นายกฯ คาดส่งออกข้าวปี 66 ทะลุ 8 ล้านตัน ดันไทยกลับเป็นที่ 2 ของโลก

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบรายงานความคืบหน้าการส่งออกข้าวของไทย และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวไทยตั้งแต่ปี 2563-2567 ผลักดันไทยเป็นผู้นำด้านการผลิตและการตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลก โดยนายกเชื่อมั่นว่าการส่งออกข้าวไทย ปี 2566 จะเป็นไปตามการคาดการณ์ ที่ยอดมากกว่า 8 ล้านตัน และไทยกลับมาเป็นอันดับที่ 2 ประเทศส่งออกข้าวของโลก ซึ่งยอดส่งออกข้าวในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2566 นี้ มีปริมาณสูงถึง 2.62 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.41 ด้านโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลผลักดันให้เกิดการกระชับสัมพันธ์คู่ค้าสำคัญ และการหากลุ่มลูกค้าใหม่ให้ครอบคลุมตลาดข้าวมากขึ้นมาโดยตลอด ซึ่งตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญของไทย ได้แก่ อิรัก อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา และจีน ประกอบกับ ที่ผ่านมาไทยเพิ่มโอกาสทางการค้าด้วยการจัดคณะผู้แทนเดินทางไปกระชับความสัมพันธ์ เช่น ฮ่องกง จีน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และแอฟริกาใต้ และเพิ่มโอกาสด้วยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ เช่น งาน China–ASEAN Expo (จีน) งาน Fine Food (ออสเตรเลีย) และงาน ANUGA (เยอรมนี) เป็นต้น

ที่มา : https://www.naewna.com/business/740713

“เมียนมา” เผยราคาถั่วแระ ต่ำกว่า 3 ล้านจ๊าดต่อตัน

หอการค้าและอุตสาหกรรมเขตย่างกุ้ง รายงานว่าถั่วแระ (Pigeon Pea) ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 3 ล้านจ๊าดต่อตัน ขณะที่จากข้อมูลในวันที่ 5 มิ.ย. ราคาทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.33 ล้านจ๊าดต่อตัน จากนั้นในวันที่ 27 มิ.ย. ราคาตกต่ำอย่างมากอยู่ที่ 2.94 ล้านจ๊าดต่อตัน โดยตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าถั่วแระลดลงราว 390,000 จ๊าดต่อตันในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับราคาถั่วเขียวผิวดำและถั่วพัลส์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/pigeon-pea-price-plunges-down-to-below-k3-mln-per-tonne/#article-title

“จีน” ชื่นชมสินค้าเกษตรเวียดนาม แต่ซื้อเพียงเล็กน้อย

นายเจิ่น แทงห์ นาม รมช.เกษตรและพัฒนาชนบท กล่าวกับสื่อท้องถิ่นเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. ว่าด้วยจำนวนประชากร 1.41 พันล้านคน และรายได้เฉลี่ย 13,800 เหรียญสหรัฐในปี 2565 ส่งผลให้จีนเป็นตลาดสินค้าเกษตรรายใหญ่ รัฐบาลและองค์กรต่างๆ ของเวียดนามและจีน ร่วมมือเป็นคู่ค้าสำคัญทางด้านภูมิศาสตร์ โดยมีปัจจัยบวกหลายประการ อาทิเช่น ระยะเวลาในการขนส่งที่ต่ำ ต้นทุนต่ำและรูปแบบการขนส่งที่หลากหลาย เป็นต้น โดยเฉพาะอาหารทะเล ผลไม้ งานไม้และเนื้อไก่ของเวียดนามเป็นที่ต้องการอย่างมากของตลาดจีน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีความต้องการผลผลิตทางการเกษตรสูงจากทั้งสองประเทศ แต่ว่าในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานตามแนวชายแดนที่มีมากเกินไป จำเป็นที่ต้องหันมามุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด ประกอบกับความร่วมมือทางการค้าของทั้งสองประเทศยังคงไม่มีเสถียรภาพ ผู้ค้าส่วนใหญ่เพียงแค่ทำธุรกรรมเท่านั้น และขาดความต่อเนื่องในการติดต่อสื่อสาร เนื่องจากปัญหาการขาดข้อมูล

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/china-praises-vietnam-s-farm-produce-but-makes-modest-purchases-2152940.html

“เวียดนาม” ส่งออกลิ้นจี่ไปสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการครั้งแรก

คุณ Thai Tran กรรมการผู้จัดการของบริษัท กล่าวว่านับเป็นครั้งแรกที่มีการนำเข้าลิ้นจี่สุกก่อนกำหนดจากเวียดนาม เพื่อที่จะแข่งขันกับเม็กซิโกและจีนที่ได้จำหน่ายลิ้นจี่ในตลาดสหราชอาณาจักร (UK) โดยปัจจุบันลิ้นจี่ของเวียดนามติดรูปธงชาติไว้บนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมแบรนด์ของเวียดนามและช่วยให้ผู้บริโภคจดจำผลิตภัณฑ์ของเวียดนามในซูเปอร์มาร์เก็ตได้ ทั้งนี้ กระบวนการจัดเก็บลิ้นจี่ไปจนถึงการวางจำหน่ายในสหราชอาณาจักร ใช้เวลาเพียง 36 ชั่วโมง ขณะที่ความต้องการลิ้นจี่ในตลาดดังกล่าวเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากคุณภาพสูงและฤดูการปลูกอายุสั้น ตลอดจนกิจกรรมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการส่งเสริมการค้า นอกจากนี้ ราคาลิ้นจี่ของเวียดนามในปัจจุบัน อยู่ที่ 15 ปอนด์ (18.65 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อกิโลกรัม ที่วางขายในสหราชอาณาจักร

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-s-first-official-channel-lychee-shipment-arrives-in-uk-2151932.html

“ข้าวไข่มุก” เมียนมา พุ่ง 110,000 จ๊าดต่อกระสอบ

ศูนย์ค้าข้าววาดัน (Wahdan) เปิดเผยว่าราคาข้าวพันธุ์ชเวโป ปอว์ ซาน (Shwebo Pawsan) หรือข้าวไข่มุกของเมียนมา ปรับตัวพุ่งสูงขึ้นแตะ 110,000 จ๊าดต่อกระสอบ ในขณะที่ราคาข้าวพันธุ์อื่นๆ ก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยในตลาดย่างกุ้ง ทั้งนี้ สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) จะร่วมมือกับโรงสีข้าว ผู้ค้าส่งและบริษัทต่างๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพในตลาดข้าวและควบคุมราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ จะทำการตรวจสอบผู้ที่เผยแพร่ข่าวลือที่เป็นอันตรายร้ายแรงบนแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อทำให้เกิดความกังวลต่อผู้บริโภคและการขึ้นราคาข้าวเป็นประโยชน์ในระยะยาวของอุตสาหกรรมข้าว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/shwebo-pawsan-rice-price-rockets-to-k110000-per-bag/#article-title

“เมียนมา” เผยเดือน พ.ค. ดันส่งออกพุ่ง 110,000 ตัน ในปีงบประมาณ 66-67

ตามข้อมูลของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) ระบุว่าเมียนมาส่งออกข้าวและปลายข้าวไปยังตลาดต่างประเทศในเดือน พ.ค. มากกว่า 110,000 ตัน ในปีงบประมาณ 2566-2567 รวมทั้งข้าว 46,786 ตัน และปลายข้าว 63,920 ตัน ทั้งนี้ ช่องทางการส่งออกข้าวส่วนใหญ่ของเมียนมาผ่านทางทะเล 102,801 ตัน ในขณะที่ผ่านทางชายแดน 7,905 ตัน นอกจากนี้ เมียนมาได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวไว้ที่ 2.5 ล้านตันในปีงบประมาณ 2566 และทำรายได้จากการส่งออกข้าวราว 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตลาดจีนเป็นประเทศหลักของการส่งออกข้าวของเมียนมา ด้วยปริมาณมากกว่า 775,000 ตัน รองลงมาเบลเยียม 323,000 ตัน บังกลาเทศ 239,000 ตัน และฟิลิปปินส์ 202,000 ตัน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เมียนมาตั้งเป้าที่จะส่งเสริมการส่งออกข้าว 10% ต่อปี โดยให้ความสำคัญกับการส่งออกข้าวเกรดสูงและเพิ่มปริมาณการส่งออก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-110000-tonnes-of-rice-in-may-2023-2024-fy/#article-title

รัฐบาลกัมพูชา เห็นชอบร่างกฎหมายว่าด้วยแหล่งกำเนินสินค้า

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา รัฐบาลได้อนุมัติร่างกฎหมายว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยส่งเสริมและอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ได้รับประโยชน์จากสิทธิพิเศษทางการค้า นอกจากนี้ยังจะช่วยป้องกันการปลอมแปลงของสินค้าที่มีการผลิตในกัมพูชา ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวได้รับการอนุมัติในการประชุมระหว่างคณะรัฐมนตรีประจำสัปดาห์ ที่มีนายกรัฐมนตรีฮุน เซน เป็นประธาน ซึ่งร่างกฎหมายนี้มี 9 บท และมี 35 มาตรา ในการกำหนดหลักการและกฎเกณฑ์สำหรับการกำหนดแหล่งกำเนิดของสินค้าที่ส่งออกและนำเข้าระหว่างกัมพูชา

นอกจากนี้ยังช่วยให้กัมพูชาสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กรอบ WTO และส่งเสริม อำนวยความสะดวกทางการค้ากับภาคเอกชน โดยเฉพาะการส่งออกสินค้ากัมพูชาที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรจากประเทศผู้นำเข้าที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้ากับกัมพูชาและภายใต้การค้าเสรีต่างๆ รวมถึงความตกลงที่กัมพูชาเป็นสมาชิก ซึ่งในปี 2022 กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรที่ได้รับการรับรองรวม 8.6 ล้านตัน ไปยังตลาดต่างประเทศ 74 แห่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501294323/government-approves-draft-law-on-rules-of-origin/

รมว.เกษตรฯ กัมพูชา ชักชวนประเทศเช็ก นำเข้าสินค้าเกษตรเพิ่ม

เพื่อกระตุ้นความสัมพันธ์ที่อันดี Dith Tina รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ได้เชิญชวนสาธารณรัฐเช็ก พิจารณาผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของกัมพูชาและผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารที่มีศักยภาพอื่นๆ โดยกระทรวงหวังว่าจะดึงดูดผู้นำเข้าจากเช็กมากขึ้น ตามถ้อยแถลงของกระทรวงฯ Dith Tina ได้ตั้งข้อสังเกตว่าความร่วมมือในระดับทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศมุ่งเน้นไปที่การค้าสินค้าเกษตรเป็นหลัก ซึ่งรัฐมนตรีหวังให้สาธารณรัฐเช็กเร่งศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับสินค้าเกษตรของกัมพูชาเพิ่มเติม ด้านกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา รายงานว่า สาธารณรัฐเช็กถือเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับกัมพูชา โดยมีมูลค่าการค้าทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศเฉลี่ยรวมในช่วงปี 2020-2021 ที่มูลค่า 80 ล้านดอลลาร์ต่อปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501289971/minister-of-agriculture-invites-czech-republic-to-import-more/

“เมียนมา” เผยเดือน เม.ย. ส่งออกข้าวลดลง 47,888 ตัน

กลุ่มสหพันธ์ข้าวของเมียนมา (MRF) เปิดเผยว่าปริมาณการส่งออกข้าวของเมียนมาในเดือน เม.ย. 2566 ลดลงเหลือ 47,888 ตัน หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อยู่ที่ 144,034.86 ตัน โดยมาเลเซียเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของเมียนมาในเดือน เม.ย. ด้วยปริมาณ 8,050 ตัน ขณะที่เบลเยียมเป็นผู้นำเข้าข้าวหัก (Broken Rice) มากที่สุดจากเมียนมา มีปริมาณการนำเข้าสูงถึง 15,725 ตัน ทั้งนี้ เมียนมาทำรายได้จากการส่งออกข้าวและปลายข้าว อยู่ที่ 853,472 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นปริมาณการส่งออกมากกว่า 2.2 ล้านตัน ในช่วงปีงบประมาณ 2565-2566 นอกจากนี้ ข้าวเป็นพืชผลทางการเกษตรที่มีการเพาะปลูกมากที่สุดในเมียนมา รองลงมาถั่วและถั่วพัลส์ (Pulses)

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2023/05/10/myanmar039s-rice-exports-decline-to-47888-tonnes-in-april

ไตรมาส 1 กัมพูชาส่งออกข้าวไปยังตลาดต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 3.5

กัมพูชาส่งออกข้าวสารไปยังตลาดต่างประเทศปริมาณรวม 176,581 ตัน ในช่วงไตรมาสแรกของปี คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 จากปริมาณ 170,539 ตัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว รายงานโดยสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) ซึ่งจีนยังคงเป็นผู้นำเข้าข้าวสารรายใหญ่ของกัมพูชาคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 48 ของการส่งออกข้าวสารทั้งหมดของกัมพูชา ในช่วงไตรมาสแรกที่ปริมาณ 84,773 ตัน ขณะที่ Chan Sokheang ประธาน CRF ได้กำหนดเป้าหมายการส่งออกข้าวสารของกัมพูชาทั้งปีที่ 750,000 ตัน ในปี 2023 และขึ้นเพิ่มขึ้นไปแตะที่ 1 ล้านตัน ในช่วงปี 2025

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501279579/cambodias-milled-rice-export-up-3-5-pct-in-q1/