ตั้งแต่ 1 เม.ย. ถึง 22 ก.ค.65 เมียนมาส่งออกสินค้าประมงไปแล้วกว่า 181 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กรมประมงของเมียนมา เผย ในระหว่างวันที่ 1 เม.ย. ถึง 22 ก.ค.2565 ของปีงบประมาณ 2564-2565 การส่งออกประมงทำรายได้มากกว่า 181 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยผ่านทางทะเล 119.351 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และผ่านชายแดน 62.545 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้สินค้าประมงส่วนใหญ่จะถูกส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ส่วนปลา กุ้ง และปูจะถูกส่งออกไปยังจีน ไทย และประเทศเพื่อนบ้านผ่านทางเขตการค้าชายแดนมูเซ ชายแดนเมียวดี ชายแดนเกาะสอง ชายแดนซิตเว่ มะริด และชายแดนมองดอ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmars-marine-exports-collect-over-181-mln-from-1-april-to-22-july/#article-title

สามเดือนครึ่ง ค้าชายแดนผ่านด่านทิกิ พุ่งขึ้น 213 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย สามเดือนครึ่งที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. ถึง 15 ก.ค.2565) การค้าชายแดนระหว่างไทยและเมียนมาผ่านด่านชายแดนทิกิ มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 644.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึง 213.755 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีมูลค่า 430.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยชายแดนทิกิมีการค้าขายใหญ่เป็นอันดับ 2 ในบรรดาชายแดนไทย-เมียนมา รองจากด่านเมียวดี ซึ่งการส่งออกก๊าซธรรมชาติจากเขตตะนาวศรีมีส่วนทำให้การค้าผ่านชายแดนทิกิเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญไปยังไทย ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ, ผลิตภัณฑ์ประมง, ถ่านหิน, ดีบุกเข้มข้น (SN 71.58%), มะพร้าว (สดและแห้ง), ถั่ว, ข้าวโพด, และหน่อไม้ ส่วนการนำเข้า ได้แก่ สินค้าทุน, สินค้าอุตสาหกรรมดิบ เช่น ซีเมนต์และปุ๋ย และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/border-trade-through-hteekhee-post-rises-by-213-mln-in-three-and-a-half-months/

ชาวสวนเมืองปะลัค เขตตะนาวศรี เล็งปลูกบุก เป็นพืชผสมผสาน เพื่อสร้างกำไร

กรมวิชาการเกษตรเมืองปะลัค รายงานว่า ผลกำไรบวกกับความต้องการจากต่างประเทศกระตุ้นให้ชาวสวนในเมืองปะลัค อำเภอปะลอ เขตตะนาวศรี หันมาปลูกบุก (มันเทศช้าง) ภายใต้ระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานกันมากขึ้น จากที่แต่ก่อนไม่เป็นที่นิยมบริโภคในประเทศมากนัก อย่างไรก็ตาม ความต้องการจากต่างประเทศที่มากขึ้นส่งผลให้ราคาพุ่งตามไปด้วย เมียนมา เริ่มเพาะปลูกบุกเมื่อ 30 กว่าปีที่แล้วในรัฐคะฉิ่น รัฐชิน รัฐฉาน รัฐมอญ รัฐกะเหรี่ยง และเขตพะโค การปลูกบุกเริ่มขึ้นในเขตตะนาวศรีในปีงบประมาณ 2563-2564 ปัจจุบันได้เริ่มมีการปลูกแซมในสวนยางพารากันบ้างแล้ว ขณะที่ต้นทุนการเพาะปลูกอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านจัตต่อเอเคอร์ โดยราคาในประเทศอยู่ที่ 1,800-2,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ซึ่งต้องใช้เงินทุนมากในการเพาะปลูก แต่กำไรค่อนข้างสูง ทั้งนี้การทำไร่ปลูกบุกพบได้ทั่วไปในอเมริกาใต้ แอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกเหนือจากการบริโภคในท้องถิ่นแล้ว เมียนมายังจัดส่งบุกแห้งและผงบุกไปยังจีน ญี่ปุ่น ไทย อินเดีย บังคลาเทศ และมาเลเซีย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/growers-eye-konjac-for-mixed-cropping-in-palauk-as-it-raises-profitability/#article-title

เมียนมา จับมือ รัสเซีย หารือความร่วมมือด้านการธนาคาร

ธนาคารกลางของรัสเซียและธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) ดำเนินการประชุมความร่วมมือด้านการให้บริการของธนาคารครั้งที่ 2 ผ่านลิงก์วิดีโอเมื่อวันที่ 22 ก.ค.2565 เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการใช้บริการของประชาชน และหารือด้านนโยบายการเงิน การพัฒนาธนาคารให้มีเสถียรภาพ ทั้งนี้ยังขอความร่วมมือกับธนาคารทั่วประเทศปฏิบัติตามกฎระเบียบ คำสั่ง กฎและขั้นตอนที่ออกโดย CBM อย่างเคร่งครัด

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-russia-discuss-banking-cooperation

ราคาเมล็ดกาแฟเมียนมา พุ่งแตะ 5,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน

สมาคมกาแฟเมียนมา เผย ราคาเมล็ดกาแฟเมียนมาพุ่งถึง 5,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน จากความต้องการทั้งในและต่างประเทศสูงที่มีมากขึ้น โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์, ไต้หวัน, จีน, ไทย, สหรัฐอเมริกา, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, สหราชอาณาจักร, ไอซ์แลนด์, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, และเยอรมนี  ขณะที่ไร่กาแฟมีมากกว่า 200,000 เอเคอร์ ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 9,000 ตันต่อปี และราคาจะอยู่ระหว่าง 4,500 ถึง 5,000 ดอลลาร์ต่อตัน ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 เป็นกาแฟอาราบิก้า และร้อยละ 20 เป็นกาแฟโรบัสต้า  ทั้งนี้กาแฟส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ และรัฐฉาน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-produced-coffee-beans-fetch-us5000-per-tonne/

ซูซูกิ มอเตอร์ เมียนมา เลื่อนส่งมอบรถออกไปอย่างไม่มีกำหนด

Suzuki Motor เมียนมา ออกมาแถลงข่าวว่า ยังไม่สามารถระบุได้ว่ะส่งมอบบรถให้กับลูกค้าได้เมื่อใด เนื่องจากปัจจุบันมีความล่าช้าในการนำเข้าอุปกรณ์ประกอบรถยนต์และวัสดุในการผลิต เป็นผลประกาศหยุดสายพานผลิตที่ บริษัท ซูซูกิ (เมียนมาร์) มอเตอร์ จำกัด และ บริษัท ซูซูกิติลาวามอเตอร์ จำกัด เป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ บรัทฯ จะรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในด้านการรับประกันและการบริการให้ถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัย

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/suzuki-motor-says-it-is-not-possible-to-predict-when-the-vehicle-will-be-delivered-to-those-who

ราคาข้าวเมียนมาในประเทศ ดิ่งฮวบ!

ศูนย์ค้าส่งข้าววะดาน เผย ราคาข้าวหักในในประเทศราคาร่วงลงอีกครั้งหนึ่ง ระหว่างวันที่ 11 – 15 ก.ค.2565 ราคาข้าวหักที่เคยสูงถึง 35,000 จัตต่อถุง (108 ปอนด์) ราคาลดฮวบเหลือ 28,000 จัตต่อถุงในวันที่ 18 ก.ค.2565  ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 7,000 จัตต่อถุงภายใน 3 วัน ราคาข้าวปัจจุบันอยู่ในช่วงระหว่าง 31,200 จัตต่อถุง ถึง 55,000 จัตต่อถุงขึ้นอยู่กับสายพันธ์ ตั้งแต่ ไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2565-2566 (เม.ย.-มิ.ย.2565) เมียนมาส่งข้าวและข้าวหักกว่า 550,000 ตัน โดยส่งออกทางทะเลกว่า 510,000 ตัน และผ่านชายแดนอีก 33,000 ตัน โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฟิลิปปินส์, จีน, เบลเยียม, สเปน ฯลฯ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ผ่านมา เมียนมา มีรายได้กว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าว 2 ล้านตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/broken-rice-prices-fall-again/#article-title

ชาวประมงรัฐยะไข่ มุ่งเลี้ยงหอยนางรม-ปลาเก๋าดอกแดง สร้างรายได้งาม

กรมประมงของรัฐยะไข่ เผย ชาวประมงเริ่มเพาะเลี้ยงหอยนางรมและปลาเก๋าดอกแดง เพื่อส่งขายไปยังย่างกุ้งและเมืองอื่นๆ โดยราคาหน้าฟาร์มจะอยู่ระหว่าง 1,500 ถึง 2,000 จัต ส่วนที่ส่งไปยังโรงแรมและร้านอาหาร ราคาจะขายได้มากกว่า 5,000 จัต ขึ้นอยู่กับการแปรรูป ซึ่งหอยนางรมและปลาเก๋าดอกแดงส่วนใหญ่แล้วจะถูกเพาะเลี้ยงบริเวณป่าชายเลนของรัฐยะไข่ เขตตะนาวศรี และย่างกุ้ง โดยการเลี้ยงปลาเก๋าดอกแดงใช้เวลาประมาณ 6 เดือนจึงสามารถส่งขายได้ ราคาจะอยู่ระหว่าง 15,000-30,000 จัต ทั้งนี้ หอยนางรมและปลาเก๋าดอกแดงส่วนใหญ่มีการเพาะเลี้ยงในเมืองตั่งตแว, กวะ, มานออง, ย่าน-บแย และ เจาะตอ ของรัฐยะไข่

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/rakhine-state-produces-oysters-orange-spotted-groupers-on-commercial-scale/#article-title

การค้าเขตการค้าเมียวดี หดตัวเหลือ 42.262 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการค้าของเขตการค้าเมียวดีของวันที่ 18-24  มิ.ย.2565 ที่ผ่านมา มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 42.262 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  แบ่งเป็นการส่งออก 13.165 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  และนำเข้า 29.097 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ซึ่งน้อยกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าที่มีการส่งออก 10.786 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้า 0.561 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ การส่งออกลดลงในสินค้าเกษตรและเครื่องนุ่งห่ม ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นจะเป็นอุปกรณ์โทรศัพท์และการสื่อสาร จำหน่ายและติดตั้งพลังงานไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปุ๋ย วัตถุดิบพลาสติก เภสัชภัณฑ์ และสิ่งทอลูกไม้

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myawady-trade-zone-handled-us-42-262-million-worth-of-trade-volume/#article-title