5 เดือนแรกของปีงบฯ 65 – 66 เมียนมามีรายได้ส่งออกถั่วพุ่งแตะ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา (MoC) เผย รายได้จากการส่งออกถั่วในช่วง 5 เดือนของปีงบประมาณปัจจุบัน 2565-2566 (วันที่ 1 เมษายนถึง 26 สิงหาคม 2565) พุ่งไปถึง 513.347 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปริมาณการส่งออกกว่า 660,806 ตัน ซึ่งที่ผ่านมา ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมามีรายได้จากการส่งออกถั่ว 1.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปริมาณการส่งออกทั้งสิ้นกว่า 2.02 ล้านตัน โดยเป็นการส่งออกทางเรือ 1.24 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 966.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และทางชายแดนอีก 786,920 ตัน คิดเป็นมูลค่า 604.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้การเพาะปลูกถั่วของเมียนมาครอบคลุมพื้นที่ 20% ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด โดยมี ถั่วดำ ถั่วแระ และถั่วเขียวคิดเป็น 72% ของพื้นที่เพาะปลูกถั่ว ซึ่งภาคเกษตรกรรมถือเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจประเทศและสินค้าเกษตรหลักก็รวมอยู่ในสินค้าส่งออกหลักเมียนมาอีกด้วย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bags-500-mln-from-export-of-various-pulses-in-nearly-5-months/

เมียนมาส่งมอบข้าว 1,000 ตัน ให้ศรีลังกาที่เผชิญวิกฤตทางเศรษฐกิจ

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (วันที่ 2 กันยายน 2565) นาย U Aung Naing Oo รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา เป็นตัวแทนในการส่งออกข้าวให้กับศรีลังกาจำนวน 1,000 ตัน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเป็นการช่วยเหลือศรีลังกาในช่วงที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ทั้งนี้ Mr. J.M. Bandara เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำเมียนมา ได้แสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลเมียนมาสำหรับมิตรไมตรีในครั้งนี้

ที่มา: https://english.news.cn/asiapacific/20220903/bc3cadf399f344f392557d5b4c812e7d/c.ht

ราคาน้ำมันปาล์มเมียนมา พุ่งแตะ 5,000 จัตต่อ viss

คณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจำหน่ายน้ำมันพืช เผย ราคาน้ำมันปาล์มขายส่งในตลาดย่างกุ้งพุ่งขึ้นเกือบ 5,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม โดยราคากลางได้กำหนด ตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. ถึง 4 ก.ย.2565 อยู่ที่ 4,910 จัตต่อ viss ซึ่งเพิ่มขึ้น 50 จัต จากสัปดาห์ก่อนที่ 4,860 จัตต่อ viss ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เมียนมาได้ติดตามราคา FOB ในตลาดมาเลเซียและอินโดนีเซียอย่างใกล้ชิด รวมถึงค่าขนส่ง ภาษี และบริการด้านการธนาคาร และออกอย่างไรก็ตาม ราคาตลาดปัจจุบันสูงกว่าราคากลางเป็นอย่างมาก โดยจากรายงานพบว่าราคาน้ำมันปาล์มในตลาดพุ่งไปถึง 10,000 จัตต่อ viss เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ภาครัฐจึงร่วมมือกับสมาคมผู้ค้าน้ำมันเพื่อการบริโภคของเมียนมา ได้จัดรถโมบายออกจำหน่ายน้ำมันปาล์มราคาประหยัด เพื่อช่วยลดค่าครองชีพของประชาชน -ขณะที่ กระทรวงพาณิชย์ ได้ออกมาย้ำว่าน้ำมันปาล์มมีเพียงพอต่อการบริโภคอย่างแน่นอน ทั้งนี้เมียนมาสามารถผลิตน้ำมันปรุงอาหารได้ประมาณ 400,000 ตันต่อปี แต่มีการบริโภคในประเทศถึง 1 ล้านตันต่อปี ทำให้ต้องนำเข้าจากมาเลเซียและอินโดนีเซียปีละประมาณ 700,000 ตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-wholesale-reference-price-rebounds-to-nearly-k5000-per-viss/

YRIC รับรอง 4 บริษัทต่างชาติลงทุนในอุตสาหกรรม “CMP” คาด สร้างงานให้ชาวเมียนมาได้ถึง 2,369 ตำแหน่ง

คณะกรรมการการลงทุนเขตย่างกุ้ง (YRIC) ของเมียนมา ให้การรับรองบริษัทต่างชาติ 4 ราย เข้ามาลงทุนในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยเน้นไปที่การผลิตสินค้าแบบตัดเย็บ หรือ CMP (Cut, manufacture and produce) ซึ่งได้แก่เสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้วยเงินลงทุนประมาณ 5.143 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สามารถสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นได้ถึง 2,369 ตำแหน่ง ทั้งนี้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 (เดือนม.ค.- เดือนมิ.ย.) มีการลงทุนจากต่างประเทศรวมทั้งสิ้น 159 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แบ่งเป็น จีน 41 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ฮ่องกง 59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, สิงคโปร์ 21 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, เกาหลีใต้ 17 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ไต้หวัน 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และอินโดนีเซีย 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/yric-endorses-4-foreign-manufacturing-projects-on-cmp-basis-with-2369-jobs/

เดือนเม.ย.-ก.ค. 65 เมียนมามีรายได้จากการส่งออกก๊าซธรรมชาติ ทะลุกว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565 (วันที่ 1 เม.ย.ถึงวันที่ 31 ก.ค.2565) เมียนมามีรายได้จาการส่งออกก๊าซธรรมชาติถึง 819.503  ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปริมาณการส่งออกจำนวน 77.89 ล้านกิโลกรัม โดยการส่งออกก๊าซธรรมชาติของประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่แล้วจะมาจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติในเมียนมานอกชายฝั่ง 4 โครงการ ได้แก่ ยาดานา, เยดากุน, ฉ่วย และซอติก้า

ที่มา : https://english.news.cn/20220826/0dedf051781f4e5bbbf355a8fc2c2c93/c.html

ราคามะม่วง Yingwe ในเมียนมา ดิ่งลง เมื่อเทียบกับปีก่อน

เกษตรกรในรัฐฉานตอนใต้ เผย เนื่องจากฝนตกอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มะม่วง Yingwe  เกิดความเสียหาย ราคาดิ่งลงอยู่ที่ประมาณ 10,000 จัตต่อตะกร้าลดลงจากปีก่อนที่ 20,000 จัตต่อตะกร้า ทั้งนี้เกษตรกรในรัฐฉานส่วนใหญ่ส่งออกมะม่วง Seintalone และมะม่วง Machitsu ไปยังจีน ส่วนมะม่วง Yingwe ส่งไปขายยังตลาดย่างกุ้งเป็นหลัก จากสถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่สามารถส่งออกมะม่วงไปยังจีนได้ ทำให้เกษตกรมีรายได้ลดลงอย่างมาก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/price-of-yingwe-mango-weak-in-domestic-market/#article-title

ราคาถั่วลิสงในเมียนมา พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ผู้ค้าส่งถั่วลิสงในตลาดค้าส่งมัณฑะเลย์ เผย การซื้อขายถั่วลิสงที่เก็บเกี่ยวใหม่เป็นที่ต้องการและยังมีราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลผลิตถั่วลิสงสดจากเมืองเจาะปะด้อง, เมืองตะโก้น, เมืองยะแม่ที่น, เมืองมะกเว และเมืองอองลาน ทยอยเข้าสู่ตลาดมัณฑะเลย์มาตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนส.ค.2565  โดยปลายเดือนก.ค.2565 ราคาถั่วลิสงอยู่ระหว่าง 5,300 -5,700 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) และเมื่อวันที่ 23 ส.ค.2565 ราคาปรับสูงพุ่งขึ้นเป็น 6,000-6,600 จัตต่อ viss  ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นการเพิ่มขึ้นของราคาถั่วลิสงสด ถึง 600-1,000 จัตต่อ viss  ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันถั่วลิสงก็พุ่งขึ้นเป็น 14,000 จัตต่อ viss   และเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลกได้งดการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดการขาดแคลนภายในประเทศ  แต่อินโดนีเซียเป็นแหล่งนำเข้าน้ำมันปาล์มที่สำคัญของเมียนมา ส่งผลให้ตั้งแต่วันที่ 9 พ.ค.เป็นต้นมา เมียนมาต้องระงับการส่งออกพืชน้ำมัน (ถั่วลิสงและงา) เป็นการชั่วคราวเพื่อให้มีน้ำมันเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ   และเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2565 เมียนมาได้เริ่มกลับมาส่งออกพืชน้ำมันได้ หลังจากอินโดนีเซีย ผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลกได้เริ่มทะยอยกลับมาส่งออกให้กับคู่ค้าได้อีกครั้ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/traders-report-brisk-sales-of-newly-harvested-peanuts-at-high-price/#article-title

ราคาหัวหอมตลาดปะโคะกู พุ่งแตะ 3,000 จัตต่อปอนด์

สัปดาห์สุดท้ายของเดือนส.ค.2565 ราคาหัวหอม ณ ตลาดปะโคะกู เขตมะกเว ของเมียนมา พุ่งแตะแตะระดับ 3,000 จัตต่อปอนด์ ขณะที่สัปดาห์แรกของเดือน ราคาอยุ่ที่ 1,700 จัตต่อปอนด์ ส่วนสัปดาห์ที่สองราคาขยับขึ้นเป็น 2,000 จัตต่อปอนด์ สาเหตุเกิดจากบางพื้นที่ประสบปัญหาไม่สามารถเพาะปลูกได้ ส่งผลให้ผลผลิตจึงต่ำกว่าปกติ ทั้งนี้ ในปี 2562 ราคาหัวหอมอยู่ที่ประมาณ 3,000 จัตต่อปอนด์ และตั้งแต่ปี 2563 ถึงกลางปี ​​2565 ราคาดิ่งลงเหลือประมาณ 1,000 จัตต่อปอนด์

 

ที่มา: https://news-eleven.com/article/236144

 

ส่งออกแร่ของเมียนมา ดิ่งลงเหลือ 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ปีงบประมาณ 2565-2566 ตั้งแต่เดือนเม.ย. จนถึงวันที่ 12 ส.ค.2565 มูลค่าการส่งออกแร่ของเมียนมาอยู่ที่ 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งลดลงจากปีงบประมาณย่อยของปีงบประมาณ 2564-2565 (เดือนม.ค.-เดือนเม.ย.2565) ที่มีมูลค่าส่งออกถึง 254.448 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 อีกทั้งอยู่ในช่วงฤดูฝนทำให้เหมืองแร่ต้องหยุดดำเนินการจึงกระทบต่อการส่งออกเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ธุรกิจเหมืองหินและหยก ในรัฐคะฉิ่นถูกระงับเพื่อสนับสนุนการรักษาทรัพยากรอย่างยั่งยืนและมาตรการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างจำกัด ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์แร่ประมาณ 80% ส่งออกต่างประเทศผ่านการค้าทางทะเล ในขณะที่ 20% จะส่งออกผ่านชายแดน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mineral-exports-down-by-115-mln-as-of-12-august/#article-title

ข้าวปอซานคุณภาพสูง เมืองชเวโบ พุ่งขึ้น 24,000 จัตต่อถุงภายใน 6 สัปดาห์

ราคาข้าวปอซานคุณภาพสูงจากเมืองชเวโบ เขตซะไกง์ ของเมียนมา พบว่า ราคาตลาดภายในประเทศ พุ่งไปถึง 24,000 จัตต่อถุง โดยเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2565 ราคาข้าวคุณภาพสูงเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 49,000 ถึง 66,000 จัตต่อถุง ในขณะที่ราคาข้าวคุณภาพต่ำอยู่ที่ 32,000 ถึง 41,000 จัตต่อถุง แต่เมื่อวันที่ 16 ส.ค.2565 ราคาข้าวคุณภาพสูงพุ่งขึ้นเป็น 60,000-90,000 จัตต่อถุง ส่วนข้าวคุณภาพต่ำอยู่ที่ 35,500-50,000 จัตต่อถุง ซึ่งการอ่อนค่าของค่าเงินจัตมีผลทำให้ราคาข้าวสูงขึ้นและความตื่นตระหนกจากการขาดแคลนข้าวของผู้บริโภค ขณะนี้สหพันธ์ข้าวเมียนมา, สมาคมผู้ผลิตและผู้ปลูกข้าวเมียนมา, สมาคมโรงสีข้าวเมียนมา ผู้ค้าและนายหน้าในศูนย์ค้าส่งข้าว กำลังร่วมมือกันจัดทำแผนเการขายข้าวในราคาที่เหมาะสมให้กับผู้บริโภคในประเทศ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/singapore-tops-fdi-in-myanmar-in-past-four-months/#article-title