“ยูโอบี” เปิดผลสำรวจ “SMEs ในอาเซียน” ร้อยละ 88 รับรายได้หด 50%

ธนาคารยูโอบี เผยผลสำรวจ “ASEAN SME Transformation Study 2020” ชี้ธุรกิจเอสเอ็มอีในภูมิภาคอาเซียนต่างหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการดำเนินธุรกิจช่วงสถานการณ์โควิด-19 กว่า 2 ใน 3 ของเอสเอ็มอี หรือประมาณร้อยละ 64 ให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีเป็นอันดับแรก ประมาณร้อยละ 71 ขณะที่เอสเอ็มอีร้อยละ 88 รับรายได้ปี 63 หายกว่า 50% ธนาคารยูโอบี (UOB) ร่วมกับแอคเซนเจอร์ (Accenture) และดันแอนด์แบรดสตรีท (Dun & Bradstreet) ทำการสำรวจความคิดเห็นของธุรกิจเอสเอ็มอีในอาเซียนกว่า 1,000 ราย เพื่อทำความเข้าใจว่าธุรกิจเอสเอ็มอีปรับตัวอย่างไรต่อสภาพการณ์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนไปภายใต้สถานการณ์โควิด-19 โดยการสำรวจยังพบว่าธุรกิจเอสเอ็มอียังพยายามที่จะลงทุนในด้านเทคโนโลยี แม้ว่ารายได้จากธุรกิจจะลดลงก็ตาม ซึ่ง 9 ใน 10 หรือร้อยละ 88 คาดการณ์ว่ารายได้ในปี 2563 จะลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง แต่ก็ยังวางแผนเพิ่มงบประมาณด้านเทคโนโลยี ซึ่งนั่นหมายความว่าเอสเอ็มอีกำลังมองข้ามความท้าทายในปัจจุบัน และพร้อมจะปรับใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน

ที่มา : https://www.prachachat.net/finance/news-488140

กัมพูชาเร่งพัฒนาภาคเกษตรกรรม การท่องเที่ยวภายในประเทศ และ SMEs

กัมพูชาจำเป็นต้องเร่งส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศ การเกษตรและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 หลังจากการประชุมเรื่อง “สิ่งที่ประเทศกัมพูชาควรเตรียมที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19” ซึ่งเศรษฐกิจของกัมพูชาจะไม่สามารถฟื้นตัวได้เลยจนกว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ สนับสนุนการท่องเที่ยวและสินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมถึงลดต้นทุนการผลิตในภาคการขนส่งและการพัฒนาของ SMEs โดย ณ ปัจจุบัน SMEs ภายในประเทศได้เริ่มจ้างงานประมาณร้อยละ 70 ของภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด แต่ยังคงขาดแคลนเทคโนโลยีและแรงงานที่มีทักษะสูง เพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจของกัมพูชาอาจหดตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ในปีนี้เนื่องจากการระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50736309/agriculture-domestic-tourism-and-smes-are-the-catalysts-to-restore-the-economy/

ธนาคารในเมียนมาผ่อนปรนนโยบายการชำระหนี้เพื่อช่วยลูกค้า

ธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) อนุญาตให้ธนาคารในประเทศปรับโครงสร้างและกำหนดเวลาชำระคืนเงินกู้ที่มีอยู่เพื่อช่วยเหลือลูกค้าภายในประเทศ จากผลกระทบทางเศรษฐกิจของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ซึ่งCBM คาดว่าผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จะรุนแรงที่สุด โดยธุรกิจที่มีประวัติการชำระหนี้ดีสามารถเลื่อนการชำระคืนเงินกู้ได้ KBZ Bank เป็นหนึ่งในธนาคารในประเทศที่เปิดตัวโครงการช่วยเหลือผู้กู้ ได้มีโครงการความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ COVID-19 สำหรับผู้ประกอบการ SMEs โดยลูกค้าสามารถยื่นขอขยายเวลาเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมซึ่งธนาคารจะชะลอการชำระทั้งต้นและดอกเบี้ยออกไป 6 เดือน ธนาคารอื่น ๆ รวมถึงธนาคาร Yoma, CB Bank และ uab Bank ได้เปิดตัวโครงการที่คล้ายกันคือเลื่อนการชำระคืนเงินกู้และการชำระดอกเบี้ย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/banks-myanmar-ease-repayment-policy-help-clients.html

ธนาคาร SME อนุมัติ 2.3 ล้านดอลลาร์

SME Co-Financing Scheme (SCFS) ได้อนุมัติคำร้องขอกู้ยืมเงินจำนวน 13 ฉบับ โดยมีมูลค่าการอนุมัติของสินเชื่อรวม 2.338 ล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ SME Bank แห่งกัมพูชากล่าวว่าการเบิกจ่ายทั้งหมดมีมูลค่า 1.908 ล้านดอลลาร์และคาดว่าจะมีการเบิกถอนเงินอีกจำนวน 4.3 แสนดอลลาร์ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า โดยปล่อยเงินกู้ยืมให้แก่ธุรกิจและกิจกรรมภายในประเทศหลายภาคส่วน เช่นการผลิตและการแปรรูปอาหาร, การผลิตสินค้าสำหรับภาคการท่องเที่ยว, การผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป, อะไหล่หรือชิ้นส่วนประกอบ รวมถึงการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ซึ่งโครงการ Co-Financing SME ของรัฐบาลมีวัตถุประสงค์ในการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนและพัฒนา SMEs ท้องถิ่นในภาคต่างๆ ซึ่ง SMEs สามารถยืมเงินทุนหมุนเวียน 2 แสนดอลลาร์ และสำหรับเงินลงทุน 3 แสนดอลลาร์ ด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกินร้อยละ 7 ต่อปี ระยะเวลาการชำระคืน 7 ปีและหลักประกันขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของ PFI แต่ละรายการ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50734391/2-3-million-approved-by-sme-bank/

JICA ปรับโครงสร้างสินเชื่อเพิ่มช่องทางระดมทุนให้ธุรกิจ SMEs

กระทรวงการวางแผนการเงินและอุตสาหกรรม (MOPFI) และสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) ร่วมตั้งกองทุน 64 พันล้านจัตให้กับธุรกิจขนาดเล็กขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) ของเมียนมาซึ่งได้รับผลกระทบเชิงจาก COVID – 19 ภายใต้โครงการฉุกเฉิน JICA โดยดำเนินการผ่าน Myanma Economic Bank และธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวนเงินกู้สูงสุดเท่ากับ 300 ล้านจัต อัตราดอกเบี้ยรายปี 5.5% ถึง 10 % ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้กู้ในการจัดหาหลักประกัน ระยะเวลาเงินกู้จะแตกต่างจากสามปีถึงห้าปี สินเชื่อในระยะ 3 ปี จะมีระยะเวลาผ่อนผัน 6 เดือนและสินเชื่อตั้งแต่สามปีถึงห้าปีจะได้ระยะเวลาผ่อนผันสูงสุดถึงหนึ่งปี

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/jica-restructures-loan-program-channel-more-funds-needy-smes.html

ADB ขยายสินเชื่อเพื่อการพัฒนาในเมียนมา

เมียนมาวางแผนกู้เงิน 60 ล้านเดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เพื่อจัดตั้งบรรษัทประกันสินเชื่อ (CGC)  โดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพม่ายังขาดระบบการค้ำประกันสินเชื่อ ในเมียนมา 98% ของเศรษฐกิจประกอบด้วย SMEs ในขณะที่ 95% ของแรงงานมีการจ้างงานในภาคนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/adb-extend-loans-support-development-myanmar.html

เศรษฐกิจสปป.ลาวต้องมีการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

Mr.Daovone Phachanthavong รองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติของสปป.ลาวได้ให้สัมภาษณ์ทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติสปป.ลาวว่า “ ควรมีการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำให้กับ SMEs ซึ่งเงินจะเป็นแหล่งเงินทุนที่จำเป็นมากสำหรับธุรกิจในการรับมือกับผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 ซึ่งถือเป็นวิธีการอัดฉีดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจที่ดีที่สุด ณ ขณะนี้ ” ปัจจุบันหอการค้ามีสมาชิกมากกว่า 4,000 คนทั่วประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการระบาดของ COVID-19 ได้แก่ สายการบิน ภาคการท่องเที่ยว โรงแรม ผู้ประกอบการขนส่งร้านอาหาร ร้านนวด สนามกอล์ฟและโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า การช่วยเหลือดังกล่าวมีสถาบันการเงินระหว่างประเทศเสนอเงินช่วยเหลือ 80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แก่สปป.ลาว รวมถึงรัฐบาลจีนเสนอเงินให้กู้ยืมแก่ SMEs 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  นอกจากนี้ Mr.Daovone ยังกล่าวเสริมอีกว่ารัฐบาลควรให้การสนับสนุนและเร่งพัฒนาภาคการเกษตรเพื่อให้สามารถส่งออกได้มากขึ้นเพราะจีนมีความต้องการผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมาก ดังนั้นการส่งออกผลผลิตเกษตรของสปป.ลาวจะช่วยทำให้เศรษฐกิจของสปป.ลาวกับมาดีขึ้น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Lao94.php

รัฐบาลอัดฉีดเงิน 1 แสนล้านกีบส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs

รัฐบาลสปป.ลาวอัดฉีดเงิน 1 แสนล้านกีบในการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อลดอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและยังเป็นการสนับสนุนภาคธุรกิจขยาดย่อม (SMEs) สำหรับการนำเงินไปลงทุนขยายกิจการเพิ่มเติม ซึ่งกลไกลดังกล่าวจะทำผ่านธนาคารพาณิชย์ในรูปแบบของการให้เงินกู้เงินระยะยาวในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำโดยมีเงื่อนไขดังนี้ มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน ถือบัญชีตามกฎหมายการบัญชี การฝึกอบรม SME มืออาชีพที่ผ่านการรับรอง ซึ่งการสนับสนุนดังกล่าวจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของภาคธุกิจซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขยายธุรกิจของ ภาคธุรกิจขยาดย่อม (SMEs) เป็นภาคที่สำคัญของประเทศเพราะคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 99 ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดในสปป.ลาวรวมถึงลูกจ้างในธุรกิจที่คิดเป็นร้อยละ 82 ของลูกจ้างทั้งหมดของสปป.ลาว ดังนั้นการส่งเสริมดังกล่าวไม่เพียงแต่ช่วยส่งเสริมเติบโตของธุรกิจแต่ยังช่วยทำให้ความเป็นอยู่ของคนในประเทศส่วนใหญ่ดีขึ้นอีกด้วย

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt60.php

กองทุนฉุกเฉินสำหรับช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกัมพูชา

รัฐบาลเปิดตัวกองทุนพิเศษ 50 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มผลผลิตและการดำเนินธุรกิจท่ามกลางผลกระทบของการระบาดของโรค Covid-19 และการถูกถอน EBA บางรายการสินค้าของสหภาพยุโรป โดยกองทุนพิเศษของรัฐบาลสำหรับ SMEs จะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร, การแปรรูปอาหาร, ธุรกิจเกษตร, พืชผัก, ปศุสัตว์และธุรกิจสัตว์น้ำและองค์กรต่างๆที่ใช้วัตถุดิบจากภาคการเกษตร ซึ่ง SMEs สามารถกู้ยืมเงินได้สูงถึง 3 แสนเหรียญสหรัฐ ด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปีสำหรับเงินทุนหมุนเวียน (สูงสุด 2 ปี) และ 6.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปีสำหรับกองทุนการลงทุนตลอดระยะเวลาการชำระ 5 ปี โดยรัฐบาลจะให้การผ่อนผันระยะเวลา 1 ปี ซึ่ง SMEs ที่มีสิทธิ์ได้รับกองทุนพิเศษคือ SMEs ที่ทำงานเกี่ยวกับการแปรรูปสินค้าเกษตร ที่สามารถขยายการดำเนินงาน สามารถสร้างงานได้จาก 5-30 แห่งและเป็น SMEs ที่จดทะเบียนในกรมสรรพากรและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทและการเกษตร (RDAB)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50702354/50-million-emergency-fund-for-small-and-medium-enterprises/

เจาะตลาดเวียดนาม 5 ช่องทางการขายที่คุณต้องรู้

โดย IH DIGITAL

เวียดนามถือว่าเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก ด้วยประชากรกว่า 90 ล้านคนและส่วนใหญ่ก็เป็นหนุ่มสาววัยทำงานที่กำลังช่วยพัฒนาประเทศ แน่นอนว่าด้วยการเติบโตของเศรษฐกิจ ย่อมทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยของชาวเวียดนามเพิ่มมากขึ้นและต้องมีนักลงทุนที่อยากไปเจาะตลาดเวียดนาม ทั้ง 5 ช่องทางนี้ เหมาะกับผู้ประกอบการ ดังนี้

  1. ใช้ผู้แทน/ตัวแทนจำหน่าย เหมาะสำหรับผู้ประกอบการ SMEs หรือผู้ที่มีประสบการส่งออกน้อย ควรเลือกใช้ตัวแทนจำหน่าย (Distributor)
  2. เปิดร้านค้าใน E-Commerce เหมาะสำหรับผู้ประกอบการ SMEs หรือผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการขายของออนไลน์เป็นอย่างดี เว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมในเวียดนาม ได้แก่ Lazada, Shopee, TIKI, LOTTE, Sendo.VN
  3. เปิดร้านค้าผ่าน Social Media คล้ายกันกับข้อที่ 2 – ผู้ประกอบการ SMEs ที่ยังไม่เชี่ยวชาญในด้าน E-Commerce สามารถขายได้บนช่องทาง Social Media โดยแพลทฟอร์มที่ได้รับความนิยมในเวียดนามคือ FACEBOOK และ Instagram
  4. การส่งออก สำหรับบริษัทขนาดใหญ่หรือผู้ที่มีประสบการณ์การส่งออกสูง
  5. ก่อตั้งบริษัทการค้า เหมาะสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีภาพลักษณ์ของแบรนด์มั่งคงและน่าเชี่อถือในตลาดเวียดนาม

แต่อย่างไรก็ตาม แผนการตลาดเป็นปัจจัยสำคัญมาก ผู้ประกอบการอาจเลือกการโปรโมทสินค้าด้วยการแจก หรือให้ส่วนลดพิเศษต่าง ๆ ที่ดูฮาร์ดเซลส์ เมื่อเข้าสู่ตลาดเวียดนามในระยะแรก ส่วนในระยะยาวอาจใช้โฆษณา ป้ายประกาศ หรือช่องทางออนไลน์เพื่อให้คนเวียดนามจดจำตัวสินค้าและซื้อมาบริโภค  “สิ่งที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะพลาดคือไม่ได้จัดเตรียมงบประมาณสำหรับแผนการตลาด”

ที่มา : https://www.ihdigital.co.th/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1-5-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97/