดุลการค้าระหว่างญี่ปุ่น

กัมพูชาเห็นถึงการเกินดุลการค้าระหว่างญี่ปุ่นในช่วง 8 เดือนแรกของปี สะท้อนถึงความต้องการสินค้าที่ผลิตในกัมพูชาในตลาดญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้น โดยตัวเลขรายงานจากองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคมปีนี้ แสดงให้เห็นว่ากัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังญี่ปุ่นมูลค่ารวมประมาณ 1.124 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี ในทางกลับกันกัมพูชาได้ทำการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นมูลค่ารวมประมาณ 385.1 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28 ส่งผลทำให้กัมพูชาเกินดุลการค้ามูลค่า 739 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นมูลค่าการค้าทวิภาคี 1,509.3 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม ตามการรายงาน โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญไปยังญี่ปุ่น ได้แก่ เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ เครื่องสำอาง กระดาษ เครื่องใช้สำนักงาน และเครื่องหนัง ส่วนกัมพูชาทำการนำเข้าเครื่องจักร รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ ผ้า และพลาสติกจากประเทศญี่ปุ่นเป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50956600/cambodia-sees-trade-surplus-with-japan-in-eight-months/

ธนาคารโลกชี้การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามชะลอตัว ตามอายุของประชากร

ตามรายงานภายใต้ชื่อ “เวียดนาม: การปรับตัวเข้าสู่สังคมสูงวัย” ร่วมจัดจัดทำโดยธนาคารโลก (WB) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) เวียดนามกำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทางประชากรของสังคมผู้สูงวัยไปก่อนหน้าของการยกระดับเศรษฐกิจและรายได้ต่อหัวที่อยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาอัตราการเกิดที่ลดลงและอายุเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุอาจมีสัดส่วนของประชากร 10-20% ของประชากรทั้งประเทศในปี 2578 ในขณะที่ด้านการใช้จ่ายของสังคมสูงวัย จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1.4-4.6% ของ GDP นอกจากนี้ เวียดนามจำเป็นต้องหาแนวทางจัดการกับสังคมผู้สูงวัย โดยอิงจากบทเรียนของประเทศอื่นที่เคยประสบปัญหากับการเปลี่ยนแปลงของประชากร โดยเฉพาะญี่ปุ่น ตลอดจนปรับปรุงกำลังแรงงานและดำเนินตามนโยบาย 4 ด้านที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเติบโตของผู้สูงอายุ ได้แก่ ตลาดแรงงาน เงินบำนาญ สุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1052936/viet-nams-economy-to-slow-as-population-ages-wb-report.html

ญี่ปุ่นติดอันดับ 3 ของประเทศที่เมียนนาส่งออกสินค้า ในปีงบประมาณปัจจุบัน

ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เผย มูลค่าการค้าระหว่างเมียนมาและหุ้นส่วนการพัฒนาของญี่ปุ่นมีมูลค่ามากกว่า 1.049 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณปัจจุบัน (2563-2564) และญี่ปุ่นถูกจัดให้เป็นคู่ค้าส่งออกรายใหญ่อันดับ 3 ของเมียนมา การส่งออกของเมียนมาร์ไปญี่ปุ่นในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-ก.ค.64) อยู่ที่ประมาณ 768 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่ามีเพียง 281.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าส่งออก ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์จากทะเล ข้าว งาดำ ถั่วเขียว ยางและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในทางกลับกันด้านการนำเข้าจะเป็น เครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ ยา รถยนต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ขณะที่ปีงบประมาณนี้ มีบริษัทสามแห่งจากญี่ปุ่นได้รับการอนุมัติให้ลงทุนในประเทศเริ่มต้น 518 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งญี่ปุ่นมีสัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 34.7% ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/japan-ranks-myanmar-third-largest-export-country-this-fy/?__cf_chl_managed_tk__=pmd_6TWYMCUi3RM5JgxKjHymCjuLm_A_yPQOvBsl04lnqxE-1632277432-0-gqNtZGzNAvujcnBszRNl

9 เดือน เมียนมาส่งออกไปญี่ปุ่น แตะ 694 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63 – มิ.ย.64) ของปีงบประมาณ 63-64 แตะระดับ 694.964 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  เมียนมาได้ดุลการค้า 271.7 964 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศอยู่ที่ 966.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณปัจจุบัน ดังนั้นญี่ปุ่นจึงถูกจัดเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่อันดันสามของเมียนมาร์ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ทางทะเล ข้าว งาดำ ถั่วเขียว ยางและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้านการนำเข้าจะเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์เ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ ยา รถยนต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) พบว่า ปีงบประมาณนี้ มีบริษัทสามแห่งจากญี่ปุ่นได้รับการอนุมัติให้ลงทุน 518 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเมียนมา ซึ่งญี่ปุ่นมีสัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 34.7% ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา อีกทั้งองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นหรือ JICA ได้เสนอเงินกู้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ หรือ ODA (Official Development Assistance) เพื่อพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/exports-to-japan-top-694-mln-in-nine-months/#article-title

ญี่ปุ่นเร่งกระจายการลงทุนไปยังหลายพื้นที่เศรษฐกิจ รวมถึงกัมพูชา

กัมพูชาและญี่ปุ่น เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 22 ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยมีสมาชิกภาคเอกชนเข้าร่วมมากกว่า 130 คน โดยจะร่วมหารือมุ่งเน้นไปที่ค่าแรงขั้นต่ำ ภาษี การขนส่ง และการสร้างความเข้าใจต่อห่วงโซ่อุปทานภายในประเทศกัมพูชามากขึ้น ตามคำแถลงของสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ซึ่ง CDC รายงานถึงการอนุมัติโครงการการลงทุนทั้งหมด 145 โครงการ มูลค่ารวม 2.8 พันล้านดอลลาร์ โดยมี 66 โครงการตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งนักลงทุนญี่ปุ่นถือเป็นส่วนสำคัญต่อภาคการลงทุนในกัมพูชา สู่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิตที่นอกเหนือจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของกัมพูชา เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับภาคธุรกิจในกัมพูชา และถือเป็นการลดความเสี่ยงในภาคธุรกิจ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50927114/japanese-investments-to-diversify-economy-praised/

ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น ชื่นชอบเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของเวียดนาม

ตามข้อมูลของศูนย์การค้าระหว่างประเทศ (ITC) เผยว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ญี่ปุ่นนำเม็ดมะม่วงหิมพานต์ มูลค่า 33.17 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 11.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยเฉพาะญี่ปุ่นลดการนำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์จากอินเดียอย่างมาก ถือเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวรายใหญ่ที่สุด ส่งผลให้มูลค่าลดลง 22.8% อยู่ที่ 19.14 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในทางตรงกันข้ามนั้น ญี่ปุ่นนำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์เพิ่มขึ้น 4.5% เป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 12.92 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่วนแบ่งการตลาดของเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของเวียดนามสำหรับการนำเข้ารวมของญี่ปุ่น คิดเป็น 38.97% ของการนำเข้ารวม ตั้งแต่เดือนม.ค.-พ.ค. สูงกว่า 33.09% เมื่อเทียบกับ 5 เดือนแรกของปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/more-japanese-consumers-prefer-vietnamese-cashew-nuts/206853.vnp

การค้าระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 1.1 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงครึ่งแรกของปี

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ รายงานจากองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน กัมพูชาส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังญี่ปุ่นมูลค่ารวม 814 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะเดียวกัน กัมพูชาทำการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นมูลค่ารวมประมาณ 295 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 35 รวมปริมาณการค้าทวิภาคีมูลค่า 1.109 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าส่งออกสำคัญของกัมพูชาไปยังญี่ปุ่น ได้แก่ เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ เครื่องสำอาง กระดาษ เครื่องใช้สำนักงาน และเครื่องหนัง เป็นต้น ส่วนกัมพูชานำเข้าเครื่องจักร รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ ผ้า และพลาสติก จากประเทศญี่ปุ่นเป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50917490/cambodia-japan-trade-surges-in-first-half-of-2021-to-1-1-billion/

กระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชาหารือญี่ปุ่นส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

กัมพูชาและญี่ปุ่นได้ร่วมประชุมระหว่างกันเพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีการส่งเสริมโครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในกัมพูชา โดยอธิบดีกระทรวงการท่องเที่ยวด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวและความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้จัดการประชุมทางวิดีโอกับ Naoya Okada ผู้แทนจากสถานทูตญี่ปุ่น และ Katsuhito Nabeshima ผู้ก่อตั้งบริษัท Yamato Green Co. Ltd. ซึ่ง Yamato Green ถือเป็นบริษัทญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในกรุงพนมเปญ ที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงการเกษตรในกัมพูชา ยกระดับคุณภาพอาหารและความปลอดภัย รวมถึงส่งเสริมผลิตผลในท้องถิ่นในต่างประเทศ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและ Yamato Green ตกลงที่จะร่วมพัฒนาภาคการท่องเที่ยว ให้เกิดความหลากหลาย ในด้านของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวตามธรรมชาติ การท่องเที่ยวชุมชน และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งกระทรวงกำลังเตรียมโครงการนำร่องเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในจังหวัดกำปงธม และโครงการปลูกพืชไร่ปลอดสารพิษ โดยภาคการท่องเที่ยวมีสัดส่วนเกือบร้อยละ 23 ของ GDP ซึ่งรัฐบาลกล่าวว่าภาคส่วนนี้จะเพิ่มอีกร้อยละ 1.6 ในปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50916487/tourism-chief-holds-talks-with-japan-on-boost-to-agri-tourism/