เมืองดาหลา เร่งปูพรมฉีดวัคซีนให้แรงงานในโรงงาน

เทศบาลเมืองดาหลา เขตย่างกุ้ง เริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มแรกให้กับคนงานในโรงงานเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2564 ณ โรงพยาบาลประจำเทศบาล โดยเริ่มฉีดครั้งแรกแก่คนงานจำนวน 352 คนจากร้านอาหาร ร้านขายของชำ ท่าเรือ ธุรกิจออมทรัพย์และสินเชื่อ สถานีน้ำมันเชื้อเพลิง คลังประมง โรงสีข้าว คนงานค่าแรงจากสำนักงานไฟฟ้า สามล้อถีบ และอู่ต่อเรือ ซึ่งการวัคซีนที่ฉีดต้องสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับโควิด-19 ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยมืองดาหลาได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครั้งแรกแก่ประชาชนจำนวน 5,319 คน ทั้งนี้คณะกรรมการเขตว่าด้วยการควบคุมและรับมือเหตุฉุกเฉินจากโควิด-19 กำลังเร่งจัดหาวัคซีนเข็มที่ 2 ให้กับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้ว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/dala-begins-covid-19-jabs-for-factory-workers/

‘เวียดนาม’ เผย 8 เดือนแรก ทุ่มเงินต่อสู้กับโควิด-19 กว่า 827 ล้านเหรียญสหรัฐ

ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ รัฐบาลเวียดนามใช้เงินราว 18.8 ล้านล้านดอง (827 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะเดียวกัน จำนวนเงินอีก 2.55 ล้านล้านดอง (11.2 ล้านเหรียญสหรัฐ) ได้รับการจัดสรรจากกองทุนเวียดนาม (VFVC) มีบทบาทสำคัญในการจัดหาวัคซีนและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทั้งนี้ นายฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์  นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ได้สั่งให้มีการจัดส่งข้าว 74,300 ตัน เพื่อช่วยเหลือผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติและโควิด-19 นอกจากนี้ กระทรวงการคลัง ชี้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 4 ส่งผลกระทบต่อรายรับงบประมาณลดลง ขณะเดียวกันกิจกรรมการค้าขายก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

ที่มา : http://hanoitimes.vn/over-827-million-allocated-to-covid-19-fight-in-8-months-318627.html

ความกังวลทวีความรุนแรงขึ้นภายหลังกรณีผู้ติดเชื้อโควิดที่แพร่ระบาดในพื้นที่ทั่วประเทศ

กลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ที่บันทึกไว้ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาได้จุดชนวนให้เกิดความกลัวที่เพิ่มขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อในพื้นที่เพิ่มขึ้นในหมู่ชุมชนในเวียงจันทน์และต่างจังหวัด ทำให้ทางการต้องเสริมมาตรการควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสแพร่กระจาย ปัจจุบันสปป.ลาวมีผู้ป่วยโควิด-19 สะสมแล้ว 15,015 ราย หลังจากได้รับการยืนยันผู้ป่วยรายใหม่ 199 รายเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา สถานการณ์วิด-19 สปป.ลาวอาจไม่ได้รุนแรงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านแต่ระบบสาธารณสุขของสปป.ลาวค่อนข้างมีความอ่อนแอ ทำให้ยอดจำนวนติดเชื้อดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะรับมือไม่ไหวในระยะยาว ทั้งนี้ประชาชนสปป.มากกว่า 2.4 ล้านคนได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มแรก คิดเป็นร้อยละ 33.3 ของประชากร ขณะที่เกือบ 1.8 ล้านคนได้รับวัคซีน 2 โด๊ส คิดเป็นร้อยละ 24.4 ถือเป็นตัวเลขที่น่าพอใจสำหรับรัฐบาลสปป.ลาว แต่ถึงอย่างไรเห็นได้ชัดว่าการแร่งฉีดวัคซีนเพื่อให้ครอบคลุมที่สุดจะเป็นเป้าหมายหลักของรัฐบาลและจะทำให้สปป.ลาวรอดพ้นจากวิกฤตครั้งนี้ ถึงกระนั้นในระยะแรกมาตรการที่เข้มงวดเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดอย่างแพร่กระจายและรุนแรง รัฐบาลควรเข้มงวดกับมาตรการและในขณะเดียวกันแผนการเยียวยาช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจก็ควรมีอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Concerns_171.php

‘เวียดนาม’ เผย 8 เดือนแรก ปิดกิจการ 85,000 แห่ง

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ธุรกิจกว่า 85,000 แห่ง ปิดกิจการ เนื่องจากได้รับผลกระทบรุนแรงจากการระบาดของโควิด-19 และจำนวนธุรกิจดังกล่าว ธุรกิจทั้งหมด 43,200 แห่งได้ปิดกิจการชั่วคราว เพิ่มขึ้น 25.9% ขณะที่ธุรกิจ 30,100 แห่งหยุดดำเนินงานและอยู่ระหว่างเลิกกิจการ เพิ่มขึ้น 24.5% โดยสิ่งที่น่าสังเกต คือในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ธุรกิจกว่า 24,000 แห่งออกจากตลาดในเมืองโฮจิมินห์ ถือเป็นฮอตสปอตการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ คิดเป็น 28.1% ของตัวเลขทั้งหมด และเพิ่มขึ้น 6.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งการแพร่ระบาดระลอกที่ 4 นั้น ส่งผลกระทบสำคัญต่อการผลิตของกิจการในท้องถิ่นอย่างรุนแรง

ที่มา : https://tienphongnews.com/business-closures-hit-85000-over-eight-months-199878.html

อาเซียนถกแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ตั้งเป้าชงผู้นำดันอาเซียนสู่ยุคดิจิทัล

นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ให้เป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน (High Level Task Force on ASEAN Economic Integration หรือ HLTF-EI) ครั้งที่ 40 ผ่านระบบประชุมทางไกล ได้ข้อสรุปดันอาเซียนสู่ความเป็นดิจิทัล ชงแผนผู้นำเห็นชอบ ต.ค.นี้ ไทยย้ำการบังคับใช้ความตกลง RCEP ตามแผนเพื่อเร่งขยายการค้า การลงทุน

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9640000084343

รัฐบาลสปป.ลาวหารือแนวทางสนับสนุนสตาร์ทอัพธุรกิจในช่วงสถานการณ์โควิด-19

การดำเนินการเพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ควบคู่ไปกับมาตรการและนโยบายเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพ ถือเป็นประเด็นร้อนที่คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลกำลังถกเถียงกันอยู่ โดยมีนายกรัฐมนตรีพันคำ วิภาวัน เป็นประธาน คณะรัฐมนตรีเริ่มการประชุมประจำเดือน คาดว่าสมาชิกคณะรัฐมนตรีจะหารือถึงมาตรการเพิ่มเติมเพื่อสกัดกั้นกระแสการติดเชื้อ นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีจะหารือร่างแผนแม่บทเพื่อส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพและยังมีกำหนดจะอภิปรายร่างแผนพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปและหัตถกรรมสำหรับปี 2564-2568

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Covid_19_164.php

ปีงบฯ 64 ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมาพุ่ง ! 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นเป็น 4.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสิบเดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-ก.ค.64) ของปีงบประมาณ 63-64 แม้ว่าการส่งออกสินค้าอื่นๆ มีแนวโน้มลดลงจากผลกระทบของโควิด-19 สะท้อนการเพิ่มขึ้น 913.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณนี้ ซึ่งการส่งออกเมื่อปีงบประมาณ 62-63 ซึ่งมีมูลค่า 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ส่งผลกระทบความต้องการจากต่างประเทศในกลุ่มสินค้าอื่นๆ สินค้าเกษตร ประมง ปศุสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และสินค้าอื่นๆ โดยการส่งออกของอุตสาหกรรมการเกษตร คิดเป็น 35% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกที่สำคัญในภาคเกษตร ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล ฯลฯ ส่วนตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกาเป็นหลัก ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์กำลังเร่งช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา เช่น ต้นทุนการผลิต การจัดหาเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนการเพาะ และสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/agro-exports-surge-to-us-4-2-bln-during-oct-july-period/

CLMVT+Forum 2021 ฟื้นฟูเศรษฐกิจฝ่าโควิด

การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจประเทศกลุ่มกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย หรือ CLMVT ในปี 2563 โดยเฉพาะเวียดนาม ไทย และกัมพูชา มีการชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ในขณะที่เศรษฐกิจลาวและเมียนมาเผชิญการหดตัวจากปัจจัยด้านลบรายประเทศด้วย ในปีนี้การฟื้นตัวในภาพรวมจะยังคงเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปและไม่ทั่วถึง โดยจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 และความคืบหน้าของการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศจะต้องอาศัยขนาดและประสิทธิภาพของมาตรการภาครัฐในการบรรเทาผลกระทบจากแผลเป็นทางเศรษฐกิจ (scarring effects) ระหว่างรอการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ภายในภูมิภาค (herd immunity) นับได้ว่า CLMVT Forum เป็นเวทีหารือสำคัญที่รวบรวมสุดยอดผู้นำทางความคิด เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าการลงทุนในภูมิภาค CLMVT ซึ่งเป็นทั้งฐานการผลิตที่เข้มแข็งตลาดที่กำลังเติบโต ประชากรรวมกว่า 244 ล้านคน ให้สามารถฝ่าวิกฤตกลับมาเป็นภูมิภาคแห่งการค้าและการลงทุนที่เข้มแข็งกว่าเดิมได้

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-741200

‘เวียดนาม’ ชี้ธุรกิจเตรียมแผนปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19

นาย Tô Hoài Nam รองประธานและเลขาธิการสมาคมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งเวียดนาม (VINASME) กล่าวว่าการระบาดของโควิด-19 ทำให้ธุรกิจเวียดนามต้องปรับตัวหลายอย่างให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน บริษัทส่วนใหญ่จะมีการหมุนเวียนพนักงาน ลดค่าใช้จ่ายและควบคุมต้นทุน นอกจากนี้ ธุรกิจต่างๆ จัดทำแผนการใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและปรับแผนการลงทุนให้เข้ากับสถานการณ์การระบาดของไวรัส ตลอดจนปรับตัวให้ทันต่อพฤติกรรมผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม นาย Trần Thoa รองผู้อำนวยการ บริษัท Thien Tâm Thảo ชี้ว่าการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำเนินธุรกิจของทุกองค์กร และธุรกิจจำเป็นที่จะต้องปรับกลยุทธ์มาช่องทางออนไลน์ที่ผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ซึ่งจะช่วยให้กิจการสามารถรักษารายได้และกำไรต่อไปได้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1015327/enterprises-diversify-plans-to-adapt-to-covid-19-pandemic.html

อัตตะปือขยายล็อกดาวน์ถึง 31ส.ค.

ทางการอัตตะปือมีคำสั่งให้ล็อกดาวน์ต่อไปจนถึงวันที่ 31 ส.ค. หลังมีรายงานการติดเชื้อโควิดที่แพร่ระบาดในท้องที่มากขึ้น โดยหลายหมู่บ้านจัดเป็นโซนสีแดงหรือสีเหลือง สถานบันเทิง บริการนวด สปา สนุ๊กเกอร์ อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ร้านเสริมสวย โรงแรม ร้านตัดผม ตลาดกลางคืน สิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬา และสถานที่ท่องเที่ยว ปิดให้บริการทุกประเภท และห้ามเข้าโรงเรียน บริการขนส่งผู้โดยสารจากอัตตะปือไปยังจังหวัดอื่น ๆ ก็ถูกระงับ ควบคู่ไปกับการส่งมอบสินค้า นอกเหนือจากสิ่งของจำเป็น เช่น อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการกู้คืนจากภัยพิบัติ เชื้อเพลิง และอาหาร นอกจากนี้ในจังหวัดบ่อแก้ว เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำถูกล็อกดาวน์จนถึงวันที่ 30 ส.ค. หลังจากมีผู้ติดเชื้อ 42 คนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเมื่อวันที่ 16 และ 17 ส.ค.

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/asiapacific/2021-08/18/c_1310134226.htm